ศาสนาพุทธในประเทศอัฟกานิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาพุทธ

Dhamma Cakra.svg สถานีย่อย


Dharmacakra flag (Thailand).svg
ประวัติศาสนาพุทธ

ศาสดา

พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)

จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
อริยสัจ ๔ · มรรค ๘ · อิทัปปัจจยตา
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมศาสนาพุทธ
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
อภิธานศัพท์ศาสนาพุทธ
หมวดหมู่ศาสนาพุทธ

พุทธศาสนาได้เผยแพร่เข้ามาตั้งแต่สมัยพุทธกาล โดยกลุ่มชาวศากยะที่หนีตายจากพระเจ้าวิฑฑูภะมีเจ้าชายองค์หนึ่งได้สมรสกับกับพระเทพธิดาพญานาค แล้วตั้งรกรากอยู่ที่แคว้นอุทยาน (Udyana) ทางตอนเหนือของอัฟกานิสถานในปัจจุบัน และต่อมาก็หลังทุติยสังคายนาก็มีพระกลุ่มมหาสังฆิกะได้เผยแพร่ในบริเวณแคว้นนครหาร (Nagarahara) ซึ่งใกล้แคว้นคันธาระทางทิศเหนือ แต่สองยุคนี้ ไม่ปรากฏแน่ชัดทางประวัติศาสตร์

เนื้อหา

[แก้] สมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

ต่อมา พ.ศ. 300 พระเจ้าอโศกมหาราชได้ส่งพระธรรมทูตไปเผยแพร่ 2 สาย คือ พระมัชฌันติกเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่พุทธศาสนาในแคว้นกัษมีระ และแคว้นคันธาระและพระมหาธัมมรักขิตเถระเป็นหัวหน้า เผยแพร่พุทธศาสนาในแคว้นโยนกบ้านเกิดของท่านเองเป็นเขตแดนบากเตรียหรืออัฟกานิสถานในปัจจุบัน ซึ่งยุคนั้นอยู่ภายใต้การปกครองของกรีกตั้งแต่พระเจ้าอเล็กซานเดอร์มหาราช เป็นต้นมา

[แก้] สมัยพระเจ้ามิลินท์ (เมนันเดอร์)

ปี พ.ศ. 360 หรือ พ.ศ. 500 พระเจ้าเมนันเดอร์หรือพระเจ้ามิลินท์ (Menander) กษัตริย์เชื้อสายกรีก ได้สร้างเมืองสาคละใกล้กับตักศิลา และได้ขยายดินแดนทางใต้จรดเมืองมถุราลุ่มแม่น้ำยมุนาของอินเดีย พระองค์ทรงเป็นปราชญ์ได้โต้ตอบปัญญาธรรมกับภิกษุชื่อ พระนาคเสน จากนั้นก็เลื่อมใสพระพุทธศาสนา ดังปรากฏในคัมภีร์มิลินทปัญหา พระพุทธศาสนาได้รับการทำนุบำรุงจนเจริญรุ่งเรือง พระพุทธรูปศิลปกรรมกรีกผสมอินเดียแบบคันธาระเกิดของเป็นยุคแรก เพราะนำวัฒนธรรมกรีก ผสมความเชื่อในเทพเจ้าของศาสนาพราหมณ์และพระโพธิสัตว์พุทธศาสนานิกายมหายานซึ่งเป็นเทวนิยม

[แก้] ยุคมุสลิมรุกรานและปัจจุบัน

พระพุทธรูปบามิยันภายหลังถูกทำลาย

หลายพันปีต่อมา ชาวมุสลิมรุกราน พระพุทธศาสนาจึงเสื่อมลงเรื่อยๆ และมีการทำลายพระพักตร์ของพระพุทธรูปบามิยันทั้งสององค์ แต่ในสมัยนั้นก็ยังมีผู้นับถือพระพุทธศาสนาอยู่หลักหมื่น สิทธิการแสดงออกของเขาทำได้แค่ ใช้ผ้าสีเหลืองเล็กๆ ผูกหางเปียสั้นๆเท่านั้น

ต่อมาในยุคตอลีบันเข้าปกครองประเทศนี้ เป็นเวลา 5 ปี ชาวพุทธจะต้องผ่านเหตุการณ์อันเลวร้าย รอดเพียงไม่กี่ราย และมีความหวังที่จะไปสัมผัสหุบเขาบามิยันสักครั้งในชีวิต แต่พระพุทธรูปแห่งบามิยันก็ถูกทำลายอย่างย่อยยับ โดยกลุ่มตอลีบัน และชาวพุทธในอัฟกานิสถานที่รอดชีวิตมาได้ ก็อพยพไปประเทศเพื่อนบ้านของอัฟกานิสถาน

ปัจจุบันมีชาวพุทธจำนวนเล็กน้อยในประเทศอัฟกานิสถาน ซึ่งมีจำนวนร้อยะ 0.3 จากชาวอัฟกานิสถานทั่งประเทศ ชนพวกนี้มีพวกที่นับถือศาสนาพราหมณ์-ฮินดู และศาสนาสิกข์ เรียกกันว่า ฮินด์กิ (Hindki)[1]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "Hindki". Encyclopædia Britannica Eleventh Edition. http://encyclopedia.jrank.org/PAS_PER/HINDKI.html. เรียกข้อมูลเมื่อ 2007-09-15. 
  • มิลินทปัญหาฉบับแปลในมหาวิทยาลัยมหามงกุฏราชวิทยาลัย, (กรุงเทพฯ:มหามงกุฏฯ,2515). ; Horner,I.B.,Milinda's Questions. 2 vols. (London:PTS.,1969).;Rhy Devids, T.W., The Qurstions of King Milinda, (Dehli:Motilal Banarsidass Publishers,1992).

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น