คริสต์ศาสนา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ศาสนาคริสต์)

ส่วนหนึ่งของ
คริสต์ศาสนา


Gold Christian Cross no Red.svg
ประวัติคริสต์ศาสนา
พระเจ้า
พระยาห์เวห์
ศาสดา
พระเยซู
ความเชื่อและการปฏิบัติ
ปรัชญา · เทวดา · พิธีสำคัญ
คัมภีร์และหนังสือ
ไบเบิล · พันธสัญญาเดิม ·
พันธสัญญาใหม่ · พระวรสาร
นิกาย
โรมันคาทอลิก ·
อีสเติร์นออร์โธด็อกซ์ ·
โอเรียนทัลออร์โธด็อกซ์ ·
อังกลิคัน · โปรเตสแตนต์ ·
คริสต์ศาสนปฏิรูป
สังคมคริสต์ศาสนา
เมือง · คริสตกาล · คริสต์ศักราช ·
สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล ·
นักบุญ
ดูเพิ่มเติม
กฏบัตร ·
ศัพท์เกี่ยวกับคริสต์ศาสนา ·
หมวดหมู่คริสต์ศาสนา
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข

คริสต์ศาสนา (อังกฤษ: Christianity) เป็นศาสนาแห่งความรัก เพราะพระเจ้าทรงรักมนุษย์ ทรงรักประชากรของพระองค์ทรงสร้างสัตว์ต่างๆขึ้นมาเพื่อรับใช้ เป็นอาหารแก่มนุษย์ และทรงให้มนุษย์ลงสู่นรกเมื่อไม่ศรัทธาในพระเจ้า ศาสนาคริสต์เป็นศาสนาที่นับถือศรัทธาในพระเจ้าองค์เดียวเชื่อว่าพระเจ้าเป็นผู้สร้างโลกและทุกสิ่งทุกอย่างรวมถึงมนุษย์โดยใช้เวลาเพียง 6วัน และหยุดพักในวันที่7 เมื่อไม่ถึง6000ปีก่อน พระเจ้า คือพระยาเวห์(นิกายโรมันคาทอลิค,นิกายออโธดอกซ์) หรือ พระยะโฮวา(นิกายโปรเตสแตนต์) มีพระเยซูคริสต์เป็นศาสดา คริสต์ศาสนาเชื่อในพระเจ้าหนึ่งเดียวซึ่งดำรงในสามพระบุคคล ในพระลักษณะ"ตรีเอกภาพ" หรือ "ตรีเอกานุภาพ" (Trinity) คือ พระบิดา, พระบุตร และพระจิต(พระวิญญาณบริสุทธิ์) มีพระคัมภีร์คือ พระคริสตธรรมคัมภีร์ หรือ คัมภีร์ไบเบิล (The Bible) ศาสนาคริสต์มีผู้นับถือทั้งหมด 2,100 ล้านคน ถือว่าเป็นศาสนาที่มีจำนวนผู้นับถือมากที่สุดในโลก

ศาสนาคริสต์มีรากฐานมาจากศาสนายูดาย (หรือศาสนายิว) โดยมีเนื้อหาและความเชื่อบางส่วนเหมือนกัน โดยเฉพาะคัมภีร์ไบเบิลฮิบรู ที่คริสตศาสนิกชนรู้จักในชื่อ พันธสัญญาเดิม (The Old Testament) โดยในพระคริสตธรรมคัมภีร์ 5 เล่มแรกจากทั้งหมด 46 เล่มในภาคพันธสัญญาเดิม ที่เรียกว่า เบญจบรรณ/ปัญจบรรพ (Pentateuch) ได้รับการนับถือเป็นพระคัมภีร์ของศาสนายูดาย และศาสนาอิสลาม ด้วยเช่นกัน โดยในพระธรรมหลายตอนได้พยากรณ์ถึงพระเมสสิยาห์ (Messiah) ที่ชาวคริสต์เชื่อว่า คือ พระเยซู เช่น หนังสือประกาศ อิสยาห์ บทที่ 53 เป็นต้น

คริสตชนนั้นมีความเชื่อว่าพระเยซูคริสต์เป็นพระบุตรของพระเจ้าที่มาบังเกิดเป็นมนุษย์ จากหญิงพรหมจรรย์ (สาวบริสุทธิ์) โดยฤทธิ์อำนาจของพระเจ้า เพื่อไถ่มนุษย์ให้พ้นจากความบาปโดยการสิ้นพระชนม์ที่กางเขน และทรงฟื้นขึ้นมาจากความตายในสามวันหลังจากนั้น และเสด็จสู่สวรรค์ประทับเบื้องขวาพระหัตถ์ของพระบิดา ผู้ที่เชื่อและไว้วางใจในพระองค์จะได้รับการอภัยโทษบาป และจะเข้าสู่การพิพากษาในวันสุดท้ายเหมือนทุกคน แต่จะรอดพ้นจากการถูกพิพากษาให้ตกนรกแต่จะเป็นการพิพากษาเพื่อรับบำเหน็จรางวัลแทนในวันสิ้นโลก (Armageddon) และได้เข้าสู่พระราชัยสวรรค์ แต่ถ้าผู้ใดไม่เชื่อจะถูกปรับโทษหลังความตาย

เนื้อหา

[แก้] นิกาย

ดูบทความหลักที่ นิกายของคริสต์ศาสนา

มนุษย์ได้แบ่งศาสนาคริสต์ให้เป็นนิกายต่างๆ ซึ่งแปรไปตามพื้นที่, วัฒนธรรม และความคิดของตน นิกายที่สำคัญมี 3 นิกายคือ

  • นิกายโรมันคาทอลิกแปลว่าสากล เป็นนิกายดั้งเดิมที่ยึดมั่นในหลักคำสอนของพระเยซูคริสต์เคารพพระนางมารีอาและนักบุญต่างๆ ภายในวัดของนิกายนี้จะมีรูปเคารพพระเยซูคริสต์ พระแม่มารีย์ และนักบุญต่างๆ มีศูนย์กลางอยู่ที่นครรัฐวาติกัน มีพระสันตะปาปาเป็นประมุข โดยสืบทอดมาตั้งแต่สมัยอัครสาวกกลุ่มแรก โดยถือว่า นักบุญเปโตร หรือ นักบุญปีเตอร์ คือพระสันตะปาปาพระองค์แรก ซึ่งได้รับการยินยอมจากพระเจ้าให้ปกครองศาสนาจักรทั้งมวลและสืบทอดมาถึงพระสันตะปาปาเบนนิดิกที่ 16 องค์ปัจจุบันเป็นองค์ที่265 คาทอลิกนั้นจะมีนักบวช ที่เรียกว่า บาทหลวง และซิสเตอร์ (นักบวชหญิง) ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสตัง"ตามเสียงอ่านภาษาโปรตุเกสผู้เผยแพร่ยุคแรกๆมีผู้นับถือนิกายนี้ประมาณ 1000 ล้านคน นิกายนี้ถือว่าบาทหลวง เป็นสื่อกลางระหว่างพระเจ้าและมนุษย์ (ตัวแทนพระเจ้าในโลกนี้)
  • นิกายออร์โธด็อกซ์แปลว่าถูกต้อง นับถือในประเทศทางฝั่งยุโรปตะวันออก เช่น รัสเซีย โดยแยกตัวออกไปจากพระศาสนจักรของกษัตริย์แห่งกรุงคอนสแตนติโนเปิ้ลเพราะเหตุผลไม่อยากอยู่ภายใต้อำนาจขององค์สันตะปาปาซึ่งมีอำนาจมากสูงกว่ากษัตริย์ (คือมีอำนาจแต่งตั้งและถอดถอนกษัตริย์ได้) ในสมัยนั้น โดยที่มิได้เปลี่ยนแปลงข้อความเชื่อ ข้อความเชื่อของนิกายออโธดอกซ์เหมือนกับข้อความเชื่อของนิกายโรมันคาทอลิก มีพระอัยกา เป็นประมุข นิกายออโธดอกซ์ยังมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า พระศาสนจักรตะวันออก มีผู้นับถือรวมกันประมาณ 500 ล้านคน
  • นิกายโปรเตสแตนต์ แยกตัวมาจากนิกายโรมันคาทอลิคในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 เป็นนิกายที่ถือว่าศรัทธาของแต่ละคนที่มีต่อพระเจ้าสำคัญกว่าพิธีกรรม ซึ่งยังแตกย่อยออกเป็นหลายร้อยนิกายเนื่องจากมีความเห็นแตกต่างเกี่ยวกับพระคัมภีร์ และการปฏิบัติในพิธีกรรม นิกายนี้ไม่มีนักบวชเชื่อว่าทุกคนสามารถเข้าถึงพระเจ้าได้โดยมิต้องอาศัยบาทหลวงและถือว่าพระเยซูได้ทรงไถ่บาปแก่ศาสนิกทุกคนไปเมื่อถูกตรึงกางเขนแล้ว นิกายนี้มีเพียงไม้กางเขนเป็นเครื่องหมายแห่งศาสนาเท่านั้น มีผู้นับถือรวมกันทุกนิกายย่อยประมาณ 500 ล้านคน

ชาวไทยจะเรียกผู้นับถือนิกายนี้ว่า "คริสเตียน"ตามกลุ่มมิชชันนารีอเมริกัน ในประเทศไทยมีผู้นับถือนิกายนี้ 4 นิกายย่อย

สำหรับในประเทศไทยศาสนาคริสต์ได้เข้ามาก่อนเมื่อปี พ.ศ. 2052 คือเข้ามาพร้อมกับมิชชั่นนารีในสมัยอยุธยา โดยบาทหลวงคนแรกชื่อบาทหลวงพอล (เสียชีวิตในขณะไปสอนศาสนาในตลาดวันพระในศาสนาพุทธโดยการสอนว่าไม่จำเป็นต้องหยุดฆ่าสัตว์ในวันพระวันโกน เนื่องจากฆ่าสัตว์กินเป็นอาหารสัตว์จะได้บุญได้ไปอยู่กับพระเจ้าซึ่งผิดใจกับชาวไทยสมัยนั้น ทำให้ถูกรุมสังหารที่กลางตลาด) มิชชั่นนารีที่เป็นที่รู้จักคือ หมอบรัดเลย์ผู้นำแท่นพิมพ์เข้ามาในประเทศไทยเป็นคนแรก, หมอแมคคอมิคผู้อุทิศตัวแก่ประชาชนในเมืองเชียงใหม่ และตั้งโรงพยาบาลแมคคอมิคในเมืองเชียงใหม่ ในปัจจุบัน คริสตจักรโปรเตสแตนท์ในไทยทั้งหมดมีจำนวนสมาชิกร่วมกันประมาณ หนึ่งแสนคนรวมกับคาทอลิกประมาณ 260,000 (ในปี พ.ศ. 2546) มีคริสตจักรต่างๆ เช่น คริสตจักรใจสมาน, คริสตจักรสามัคคีธรรมกรุงเทพ, คริสตจักรร่มเย็น,คริสตจักรสืบสัมพันธวงศ์, คริสตจักรน้ำพระทัย, คริสตจักรสะพานเหลือง, คริสตจักรไมตรีจิต, คริสตจักรเทียนสั่ง, คริสตจักรอิมมานูเอลเป็นต้น ซึ่งการเผยแพร่ศาสนาคริสต์ในประเทศไทยสามารถตั้งศูนย์คริสต์ศาสนาต่างๆในเชียงใหม่ได้ถึง 2000 กว่าศูนย์ แต่ในประเทศไทยได้ขึ้นชื่อว่าเป็นหลุมฝังศพของมิชชั่นนารีเก่งๆมากมายแต่ไม่ประสพความสำเร็จในการเผยแพร่แม้จะหมดทุนทรัพย์และบุคลากรมากมายมาเป็นเวลานานและทั้งๆที่คณะสงฆ์ในประเทศไทยอ่อนแออย่างมากก็ตาม[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] พิธีกรรมสำคัญในคริสต์ศาสนา

พิธีกรรมในศาสนานี้ มีสำคัญๆอยู่ 7 พิธี เรียกว่า พิธีรับศีลศักดิ์สิทธิ์ มีดังนี้

  • ศีลล้างบาปหรือการรับบัพติสมา เป็นพิธีแรกที่คริสตชนต้องรับ โดยบาทหลวงจะใช้น้ำศักดิ์สิทธิ์เทลงบนศีรษะพร้อมเจิมน้ำมันคริสมาที่หน้าผาก
  • ศีลอภัยบาป เป็นการสารภาพบาปกับพระเจ้าโดยผ่านบาทหลวง บาทหลวงจะเป็นผู้ตักเตือนสั่งสอนไม่ให้ทำบาปนั้นอีก และทำการอภัยบาปให้ในนามพระเจ้า
  • ศีลมหาสนิท เป็นพิธีกรรมรับศีลโดยรับขนมปังและเหล้าองุ่นมารับประทาน โดยความเชื่อว่าพระกายและพระโลหิตของพระเยซู
  • ศีลกำลัง เป็นพิธีรับศีลโดยการเจิมหน้าผาก เพื่อยืนยันความเชื่อว่าจะนับถือศาสนาคริสต์ตลอดไปและได้รับพระพรของพระจิตเจ้า ทำให้เข้มแข็งในความเชื่อมากขึ้น
  • ศีลสมรส เป็นพิธีประกอบการแต่งงาน โดยบาทหลวงเป็นพยาน เป็นการแสดงความสัมพันธ์ว่าจะรักกันจนกว่าชีวิตจะหาไม่
  • ศีลบวช สงวนไว้เฉพาะผู้ที่จะบวชเป็นบาทหลวงและเป็นชายเท่านั้น
  • ศีลเจิมคนไข้ เป็นพิธีเจิมคนไข้โดยบาทหลวงจะเจิมน้ำมันลงบนหน้าผากและมือทั้งสองข้างของผู้ป่วย ให้ระลึกว่าพระเจ้าจะอยู่กับตนและให้พลังบรรเทาอาการเจ็บป่วย

สำหรับนิกายโรมันคาทอลิกและนิกายออร์โธด็อกซ์ จะมีพิธีกรรมทั้ง 7 พิธี แต่สำหรับนิกายโปรเตสแทนท์ จะมีเพียง 2 พิธีคือพิธีบัพติสมา และ พิธีมหาสนิท

[แก้] คริสต์ศาสนาในประเทศไทย

ปัจจุบันกรมศาสนา ประเทศไทย รับรององค์กรคริสต์ศาสนา 5 องค์กร[ต้องการอ้างอิง] คือ

นอกจากนั้นยังมีคริสตจักรอิสระอีกหลายแห่งในกรุงเทพมหานครและปริมณฑล เช่น คริสตจักรคณะพระกิตติคุณสมบูรณ์, คริสตจักรคณะคริสเตียนสัมพันธ์ (assambly of God) เป็นต้น 1525632พาน

[แก้] อ้างอิง

  • Gill, Robin (2001). The Cambridge companion to Christian ethics. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0521779189. 
  • Gunton, Colin E. (1997). The Cambridge companion to Christian doctrine. Cambridge, UK: Cambridge University Press. ISBN 0-521-47695-X. 
  • MacMullen, Ramsay (2006). Voting About God in Early Church Councils. New Haven, CT: Yale University Press. ISBN 0300115962. 
  • Padgett, Alan G.; Sally Bruyneel (2003). Introducing Christianity. Maryknoll, N.Y.: Orbis Books. ISBN 1570753954. 
  • Price, Matthew Arlen; Collins, Michael (1999). The story of Christianity. New York: Dorling Kindersley. ISBN 0-7513-0467-0. 
  • Ratzinger, Joseph (2004). Introduction To Christianity (Communio Books). San Francisco: Ignatius Press. ISBN 1586170295. 
  • Tucker, Karen; Wainwright, Geoffrey (2006). The Oxford history of Christian worship. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. ISBN 0-19-513886-4. 
  • Wagner, Richard (2004). Christianity for Dummies. For Dummies. ISBN 0764544829. 
  • Webb, Jeffrey B. (2004). The Complete Idiot's Guide to Christianity. Indianapolis, Ind: Alpha Books. ISBN 159257176X. 
  • Woodhead, Linda (2004). Christianity: a very short introduction. Oxford [Oxfordshire]: Oxford University Press. ISBN 0192803220. 

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น