การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
(เปลี่ยนทางมาจาก คำทับศัพท์ภาษาจีน)
การเขียนคำทับศัพท์
โดยราชบัณฑิตยสถาน

การเขียนคำทับศัพท์ภาษาจีนกลางนี้เป็นหลักการที่กำหนดโดยราชบัณฑิตยสถาน

เนื้อหา

[แก้] หลักทั่วไป

1. หลักเกณฑ์นี้ใช้สำหรับเขียนทับศัพท์คำภาษาจีนที่เขียนด้วยอักษรโรมันระบบพินอิน (Pīnyīn System) แต่เพื่อความสะดวกแก่การเขียนทับศัพท์ภาษาจีนที่ใช้ระบบอื่น ได้แก่ ระบบเวด-ไจลส์ (Wade-Giles System) ระบบเยล (Yale System) และระบบจู้อิน (Zhùyīn Fúhào System) ซึ่งยังมีปรากฏในหนังสือต่าง ๆ อยู่มาก จึงได้เทียบเสียงของระบบดังกล่าวไว้ด้วย

2. การเทียบเสียงสระและพยัญชนะ ให้ถือตามตารางการเทียบเสียงสระและพยัญชนะภาษาจีน และตัวอักษรในตารางแทนอักษรโรมันทั้งตัวตาม (ตัวเล็ก) และตัวนำ (ตัวใหญ่)

3. เครื่องหมายกำกับเสียงวรรณยุกต์ในระบบพินอิน ระบบจู้ยิน ฝูฮ่าว และระบบเยลใช้ ˉ ΄ ˇ ` ส่วนในระบบเวด-ไจลส์ใช้ 1 2 3 4 เทียบได้กับเสียงวรรณยุกต์ไทยได้ดังนี้

เสียงหนึ่ง ˉ หรือ 1 เทียบเท่าเสียงสามัญ*
เสียงสอง ΄ หรือ 2 เทียบเท่าเสียงจัตวา
เสียงสาม ˇ หรือ 3 เทียบเท่าเสียงเอก** (ยกเว้นเมื่ออยู่หน้าพยางค์ที่มีเสียงสาม ˇ ให้ออกเสียงเป็นเสียงสอง ΄ โดยคงเครื่องหมายเสียงสาม ˇ เช่น Kŏng Zĭ = โข่งจื่อ หรือ ข่งจื่อ ให้ออกเสียงว่า "โขงจื่อ" หรือ "ขงจื่อ")
เสียงสี่ ` หรือ 4 เทียบเท่าเสียงโท
คำที่ออกเสียงเบาจะไม่มีเครื่องหมายวรรณยุกต์กำกับ

4. เสียงสระในภาษาจีน ไม่มีความแตกต่างระหว่างเสียงสั้นกับเสียงยาวเหมือนในภาษาไทย โดยปรกติพยางค์ที่มีเสียงวรรณยุกต์เป็นเสียงหนึ่ง เสียงสอง และเสียงสาม จะออกเป็นเสียงสั้นหรือเสียงยาวก็ได้ ยกเว้นเสียงสี่ จะออกเสียงสั้นเสมอ

5. เครื่องหมายพินทุที่อยู่ใต้ตัวพยัญชนะแสดงว่าพยัญชนะตัวนั้น ๆ ออกเสียงควบกล้ำกับตัวที่ตามมา ยกเว้นตัว ห ที่มีเครื่องหมายพินทุกำกับจะออกเสียงควบกล้ำและเป็นอักษรนำด้วย เช่น Huá = หฺวา Huái = ไหฺว/หฺวาย

6. เสียงพยัญชนะจีนซึ่งเทียบได้กับพยัญชนะไทยที่มีอักษรคู่ (อักษรสูงมีเสียงคู่กับอักษรต่ำ) ได้ให้ไว้ทั้ง 2 ตัว เช่น ฉ ช ฝ ฟ ให้เลือกใช้ตามหลักการผันเสียงวรรณยุกต์ของไทย เช่น ฉา ชือ เฝิน ฟั่น

ในกรณีที่เป็นอักษรเดี่ยว ซึ่งในการผันวรรณยุกต์ต้องใช้ ห นำ ถ้าอักษรเดี่ยวนั้นเป็นตัวควบกล้ำให้แทรกตัว ห ไว้ระหว่างตัวควบกล้ำเพื่อให้อ่านได้สะดวก เช่น yún = ยฺหวิน

7. เสียงสระผสมในภาษาจีนบางเสียง เมื่อถอดเป็นอักษรไทยแล้วจะมีเสียงพยัญชนะ ย หรือ ว อยู่ด้วย ให้ใส่เครื่องหมายพินทุใต้ตัวพยัญชนะต้นซึ่งผสมกับสระนั้น เช่น jiŏng = จฺย่ง yuè = เยฺว่

8. พยัญชนะที่มีเครื่องหมายทัณฑฆาตกำกับในคำทับศัพท์ให้ออกเสียงด้วย เช่น érzi = เอ๋อร์จึ fēi = เฟย์

9. ในการเขียนทับศัพท์ภาษาจีน การแยกคำให้ยึดตามต้นฉบับ ยกเว้นคำที่ใช้ในภาษาไทยจนเป็นที่ยอมรับแล้ว เช่น Kŏng Zĭ = ขงจื่อ (ขงจื๊อ)


* เสียงหนึ่งในภาษาจีนกลางใกล้เคียงกับเสียงสามัญในภาษาไทย
** เสียงสามในภาษาจีนกลางใกล้เคียงกับเสียงเอก+เสียงจัตวาในภาษาไทย

[แก้] ตารางเทียบเสียงสระภาษาจีน

เสียงสระภาษาจีน ใช้ ตัวอย่าง ความหมาย
ระบบ
พินอิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
A
a a a —ะ
(เสียงเบา)
ma [หมะ] ไหม/หรือ
—า mā [มา] แม่
ai ai ai ไ— tài [ไท่] เกินไป
—าย măi [ไหม่/หม่าย] ซื้อ
an an an —ัน kàn [คั่น] ดู, มอง, อ่าน
—าน lán [หลัน, หลาน] สีน้ำเงิน
ang ang ang —ัง chàng [ชั่ง] ร้องเพลง
—าง cháng [ฉัง, ฉาง] บ่อย ๆ
ao ao au เ—า bào [เป้า] อุ้ม
—าว gāo [เกา, กาว] สูง
E
e o, oh e เ—อ lè [เล่อ] สนุก, ยินดี
e (เมื่อตามหลัง y) eh e เ— yè [เย่] ใบไม้
ê ไม่ปรากฏสระนี้ในระบบเวด-ไจลส์
และระบบเยล
เ— ế [เอ๋] (คำอุทาน)
ei ei ei เ—ย fēi [เฟย] บิน
en en en เ—ิน bĕn [เปิ่น] เล่ม (ลักษณนาม)
eng eng eng เ—ิง dĕng [เติ่ง] คอย
er (ไม่ผสมกับพยัญชนะต้น) erh er เ—อร์ èr [เอ้อร์] สอง
I
i i i —ี nĭ [หนี่] เธอ
i
(เมื่อตามหลัง c, ch, r, s, sh,
z และ zh)
ih
(เมื่อตามหลัง tz
และ sz ใช้ u, ū)
—r
(เมื่อตามหลัง ts
และ s ใช้ z)
ไม่ปรากฏรูป —ึ
(เสียงเบา)
érzi [เอ๋อร์จึ] ลูกชาย
—ือ shĭ [สื่อ] ใช้ (sh ออกเสีียงเป็น ซ โซ่)
ia* ia ya 一ㄚ อี+อา j [จีอา] บ้าน
ian ien yan 一ㄢ เ—ียน tiān [เทียน] ฟ้า
iang iang yang 一ㄤ เ—ียง niáng [เหนียง] ผู้หญิง
iao iao you 一ㄠ เ—ียว biăo [เปี่ยว] นาฬิกา
ie* ieh ye 一ㄝ อี+เอ j [เจี้ย] ยืม
in in in 一ㄣ —ิน lín [หลิน] ป่าไม้
ing ing ing 一ㄥ —ิง dīng [ติง] ตะปู
iong
(ใช้เฉพาะกับ j, q, x)
iung yung ㄩㄥ —ยง xiōng อ่านแบบ xi+ōng[ซีโอง] ดุร้าย (ซี (รูปปากแบน)+โอง(รูปปากกลม)q กับ

j เช่นเดียวกัน)

xióng อ่านแบบ xi+óng[ซีโอ๋ง] หมี
qióng อ่านแบบ qi+óng[ชีโอ๋ง] ยากจน
jiŏng อ่านแบบ ji+ŏng[จีโอ่ง] เก้อเขิน, ทำให้เขิน
iu iu you 一ㄡ —ิว n [หนิว] วัว

*สระ ia และ ie เป็นหน่วยเสียงที่คล้ายกับเสียงสระเอียในภาษาไทย แต่สามารถแยกด้วยภาษาไทยได้ โดยแยกเป็น ia คือเสียง อี+อา และ ie คือเสียง อี+เอ ดังนั้น ia อ่านแบบ ji+ā เช่น j [จีอา] = บ้าน และ ie อ่านแบบ ji+ē ซึ่งแทนด้วยสระเอียได้ใก้ลเคียง j [เจีย] = ถนน

เสียงสระภาษาจีน ใช้ ตัวอย่าง ความหมาย
ระบบ
พินอิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
O
o
(เมื่อตามหลัง b, f, m, p, w
ออกเสียง uo)
o wo —ัว mō [มัว] คลำ
o o o โ— ōyō [โอโย] (คำอุทาน)
ong ung ung ㄨㄥ —ง lóng [หลง] มังกร
ou ou ou โ—ว lóu [โหลว] ตึกสูง
U
u u u —ู bù [ปู้] ไม่
ü
(เมื่อตามหลัง j, q, x, y
เขียนลดรูปเป็น u
แต่เมื่อตามหลัง n, l
ให้คงรูปเดิมคือ ü)
ü yu —วี yú [ยฺหวี] ปลา
nǚ [นฺหวี่] ผู้หญิง
ua ua wa ㄨㄚ —วา g [กวา] แตง
uai uai wai ㄨㄞ ไ—ว
—วาย
guāi [ไกว/กวาย] ว่านอนสอนง่าย
uan uan wan ㄨㄢ —วัน
—วาน
duàn [ตฺวั้น/ตฺว้าน] ผ้าต่วน
üan
(เมื่อตามหลัง j, q, x, y
เขียนลดรูปเป็น uan)
üan ywan ㄩㄢ เ—วียน quàn [เชฺวี่ยน] ชักชวน, ตักเตือน
uang uang wang ㄨㄤ —วัง
—วาง
guāng [กวัง/กวาง] แสง
üe
(เมื่อตามหลัง j, q, x, y
เขียนลดรูปเป็น ue
แต่เมื่อตามหลัง n, l
ให้คงรูปเดิมคือ üe)
ueh ywe ㄩㄝ เ—ฺว y [เยฺว่] เดือน, พระจันทร์
nüè [เนฺว่] ไข้จับสั่น
ui ui wei ㄨㄟ —ุย h [หุย] กลับ
un (uen) un wun ㄨㄣ —ุน dùn [ตุ้น] ทื่อ
ün
(เมื่อตามหลัง j, q, x, y
เขียนลดรูปเป็น un)
un yun ㄩㄣ —ฺวิน yún [ยฺหวิน] เมฆ
uo uo, o wo ㄨㄛ —ัว g [กั๋ว] ประเทศ

[แก้] ตารางเทียบเสียงพยัญชนะภาษาจีน

เสียงสระภาษาจีน ใช้ ตัวอย่าง ความหมาย
ระบบ
พินอิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
b p b bā [ปา] แปด
c ts′, tz′ ts ฉ, ช cán [ฉัน/ฉาน] ตัวไหม
cāng [ชัง/ชาง] ฉางข้าว
ch* ch ch ฉ, ช chá [ฉา] ชา
chī [ชือ] กิน

*เป็นเสียงกักเสียดแทรก (affricate) เวลาออกเสียงปลายลิ้นต้องงอขึ้นไปแตะที่เพดานแข็ง

เสียงสระภาษาจีน ใช้ ตัวอย่าง ความหมาย
ระบบ
พินอิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
d t d dà [ต้า] ใหญ่
f f f ฝ, ฟ fén [เฝิน] เผา
fàn [ฟั่น/ฟ่าน] ข้าว, อาหาร
g k g gē [เกอ] พี่ชาย
h h h ห, ฮ hăo [เห่า, ห่าว] ดี
hē [เฮอ] ดื่ม
j ch (j) j (y) jiāng [เจียง] แม่น้ำ
k k′ k ข, ค kuí [ขุย] หัวหน้า, ตัวการ
kàn [คั่น] ดู, มอง, อ่าน
l l l lái [ไหล/หลาย] มา
m m m mā [มา] แม่
n n n nán [หนัน/หนาน] ผู้ชาย
p p′ p ผ, พ pá [ผา] คลาน
pō [พัว] เนิน, เนินเขา
q ch′ (i) ch (y) ฉ, ช qián [เฉียน] เงินใช้สอย
qiāng [เชียง] ปืน
r j′ r rén [เหริน] คน
s s, ss, sz s ซ, ส sān [ซัน/ซาน] สาม
săo [เส่า/ส่าว] กวาด, ปัดกวาด
sh* sh sh ส, ซ shéng [เสิง] เชือก
shū [ซู] หนังสือ

s และ sh ออกเสียงเป็น ซ โซ่ เหมือนกัน ต่างกันที่ตำแหน่งลิ้นเสียง s ปลายลิ้นอยู่เกือบแตะส่วนปลายของฟันบน ส่วนตำแหน่งลิ้นเสียง sh ปลายลิ้นงอขึ้นไปใกล้เพดานแข็ง แต่ไม่แตะเพดานแข็ง

  • เป็นเสียงเสียดแทรก (fricative) เวลาออกเสียงปลายลิ้นงอขึ้นไปใกล้เพดานแข็ง แต่ต้องไม่แตะเพดานแข็ง
เสียงสระภาษาจีน ใช้ ตัวอย่าง ความหมาย
ระบบ
พินอิน
ระบบ
เวด-ไจลส์
ระบบ
เยล
ระบบ
จู้ยิน ฝูฮ่าว
t t′ t ถ, ท Táng [ถัง/ถาง] ชื่อราชวงศ์
tā [ทา] เขา (สรรพนาม)
w w w ไม่ปรากฏรูป wàn [วั่น/ว่าน] หมื่น
wŏ [หวั่ว] ฉัน
w
(เมื่อตามด้วยสระ u
จะไม่ออกเสียง)
w w ไม่ปรากฏรูป - wŭ [อู่] ห้า
x hs sy ซ, ส xiāng [เซียง] หอม
xié [เสีย] รองเท้า
y y y ไม่ปรากฏรูป yín [หยิน] แร่เงิน
y
(เมื่อตามด้วยสระ i
และไม่มีตัวสะกด
จะไม่ออกเสียง)
yi y ไม่ปรากฏรูป - yī [อี] หนึ่ง
z ts, tz dz zŏu [โจ่ว] เดิน
zh ch j zhàn [จั้น/จ้าน] ยืน

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ