ประเทศคีร์กีซสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

คีร์กีซ: Кыргыз Республикасы
Kyrgyz Respublikasy
คืร์กึซ ริสปูบลีคาซืย
รัสเซีย: Кыргызская республика
Kyrgyzskaya respublika
คืร์กึซสกายา ริสปูบลีคา
สาธารณรัฐคีร์กีซ
ธงชาติคีร์กีซสถาน ตราแผ่นดินของคีร์กีซสถาน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติเพลงชาติสาธารณรัฐคีร์กีซ
ที่ตั้งของคีร์กีซสถาน
เมืองหลวง บิชเคก
42°52′N 74°36′E / 42.867°N 74.6°E / 42.867; 74.6
ภาษาทางการ ภาษาคีร์กีซและภาษารัสเซีย
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี โรซา โอตุนบาเยวา (รักษาการ)
ได้รับเอกราช
   - ประกาศเอกราช
 - ได้รับการยอมรับ
 - อดีต
จากสหภาพโซเวียต
31 สิงหาคม พ.ศ. 2534
ธันวาคม พ.ศ. 2534
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตคีร์กีซ
 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 198,500 กม.² (ลำดับที่ 85)
 -  พื้นน้ำ (%) 3.6%
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 5,146,281 (อันดับที่ 111)
 -  2542 สำรวจ 4,896,100 
 -  ความหนาแน่น 25/กม.² (อันดับที่ 147)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 9.324 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 142)
 -  ต่อประชากร 1,800 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 190)
HDI (2546) 0.702 (กลาง) (อันดับที่ 109)
สกุลเงิน ซอมคีร์กีซสถาน (KGS)
เขตเวลา KGT (UTC+5)
 -  ฤดูร้อน (DST) KGST (UTC+6)
รหัสอินเทอร์เน็ต .kg
รหัสโทรศัพท์ +996

คีร์กีซสถาน (อังกฤษ: Kyrgyzstan; คีร์กีซ: Кыргызстан) หรือมีชื่ออย่างเป็นทางการว่า สาธารณรัฐคีร์กีซ (อังกฤษ: Kyrgyz Republic) เป็นประเทศในเอเชียกลาง มีพรมแดนติดกับสาธารณรัฐประชาชนจีน คาซัคสถาน ทาจิกิสถาน และอุซเบกิสถาน เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล เมืองหลวงชื่อบิชเคก (เดิมชื่อ ฟรุนเซ) คีร์กีซสถานเดิมเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

รัฐธรรมนูญปี 1993 กำหนดให้คีร์กีซสถานมีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุขและนายกรัฐมนตรีเป็นผู้บริหารประเทศ ปัจจุบันใช้ระบบสภาเดี่ยว

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

     North Kyrgyzstan      South Kyrgyzstan

ประเทศคีร์กีซสถานแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 7 จังหวัด (provinces - oblastlar) และ 2 นคร* (cities - shaar) ได้แก่

หมายเหตุ: ชื่อศูนย์กลางการปกครองอยู่ในวงเล็บ

แต่ละจังหวัดแบ่งเป็น อำเภอ (districts - rayon) ปกครองโดยเจ้าหน้าที่ที่ได้รับการแต่งตั้งจากรัฐบาลกลาง ชุมชนในชนบทเรียกว่า ไอล์ออคโมตุส (aiyl okmotus) และประกอบด้วยหมู่บ้านเล็ก ๆ 20 หมู่บ้านเป็นอย่างมาก ปกครองตนเอง มีนายกเทศมนตรีและสภาที่ได้รับการเลือกตั้ง

[แก้] ภูมิศาสตร์

ที่ตั้ง คีร์กีซสถานมีที่ตั้งตามพิกัดภูมิศาสตร์อยู่ระหว่างละติจูด 37 - 43 องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด 71 – 80 องศาตะวันออก มีขนาดพื้นที่ 198,500 ตารางกิโลเมตร

[แก้] ลักษณะภูมิประเทศ

คีร์กีซสถานมีภูมิประเทศส่วนใหญ่เป็นภูเขาสูง ซึ่งเป็นส่วนหนึ่งของเทือกเขาเทียนชานที่แยกตัวออกมาจากปามีร์นอต ปรากฏทะเลสาบอิสซิค-คุลอยู่ระหว่างสันเขาสูงบริเวณตอนกลางของประเทศ เทือกเขาเทียนชานในเขตคีร์กีซสถานเป็นต้นน้ำของแม่น้ำซีร์ดาเรียที่ไหลลงทะเลอารัลในตอนกลางของภูมิภาค

[แก้] ลักษณะภูมิอากาศ

ลักษณะภูมิอากาศที่ปรากฏในพื้นที่ของคีร์กีซสถาน พิจารณาเป็นเขตของภูมิอากาศได้ดังนี้

  1. เขตภาคพื้นทวีป ฝนตกมาก อบอุ่นในฤดูร้อน หนาวเย็นในฤดูหนาว ปรากฏอยู่ตามพื้นที่หน้าเขาของเทือกเขาเทียนชาน
  2. เขตขั้วโลก อากาศหนาวจัด ปรากฏอยู่ตามสันเขาสูงซึ่งเป็นพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศ ลักษณะอากาศหนาวคล้ายขั้วโลก

[แก้] เศรษฐกิจ

ด้านเกษตรกรรม เศรษฐกิจหลักของคีร์กีซสถานอยู่บนพื้นฐานของเกษตรกรรม พืชที่สำคัญได้แก่ ยาสูบ ฝ้าย องุ่น มันฝรั่ง และผลไม้ต่าง ๆ สัตว์เลี้ยงที่สำคัญได้แก่ แกะและแพะ ซึ่งมีทั้งเลี้ยงแบบเร่ร่อนและแบบฟาร์มปศุสัตว์

ด้านอุตสาหกรรม ส่วนใหญ่เป็นอุตสาหกรรมขั้นต้น ได้แก่ เครื่องจักรขนาดเล็ก สิ่งทอ อาหาร ปูนซีเมนต์ เครื่องเรือน และมอเตอร์ไฟฟ้า

ด้านสินค้าระหว่างประเทศ

[แก้] ประชากร

จำนวนประชากร 
ประชากรของประเทศคีร์กีซสถานมีจำนวนทั้งสิ้น 5,264,000 คน (ก.ค. 2548)
ศาสนา 
ชาวคีร์กีซส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามนิกายซุนนี 75% ศาสนาคริสต์ออร์ทอดอกซ์ 20% อื่น ๆ อีก 5%
ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศคีร์กีซสถาน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศคีร์กีซสถาน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น