เวียงจันทน์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

บทความนี้กล่าวถึงเมืองเวียงจันทน์ สำหรับเขตการปกครอง ดูที่ นครหลวงเวียงจันทน์ และ แขวงเวียงจันทน์

เวียงจันทน์ เป็นเมืองหลวงของประเทศสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว อยู่ในลุ่มแม่น้ำโขง ในพิกัด 17°58' เหนือ, 102°36' ตะวันออก (17.9667, 102.6) ประชากรในตัวเมืองมีประมาณ 200,000 คน (ค.ศ. 2005) แต่ประชากรทั้งหมด ที่อาศัยในกำแพงนครเวียงจันทน์ เชื่อว่ามีอยู่ถึงกว่า 730,000 คน

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ทรงสถาปนาเวียงจันทน์ขึ้นเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง เมื่อ พ.ศ. 2103 ครั้นเมื่อล้านช้างเสื่อมอำนาจลง ในปี พ.ศ. 2250 เวียงจันทน์กลายเป็นอาณาจักรอิสระ เรียกว่า อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2322 เจ้าพระยาจักรีของไทย (ในสมัยกรุงธนบุรี) ยกทัพมาปราบดินแดนลาวทั้งหมด อาณาจักรเวียงจันทน์ตกเป็นประเทศราชของไทยนับตั้งแต่นั้นมา

พ.ศ. 2369 เจ้าอนุวงศ์ กษัตริย์แห่งเวียงจันทน์องค์สุดท้ายพยายามรวบรวมกำลังเพื่อก่อการกบฏและกู้ชาติจากไทย รัฐบาลไทยจึงส่งกองทัพยกขึ้นมาปราบปรามเมืองเวียงจันทน์ และจับเจ้าอนุวงศ์ไปลงโทษที่กรุงเทพ ส่วนเมืองเวียงจันทน์นั้นถูกทำลายย่อยยับ เหลือรอดเพียงแต่พระอารามสำคัญไม่กี่แห่ง เช่น หอพระแก้ว วัดสีสะเกด เท่านั้น

ประตูไซย สัญลักษณ์แห่งชัยชนะจากฝรั่งเศส

พ.ศ. 2436 ดินแดนลาวตกอยู่ภายใต้การปกครองของฝรั่งเศส เวียงจันทน์ถูกกำหนดให้เป็นศูนย์กลางการบริหารการปกครองของลาวในอาณัติของฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2442 ต่อมาเมื่อประเทศลาวประกาศเอกราชจากฝรั่งเศส ก็ได้กำหนดให้กรุงเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวงของลาวสืบต่อมาจนถึงทุกวันนี้

[แก้] การปกครอง

เวียงจันทน์อยู่ในแขวงนครหลวงเวียงจันทน์ และเป็นเมืองหลวงของแขวงนี้ด้วย โดยมีเมืองต่างๆ ดังนี้

  • จันทะบูลี
  • สีโคดตะบอง
  • ไซเสดถา
  • สีสัดตะนาก
  • หาดซายฟอง

[แก้] ภูมิศาสตร์

เวียงจันทน์อยู่ในช่วงโค้งของแม่น้ำโขง ซึ่งเป็นแนวกั้นระหว่างประเทศไทยและลาว (ตรงข้ามกับจังหวัดหนองคายของไทย)

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons
Gnome-globe.svg เวียงจันทน์ เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เวียงจันทน์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ