นากอร์โน-คาราบัค

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Լեռնային Ղարաբաղի Հանրապետություն
Nagorno-Karabakh Republic
สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค
ธงชาตินากอร์โน-คาราบัค ตราแผ่นดินของนากอร์โน-คาราบัค
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
ที่ตั้งของนากอร์โน-คาราบัค
เมืองหลวง Stepanakert
39°52′N 46°43′E / 39.867°N 46.717°E / 39.867; 46.717
ภาษาทางการ อาร์เมเนีย
รัฐบาล สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี Bako Sahakyan
 -  นายกรัฐมนตรี Arayik Harutyunyan
ประกาศเอกราช จากอาเซอร์ไบจาน 
 -  ลงมติ 10 ธันวาคม พ.ศ. 2534 
 -  ประกาศ 6 มกราคม พ.ศ. 2535 
 -  การรับรอง ไม่มีประเทศใดให้การรับรอง 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 11,458.38 ตร.กม. กม.² 

สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค (อาร์เมเนีย: Լեռնային Ղարաբաղի Հանրապետություն) เป็นรัฐเอกราชโดยพฤตินัย ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่เป็นส่วนหนึ่งของอาเซอร์ไบจาน โดยครอบคลุมพื้นที่ส่วนใหญ่ของเขตการปกครองตนเองนากอร์โน-คาราบัคและเขตอื่น ๆ ของอาเซอร์ไบจานอีกด้วย นากอร์โน-คาราบัคมีอาณาเขตทางใต้ติดต่อกับอิหร่าน และทางตะวันตกติดต่อกับอาร์เมเนีย[1]

ประชากรส่วนใหญ่ของนากอร์โน-คาราบัคมีเชื้อสายอาร์เมเนีย ทำให้เกิดปัญหาเรื่องดินแดนระหว่างอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจานหลังจากที่ทั้งสองประเทศได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต โดยได้เกิดสงครามนากอร์โน-คาราบัคขึ้นระหว่างปีพ.ศ. 2534 - 2537 หลังจากการหยุดยิงในปีพ.ศ. 2537 พื้นที่ในบริเวณดังกล่าวได้อยู่ภายใต้การควบคุมของกำลังทหารผสมระหว่างอาร์เมเนียและนากอร์โน-คาราบัค

นากอร์โน-คาราบัคไม่ได้รับการรับรองจากรัฐใด ๆ เลย แม้กระทั่งอาร์เมเนียก็ตาม

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมืองการปกครอง

นากอร์โน-คาราบัคมีการปกครองในระบอบประชาธิปไตยโดยมีประธานาธิบดีเป็นประมุข ประธานาธิบดีมีอำนาจในการแต่งตั้งและถอดถอนนายกรัฐมนตรี มีรัฐสภาซึ่งประกอบด้วยสมาชิก 33 คน โดย 22 คนมาจากการเลือกตั้งและมีวาระครั้งละ 5 ปี ส่วนอีก 11 คนมาจากการเลือกตั้งระบบสัดส่วน

[แก้] พรรคการเมือง

ระบบพรรคการเมืองของนากอร์โน-คาราบัคเป็นระบบหลายพรรค ในปีพ.ศ. 2552 สมาคมฟรีดอมเฮาส์ได้จัดลำดับให้นากอร์โน-คาราบัคเป็นประเทศที่ให้สิทธิทางการเมืองแก่พลเมืองของตนสูงกว่าอาร์เมเนียและอาเซอร์ไบจาน[2][3][4] ระบบการลงคะแนนเลือกตั้งของประเทศนี้ทำให้รัฐสภาประกอบด้วยสมาชิกจากหลากหลายพรรคการเมืองอยู่เสมอ พรรคการเมืองที่สำคัญของนากอร์โน-คาราบัคได้แก่ Democratic Party of Artsakh, Free Motherland, Armenian Revolutionary Federation (Artsakh section), Movement 88 และ Communist Party of Artsakh และยังมีผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งที่ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใด ๆ ได้รับเลือกอีกด้วย ในปีพ.ศ. 2548 สมาชิก 8 คนในรัฐสภา (จากทั้งหมด 33 คน)ไม่ได้สังกัดพรรคการเมืองใดอย่างเป็นทางการ

[แก้] รัฐธรรมนูญ

[แก้] ความสัมพันธ์ระว่างประเทศ

ไม่มี เนื่องจาก ไม่มีประเทศใดยอมรับการเป็นเอกราชของ สาธารณรัฐนากอร์โน-คาราบัค

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

นากอร์โน-คาราบัค แบ่งเขตได้ 8 เขตการปกครอง

[แก้] รายการอ้างอิง