ชีอะหฺ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ชีอะห์)

ส่วนหนึ่งของ
ศาสนาอิสลาม


Mosque02.svg
ประวัติศาสนาอิสลาม
พระเจ้า
อัลลอฮฺ
ศาสดา
มุฮัมมัด
การปฏิบัติ
ปฎิญานตน · ละหมาด· ศีลอด · ซะกาต · ฮัจญ์
บุคคลสำคัญ
มุฮัมมัด · อีซา · มูซา · อิบรอฮีม · นุหฺ
คัมภีร์และหนังสือ
อัลกุรอาน · เตารอต · อินญีล · ซะบูร
จุดแยกอะกีดะห์
ซุนนี · ชีอะหฺ
สังคมศาสนาอิสลาม
เมือง · ปฏิทิน ·มัสยิด· สถาปัตยกรรม · ศิลปะ · บุคคล
ดูเพิ่มเติม
จิฮาด · ศัพท์ · หมวดหมู่ศาสนาอิสลาม

ชีอะหฺ (บ้างสะกด ชีอะห์, ชีอะฮฺ หรือ ชีอะฮ์) เป็นนิกายหนึ่งในอิสลาม ซึ่งมีความแตกต่างกับซุนนีย์ในเรื่องของผู้นำสูงสุด หรือตัวแทนนบีมุฮัมมัด ว่าจะต้องมาจากการแต่งตั้งของอัลลอหฺและนบีมุฮัมมัดเท่านั้น นั้นคืออิมามสิบสองคน อันได้แก่อิมามอะลีย์และบุตรหลานอีก 11 คน

ชีอะหฺ ตามความหมายของปทานนุกรมหมายถึง ผู้ปฏิบัติตามหรือผู้ติดตาม ซึ่งบุคคลที่เป็นชีอะหฺหมายถึง บุคคลที่เชื่อว่า ตัวแทนของศาสดามุฮัมมัด (ศ) หลังจากท่านเสียชีวิต เป็นสิทธิของลูกหลานของท่านเท่านั้น ซึ่งพวกชีอะหฺจึงยึดถือและปฏิบัติ ตามแนวทางของลูกหลานของท่านศาสดา(อะฮฺลุลบัยตฺ) ทั้งด้านความรู้ และการปฏิบัติ

[แก้] ประวัติ

การเริ่มต้นชีอะฮฺครั้งแรก เริ่มที่ชีอะหฺของอะลีย์ (อ.) (ซึ่งฝ่ายชีอะหฺเชื่อว่าท่านคือผู้นำคนแรกจากบรรดาผู้นำ(อิมาม)ที่บริสุทธิ์ทั้ง 12 ท่าน ภายหลังจากท่านศาสดา (ศ) ) ซึ่งชีอะฮฺของอะลีได้เริ่มต้นตั้งแต่ยุคที่ท่านศาสดายังมีชีวิตอยู่ การเผยแพร่ของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ตลอด 23 ปีนั้นเป็นสาเหตุทำให้มีผู้คนจำนวนมากมายเข้ารับอิสลาม มีการเติบโตและเจริญก้าวหน้าเป็นอย่างยิ่ง ซึ่งโดยธรรมชาติแล้วการเกิดกลุ่มเล็ก กลุ่มน้อยเป็นเรื่องธรรดาของการเปลี่ยนแปลงและการพัฒนา ซึ่งสิ่งเหล่านี้ก็ได้เกิดขึ้นในหมู่ของเหล่าเศาะฮาบะฮฺ (สาวก) ของท่านศาสดาเช่นกัน

อนึ่ง ชื่อกลุ่มแรกที่ถูกกล่าวในสมัยของท่านศาสดา (ศ็อลฯ) คือ ชีอะฮฺซึ่งหมายถึงท่าน ซัลมาน, อบูซัร, มิกดาด และอัมมาร บินยาสิร (ฮาฎิรุ้ลอาลัมมิ้ลอิสลามี 1 : 188)

ประการแรก ท่านศาสดาในวันแรกของการแต่งตั้งได้มีบัญชาลงมาว่า ให้ท่านเชิญชวนครอบครัวของท่านเข้ารับศาสนาที่ท่านนำมาเผยแพร่

อัลกุรอานกล่าวว่า “เธอจงเตือนวงศ์ญาติที่ใกล้ชิดของเธอ” (อัชชุอะรออ์:214)

ในวันนั้นท่านได้ประกาศอย่างชัดเจนว่า “ใครก็ตามตอบรับคำเชิญชวนของท่านเป็นคนแรก ท่านจะแต่งตั้งให้เขาเป็นตัวแทนของท่านทันที” และท่านอะลีย์ เป็นคนแรกที่ตอบรับคำเชิญชวนของท่านศาสดา ซึ่งศาสดาก็ได้ปฏิบัติตามคำสัญญาของท่าน *

  • ท่านอิมามอะลีย์ (อ.) ได้กล่าวถึงเหตุการณ์ดังกล่าวว่า“ฉันได้กล่าวกับท่านศาสดาว่า ฉันเป็นเด็กกว่าใครเพื่อนและฉันจะได้เป็นตัวแทนของท่านหรือ ขณะนั้นท่านศาสดาได้เอามือมาแตะที่ต้นคอของฉันและกล่าวว่า เขาผู้นี้คือน้องชายของฉันและเป็นตัวแทนของฉัน จำเป็นที่พวกท่านทั้งหลายต้องปฏิบัติตามเขา ซึ่งประชาชนได้พากันหัวเราะเยาะท่านศาสดา และหันไปกล่าวกับอะบีฏอลิบว่า เขาได้สั่งให้ท่านปฏิบัติตามลูกชายของท่าน”

(ตารีคฏ็อบรีย์ 2 :321 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 :116 อัล-บิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ3 :39 ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 320)

แน่นอนเป็นไปไม่ได้ที่วันแรกของการเผยแพร่ ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) จะมีคำสั่งให้ผู้คนไปยึดถือ และปฏิบัติตามตัวแทนของท่าน ในวันนั้นท่านได้แนะนำเพียงแค่ว่า อะลีคนนี้ คือ ผู้นำและเป็นตัวแทนของฉันในวันข้างหน้า และตลอดระยะเวลาของการเผยแพร่อิสลาม ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ไม่เคยถอดถอนท่านอะลีออกจากตำแหน่ง ขณะที่ท่านอะลี (อ.) ก็ไม่เคยแสดงตัวให้แตกต่างไปจากคนอื่น

ประการที่สอง ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวไว้หลายต่อหลายครั้ง (ทั้งริวายะฮฺที่เป็นมุสตะฟีฏและริวายะฮฺที่เป็นมุตะวาติรฺจากรายงานของสุนนีย์และชีอะฮฺ) ว่า “ท่านอะลีนั้นบริสุทธิ์จากความผิดบาปและไม่ผิดพลาดทั้งคำพูดและการกระทำ”

ท่านหญิงอุมมุสะลามะฮฺ กล่าวว่า ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวว่า อะลีนั้นอยู่กับสัจธรรมและอัล-กุรอาน และสัจธรรมและอัล-กุรอานนั้นอยู่กับอะลีโดยที่ทั้งสองจะไม่แยกออกจากกันจนกว่าจะถึงวันกิยามะฮฺ” หะดีษดังกล่าวนี้มีรายงานจากสุนนีย์ถึง 15 สายรายงาน และจากชีอะฮฺ 11 ส่ายรายงาน ซึ่งมีท่านหญิงอุมมสะลามะฮฺ ท่านอิบนุอับบาส ท่านอบูบากรฺ ท่านหญิงอาอิชะฮฺ ท่านอะลี อบูสะอีดคุดรีย์ อบูลัยลา และอบูอัยยูบอันศอรีย์เป็นผู้รายงาน (ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 539-540)

ท่านศาสดาได้กล่าอีกว่า“และทุกๆคำพูดหรือการกระทำที่อะลีได้ทำล้วนตรงกันอย่างสมบูรณ์กับคำเชิญชวนของศาสนา อะลีเป็นผู้ที่มีความรู้ในหลักชะรีอะฮฺ (หลักปฏิบัติ) และความรู้ทั้งหลายของอิสลาม มากที่สุดในหมู่ของประชาชน”

และกล่าวอีกว่า “วิทยปัญญานั้นมี 10 ส่วน 9 ส่วนนั้นอยู่ที่อะลีย์ และอีก 1 ส่วนกระจัดกระจายอยู่ในหมู่ของประชาชน” (อัล-บิดายะฮฺวัลนิฮายะฮฺ 7 :359)

ประการที่สาม อะลีย์ได้รับใช้อิสลามไว้อย่างมากมาย และการเสียสละของท่านนั้นยิ่งใหญ่เกินกว่าจะหาสิ่งในมาเทียบเคียงได้ เช่น ท่านเสียสละนอนแทนที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ในคืนของการอพยพหรือในสงครามต่างๆ เช่น สงครามอุฮุด คอนดัก คัยบัรฺ และอื่นๆ ซึ่งสามารถกล่าวได้อย่างเต็มปากว่าถ้าในสงครามเหล่านั้นไม่มีท่านอะลีอยู่ แน่นอนอิสลามคงไม่เติบโตจวบจนถึงปัจจุบัน และคงตกไปอยู่ภายใต้อำนาจของศัตรู หรือถูกขุดรากถอนโคนไปนานแล้ว*

  • อนึ่ง เมื่อผู้ปฏิเสธชาวมักกะฮฺตัดสินใจว่า ต้องฆ่าท่านศาสดามุฮัมมัด (ศ็อลฯ) โดยได้มาล้อมบ้านตั้งแต่หัวค่ำ ท่านศาสดาจึงตัดสินใจอพยพไปยังเมืองมะดีนะฮฺ และก่อนไปท่านได้สั่งแก่ท่านอะลีว่า “อะลีเจ้าพร้อมที่จะนอนแทนที่ฉันไหม เพื่อจะได้อำพรางพวกศัตรูว่า ฉันยังนอนหลับอยู่พวกเขาจะได้ไม่ติดตามฉัน”ท่านอะลีได้ตอบรับคำของท่านศาสดาด้วยกับความกล้าหาญทั้งที่มีความเสี่ยงสูง และเป็นอันตรายอย่างยิ่ง

ประการที่สี่ เหตุการณ์เกี่ยวกับเฆาะดีรคุม เป็นเหตุการณ์ที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้ทำการแต่งตั้งท่านอะลีให้เป็นตัวแทนของท่านต่อหน้าสาธารณชนอย่างเป็นทางการ และถือว่าท่านอะลี คือ “ผู้สืบตำแหน่งของท่าน”

หะดีษเกี่ยวกับเฆาะดีรคุม เป็นหะดีษที่ชัดเจนอย่างยิ่งในหมู่ของ สุนนีย์และชีอะฮฺซึ่งได้มีเศาะฮาบะฮฺเกินกว่า 100 คนเป็นผู้รายงานด้วยตัวบท และสายรายงาที่แตกต่างกันและมีบันทึกไว้ทั้งในตำราของสุนนีย์และชีอะฮฺ หารายเอียดเพิ่มเติมได้จากหนังสือ ฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 79, หนังสืออัลเฆาะดีร อัลลามะฮฺอามีนี

แน่นอน อะลีย์นั้นมีความประเสริฐเฉพาะตัว ที่แตกต่างไปจากคนอื่นซึ่งเป็นที่เห็นพร้องต้องกันของทุกฝ่ายดังที่มีบันทึกไว้ในตำราต่างๆมากมายเช่น ตารีคยะอฺกูบีย์ พิมพ์ที่นะญัฟ 2 :138 -140 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 : 156 เศาะฮีย์บุคคอรีย์ 4 : 107 มุรูญุซซะฮับ 2 : 437 อิบนุอะบิ้ลหะดีด 1 : 127 และหน้าที่ 161 เป็นต้น

ความรักแบบสุดโต่งที่ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) มีต่อท่านอะลี ซึ่งท่านได้แสดงอย่างออกหน้าออกตามีบันทึกอยู่ใน (เศาะฮีย์มุสลิม 15 : 176 เศาะฮีย์บุคคอรีย์ 4 : 207 มุรูญุซซะฮับ 2 : 23 – 2 : 437 ตารีคอะบิ้ลฟิดาอฺ 1 : 127 และหน้าที่ 181 )

โดยธรรมชาติแล้วเศาะฮาบะฮฺส่วนหนึ่งที่มีความเข้าใจถึงแก่นแท้ของความจริง เกิดความหวัง และรอคอยว่า วันหนึ่งข้างหน้าพวกเขาจะได้ปฏิบัติตามท่านอะลีเหมือนกับวันนี้ที่พวกเขาได้ปฏิบัติตามท่านศาสดา (ศ็อลฯ) แต่มีเศาะฮาบะฮฺอีกส่วนหนึ่ง ไม่พอใจต่อการกระทำของท่านศาสดา พวกเขามีความอิจฉาริษยาและเกิดอัคติในใจขึ้น

และนอกเหนือจากสิ่งที่กล่าวมาแล้วนามของชีอะฮฺอะลีหรือชีอะฮฺอะฮฺลุลบัยตฺได้ถูกท่านศาสดา (ศ็อลฯ) กล่าวเรียกไว้อย่างมากมายหลายต่อหลายครั้งด้ยวกัน*

  • ท่านญาบีรฺกล่าวว่า ฉันได้นั่งอยู่ใกล้ๆกับท่านศาสดา และขณะนั้นได้เห็นท่านอะลีเดินมาแต่ไกลซึ่งท่านศาสดาได้กล่าวขึ้นว่า“ฉันขอสาบานต่อผู้ที่ชีวิตของฉันอยู่ในฝ่ามือของเขาว่า ชายผู้นี้และชีอะฮฺของเขาคือผู้สัตย์จริง ที่จะได้รับความช่วยเหลือในวันกิยามะฮฺ” ท่านอิบนุอับบาสกล่าวว่าเมื่อโองการ“แท้จริงบรรดาผู้ศรัทธา และประพฤติสิ่งดีงามต่างๆ พวกเขาเหล่านั้นเป็นมนุษย์ที่ดีที่สุด” (อัล-บัยยินะฮฺ: 7) ได้ถูกประทานลงมา ท่านศาสดา (ศ็อลฯ) ได้กล่าวกับท่านอะลีว่า หลักฐานที่ยืนยันถึงโองการดังกล่าวคือเจ้าและชีอะฮฺของเจ้า ซึ่งในวันกิยามะฮฺเจ้าจะพึงพอใจในพระองค์ และพระองค์ทรงพึงพอพระทัยต่อเจ้า” (หะดีษทั้งสองกับอีกหลายหะดีษมีกล่าวไว้ใน ตับสีรฺอัด-ดูรุ้ลมันษูรฺ 6 : 379 และฆอยะตุ้ลมะรอม หน้าที่ 326 )

[แก้] หลักศรัทธาของชีอะหฺ

1. เตาฮีด (เอกภาพ) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺทรงเป็นพระผู้เป็นเจ้าเพียงพระองค์เดียว ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกเหนือจากพระองค์ ศรัทธาว่าพระองค์มีอำนาจเหนือทุกสิ่ง พระองค์ทรงเป็นพระผู้ทรงสร้าง และพระผู้ทรงกำหนด

2. อะดาละหฺ (ความยุติธรรม) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺทรงยุติธรรมยิ่ง

3. นุบูวะหฺ (ศาสดาพยากรณ์) คือศรัทธาว่าอัลลอหฺได้ทรงส่งศาสนทูตต่าง ๆ ที่อัลลอหฺได้ทรงส่งมายังหมู่มนุษย์ หนึ่งในจำนวนนั้นคือนบีมุฮัมมัด ที่ได้รับคัมภีร์อัลกุรอาน ในนั้นมีคำสั่งสอนให้มนุษย์ศรัทธาต่ออัลลอหฺ ศรัทธาในบรรดามะลาอิกะหฺ ทาสผู้รับใช้อัลลอหฺ มีบทบัญญัติ และพงศาวดารของประชาชาติในอดีต เพื่อเป็นข้อคิดและอุทธาหรณ์

4. อิมามะหฺ (การเป็นผู้นำ) ศรัทธาว่าผู้นำสูงสุดในศาสนาจะต้องเป็นผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งจากศาสนทูตมุฮัมมัดเท่านั้น จะเลือกหรือแต่งตั้งกันเองไม่ได้ ผู้นำเหล่านั้น มี 12 คนคือ อะลีย์ บินอะบีฏอลิบและบุตรหลานของอะลีย์ และฟาฏิมะหฺอีก 11 คน

5. มะอาด (การกลับคืน) ศรัทธาในวันฟื้นคืนชีพ คือหลังจากสิ้นโลกแล้ว มนุษย์จะฟื้นขึ้น เพื่อรับการตอบสนองความดีความชั่วที่ได้ทำไปบนโลกนี้

ทัศนะที่หลายฝ่ายมีต่อชีอะห์ ผู้ยึดตามครอบครัวของท่านศาสดา(ศ.) กล่าวหาว่า ชีอะห์นั้นเป็นคนละศาสนา โดยมีเหตุผล 2 ประการใหญ่ ๆ ดังนี้

1.ชีอะห์ได้สาปแช่งบรรดาสหายผู้ร่วมฟันฝ่าอุปสรรคเมื่อครั้งท่านศาสดาอยู่เมื่อง มักกะห์ ว่าตกศาสนา

2.ชีอะห์ไม่ยอมรับว่า คัมภีร์อัลกุรอาน ฉบับปัจจุบันเป็นฉบับที่ถูกต้องสมบูรณ์ เนื่องจากตอนที่อัลกุรอานถูกประทานลงมาในช่วงแรก ๆ เหล่าสาวกที่ชีอะห์บอกว่าเป็นคนตกศาสนา ที่เป็นคนบันทึกอัลกุรอานไว้ เนื่องจากท่านศาสดาไม่รู้หนังสือไม่สามารถเขียนหนังสือได้

พวกชีอะห์ตอบเหตุผลแรกว่า พวกเขาไม่ได้ปฏิเสธบรรดาสหายศาสดาทุกคน แต่พวกเขาเชื่อว่าบรรดาสาวกศาสดาที่ทรงธรรมเท่านั้นที่ควรได้รับการยกย่อง ไม่ไช่ทั้งหมด ส่วนเหตุผลที่สอง พวกเขาปฏิเสธข้อกล่าวหาดังกล่าว โดยให้เหตุผลว่าการกล่าวหาโดยอาศัยคำพูดของบางคน ไม่อาจนำมาเป็นเครื่องพิสูจน์ได้ สิ่งที่จะพิสูจน์ได้ดีที่สุดก็คือการพิจารณาจากคัมภีร์อัลกุรอานที่ชีอะห์อ่านอยู่เป็นประจำว่าแตกต่างจากกุรอานของมุสลิมอื่น ๆ หรือไม่

[แก้] อ้างอิง

สถานภาพของชีอะฮ์ในทัศนะของผู้รู้ทางศาสนาในเมืองไทย

อัลกุรอานและฮะดีษตามความเชื่อของชีอะฮ์

ตัวอย่างคำตอบของฝ่ายชีอะห์