สมศักดิ์ เทพสุทิน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สมศักดิ์ เทพสุทิน
สมศักดิ์ เทพสุทิน

ดำรงตำแหน่ง
6 ตุลาคม พ.ศ. 2547 – 11 มีนาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

ดำรงตำแหน่ง
2 สิงหาคม พ.ศ. 2548 – 19 กันยายน พ.ศ. 2549
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
สมัยก่อนหน้า นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
สมัยถัดไป นายอภัย จันทนจุลกะ

ดำรงตำแหน่ง
11 มีนาคม พ.ศ. 2548 – 2 สิงหาคม พ.ศ. 2548
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
สมัยก่อนหน้า นายสนธยา คุณปลื้ม
สมัยถัดไป นายประชา มาลีนนท์

ดำรงตำแหน่ง
8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546 – 6 ตุลาคม พ.ศ. 2547
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
สมัยก่อนหน้า นายสรอรรถ กลิ่นประทุม
สมัยถัดไป นายวันมูหะมัดนอร์ มะทา

ดำรงตำแหน่ง
3 ตุลาคม พ.ศ. 2545 – 8 พฤศจิกายน พ.ศ. 2546
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร
สมัยก่อนหน้า นายสุริยะ จึงรุ่งเรืองกิจ
สมัยถัดไป นายพินิจ จารุสมบัติ

ดำรงตำแหน่ง
17 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2544 – 3 ตุลาคม พ.ศ. 2545
นายกรัฐมนตรี พันตำรวจโท ทักษิณ ชินวัตร

ดำรงตำแหน่ง
30 พฤษภาคม พ.ศ. 2550 – 29 พฤษภาคม พ.ศ. 2555

เกิด 13 มกราคม พ.ศ. 2498 (อายุ 55 ปี)
สุโขทัย ประเทศไทย
สังกัดพรรค ไทยรักไทย (2544 - 2549)
กิจสังคม ( ? - ? )
สมรสกับ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
ศาสนา พุทธ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน แกนนำกลุ่มมัชฌิมา อดีตรัฐมนตรี 4 กระทรวง และแกนนำ กลุ่มวังน้ำยม กลุ่ม ส.ส. ที่เคยสังกัดใน พรรคไทยรักไทย นอกจากนี้ยังเป็น อดีตเลขาธิการพรรคกิจสังคม

ปัจจุบันนายสมศักดิ์ถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นเวลา 5 ปี แต่ยังคงเคลื่อนไหวทางการเมืองโดยการจัดตั้ง กลุ่มมัชฌิมา จาก ส.ส.กลุ่มวังน้ำยมเดิม ที่ลาออกจากพรรคไทยรักไทยก่อนการตัดสินคดียุบพรรค

เมื่อจัดตั้งกลุ่มมัชฌิมาแล้วนายสมศักดิ์ได้นำกลุ่มเข้าสังกัด พรรคประชาราช ที่ก่อตั้งโดย นายเสนาะ เทียนทอง หัวหน้ากลุ่มวังน้ำเย็น โดย นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน อดีต ส.ส.สุโขทัย ภรรยาของนายสมศักดิ์ ได้ดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการพรรคประชาราช

ปัจจุบันกลุ่มมัชฌิมาได้ลาออกจาก พรรคประชาราช ไปจดทะเบียนจัดตั้งเป็น พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมี นายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ ที่เดิมเป็นผู้สนับสนุน พรรคประชาราช ย้ายมาเป็นหัวหน้าพรรค และมี นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน ดำรงตำแหน่งเป็น เลขาธิการพรรคมัชฌิมาธิปไตย ซึ่งอาจกล่าวได้ว่าเป็นตัวแทนของ นายสมศักดิ์ ในการเคลื่อนไหวทางการเมืองระหว่างนี้นั่นเอง


เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เกิดวันที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2498 ที่ อำเภอศรีสำโรง จังหวัดสุโขทัย สำเร็จการศึกษาชั้น มศ.3 จากโรงเรียนศรีสำโรงชนูปถัมภ์ จ.สุโขทัย จบการศึกม.ปลายจากโรงเรียนอำนวยศิลป์ พระนคร จบการศึกษาจาก ปริญญาตรีวิศวกรรมศาสตร์ สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ในปี พ.ศ. 2521 และ ปริญญาโทรัฐศาสตร์มหาบัณฑิต (สาขาบริหารรัฐกิจ) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ในปี พ.ศ. 2538

ชีวิตครอบครัว สมรสกับนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน มีบุตร - ธิดา 2 คน คือ น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน และ นายเทิดไท เทพสุทิน และดำเนินธุรกิจก่อสร้าง (ห้างหุ้นส่วน สุโขทัย เอ็นจิเนียริ่ง จำกัด) และกิจการฟาร์ม (เทิดไทฟาร์ม) ซึ่งหลังจากโดนตัดสิทธิ์ทางการเมืองจากการยุบพรรคไทยรักไทย สมศักดิ์ได้กลับมาบริหารเทิดไทฟาร์ม [1]

[แก้] ตำแหน่งทางการเมือง

[แก้] การเมือง

นายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจังหวัดสุโขทัย ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2526 และเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร ระบบบัญชีรายชื่อ ของพรรคไทยรักไทย ในการเลือกตั้งปี พ.ศ. 2544 และ ปี พ.ศ. 2548 โดยที่นางอนงค์วรรณ ภรรยาได้ลงเป็น ส.ส. ในพื้นที่เขตแทน

นายสมศักดิ์ เป็นหัวหน้ากลุ่มการเมืองในพรรคไทยรักไทยที่ชื่อ " กลุ่มวังน้ำยม " อันเป็นกลุ่มใหญ่ที่สุดในพรรค ในการหาเสียงการเลือกตั้งในปี พ.ศ. 2548 นายสมศักดิ์มีนโยบายที่รู้จักกันเป็นอย่างดี คือ " วัวล้านตัว " เป็นนโยบายที่จะทำการแจกวัวให้แก่เกษตรกรฟรีทั่วประเทศ

หลังการรัฐประหารในปี พ.ศ. 2549 นายสมศักดิ์และกลุ่มวังน้ำยมได้ลาออกจากพรรคไทยรักไทย ไปจัดตั้งกลุ่มของตัวเองขึ้นมาใหม่ ใช้ชื่อว่า " กลุ่มมัชฌิมา " แต่จากคำพิพากษาในคดียุบพรรค นายสมศักดิ์ต้องถูกตัดสิทธิทางการเมืองเป็นระยะเวลา 5 ปี แต่ก็ยังดำเนินการทางการเมือง ด้วยการนำพาสมาชิกที่เหลือไปสังกัดกับทางพรรคประชาราช โดยที่นางอนงค์วรรณได้เป็นเลขาธิการพรรคด้วยในเวลาต่อมา แต่ก็อยู่กับทางพรรคประชาราชได้ไม่นาน เมื่อนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ มีความเห็นไม่ลงตัวกับนายเสนาะ เทียนทอง กลุ่มของนายประชัยและนายสมศักดิ์จึงได้ไปรวมตัวกันใหม่ ในชื่อ พรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยที่นางอนงค์วรรณก็ได้เป็นเลขาธิการพรรคด้วย

[แก้] อ้างอิง