เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนที่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรือ เอเชียอาคเนย์ เป็นพื้นที่ส่วนหนึ่งในทวีปเอเชีย ตั้งอยู่บนรอยต่อของแผ่นทวีป ซึ่งยังมีการเคลื่อนตัวของเปลือกโลกและการปะทุของภูเขาไฟอยู่อย่างต่อเนื่อง ประกอบด้วยดินแดนและหมู่เกาะด้านตะวันออกและตัวออกเฉียงใต้ของเอเชียแผ่นดินใหญ่ และแม้ว่าโดยทางการเมืองแล้ว หมู่เกาะอันดามันจะเป็นของอินเดีย แต่ทางภูมิศาสตร์แล้วถือว่าเป็นส่วนหนึ่งของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เดิมทีเดียวเอเซียตะวันออกเฉียงใต้ยังหมายรวมอาณาเขตที่กว้างกว่านั้น รวมไปถึง ตอนใต้ของจีน ฮ่องกง และไต้หวันด้วย แต่เนื่องจากระยะหลังใช้หลักการแบ่งทางการเมือง ทำให้ส่วนดังกล่าวถูกรวมเข้ากับบริเวณเอเชียตะวันออกเฉียงเหนือ

พิกัดภูมิศาสตร์ระหว่างละติจูด10-28องศาเหนือ ลองติจูด92-140องศาตะวันออก

เนื้อหา

[แก้] ข้อมูล ประเทศ และ ดินแดน

[แก้] ประเทศ

ประเทศ พื้นที่ (km=2)[1] ประชากร (พ.ศ. 2552)[2] ความหนาแน่น (/km2) เมืองหลวง
Flag of บรูไน บรูไน 5,765 400,000 69.4 บันดาร์เสรีเบกาวัน
Flag of สหภาพพม่า ประเทศพม่า 676,578 50,020,000 73.9 เนปีดอ
Flag of กัมพูชา กัมพูชา 181,035 14,805,000 81.8 พนมเปญ
Flag of ประเทศติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออก 14,874 1,134,000 76.2 ดิลี
Flag of อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย 1,904,569 229,965,000 120.7 จาการ์ตา
Flag of ลาว ลาว 236,800 6,320,000 26.7 เวียงจันทน์
Flag of มาเลเซีย มาเลเซีย 329,847 27,468,000 83.3 กัวลาลัมเปอร์
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์ 300,000 91,983,000 306.6 มะนิลา
Flag of สิงคโปร์ สิงคโปร์ 710.2 4,737,000 6,796.3 สิงคโปร์ (ดาวน์ทาวน์ คอร์)
Flag of ไทย ไทย 513,115 67,389,730 122.0 กรุงเทพมหานคร
Flag of เวียดนาม เวียดนาม 331,210 88,069,000 265.0 ฮานอย

[แก้] ดินแดน

ดินแดน พื้นที่ (km2) ประชากร ความหนาแน่น (/km2)
Flag of อินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) 8,249[3] 356,265[3] 43.2
Flag of เกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) 135[4] 1,402[4] 10.4
Flag of the Cocos (Keeling) Islands หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) 14[5] 596[5] 42.6

[แก้] ลักษณะภูมิศาสตร์ทางกายภาพ

ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งตามภูมิศาสตร์ได้เป็นสองภูมิภาค คือ คาบสมุทรอินโดจีน (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้บนแผ่นดินใหญ่ - mainland Southeast Asia) และ หมู่เกาะอินเดียตะวันออก (เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในทะเล - maritime Southeast Asia)

ผืนแผ่นดินใหญ่ของหมู่เกาะตะวันออกเฉียงใต้ ที่แบ่งเขตมหาสมุทรอินเดียและมหาสมุทรแปซิฟิกออกจากกัน โดยมีช่องแคบเล็กๆ 4 แห่ง เป็นทางติดต่อระหว่างมหาสมุทรทั้งสอง คือ ช่องแคบมะละกา ช่องแคบซุนดา ช่องแคบลอมบอก และช่องแคบมาคัสซาร์. นอกจากนี้ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ยังเปรียบเสมือนสะพานเชื่อมระหว่างทวีปเอเชียและออสเตรเลียอีกด้วย

ลักษณะภูมิศาสตร์ประกอบด้วยที่ราบ ภูเขา แม่น้ำ ช่องแคบ ป่าทึบ และเกาะต่างๆ มากมาย ซึ่งออกเป็น 2 ส่วน คือ แผ่นดินใหญ่ แผ่นดินใหญ่มีเนื้อที่ประมาณ 807,000 ตารางไมล์ ประกอบด้วย ที่ราบลุ่มแม่น้ำซึ่งอยู่ระหว่างเทือกเขาที่ทอดทางแนวเหนือใต้. เทือกเขาเหล่านี้มีชื่อแตกต่างกัน คือ เทือกเขาอะระกันโย ทางตะวันตกของพม่า, เทือกเขาเปกูโยมา และหมู่เกาะ จะประกอบด้วยหมู่เกาะฟิลิปปินส์และหมู่เกาะอินโดนีเซีย เทือกเขาเปกูโยมาเป็นเทือกเขาเล็กๆ ที่อยู่ใกล้เส้นศูนย์สูตร เช่น มาเลเซีย สิงคโปร์ อินโดนีเซีย และบรูไน จะมีฝนตกตลอดทั้งปี ส่วนประเทศที่อยู่ห่างไกลจากเส้นศูนย์สูตร เช่น ประเทศไทย พม่า ลาว กัมพูชา เวียดนาม และฟิลิปปินส์ จะมีฤดูฝนสลับกับฤดูแล้ง ซึ่งเป็นผลเนื่องมาจากอิทธิพลของ “ลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้” ในระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงเดือนกันยายน ลมมรสุมจะพัดผ่านมหาสมุทรอินเดียนำฝนมาตกบนผืนแผ่นดินใหญ่ นอกจากนี้มี “ลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ” อยู่ระหว่างเดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม พัดผ่านประเทศจีนมายังภูมิภาคนี้ ทำให้มีอากาศเย็นและแห้งแล้ง ยกเว้นทางใต้ คือ บริเวณภาคใต้ของไทย คาบสมุทรมลายูเกาะสุมาตรา บอร์เนียว ชวา และหมู่เกาะฟิลิปปินส์ซึ่งมีฝนตกชุกตลอดปี ดังนั้น ภูมิอากาศโดยทั่วไปจึงมีทั้งร้อนอบอ้าว ฝนตกชุกและชุ่มชื้น นอกจากลมประจำทั้ง 2 ฤดูแล้ว ลมอีกประเภทหนึ่งที่มีอิทธิพลต่อภูมิอากาศของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็คือ “ลมพายุ” ซึ่งจะเกิดขึ้นทุกปีในบริเวณน่านน้ำทางตะวันออก คือ บริเวณทะเลจีนใต้ ลมพายุที่พัดผ่านภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้แบ่งออกเป็น 3 ชนิด ตามอัตราความเร็วของลม คือ พายุดีเปรสชัน พายุโซนร้อน และพายุไต้ฝุ่น ลมพายุเหล่านี้นอกจากจะทำให้เกิดฝนตกแล้ว ยังทำให้เกิดความเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของประชากรที่อยู่ในบริเวณที่พายุพัดผ่านเสมอ เช่น ทำให้เกิดน้ำท่วมฉับพลัน ลมแรง เป็นต้น ประเทศที่ได้รับความเสียหายมากกว่าประเทศอื่นๆ คือ เวียดนามและฟิลิปปินส์ เนื่องจากตั้งอยู่ใกล้บริเวณที่เกิดของพายุ และไม่มีสิ่งที่จะช่วยป้องกันได้ทันท่วงทีเมื่อพายุมาถึง

[แก้] ภูมิประเทศ

ลักษณะภูมิประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ อาจแบ่งได้เป็น 3 ประเภท ได้แก่

  1. เทือกเขา อาจแบ่งเป็น สองประเภท ได้แก่ เทือกเขารุ่นเก่า และ รุ่นใหม่ โดยเทือกเขารุ่นเก่า( หมายถึง เทือกเขาที่มีอายุสิบล้านปีขึ้นไป)จะวางตัวในแนวเหนือ-ใต้ ซึ่งโคนของมันอยู่ทางตอนใต้ของประเทศจีน และแยกออกมาเป็น 3 ทาง ได้แก่ ทางพม่า-ไทย ทางไทย-ลาว และทางลาว-เวียดนาม ส่วนเทือกเขารุ่นใหม่นั้น จะเป็นแนวต่อเนื่องจากหิมาลัยลงมายังพม่า แล้วกลับขึ้นมาเป็นหมู่เกาะอินโดนีเซีย เป็นภูเขาไฟที่สงบชั่วคราว
  2. ที่ราบ ที่ราบในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้จะมีหลายๆบริเวณต่างกันไป อาจเป็นที่ราบลุ่ม ที่ราบลูกฟูก หรือที่ราบลุ่มแม่น้ำ ซึ่งมีในบริเวณแม่น้ำแดงประเทศเวียดนาม ที่ราบลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาประเทศไทย ที่ราบลุ่มแม่น้ำอิระวะดี ที่ราบลุ่มแม่น้ำโขงในกัมพูชาและเวียดนามตอนใต้ ที่ราบชายฝั่งในบริเวณติมอร์ตะวันออก มาเลเซียและทางตอนใต้ของไทยสลับกับเทือกเขา
  3. ที่ราบสูง ได้แก่ ที่ราบสูงฉานในพม่าซึ่งมีอยู่ทั่วทุกภูมิภาค บริเวณภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย และบริเวณตอนกลางของประเทศเวียดนาม

[แก้] ประชากร

เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ในปี 2007 มีประชากรประมาณ 575.5 ล้านคน สิงคโปร์ คือเกาะที่มีประชากรหนาแน่นที่สุดในโลกหากเทียบกับขนาด [ต้องการอ้างอิง] มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม ภาษา และ ศาสนา

[แก้] ศาสนา

ทางฝั่งแผ่นดินใหญ่ในภูมิภาคนี้นั้น จะนับถือศาสนาพุทธเป็นส่วนมาก ประเทศเหล่านั้นคือ ไทย เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ พม่า สิงคโปร์นั้นก็เป็นประเทศนับถือศาสนาพุทธ ส่วนทางด้านคาบสมุทรมลายู และ หมู่เกาะอินโดนีเซีย นั้น จะนับถือศาสนาอิสลาม ได้แก่ประเทศมาเลเซีย อินโดนีเซีย และ บรูไน ส่วนประเทศฟิลิปปินส์นั้น นับถือศาสนาคริสต์ ประเทศติมอร์ตะวันออกนั้นก็นับถือศาสนาคริสต์เป็นหลักเหมือนกัน

แบ่งออกได้เป็นอย่างนี้:

Flag of อินเดีย หมู่เกาะอันดามันและนิโคบาร์ (อินเดีย) ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (71%), พระพุทธศาสนา, คริสต์ศาสนา, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ศาสนาอิสลาม, ศาสนาซิกข์
Flag of บรูไน บรูไน ศาสนาอิสลาม (67%), พระพุทธศาสนา (13%), คริสต์ศาสนา (10%), อื่นๆ (ความเชื้อพื้นเมือง ฯลฯ) (10%)
Flag of สหภาพพม่า ประเทศพม่า พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (89%), ศาสนาอิสลาม (4%), คริสต์ศาสนา (4%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (1%), อื่นๆ (2%)
Flag of กัมพูชา กัมพูชา พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (95%), ศาสนาอิสลาม, คริสต์ศาสนา, ความเชื่อเรื่องวิญญาณ อื่นๆ (5%)
Flag of เกาะคริสต์มาส เกาะคริสต์มาส (ออสเตรเลีย) พระพุทธศาสนา (36%), ศาสนาอิสลาม (25%), คริสต์ศาสนา (18%), ลัทธิเต๋า (15%), อื่นๆ (6%)
Flag of the Cocos (Keeling) Islands หมู่เกาะโคโคส (ออสเตรเลีย) ศาสนาอิสลาม นิกายซุนนีย์ (80%), อื่นๆ (20%)
Flag of ประเทศติมอร์ตะวันออก ติมอร์ตะวันออก คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (90%), ศาสนาอิสลาม (5%), คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ (3%), อื่นๆ (พระพุทธศาสนา, ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู, อื่นๆ) (2%)
Flag of อินโดนีเซีย อินโดนีเซีย ศาสนาอิสลาม (86.1%), คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ (5.7%), คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (3%), ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (1.8%), อื่นๆ รวม พระพุทธศาสนา, หรือ ไม่ระบุ (3.4%)[6]
Flag of ลาว ลาว พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (65%) with ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (32.9%), คริสต์ศาสนา (1.3%), อื่นๆ (0.8%)
Flag of มาเลเซีย มาเลเซีย ศาสนาอิสลาม (60.4%), พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน (19.2%), คริสต์ศาสนา (9.1%), ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (6.1%), ความเชื่อเรื่องวิญญาณ (5.2%)
Flag of ปาปัวนิวกินี ปาปัวนิวกินี คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (27%), ศาสนาอีวานจีลิค ลูเทอแรน (20%), ศาสนาเธอะ ยูไนเต็ด เชิร์ช (12%), ศาสนาคริสต์ นิกายเซเวนเดย์ แอดเวนติสต์ (10%), Pentecostal (9%), ศาสนาคริสต์ นิกายอีแวนเจลิค (7%), Anglican (3%), อื่นๆ Christian (8%), อื่นๆ (4%)
Flag of the Philippines ฟิลิปปินส์ คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (80%), ศาสนาอิสลาม (5%), ศาสนาคริสต์ นิกายอีแวนเจลิค (2.8%), Iglesia ni Cristo (2.2%), Philippine Independent Church (Aglipayan) (2%), อื่นๆ Christian (3%), อื่นๆ (Traditional beliefs, พระพุทธศาสนา, Judaism, ไร้ศาสนา, อื่นๆ) (5%)
Flag of สิงคโปร์ สิงคโปร์ พระพุทธศาสนา (42.5%), ศาสนาอิสลาม (15%), ลัทธิเต๋า (8%), คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (4.5%), ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู (4%), ไร้ศาสนา (15%), Christian (10%), อื่นๆ (1%)
South China Sea Islands พระพุทธศาสนา, คริสต์ศาสนา, ลัทธิขงจื๊อ, ศาสนาอิสลาม, ลัทธิเต๋า, ไร้ศาสนา
Flag of ไทย ไทย พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (94.6%), ศาสนาอิสลาม (4.6%), อื่นๆ (1%)
Flag of เวียดนาม เวียดนาม พระพุทธศาสนา นิกายมหายาน (78%), คริสต์ศาสนา นิกายโรมันคาทอลิก (7%), พระพุทธศาสนา นิกายเถรวาท (5%), ศาสนาจ๋าว ได่ (2%), คริสต์ศาสนา นิกายโปรเตสแตนต์ (1%), อื่นๆ (ความเชื่อเรื่องวิญญาณ, ลัทธิฮวา ห่าว, ศาสนาอิสลาม, ไร้ศาสนา, อื่นๆ; 7%)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Country Comparison :: Area. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12
  2. ^ Table A.1. Total Population by Sex in 2009 and Sex Ratio by Country In 2009 (Medium Variant). Population Division of the Department of Economic and Social Affairs of the United Nations Secretariat. สืบค้นวันที่ 2009-09-12
  3. ^ 3.0 3.1 Andaman and Nicobar Islands: General Info. National Informatics Centre. สืบค้นวันที่ 2009-09-12
  4. ^ 4.0 4.1 Christmas Islands. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12
  5. ^ 5.0 5.1 Cocos (Keeling) Islands. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2009-09-12
  6. ^ Indonesia - The World Factbook https://www.cia.gov/library/publications/the-world-factbook/geos/id.html
Gnome-globe.svg เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ