ประเทศออสเตรีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ออสเตรีย)
Republik Österreich
เรพูบลิค เอิสเทอร์ไรค์
สาธารณรัฐออสเตรีย
ธงชาติออสเตรีย ตราแผ่นดินของออสเตรีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญไม่มี
เพลงชาติLand der Berge, Land am Strome
("ดินแดนแห่งภูเขา, ดินแดนบนแม่น้ำ")
ที่ตั้งของออสเตรีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เวียนนา

48°12′N 16°21′E

ภาษาทางการ ภาษาเยอรมัน
รัฐบาล ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา
 -  ประธานาธิบดี ไฮนซ์ ฟีเชอร์
 -  นายกรัฐมนตรี เวอร์เนอร์ เฟย์มัน
เอกราช
  สนธิสัญญารัฐออสเตรีย
26 ตุลาคม พ.ศ. 2498 
เข้าร่วม EU 1 มกราคม พ.ศ. 2538
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 83,872 กม.² (ลำดับที่ 115)
 -  พื้นน้ำ (%) 1.3
ประชากร
 -  2550 ประมาณ 8,316,487 (อันดับที่ 93)
 -  2544 สำรวจ 8,032,926 
 -  ความหนาแน่น 99/กม.² (อันดับที่ 99)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 267 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 34)
 -  ต่อประชากร 32,962 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 8)
GDP (ราคาปัจจุบัน) 2548 ประมาณ
 -  รวม 318 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 22)
 -  ต่อประชากร 39,292 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 10)
HDI (2546) 0.944 (สูง) (อันดับที่ 17)
สกุลเงิน ยูโร² (EUR)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .at
รหัสโทรศัพท์ +43
¹ภาษาทางการในระดับภูมิภาคได้แก่ ภาษาสโลวีเนีย ภาษาโครเอเชีย ภาษาฮังการี ส่วนภาษามือออสเตรียได้รับการคุ้มครองในฐานะภาษาของชนกลุ่มน้อย
²ก่อนหน้าปี พ.ศ. 2542: ชิลลิงออสเตรีย

ประเทศออสเตรีย หรือ สาธารณรัฐออสเตรีย (Republic of Austria) (ภาษาเยอรมัน: Österreich, ภาษาโครเอเชีย: Austrija, ภาษาฮังการี: Ausztria, ภาษาสโลวีเนีย: Avstrija) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในยุโรปกลาง มีอาณาเขตทางเหนือจรดประเทศเยอรมนีและสาธารณรัฐเช็ก ทางตะวันออกจรดสโลวาเกียและฮังการี ทางใต้จรดสโลวีเนียและอิตาลี และทางตะวันตกจรดสวิตเซอร์แลนด์และลิกเตนสไตน์ มีการปกครองแบบประชาธิปไตยแบบมีผู้แทนภายใต้หลักการของรัฐสภา

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

ออสเตรียเป็นประเทศสหพันธรัฐที่ประกอบด้วย 9 รัฐ (states - Bundesländer) รัฐเหล่านี้แบ่งเขตการปกครองย่อยออกเป็น เขต (districts - Bezirke) และ นคร (cities - Statutarstädte) ซึ่งในเขตแต่ละแห่งยังแบ่งออกเป็นเทศบาล (municipalities- Gemeinden)

รัฐทั้ง 9 แห่งของออสเตรีย ได้แก่

[แก้] ภูมิศาสตร์

ประเทศออสเตรียในปัจจุบัน ตามแผนที่ประเทศออสเตรียมีความกว้างจากทิศตะวันออกจรดทิศตะวันตกมากกว่า 575 กิโลเมตร มีความยาวจากทิศเหนือจรดทิศใต้มากกว่า 294 กิโลเมตร

ประมาณ 60% ของสภาพภูมิประเทศของประเทศออสเตรียมีลักษณะเป็นภูเขาและเนินเขา ซึ่งได้รับการขานนามให้เป็น "ดินแดนแห่งขุนเขา" ประเทศออสเตรียมีการพาดผ่านของเส้นทาง "แม่น้ำดานูบ (Donau)" โดยผ่านรัฐโลว์เออร์ออสเตรีย หรือ นีเดอเริสเทอร์ไรค์ (Lower Austria; Niederösterreich) และ รัฐอัปเปอร์ออสเตรีย หรือ โอเบอเริสเทอร์ไรค์ (Upper Austria; Oberösterreich) เพื่อไหลต่อไปยังสาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) ภูมิประเทศของประเทศออสเตรียแบ่งออกเป็น 3 ลักษณะคือ

ภูเขา (berge) 
ภูเขาสูงในประเทศออสเตรียมีความสูงจากระดับน้ำทะเลกว่า 3,000 เมตร ยอดเขาที่สูงที่สุดในประเทศออสเตรียตั้งอยู่ทางเทือกเขาด้านตะวันออก (Ostalpen) ด้วยความสูง 3,798 เมตร มีชื่อว่า โกรสซ์กล็อกเนอร์ (Großglockner) ยอดเขาที่สูงรองลงมาคือ ไวล์ดชะปิทซ์ (Wildspitze) ด้วยความสูง 3,774 เมตร และยอดเขาที่สูงเป็นอันดับที่สามของประเทศออสเตรยคือ ไวสซ์กูเกิล (Weißkugel) ด้วยความสูง 3,738 เมตร ด้วยลักษณะของภูเขาเป็นจุดสำคัญในการดึงดูดนักท่องเที่ยวที่ชื่นชอบกีฬาฤดูหนาว (Wintersport) ยกตัวอย่างเช่น สกี สโนว์บอร์ด เป็นต้น ส่วนในฤดูร้อน ก็ยังสามารถที่จะท่องเที่ยวชื่นชมสภาพป่า และการปีนเขา อีกด้วย
ทะเลสาบ (Seen)
ทะเลสาบที่ใหญ่ที่สุดของประเทศออสเตรียมีชื่อว่า นอยซิดเลอร์ ซี (Neusiedler See) โดยมีพื้นที่ประมาณ 77% หรือประมาณ 315 ตารางกิโลเมตร อยู่ที่รัฐบูร์เกนลันด์ (Burgenland) ส่วนพื้นที่อีกประมาณ 33% ตั้งอยู่ในเขตพื้นที่ของประเทศฮังการี และยังมีทะเลสาบอื่นๆ ที่มีความสำคัญคือ อาทเทอร์ซี (Attersee) ด้วยพื้นที่ประมาณ 46 ตารางกิโลเมตร และ ทรอนซี (Traunsee) อยู่ในพื้นที่รัฐ โอเบอเริสเทอร์ไรค์ (Upper Austria; Oberösterreich) และทะเลสาบอื่นๆ อีกมากมายที่มีความสำคัญมากสำหรับดึงดูดนักท่องเที่ยวในช่วงฤดูร้อน เช่น โบเดนซี (Bodensee) , ซาล์ซคามเมอร์กูทส์ (Salzkammerguts) , โวทเฮอร์ซี (Wörthersee) , มิลล์ชะเททเทอร์ ซี (Millstätter See) , ออสเซียเชอร์ ซี (Ossiacher See) , ไวส์เซ่นซี (Weißensee) , โมนด์ซี (Mondsee) , โวล์ฟกังซี (Wolfgangsee) เป็นต้น
แม่น้ำ (Flüsse) 

[แก้] เศรษฐกิจ

เป็นแบบเสรีนิยมผสมสังคมนิยม โดยรัฐมีบทบาทในอุตสาหกรรม และวิสาหกิจหลัก เช่น อุตสาหกรรมขั้นปฐม การผลิตกระแสไฟฟ้า ธนาคาร และกิจการสาธารณูปโภค สาเหตุที่รัฐได้เข้ามาจัดการบริหารแบบรวมศูนย์ ก็เพื่อป้องกันการครอบครองจากโซเวียตภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 2 จนกระทั่งในช่วงต้นทศวรรษที่ 90 ออสเตรียจึงเริ่มแปรรูปรัฐวิสาหกิจ และได้พัฒนาเศรษฐกิจแบบตลาดได้สำเร็จ ซึ่งทำให้ประชาชนมีมาตรฐานความเป็นอยู่สูง รัฐบาลชุดที่ผ่านมา ซึ่งเป็นพรรคขวา ได้มีแผนที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจการของรัฐเพิ่มเติม อันจะทำให้รัฐบาลออสเตรียมีส่วนร่วมทางเศรษฐกิจลดลง และในช่วงเวลาที่ผ่านมา ความสัมพันธ์ระหว่างนายจ้างและลูกจ้างแบบ Social Partnership ในช่วงทศวรรษที่ 60 และ 70 ได้ลดน้อยลงตามเศรษฐกิจ สังคม และการเมืองที่เปลี่ยนไป รัฐบาลชุดปัจจุบันซึ่งนำโดยพรรคฝ่ายซ้ายสังคมนิยมจึงมีนโยบายชะลอการแปรรูปรัฐวิสาหกิจลง และเป็นที่คาดว่า จะมีนโนบายที่ทำให้ความสัมพันธ์ของนายจ้างและลูกจ้างในภาคอุตสาหกรรมเป็นไปแบบ Social Partnership ต่อไป

[แก้] ประชากร

จากการสำรวจในปี 2549 ประเทศออสเตรียมีประชากรโดยประมาณ 8,260,000 คน อายุขัยเฉลี่ยของประชากรหญิงสูงกว่าประชากรชาย ประชากรหญิงออสเตรียมีอายุเฉลี่ย 82.1 ปี ส่วนประชากรชายออสเตรีย 76.4 ปี ในประเทศออสเตรียส่วนใหญ่ประชากรจะเป็นผู้สูงอายุ และเนื่องจากค่าครองชีพในประเทศออสเตรียอยู่ในอัตราสูงมาก จึงมีผลในการส่งผลให้อัตราการเกิดใหม่ของประชากรลดลงเป็นอย่างมาก ซึ่งอัตราการเกิดใหม่ของประชากรอยู่ที่ 0.45% ซึ่งถือว่าเป็นอัตราที่ต่ำมาก

[แก้] วัฒนธรรม

ศาสนา คริสต์นิกายโรมันคาทอลิกร้อยละ 73.6 คริสต์นิกายโปรเตสแตนท์ร้อยละ 4.7 มุสลิมร้อยละ 4.2 อื่นๆ ร้อย ละ 3.5 ไม่ระบุร้อยละ2 ไม่นับถือศาสนาร้อยละ 12

[แก้] ศาสนา

74.1% ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโรมันคาทอลิก 4.6% ของจำนวนประชากรนับถือศาสนาคริสต์นิกายโปรแตสแตนท์, ประชากรจำนวนประมาณ 180,000 คน นับถือนิกายคริสต์นิกายออโธด็อกส์, ประชากรจำนวนประมาณ 8,140 คนนับถือนิกายยิว, ประชากรจำนวนระหว่าง 15,000-338,998 คนนับถือศาสนาอิสลาม (ประเทศเริ่มมีศาสนาอิสลามมาตั้งแต่ปีคริสต์ศักราช 1912) , ประชากรจำนวนมากกว่า 10,000 คนนับถือศาสนาพุทธ และประชากรจำนวน 20,000 คนเลือกที่จะไม่นับถือศาสนาใด ยึดหลักความเป็นกลาง (จากผลสำรวจในปีพุทธศักราช 2544 หรือปีคริสต์ศักราช 2001)

[แก้] ดนตรีในแต่ละยุคของออสเตรีย

ดนตรีของออสเตรียในยุคที่ศาสนาเจริญรุ่งเรือง คือ ช่วงยุคกลาง ซึ่งมีลักษณะเหมือนดนตรีในประเทศแถบยุโรป แต่หลังจากยุคฟื้นฟูศิลปวิทยา เพลงที่ร้องในโบสถ์ เช่น เพลงสวดเกรกอเรียน ซึ่งได้รับอิทธิพลจากอิตาลีก็แพร่หลายเข้ามา และในศตวรรษที่ 18โอเปราที่มาจากอิตาลีก็ได้รับความนิยมในพระราชวังเป็นอย่างมาก หลังจากศตวรรษที่ 18ออสเตรียก็โด่งดังเรื่องดนตรีตลอดช่วงระยะเวลากว่า 300ปี โดยเฉพาะช่วงกลางศตวรรษที่ 18จนถึงช่วงศตวรรษที่ 19 วอลฟ์กัง อามาเดอุส โมซาร์ท (Wolfgang Amadeus Mozart : ค.ศ. 1756-1791)ฟรันซ์ โจเซฟ ไฮเดิน (franz Joseph Haydn : ค.ศ.1732-1809)ฟรันซ์ ชูแบร์ท (Franz schubert : ค.ศ.1797-1828)โยฮันน์ สเตราส์ที่1และ2 (Johann strauss 1 : ค.ศ.1804-1849,Johann strauss 2 : ค.ศ.1825-1899) ด้วยกันทั้งสิ้น ในยุคนี้ดนตรีคลาสสิกในบรรดาบทเพลง คอนเชอร์โต (Concerto) และซิมโฟนี (Symphony)ล้วนพัฒนาจากโซนาตา (Sonata)ทั้งสิ้น เมื่อเข้าสู่ศตวรรษที่ 20กล่าวว่าคีตกวีชื่อ อาโนลด์ เชินแบร์ท เป็นผู้เริ่มดนตรีแบบไม่มีบันไดเสียงไดอาโทนิกและบันไดเสียงไมเนอร์ที่เป็นทฤษฎีพื้นฐานของบทเพลงแถบตะวันตก และหลังจากที่เชินแบร์กเสียชีวิต ลูกศิษย์ของเชินแบร์กได้พัฒนาแนวคิดและนำเสนอดนตรีแบใหม่โดยต้นกำเนิดจากทฤษฎีของเชินแบร์กที่ผสมผสานเสียงดนตรีคลาสสิกกับดนตรีพื้นบ้านของออสเตรียให้เกิดเสียงไพเราะที่ทำให้รู้สึกอิสระ นุ่มนวลและอบอุ่น

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น