ประเทศอาร์เมเนีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก อาร์เมเนีย)
Հայաստանի Հանրապետություն
Hayastani Hanrapetutyun
ฮายัสตานี ฮันราเปตูทิอุน
สาธารณรัฐอาร์เมเนีย
ธงชาติอาร์เมเนีย ตราแผ่นดินของอาร์เมเนีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญอาร์เมเนีย: Մեկ Ազգ , Մեկ Մշակույթ
(Mek Azg, Mek Mshakouyt:
หนึ่งชาติ หนึ่งวัฒนธรรม)
เพลงชาติเมร์ ไฮเรนิก (Մեր Հայրենիք)
(ปิตุภูมิของเรา)
ที่ตั้งของอาร์เมเนีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
เยเรวาน

40°16′N 44°34′E

ภาษาทางการ ภาษาอาร์เมเนีย
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
เซอร์จ ซาร์คสยัน
ไทกรัน ซาร์คสยัน
เอกราช
  ประกาศเอกราช
สถาปนา
จากสหภาพโซเวียต
23 สิงหาคม พ.ศ. 2533
21 กันยายน พ.ศ. 2534 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 29,800 กม.² (ลำดับที่ 139 1)
 -  พื้นน้ำ (%) 4.7
ประชากร
 -  2549 ประมาณ 2,976,372 (อันดับที่ 133)
 -  2532 สำรวจ 3,288,000 
 -  ความหนาแน่น 100/กม.² (อันดับที่ 74)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 13.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 118)
 -  ต่อประชากร 4,600 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 119)
HDI (2003) 0.759 (กลาง) (อันดับที่ 83)
สกุลเงิน แดรม (AMD)
เขตเวลา UTC (UTC+4)
 -  ฤดูร้อน (DST) เวลาออมแสง (UTC+5)
รหัสอินเทอร์เน็ต .am
รหัสโทรศัพท์ +374
1: ไม่รวมนากอร์โน-คาราบัค

อาร์เมเนีย (อาร์เมเนีย: Hayastan, Hayq) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐอาร์เมเนีย (Republic of Armenia) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัส มีอาณาเขตติดต่อกับตุรกีทางทิศตะวันตก ติดต่อกับจอร์เจียทางทิศเหนือ ติดต่อกับอาเซอร์ไบจานทางทิศตะวันออก และทางทิศใต้ติดต่อกับอิหร่านและรัฐปกครองตนเองนาคีเชวาน (เป็นดินแดนส่วนแยกของอาเซอร์ไบจาน) อาร์เมเนียเป็นรัฐสมาชิกของสภายุโรปและเครือรัฐเอกราช อาร์เมเนียเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

[แก้] การเมือง

ระบบการเมืองของอาร์เมเนียเป็นสาธารณรัฐประชาธิปไตย มีประธานาธิบดีเป็นประมุข

สถาบันทางการเมือง

ฝ่ายนิติบัญญัติ 
เป็นระบบสภาเดียว คือ สภาแห่งชาติ มีการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภาทุก ๆ 4 ปี มี 131 ที่นั่ง โดยแบ่งเป็นแบบเขตเดียวคนเดียว (one-mandate electoral districts) จำนวน 75 ที่นั่ง และแบบบัญชีรายชื่อ (party lists) จำนวน 56 ที่นั่ง
ฝ่ายบริหาร  
  1. ประธานาธิบดี เป็นประมุข อยู่ในตำแหน่งวาระละ 5 ปี ประธานาธิบดีคนเดียวกันจะดำรงตำแหน่งได้ไม่เกิน 2 วาระ มีอำนาจในการบริหารประเทศและแต่งตั้งนายกรัฐมนตรีและคณะรัฐมนตรีจำนวน 25 คน ตามที่นายกรัฐมนตรีเสนอ
  2. นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล ซึ่งประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา และนายกรัฐมนตรีจะเป็นผู้เสนอชื่อคณะรัฐมนตรีต่อประธานาธิบดี โดยคณะรัฐมนตรีประกอบด้วยรัฐมนตรี 25 คน (21 กระทรวง)
ฝ่ายตุลาการ 
ศาลฎีกา (9 คน) ศาลรัฐธรรมนูญ (9 คน)

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศอาร์เมเนีย

อาร์เมเนียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 11 จังหวัด (marz, พหูพจน์: marzer) ได้แก่

  1. จังหวัดอารากัตซอตน์ (Aragatsotn)
  2. จังหวัดอารารัต (Ararat)
  3. จังหวัดอาร์มาวีร์ (Armavir)
  4. จังหวัดเกการ์คูนิค (Gegharkunik)
  5. จังหวัดโคไตค์ (Kotayk)
  6. จังหวัดโลรี (Lori)
  7. จังหวัดชีรัค (Shirak)
  8. จังหวัดซูย์นิค (Syunik)
  9. จังหวัดตาวุช (Tavush)
  10. จังหวัดวายอตส์ซอร์ (Vayots Dzor)
  11. จังหวัดเยเรวาน (Yerevan)


[แก้] ภูมิศาสตร์

ประเทศอาร์เมเนียเป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล ตั้งอยู่ทางใต้ของเทือกเขาคอเคซัสและอยู่ระหว่างทะเลดำกับทะเลแคสเปียน โดยทางเหนือติดกับประเทศจอร์เจียและอาร์เซอร์ไบจาน ทางใต้ติดกับประเทศอิหร่านและตุรกี

[แก้] เศรษฐกิจ

อุตสาหกรรม อุตสาหกรรมเพชรเจียรระไน อิเล็กทรอนิกส์ เครื่องจักร อาหารสำเร็จรูป

ทรัพยากรธรรมชาติ ทองแดง อะลูมิเนียม

ตลาดนำเข้าที่สำคัญ รัสเซีย เบลเยียม สหรัฐฯ อิสราเอล อิหร่าน

ตลาดส่งออกที่สำคัญ เบลเยี่ยม สหราชอาณาจักร อิสราเอล รัสเซีย อิหร่าน

สินค้านำเข้าที่สำคัญ ก๊าซธรรมชาติ ยาสูบ อาหาร เพชร ปิโตรเลียม

สินค้าออกที่สำคัญ เพชร แร่ธาตุ อาหาร พลังงาน (2547)

[แก้] ประชากร

3.8 ล้านคน (กรกฎาคม 2544)

[แก้] วัฒนธรรม

แม่แบบ:Geography-stub

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศอาร์เมเนีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศอาร์เมเนีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ

ภาษาอื่น