ฟุตบอลทีมชาติสเปน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สเปน
Shirt badge/Association crest
ฉายา La Selección,
La Furia Roja,
La Roja,
กระทิงดุ
สมาคม ราชสหพันธ์ฟุตบอลสเปน (Real
Federación Española de Fútbol)
สมาพันธ์ ยูฟ่า (ยุโรป)
หัวหน้าผู้ฝึกสอน Flag of สเปน บีเซนเต เดล โบสเก
กัปตัน อีเกร์ กาซียัส
ติดทีมชาติสูงสุด อันโดนี ซูบีซาร์เรตา (126)[1]
ทำประตูสูงสุด ราอูล กอนซาเลซ (44)
รหัสฟีฟ่า ESP
อันดับฟีฟ่า Green Arrow Up.svg 1
อันดับฟีฟ่าสูงสุด 1 (กรกฎาคม 2008)
อันดับฟีฟ่าต่ำสุด 25 (มีนาคม 1998)
อันดับอีแอลโอ 1
อันดับอีแอลโอสูงสุด 1 (1920, 1921, 1925, 2002, มิถุนายน 2008)
อันดับอีแอลโอต่ำสุด 20 (มิถุนายน 1969, มิถุนายน 1981)
สีชุดทีมเหย้า
สีชุดทีมเยือน
เกมระดับนานาชาติครั้งแรก
ธงชาติสเปน สเปน 1 - 0 เดนมาร์ก ธงชาติเดนมาร์ก
(บรัสเซลส์ เบลเยียม; 28 สิงหาคม ค.ศ. 1920)
ชนะสูงสุด
ธงชาติสเปน สเปน 13 - 0 บัลแกเรีย ธงชาติบัลแกเรีย
(มาดริด สเปน; 21 พฤษภาคม ค.ศ. 1933)
แพ้สูงสุด
ธงชาติอิตาลี อิตาลี 7 - 1 สเปน ธงชาติสเปน
(อัมสเตอร์ดัม เนเธอร์แลนด์; 4 มิถุนายน ค.ศ. 1928)
ธงชาติอังกฤษ อังกฤษ 7 - 1 สเปน ธงชาติสเปน
(ลอนดอน อังกฤษ; 9 ธันวาคม ค.ศ. 1931)
ฟุตบอลโลก
เข้าร่วม 12 (ครั้งแรกเมื่อ 1934)
ผลงานดีที่สุด อันดับ 4 1950
ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป
เข้าร่วม 8 (ครั้งแรกเมื่อ 1964)
ผลงานดีที่สุด ชนะเลิศ 1964, 2008

ฟุตบอลทีมชาติสเปน (La Selección de fútbol de España) เป็นทีมฟุตบอลประจำประเทศสเปน อยู่ภายใต้การควบคุมและเป็นตัวแทนของสหพันธ์ฟุตบอลสเปนในการแข่งขันระหว่างประเทศนัดต่าง ๆ ซึ่งจัดขึ้นโดยสหพันธ์สมาคมฟุตบอลนานาชาติ (ฟีฟ่า) และสหภาพสมาคมฟุตบอลยุโรป (ยูฟ่า)

ทีมชาติสเปนเป็นที่รู้จักกันในฉายา "La Furia Española"[2] และฉายาซึ่งเป็นที่นิยมมากกว่าคือ "La Furia Roja" มาจากคำที่ชาวอิตาลีเป็นผู้คิดขึ้นและนำมาใช้เรียกทีมชาตินี้ในภาษาของตนว่า "Furia Rossa"[3] คำว่า "ฟูเรีย" (ความดุเดือด, ความโมโหร้าย) มาจากรูปแบบการเล่นที่ค่อนข้างรุนแรงของนักฟุตบอลสเปนในการแข่งขันนัดต่าง ๆ ที่ทีมชาติสเปนเข้าร่วมเป็นครั้งแรกที่เมืองแอนต์เวิร์ป (ประเทศเบลเยียม) และต่อมาก็ถูกนำมาใช้เรียกเหตุการณ์การปล้นเมือง
แอนต์เวิร์ป
ของสเปนในสงครามแปดสิบปี (ค.ศ. 1576) ซึ่งเป็นตำนานมืดเรื่องหนึ่งในประวัติศาสตร์การทหารของสเปนด้วย ส่วน "รอสซา" (สีแดง) มาจากสีของเสื้อทีม สำหรับในประเทศไทยนั้นทีมนี้มีฉายาว่า "กระทิงดุ"

สเปนได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลโลก 12 ครั้ง และเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันในฟุตบอลโลก ปี 1982 ผลงานที่ดีที่สุดที่ทีมชาติสเปนเคยทำได้นั้นคืออันดับที่ 4 ในฟุตบอลโลก ปี 1950 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศบราซิล

ทีมชาติสเปนยังได้เข้าร่วมการแข่งขันฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป (ฟุตบอลยูโร) 8 ครั้ง ครั้งสำคัญคือฟุตบอลยูโร ปี 1964 ซึ่งถือเป็นแชมป์ในบ้านตัวเองหลังจากเอาชนะสหภาพโซเวียตไป 2-1 แต่ในรอบชิงชนะเลิศฟุตบอลยูโร ปี 1984 ซึ่งจัดขึ้นที่ประเทศฝรั่งเศส สเปนทำได้เพียงรองแชมป์เพราะแพ้ให้กับเจ้าบ้านด้วยคะแนน 2-0 และไม่ผ่านเข้ารอบรองชนะเลิศอีกเลยจนกระทั่งในการแข่งขันฟุตบอลยูโร ปี 2008 สเปนก็ผ่านเข้ามาถึงรอบชิงชนะเลิศได้สำเร็จโดยพบกับเยอรมนีและคว้าแชมป์ไปได้ในที่สุด

ความสำเร็จครั้งใหญ่ที่สุดในกีฬาโอลิมปิกของฟุตบอลทีมชาติสเปนได้แก่ การแข่งขันโอลิมปิกฤดูร้อน ค.ศ. 1992 ที่เมืองบาร์เซโลนา สเปนคว้าเหรียญทองได้สำเร็จหลังจากเอาชนะโปแลนด์ 3-2 ในรอบชิงชนะเลิศที่สนามกัมป์โนว์ (Camp Nou) ส่วนการแข่งขันกีฬาโอลิมปิกฤดูร้อนที่เมืองซิดนีย์ ประเทศออสเตรเลีย ค.ศ. 2000 สเปนได้เหรียญเงินโดยแพ้แคเมอรูนหลังจากการดวลจุดโทษในรอบชิงชนะเลิศ[4] นอกจากนี้ สเปนยังเคยได้เหรียญเงินในกีฬาโอลิมปิกที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ค.ศ. 1920 อีกด้วย

เนื้อหา

[แก้] ประวัติการแข่งขัน

[แก้] การแข่งขันครั้งแรก

ฟุตบอลทีมชาติสเปนได้รับการจัดตั้งขึ้นในปี ค.ศ. 1920 โดยมีจุดประสงค์เพื่อเป็นตัวแทนประเทศสเปนไปแข่งขันฟุตบอลในกีฬาโอลิมปิกครั้งที่ 7 ที่เมืองแอนต์เวิร์ป ประเทศเบลเยียม ทีมชาติสเปนลงสนามอย่างเป็นทางการครั้งแรกเมื่อวันที่ 28 สิงหาคม ค.ศ. 1920 โดยพบกับทีมชาติเดนมาร์กที่สนามกีฬาในกรุงบรัสเซลส์ และสามารถเอาชนะเดนมาร์ก 1-0 ด้วยการยิงประตูจากปาตรีเซียว ทีมชาติสเปนได้เหรียญเงินเป็นครั้งแรกจากการแข่งขันโอลิมปิกในครั้งนั้น

[แก้] การแข่งขันใหญ่ระหว่างปี ค.ศ. 1950-2004

[แก้] ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008

แม้จะทำผลงานครั้งแรก ๆ ได้ไม่ดีนักเมื่อเริ่มต้นแข่งขันรอบคัดเลือกตั้งแต่ปี ค.ศ. 2006 แต่สเปนก็สามารถผ่านเข้ามาในรอบแบ่งกลุ่มของการแข่งขันฟุตบอลยูโรที่ออสเตรียและสวิตเซอร์แลนด์ได้สำเร็จ ในช่วงนี้เองเกิดความไม่ลงรอยกันระหว่างผู้จัดการทีมลุยส์ อาราโกเนสกับสื่อมวลชนสเปน ครั้งแรกในเรื่องผลการแข่งขันที่ผ่านมาซึ่งย่ำแย่ และครั้งที่ 2 ในเรื่อง "ข่าว" ความขัดแย้งกับอดีตกัปตันทีมชาติราอุล กอนซาเลซ[6]

ในการแข่งขันรอบแบ่งกลุ่มสเปนอยู่ในกลุ่ม D ร่วมกับสวีเดน กรีซ และรัสเซีย ในนัดแรกที่พบกับรัสเซียนั้นผลออกมาคือสเปนชนะไป 4-1 โดยได้ 3 ประตูจากดาบิด บียา และอีก 1 ประตูจากเซสก์ ฟาเบรกัส ส่วนในนัดที่ 2 ที่พบกับสวีเดน สเปนก็ยังเอาชนะได้ด้วยคะแนน 2-1 จากการยิงของเฟร์นันโด ตอร์เรสและบียา และในนัดสุดท้ายที่พบกับแชมป์เก่ากรีซ สเปนสามารถเอาชนะได้เช่นกันด้วยคะแนน 1-2 โดยได้ประตูจากรูเบน เด ลา เรด และดานี กวีซา

ด้วยชัยชนะทั้งสามครั้งรวดทำให้สเปนอยู่ในอันดับที่ 1 ของกลุ่ม และต้องไปพบกับอิตาลีในรอบก่อนรองชนะเลิศ ซึ่งสเปนสามารถยิงจุดโทษเอาชนะไปได้ 4-2 หลังจากต่อเวลาพิเศษแล้วยังเสมอกัน 0-0 ในนัดนี้อีเกร์ กาซียัส ผู้รักษาประตูฝ่ายสเปนสามารถหยุดลูกยิงจากฝ่ายตรงข้ามไว้ได้ 2 ลูก ส่วนผู้ทำประตูให้กับสเปนในนัดนี้ได้แก่ บียา, กาซอร์ลา, เซนนา และฟาเบรกัส

สเปนลงแข่งในรอบรองชนะเลิศกับรัสเซียเมื่อวันพฤหัสบดีที่ 26 มิถุนายน และเอาชนะไปได้ด้วยคะแนน 3-0 ซึ่งเป็นประตูที่ยิงได้ในครึ่งหลังทั้งหมดจากชาบี เอร์นันเดซ, ดานี กวีซา และดาบิด ซิลบา ทำให้สเปนผ่านเข้าไปเล่นในรอบชิงชนะเลิศได้เป็นครั้งแรกในรอบ 24 ปี อย่างไรก็ตาม สเปนก็ต้องขาดบียากองหน้าคนสำคัญไปเพราะได้รับบาดเจ็บที่ต้นขาจากการเตะลูกฟรีคิกในนัดที่แข่งกับรัสเซีย

ในวันที่ 29 มิถุนายน สเปนพบกับเยอรมนีซึ่งชนะตุรกีมาได้ด้วยคะแนน 3-2 ในนัดนี้ เฟร์นันโด ตอร์เรสทำประตูให้สเปนขึ้นนำเยอรมนีได้ในนาทีที่ 33 โดยไม่มีฝ่ายใดทำประตูเพิ่มอีกในครึ่งหลัง เกมจึงสิ้นสุดลงด้วยคะแนน 1-0 ทำให้ทีมชาติสเปนได้ครองแชมป์การแข่งขันใหญ่อีกครั้งหลังจากว่างเว้นไปถึง 44 ปี

[แก้] ผู้เล่น

[แก้] ผู้เล่นชุดปัจจุบัน

ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2008

# ชื่อ วันเดือนปีเกิด สโมสร ลงเล่น (ประตู)
ผู้รักษาประตู
1 อีเกร์ กาซียัส Captain sports.svg 20 พฤษภาคม ค.ศ. 1981 (27 ปี) Flag of สเปน เรอัลมาดริด 82 (0)
13 อันเดรส ปาลอป 22 ตุลาคม ค.ศ. 1973 (34 ปี) Flag of สเปน เซบียา 0 (0)
23 โฆเซ เรนา 31 สิงหาคม ค.ศ. 1982 (25 ปี) Flag of อังกฤษ ลิเวอร์พูล 10 (0)
กองหลัง
2 ราอูล อัลบีออล 4 กันยายน ค.ศ. 1985 (22 ปี) Flag of สเปน บาเลนเซีย 6 (0)
3 เฟร์นันโด นาบาร์โร 25 มิถุนายน ค.ศ. 1982 (26 ปี) Flag of สเปน เซบียา 2 (0)
4 การ์โลส มาร์เชนา 31 กรกฎาคม ค.ศ. 1979 (28 ปี) Flag of สเปน บาเลนเซีย 47 (2)
5 การ์เลส ปูยอล 13 เมษายน ค.ศ. 1978 (30 ปี) Flag of สเปน บาร์เซโลนา 66 (1)
11 โชอัน กัปเดบีลา 3 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 1978 (30 ปี) Flag of สเปน บียาร์เรอัล 23 (3)
15 เซร์คีโอ ราโมส 30 มีนาคม ค.ศ. 1986 (22 ปี) Flag of สเปน เรอัลมาดริด 39 (4)
18 อัลวาโร อเบลัว 17 มกราคม ค.ศ. 1983 (25 ปี) Flag of อังกฤษ ลิเวอร์พูล 3 (0)
20 คัวนีโต กูเตียร์เรซ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 (31 ปี) Flag of สเปน เรอัลเบติส 23 (2)
กองกลาง
6 อันเดรส อีเนียสตา 11 พฤษภาคม ค.ศ. 1984 (24 ปี) Flag of สเปน บาร์เซโลนา 29 (5)
8 ชาบี เอร์นันเดซ 25 มกราคม ค.ศ. 1980 (28 ปี) Flag of สเปน บาร์เซโลนา 62 (7)
10 เซสก์ ฟาเบรกัส 4 พฤษภาคม ค.ศ. 1987 (21 ปี) Flag of อังกฤษ อาร์เซนอล 32 (1)
12 ซานตี กาซอร์ลา 13 ธันวาคม ค.ศ. 1984 (23 ปี) Flag of สเปน บียาร์เรอัล 7 (0)
14 ชาบี อลอนโซ 25 พฤศจิกายน ค.ศ. 1981 (26 ปี) Flag of สเปน เรอัลมาดริด 47 (1)
16 เซร์คีโอ การ์ซีอา 9 มิถุนายน ค.ศ. 1983 (25 ปี) Flag of สเปน ซาราโกซา 2 (0)
19 มาร์โกส เซนนา 17 กรกฎาคม ค.ศ. 1976 (31 ปี) Flag of สเปน บียาร์เรอัล 16 (0)
21 ดาบิด ซิลบา 8 มกราคม ค.ศ. 1986 (22 ปี) Flag of สเปน บาเลนเซีย 19 (3)
22 รูเบน เด ลา เรด 5 มิถุนายน ค.ศ. 1985 (23 ปี) Flag of สเปน เรอัลมาดริด 3 (1)
กองหน้า
7 ดาบิด บียา 3 ธันวาคม ค.ศ. 1981 (26 ปี) Flag of สเปน บาเลนเซีย 35 (18)
9 เฟร์นันโด ตอร์เรส 20 มีนาคม ค.ศ. 1984 (24 ปี) Flag of อังกฤษ ลิเวอร์พูล 54 (17)
17 ดานี กวีซา 17 สิงหาคม ค.ศ. 1980 (27 ปี) Flag of สเปน มายอร์กา 8 (2)

[แก้] ผู้เล่นที่ลงเล่นมากที่สุด

ข้อมูลเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม ค.ศ. 2008

# ชื่อ ปี ลงเล่น
1 อันโดนี ซูบีซาร์เรตา 1985-1998 126
2 ราอูล กอนซาเลซ 1996-2006 102
3 เฟร์นันโด เอียร์โร 1989-2002 89
4 อีเกร์ กาซียัส 2000- 82
5 โคเซ อันโตเนียว กามาโช 1975-1988 81
6 ราฟาเอล กอร์ดีโย 1978-1988 75
7 เอมีเลียว บูตราเกโญ 1984-1992 69
8 ลุยส์ อาร์โกนาดา 1977-1985 68
9 มีเชล 1985-1992 66
10 การ์เลส ปูยอล 2000- 66

[แก้] ผู้เล่นที่ทำประตูมากที่สุด

ข้อมูลเมื่อวันที่ 29 มิถุนายน ค.ศ. 2008

# ชื่อ ปี ประตู (ลงเล่น) เฉลี่ย/เกม
1 ราอูล กอนซาเลซ 1996-2006 44 (102) 0.431
2 ดาบิด บียา 2005- 36 0(54)
3 เฟร์นันโด โมเรียนเตส 1998-2007 27 0(47) 0.574
4 เอมีเลียว บูตราเกโญ 1984-1992 26 0(69) 0.377
5 อัลเฟรโด ดี สเตฟาโน 1957-1961 23 0(31) 0.742
คูเลียว ซาลีนัส 1986-1996 23 0(56) 0.411
7 มีเชล 1985-1992 21 0(66) 0.318
8 เตลโม ซาร์รา 1945-1951 20 0(20) 1.000
9 เฟร์นันโด เอียร์โร 1989-2002 29 0(89) 0.325
10 อีซีโดร ลังการา 1932-1936 17 0(12) 1.417
เฟร์นันโด ตอร์เรส 2003- 17 0(54) 0.315
12 ปีร์รี 1966-1978 16 0(41) 0.390
ลุยส์ เรเกย์โร 1927-1936 16 0(25) 0.640
14 ซานตียานา 1975-1985 15 0(56) 0.268
15 ลุยส์ ซัวเรซ 1957-1972 14 0(32) 0.437
16 เอสตานิสลาโอ บาโซรา 1949-1957 13 0(22) 0.591
คูเลน เกร์เรโร 1993-2000 13 0(41) 0.317
18 โคเซบา เอตเชเบร์เรีย 1997-2004 12 0(53) 0.226
ลุยส์ เอนรีเก 1991-2002 12 0(62) 0.193
20 ลาดิสลาโอ กูบาลา 1953-1961 11 0(19) 0.579
อัลฟอนโซ เปเรซ 1992-2000 11 0(38) 0.289
อามันเซียว อามาโร 1962-1974 11 0(42) 0.262

[แก้] สถิติโลกใหม่ ชนะรวด 15 นัด ทำลายสถิติโลกมากที่สุด

เป็นสถิติชนะมากกว่าสถิติเดิมที่ บราซิล ฝรั่งเศส และออสเตรเลีย ทำไว้ คือ ชนะติดต่อกัน 14 นัด ซึ่งเป็นสถิติที่ฟีฟา (FIFA)บันทึกไว้

  • นัดที่ 1 วันที่ 26 มิถุนายน 2551 สเปน ชนะ รัสเซีย 3-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 รอบรองชนะเลิศ
  • นัดที่ 2 วันที่ 29 มิถุนายน 2551 สเปน ชนะ เยอรมนี 1-0 ฟุตบอลชิงแชมป์แห่งชาติยุโรป 2008 รอบชิงชนะเลิศ
  • นัดที่ 3 วันที่ 20 สิงหาคม 2551 สเปน ชนะ เดนมาร์ก 3-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
  • นัดที่ 4 วันที่ 6 กันยายน 2551 สเปน ชนะ บอสเนีย 1-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
  • นัดที่ 5 วันที่ 10 กันยายน 2551 สเปน ชนะ อาร์เมเนีย 4-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
  • นัดที่ 6 วันที่ 11 ตุลาคม 2551 สเปน ชนะ เอสโตเนีย 3-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
  • นัดที่ 7 วันที่ 15 ตุลาคม 2551 สเปน ชนะ เบลเยียม 2-1 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
  • นัดที่ 8 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551 สเปน ชนะ ชิลี 3-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
  • นัดที่ 9 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552 สเปน ชนะ อังกฤษ 2-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
  • นัดที่ 10 วันที่ 28 มีนาคม 2252 สเปน ชนะ ตุรกี 1-0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
  • นัดที่ 11 วันที่ 1 เมษายน 2552 สเปน ชนะ ตุรกี 2-1 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก กลุ่ม 5
  • นัดที่ 12 วันที่ 9 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ อาเซอร์ไบจาน 6-0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
  • นัดที่ 13 วันที่ 14 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ นิวซีแลนด์ 5-0 ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
  • นัดที่ 14 วันที่ 17 มิถุนายน 2552สเปน ชนะ อิรัก 1-0 ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
  • นัดที่ 15 วันที่ 20 มิถุนายน 2552 สเปน ชนะ แอฟริกาใต้ 2-0 ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้

[แก้] สถิติโลกใหม่ เทียบเท่าทีมชาติบราซิล ไม่แพ้ทีมใด 35 นัดติดต่อกัน

  • นัดที่ 1 วันที่ 7 กุมภาพันธ์ 2550 (2007) อังกฤษ แพ้ สเปน 0 - 1 กระชับมิตร
  • นัดที่ 2 วันที่ 24 มีนาคม 2550 (2007) สเปน ชนะ เดนมาร์ก 2-1 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 3 วันที่ 28 มีนาคม 2550 (2007) สเปน ชนะ ไอซ์แลนด์ 1 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 4 วันที่ 2 มิถุนายน 2550 (2007) ลิธัวเนีย แพ้ สเปน 0-2 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 5 วันที่ 6 มิถุนายน 2550 (2007) ลิกเตนสไตน์ แพ้ สเปน 0 - 2 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 6 วันที่ 22 สิงหาคม 2550 (2007) กรีซ แพ้ สเปน 2 - 3 กระชับมิตร
  • นัดที่ 7 วันที่ 8 กันยายน 2550 (2007) ไอซ์แลนด์ เสมอ สเปน 1 - 1 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 8 วันที่ 12 กันยายน 2550 (2007) สเปน ชนะ ลัตเวีย 2 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 9 วันที่ 13 ตุลาคม 2550 (2007) เดนมาร์ก แพ้ สเปน 1 - 3 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 10 วันที่ 17 ตุลาคม 2550 (2007) ฟินแลนด์ เสมอ สเปน 0 - 0 กระชับมิตร
  • นัดที่ 11 วันที่ 17 พฤศจิกายน 2550 (2007) สเปน ชนะ สวีเดน 3 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 12 วันที่ 21 พฤศจิกายน 2550 (2007) สเปน ชนะ ไอร์แลนด์เหนือ 1 - 0 ฟุตบอลยูโร รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 13 วันที่ 6 กุมภาพันธ์ 2551 (2008) สเปน ชนะ ฝรั่งเศส 1 - 0 กระชับมิตร
  • นัดที่ 14 วันที่ 26 มีนาคม 2551 (2008) สเปน ชนะ อิตาลี 1 - 0 กระชับมิตร
  • นัดที่ 15 วันที่ 31 พฤษภาคม 2551 (2008) สเปน ชนะ เปรู 2 - 1 กระชับมิตร
  • นัดที่ 16 วันที่ 4 มิถุนายน 2551 (2008) สเปน ชนะ สหรัฐอเมริกา 1 - 0 กระชับมิตร
  • นัดที่ 17 วันที่ 10 มิถุนายน 2551(2008) สเปน ชนะ รัสเซีย 4 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
  • นัดที่ 18 วันที่ 14 มิถุนายน 2551(2008) สเปน ชนะ สวีเดน 2 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
  • นัดที่ 19 วันที่ 18 มิถุนายน 2551(2008) สเปน ชนะ กรีซ 2 - 1 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
  • นัดที่ 20 วันที่ 22 มิถุนายน 2551(2008) สเปน เสมอ อิตาลี 0 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
  • นัดที่ 21 วันที่ 26 มิถุนายน 2551(2008) สเปน ชนะ รัสเซีย 3 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์
  • นัดที่ 22 วันที่ 29 มิถุนายน 2551(2008) สเปน ชนะ เยอรมนี 1 - 0 ฟุตบอลยูโร 2008 ออสเตรีย-สวิตเซอร์แลนด์ ชิงชนะเลิศ
  • นัดที่ 23 วันที่ 20 สิงหาคม 2551(2008) เดนมาร์ก แพ้ สเปน 0 - 3 กระชับมิตร
  • นัดที่ 24 วันที่ 6 กันยายน 2551(2008) สเปน ชนะ บอสเนีย 1 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 25 วันที่ 10 กันยายน 2551(2008) สเปน แพ้ อาร์เมเนีย 4 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 26 วันที่ 11 ตุลาคม 2551(2008) เอสโตเนีย แพ้ สเปน 3 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 27 วันที่ 15 ตุลาคม 2551(2008) เบลเยียม แพ้ สเปน 1 - 2 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 28 วันที่ 19 พฤศจิกายน 2551(2008) สเปน ชนะ ชิลี 3 - 0 กระชับมิตร
  • นัดที่ 29 วันที่ 11 กุมภาพันธ์ 2552(2009) สเปน ชนะ อังกฤษ 2 - 0 ฟุตบอลกระชับมิตร
  • นัดที่ 30 วันที่ 28 มีนาคม 2552(2009) สเปน ชนะ ตุรกี 1 - 0 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 31 วันที่ 1 เมษายน 2552(2009) ตุรกี แพ้ สเปน 1 - 2 ฟุตบอลโลก รอบคัดเลือก
  • นัดที่ 32 วันที่ 9 มิถุนายน 2552(2009) สเปน ชนะ อาเซอร์ไบจาน 6 - 0 ฟุตบอล นัดอุ่นเครื่อง
  • นัดที่ 33 วันที่ 14 มิถุนายน 2552(2009) สเปน ชนะ นิวซีแลนด์ 5 - 0 ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
  • นัดที่ 34 วันที่ 17 มิถุนายน 2552(2009) สเปน ชนะ อิรัก 1 - 0 ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้
  • นัดที่ 35 วันที่ 20 มิถุนายน 2552(2009) สเปน ชนะ แอฟริกาใต้ 2 - 0 ฟุตบอลคอนเฟดเดอเรชันส์คัพ ที่แอฟริกาใต้

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Marca. Casillas iguala los 68 partidos de Arconada jugados con España. สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2008. (สเปน)
  2. ^ El Mundo. El inspirador de la "furia española" fue un vasco. สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2008. (สเปน)
  3. ^ Nace la Furia Roja. สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2008. (สเปน)
  4. ^ Terra Networks. 2-2. España pierde el oro en los penaltis. สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2008. (สเปน)
  5. ^ Diario de Córdoba. España jugará ante Inglaterra su partido número 500. สืบค้นวันที่ 27 มิถุนายน 2008. (สเปน)
  6. ^ El Mundo. Aragonés pierde los nervios por Raúl. สืบค้นวันที่ 17 กุมภาพันธ์ 2008. (สเปน)

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น