นายกเทศมนตรี

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นายกเทศมนตรี มาจากการปกครองที่มีต่อจากการปกครองแบบเทศาภิบาล ซึ่งพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๗ เป็นผู้ตราขึ้น หน้าที่หลักของนายกเทศมนตรี ก็คือ นายกเทศมนตรีจะมี การปกครองแบบพิเศษ (ซึ่งมิใช่การปกครองแบบท้องถิ่น หรือในรูปแบบที่เรียกว่าอำเภอ หรือที่ว่าการอำเภอ หรือสภาตำบล กำนัน หรือ ผู้ใหญ่บ้าน ซึ่งเรียกว่าการปกครองร่วมแบบท้องถิ่น)

[แก้] การปกครองแบบพิเศษ

การปกครองแบบพิเศษ คือการปกครองแบบเทศมนตรี คือมีนายกเทศมนตรีในการปกครองซึ่งคำว่าการปกครองพิเศษ ที่มีที่มาจากเขตปกครองพิเศษ เช่น เทศบาลเมืองพัทยา หรือเทศบาลจังหวัดพัทยา (พิเศษ) ซึ่งเป็นการให้ใช้ความเป็นการเรียกว่าการปกครองแบบพิเศษ โดยการจัดระบบเป็นรูปแบบกึ่งรัฐพิเศษ (โดยรัฐอนุญาตให้เทศบาลเมืองพัทยาที่เดียว) แต่ในปัจจุบันนี้ การปกครองในรูปแบบเทศมนตรีโดยมีนายกเทศมนตรีเป็นผู้บริหารงานภายในพื้นที่และบริหารงานในท้องที่ตำบลนั้นๆ งานหลักของนายกเทศมนตรีที่ต้องปฏิบัตินั่นก็คือ ดูแลเรื่องความสะอาด ถนน ความสะอาดชุมชนตำบล งานบำรุง งานซ่อมแซม ควบคุมกองงานซ่อมแซมรักษา ดูแลรักษาสาธารณูปโภค งานสุขาภิบาล (ขยะมูลฝอย) รวมไปถึงการดูแลในเรื่องสวัสดิการประชาชน (ความช่วยเหลือด้านข้อมูลทะเบียนราษฎร์) (ตามอย่างรูปแบบเดียวกับก.ท.ม) (มิเกี่ยวกับการพัฒนาปกครองท้องถิ่น)

[แก้] การปกครองแบบท้องถิ่น

การปกครองท้องถิ่น คือ การปกครองแบบในรูปแบบการพัฒนาตามระบบทั่วไป ทั้งในรูปแบบดำเนินการพัฒนาทางด้านสังคม วางรากฐานพัฒนาสังคม และสาธารณูปโภคต่างๆทั่วไปให้กับประชาชน ซึ่งแบ่งการปกครองแบบท้องถิ่นได้ดังนี้

  1. ที่ว่าการอำเภอ (รวมไปถึงกองการสัสดี)
  2. สภาตำบล หรือกำนัน
  3. ผู้ใหญ่บ้าน

และในส่วนของการปกครองดูแลระบบท้องถิ่น จะแบ่งแยกกับการปกครองแบบในระบบพิเศษ (มิรวมกัน) และจะมีการปกครองในรูปแบบที่ไม่เหมือนกัน ซึ่งจะมีการเรียกการปกครองได้ใน 2 รูปแบบดังที่กล่าวไว้ข้างต้น คือ การปกครองแบบท้องถิ่น และการปกครองแบบพิเศษเป็นต้น

โครง นายกเทศมนตรี เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ นายกเทศมนตรี ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ