ประเทศทาจิกิสถาน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Ҷумҳурии Тоҷикистон
Jumhurii Tojikiston
จุมฮูรีอิ ตอจีกิสตอน
สาธารณรัฐทาจิกิสถาน
ธงชาติทาจิกิสถาน ตราแผ่นดินของทาจิกิสถาน
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
เพลงชาติSurudi milli
ที่ตั้งของทาจิกิสถาน
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ดูชานเบ

38°33′N 68°48′E

ภาษาทางการ ภาษาทาจิก
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
เอโมมาลี ราห์โมนอฟ
โอคิล โอคีลอฟ
ได้รับเอกราช
  ประกาศเอกราช
อดีต
จากสหภาพโซเวียต
9 กันยายน พ.ศ. 2534
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตทาจิก 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 143,100 กม.² (ลำดับที่ 92)
 -  พื้นน้ำ (%) 0.3
ประชากร
 -  2549 ประมาณ 6,507,000 (อันดับที่ 100)
 -  2546 สำรวจ 6,127,000 
 -  ความหนาแน่น 51/กม.² (อันดับที่ 151)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 8.826 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 145)
 -  ต่อประชากร 1,200 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 204)
HDI (2546) 0.652 (กลาง) (อันดับที่ 122)
สกุลเงิน โซโมนี (TJS)
เขตเวลา (UTC+5)
รหัสอินเทอร์เน็ต .tj
รหัสโทรศัพท์ +992

ทาจิกิสถาน (อังกฤษ: Tajikistan) หรือชื่อทางการ สาธารณรัฐทาจิกิสถาน (อังกฤษ: Republic of Tajikistan; ทาจิก: ҷумҳурии Тоҷикистон جمهوری تاجیکستان) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเลในภูมิภาคเอเชียกลาง มีอาณาเขตติดต่อกับอัฟกานิสถาน จีน คีร์กีซสถาน และอุซเบกิสถาน ทาจิกิสถานเคยเป็นส่วนหนึ่งของสหภาพโซเวียต

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ทาจิกิสถานหลังได้รับเอกราชจากสหภาพโซเวียต

ทาจิกิสถานได้ได้รับเอกราชในปีค.ศ. 1990 ภายหลังการล่มสลายของสหภาพโซเวียต แต่ในช่วงแรก การเมืองภายในประเทศขาดเสถียรภาพเนื่องจากเกิดความขัดแย้งภายในอย่างรุนแรงระหว่างกลุ่มชาตินิยม กลุ่ม Neo-communist และกลุ่มอิสลามหัวรุนแรง และมีผู้เสียชีวิตจากเหตุการณ์ดังกล่าว 60,000 คน ต่อมากลุ่มอิสลามหัวรุนแรงได้อพยพออกนอกประเทศพร้อมด้วยประชาชนหลายหมื่นคน ไปตั้งมั่นอยู่ทางภาคเหนือของอัฟกานิสถาน และกลับเข้ามาปฏิบัติการแบบกองโจรในทาจิกิสถาน ทำให้รัฐบาลทาจิกิสถานต้องพึ่งกองกำลังรัสเซียดูแลแนวชายแดนทาจิกิสถาน-อัฟกานิสถาน และมีการสู้รบยืดเยื้อเป็นเวลาหลายปี จนในปี 1997 จึงมีการลงนามสนธิสัญญาสันติภาพระหว่างประธานาธิบดี Emomali Rahmonov กับนาย Sayed Abdulla Nuri ผู้นำกลุ่มแนวร่วมต่อต้านรัฐบาล (United Tajik Opposition - UTO)

[แก้] การเมือง

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่แสดงเขตการปกครองของประเทศทาจิกิสถาน

ประเทศทาจิกิสถานแบ่งการบริหารประเทศออกเป็น 4 ส่วน ได้แก่ 2 จังหวัด (regions/provinces - viloyatho), 1 เขตปกครองตนเอง (autonomous region - viloyati mukhtor)* และ 1 เขตพื้นที่ที่รวมถึงเมืองหลวง ซึ่งไม่มีการแบ่งเขตการปกครองระดับจังหวัด (ชื่อเมืองหลวงอยู่ในวงเล็บ) มีชื่อตามหมายเลขบนแผนที่ดังนี้

  1. ซุกด์ (ฮูยันด์)
  2. คาโรเตกิน หรือ พื้นที่ที่รวมถึงเมืองหลวง (Region of Republican Subordination: RRS) (ดูชานเบ)
  3. ฮัตลอน (คูร์กอนเตปปา)
  4. กอร์โน-บาดัคชาน* (โฮรุก)

[แก้] ภูมิศาสตร์

[แก้] เศรษฐกิจ

GDP 2.1 พันล้าน USD (2005) GNI per capita 280 USD (2005)

ทรัพยากร พลังงานน้ำ ปิโตรเลียม ยูเรเนียม ปรอท ถ่านหินสีน้ำตาล ดีบุก สังกะสี เงิน ทองคำ

ผลิตภัณฑ์ทางเกษตรกรรม ฝ้าย ธัญพืช ผลไม้ (แตงไทย แตงโม แอบเปิ้ล แอพริคอท องุ่น แพร์ เลมอน)

อุตสาหกรรม อะลูมิเนียม สังกะสี ดีบุก เคมีและปุ๋ย ซีเมนต์ น้ำมันพืช เครื่องมือเครื่องจักรตัดเหล็ก

สินค้าส่งออก อะลูมิเนียม (62.6%) ฝ้าย (17.7%) ไฟฟ้า (6.6%) ผลไม้ (เมล่อน แตงโม) น้ำมันพืช สิ่งทอ

ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศทาจิกิสถาน เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศทาจิกิสถาน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น