ลัทธิอนุตตรธรรม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก อนุตตรธรรม)
สัญลักษณ์

วิถีอนุตตรธรรม อนุตตรธรรม แปลตามอักษรว่า ธรรมะที่สูงที่สุดเหนือสิ่งอื่นใด เป็นหลักสัจธรรมที่มีอยู่ตั้งแต่ก่อนฟ้าดินจะกำเหนิด การถ่ายทอดหลักสัจธรรมนี้สู่ผู้คนมีต้นกำเนิดมาจากประเทศจีน เมื่อมีการแพร่ธรรมนี้ไปยังในไต้หวัน จึงทำให้ญาติธรรมคนบุญในไต้หวันมีมากขึ้น จนได้รับการยอมรับจากรัฐบาลว่า วิถีธรรมนี้ สามารถช่วยให้พลเมืองเป็นคนดีและร่วมพัฒนาประเทศไต้หวันอีกด้วย และในปัจจุบัน ผู้ที่เข้ามาเผยแผ่ธรรมะในประเทศไทยจึงเป็นอาวุโสชาวไต้หวันเป็นส่วนใหญ่


เนื้อหา

[แก้] จุดประสงค์การเผยแผ่อนุตตรธรรม

  1. เคารพฟ้าดิน
  2. บูชาสิ่งศักดิ์
  3. รักชาติซื่อสัตย์ต่อหน้าที่
  4. เชิดชูจริยธรรม
  5. กตัญญูต่อบิดามารดา
  6. เคารพอาจารย์
  7. ถือสัจวาจาต่อเพื่อน
  8. มีไมตรีต่อเพื่อนบ้าน
  9. ละการกระทำบาป เสริมการทำความดี
  10. รู้ปฏิบัติใน คุณสัมพันธ์ 5 (กษัตรกับขุนนาง, บิดากับบุตร, สามีกับภรรยา, พี่กับน้อง, และเพื่อนกับเพื่อน) คุณธรรม 8 (กตัญญู พี่น้องปรองดอง จงรักภักดี สัตยธรรม จริยธรรม มโนธรรม สุจริตธรรม และละอายต่อบาป)
  11. จรรโลงคุณวิเศษในพระธรรมคำสอนของศาสดาทั้ง 5 (พระพุทธเจ้า-ศาสนาพุทธ, พระเยซุ-ศาสนาคริสต์, พระนบีมุฮัมมัด-ศาสนาอิสลาม, ท่านเหล่าจื้อ-ศาสนาเต๋า, ท่านขงจื้อ-ศาสนาปราชญ์)
  12. ปฏิบัติตาม หลักการปกครอง 4 (จริยะธรรม, มโนธรรม, สุจริตธรรม,ละอายต่อบาป) และประเพณีโบราณอันดีงาม
  13. ชำระจิตใจให้ผ่องแผ้ว
  14. อาศัยกายเนื้อบำเพ็ญธรรมจริง
  15. ฟื้นฟูสภาวะธรรมของธรรมญาณแห่งตน
  16. ช่วยตนและผู้อื่นให้เป็นคนที่สมบูรณ์
  17. ช่วยตนและผู้อื่นให้บรรลุธรรม
  18. ช่วยโลกให้สงบสุข
  19. กล่อมเกลาจิตใจผู้คนในสังคมให้ดีงาม
  20. เพื่อเอกภาพแห่งสันติธรรมของโลก

[แก้] คุณานุคุณในวิถีอนุตตรธรรม

  1. รับธรรมะคือการรับรู้หนทางกลับคืนสู่ต้นธาตุต้นธรรมเดิม รับรู้แก้ววิเศษสามประการที่อยู่ในตน เรียกว่าไตรรัตน์ แล้วบำเพ็ญเพียร ขัดเกลาจิตใจให้ใสสะอาด ยกระดับจิตใจ เปลี่ยนแปลงตนเอง แปรเปลี่ยนโลกให้สันติสุข
  2. ส่งเสริมให้รับประทานอาหารเจ เพื่อลดบาปเวร เพื่อฝึกจิตเมตตา เพื่อสุขภาพ
  3. ผู้รับธรรมะแล้วบรรพบุรุษที่เสียชีวิตไปแล้ว เมื่อลูกหลานมา ฟังธรรม ช่วยงานธรรม จะได้รับอานิสงส์ผลบุญกุศลจากจิตที่เพียรบำเพ็ญด้วย
  4. การเชิญบุคคลอื่นมารับธรรมะ เป็นการฉุดช่วยพี่น้องของเราให้กลับคืนสู่ต้นธาตุต้นธรรมเดิม ให้รู้ตัวตนที่แท้จริง
  5. ผู้ที่มารับธรรมะทุกคนสามารถสร้างบุญกุศลและความดีได้ ตามหลักของศาสนาทั้ง 5 ได้แก่ พุทธ คริสต์ อิสลาม เต๋า และขงจื้อ ได้เหมือนเดิม
  6. การเข้ารับวิถีธรรมและตั้งใจบำเพ็ญขัดเกลาจิตใจ สร้างบุญกุศลเท่านั้นถึงจะหลุดพ้นจากทะเลทุกข์ ซึ่งมีแต่การเวียนว่ายตายเกิดได้ ในยุคที่เรียกว่า บ้านเมืองวุ่นวาย จิตใจคนตกต่ำ
  7. คนในอดีต ไม่ได้รับธรรมะง่าย ๆ ท่านจะต้องบำเพ็ญธรรม ปฏิบัติธรรมจนสภาวะธรรมถึงพร้อมก่อน แล้วจึงได้รับรู้วิถีธรรมทีหลัง ปัจจุบันกาลเวลาคับขันบ้านเมืองวุ่นวาย จิตใจคนตกต่ำ วิถีอนุตตรธรรมนั้นจึงได้ปรกโปรด เป็นการรับรู้หนทางธรรมก่อนแล้วเริ่มฝึกบำเพ็ญขัดเกลา เพื่อเปลี่ยนแปลงให้เกิดคนดีขึ้นในสังคม วิถีธรรมจึงได้เผยแพร่ไปในวงกว้าง
  8. วิถีอนุตตรธรรมเป็นรากของทุกศาสนา เพราะทุกศาสนาล้วนเป็นกิ่งก้านสาขาของรากธรรมะ ที่ผลิดอกออกผลงอกงาม ทุกศาสนามีที่มาจากต้นธาตุต้นธรรมต้นกำเนิดเดียวกัน เพราะวิถีธรรมมีมาก่อนที่จะเกิดศาสนา เฉกเช่น ธรรมะ ธรรมชาติหรือหลักสัจธรรมของฟ้าดิน ที่พระพุทธองค์ได้ตรัสรู้"อนุตตรสัมมาสัมโพธิญาณ" พระองค์จึงนำธรรมะนี้ไปปรกโปรดแก่เวไนยสัตว์ได้ดำเนินปฏิบัติ ประกาศศาสนาซึ่งมีรากเหง้าจากธรรมะอันยิ่งใหญ่ของฟ้าดินหรือ"หลักสัจธรรมนั่นเอง" ที่กล่าวมาคือ ความสัมพันธ์ระหว่างวิถีธรรมกับศาสนา (ศึกษาเพิ่มเติมได้ในหนังสือไกลวัลยธรรม ของท่านพุทธทาสได้)วิถีอนุตตรธรรมจึงมิใช่พระศาสนา ลัทธิอุบาศว์ ศาสนามารที่หวังหลอกลวงเงินทางท่าน แต่เป็นหลักสัจธรรมที่นำไปปฏิบัติใช้ในชีวิตประจำวัน นำธรรมะเข้าสู่ครัวเรือน


หลักธรรมที่ร่วมศึกษาในวิถีอนุตตรธรรม จะเน้นเรื่องของบำเพ็ญศีล คุณธรรม คุณสัมพันธ์ หลักจริยธรรม สัตยธรรม มโนธรรม ที่ต้องสำรวจตนปฏิบัติ และปฏิบัติธรรมได้โดยไม่ต้องบวชหรือละทางโลก ซึ่งสามารถปฏิบัติธรรมอยู่ในครัวเรือนร่วมกันได้ และไม่แบ่งแยกโจมตีกันถึงเรื่องการนับถือศาสนาต่าง ๆ ซึ่งเป็นเรื่องส่วนบุคคล คือ ไม่แบ่งแยกศาสนา เพราะ"ทุกศาสน์ล้วนเอกสัจธรรม"

"จริยานำพาสู่เอกภาพ" หลักจริยธรรม นำพาสู่ความเป็น เอกภาพของโลก

นอกจากการศึกษาธรรมะแล้ว ยังมีการจัดค่ายพัฒนาเยาวชน อบรมจริยธรรม เพื่อให้เยาวชนประพฤติปฏิบัติตนเป็นคนดีของสังคม นำธรรมะไปใช้ ปลูกฝังเมล็ดพันธุ์คนดี สร้างโลกให้เกิดสันติสุข


[แก้] บรรพจารย์แห่งอนุตตรธรรม

พระบรรพจารย์แห่งอนุตตรธรรม มีด้วยกัน 18 ท่าน

วิถีอนุตตรธรรมสืบสายชีพจรธรรมของสามศาสนาหลัก คือพุทธ ขงจื๊อ และเต๋า จึงสืบสายบรรพจารย์ตั้งแต่พระอริยเจ้าฝูซี ท่านเสินหนง หวงตี้ เหล่าจือ ขงจื๊อ เมิ่งจื่อ อีกทั้งท่านเว่ยหลาง มหาสังฆปรินายก หรือธรรมจารย์สมัยที่หก นิกายเซน ในศาสนาพุทธ เพียงแต่การรวมตัวชาวธรรมเริ่มเกิดครั้ง ได้มีการรวบรวมตั้งแต่ท่านที่เก้าถึงสิบแปด ได้ไว้บางท่าน ดังนี้

  • พระธรรมาจารย์หวงเต๋อฮุ่ย สมัยที่เก้า ชาวเจียงซี (ค.ศ.1624)เป็นภาคหนึ่งของมหาปฐมพรหมราชเจ้า ดำรงตำแหน่งตั้งแต่ค.ศ.1667 จนถึงค.ศ.1690
  • พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบอู๋จื่อเสียง ชาวเจียงซี สมัยคังซี (ค.ศ.1715)เป็นภาคหนึ่งของพระวิชญะรุจน์พรหมราชเจ้าเหวินชัง ดำรงตำแหน่งถึงค.ศ.1784
  • พระธรรมจารย์สมัยที่สิบเอ็ดท่านเหอยั่ว ชาวเจียงซี สมัยเฉียนหลง เป็นภาคหนึ่งจิ่วเทียนโต่วหมู่
  • พระธรรมจารย์สมัยที่สิบสองท่านเอวี๋ยนจื้อเชียน ชาวกุ้ยโจว (ค.ศ.1760)แพร่ธรรม1802จนถึงปี1834
  • พระธรรมาจารย์ที่สิบสามท่านสวีจี๋หนาน ชาวเฉิงตู พระภาคหนึ่งพระศรีอาริยเมตไตร สืบทอดธรรมตั้งแต่ค.ศ.1826ถึงปี1845

พระอาจารย์ธาตุทั้ง5ปกครอง[[ธรรมจักรวาล]]ถึงปีค.ศ.1873

  • พระธรรมาจารย์ที่สิบสี่ท่านเหยาเฮ่อเทียน ชาวซันซี พระภาคหนึ่งพระองค์มารดาทองแห่งสระโบกขรณี เหยาฉือจินหมู่ บุกเบิกธรรมปีจนถึงปีค.ศ.1984
  • พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบห้าหวังเสวียเมิ่ง ชาวซันตง(ค.ศ.1821)พระภาคหนึ่งของพระโพธิสัตว์จันทรปัญญาแพร่ธรรมจนถึงปีค.ศ.1884
  • พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบหกท่านหลิวฮว่าผู่ ชาวซันตง พระภาคหนึ่งของผู้สำเร็จธรรมวิเศษไท่เก๊ก แพร่ธรรมถึงค.ศ.1886
  • พระธรรมาจารย์สมัยที่สิบเจ็ดท่านลู่จงอี ชาวซันตง (ค.ศ.1849)จนถึงปีค.ศ.1925

ท่านน้องท่านลู่จงอี พระพุทธบรรพจารย์จินกง ช่วยดูแลงานธรรมแทนชั่วคราว

[แก้] อ้างอิง

[1]สังคมธรรมะออนไลน์

AnimismSymbolWhite.PNG ลัทธิอนุตตรธรรม เป็นบทความเกี่ยวกับ ความเชื่อ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ลัทธิอนุตตรธรรม ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ