ปุตราจายา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ปุตราจายา
Putrajaya flag.gif Putra.jpg
ธงประจำเมือง ตราประจำเมือง
Map-malaysia-putrajaya.gif
นายกเทศมนตรี ตันซรีดาโต๊ะซรีซัมซุดิน ออสมาน
เขต เมือง
พื้นที่
 - ทั้งหมด (เมือง)
46 กม.²
ประชากร

 - เมือง (พ.ศ. 2547)
 - มหานคร


45,000 [1]
N/A
เขตเวลา UTC+8
ละติจูด 2°55' เหนือ
ลองจิจูด 101°45' ตะวันออก
ปุตราจายา

ปุตราจายา (Putrajaya) เป็นเมืองใหม่ ตั้งอยู่ในประเทศมาเลเซีย เกิดขึ้นจากแนวความคิดของอดีตนายกรัฐมนตรี ดร.มหาเธร์ โมฮัมหมัด ที่จะสร้างเมืองเพื่อเป็นที่ตั้งของฝ่ายบริหารและประมุขของประเทศ อยู่ทางตอนใต้ของกรุงกัวลาลัมเปอร์ มีพื้นที่ราว 4,932 เฮกเตอร์ ประชากรคาดการณ์ ราว 350,000 คน การใช้ประโยชน์ที่ดินมีการวางผังอย่างเป็นสัดส่วน ดังนี้

  • ราชการ 5.3%
  • พานิชยกรรม 2.9%
  • ที่พักอาศัย 25.8%
  • วัฒนธรรม 2%
  • สาธารณประโยชน์ 10.1%
  • สาธารณูปโภค/สาธารณูปการ 18.2%
  • พื้นที่สีเขียว 37.5%
มัสยิดปุตรา ในปุตราจายา

ส่วนประกอบสำคัญของเมือง ได้แก่ทะเลสาบที่สร้างขึ้นโดยการขุด จึงทำให้เมืองปุตราจายามีภูมิทัศน์ที่สวยงาม และมีสะพานที่ออกแบบอย่างสวยงามถึง 5 สะพานได้แก่ Putra Bridge, Seri Perdana Bridge, Seri bakti Bridge, Seri Gemilang Bridge, และ Seri Wawasan Bridge

ปุตราจายา เป็นความตั้งใจของผู้นำมาเลเซียที่ต้องการจะเนรมิตรเมืองใหม่ขึ้นมา เมื่อปี 2538 โดยกำหนดแผนการพัฒนา 3 ระยะ คือ ระยะ 1A แล้วเสร็จในปี 2542 ระยะ 1B แล้วเสร็จในปี 2544 และระยะ 2 แล้วเสร็จในปี 2553 เพื่อเป็นศูนย์การบริหารและปกครอง แยกออกจากกัวลาลัมเปอร์ เมืองหลวง เพื่อต้องการควบคุมปัญหาการเจริญเติบโตที่รวดเร็วและต้องการแก้ไขปัญหาการจราจรใน เมืองหลวงด้วย นอกจากนี้ จะเป็นความพร้อมในทุก ๆ ด้าน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการปฏิบัติงานของคนมาเลเซีย

ปุตราจายา อยู่ห่างจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ไปทางใต้ ประมาณ 25 กม. ห่างจากท่าอากาศยานระหว่างประเทศกัวลาลัมเปอร์ หรือ KLIA ซึ่งเป็นสายการบินแห่งใหม่ที่ทันสมัยที่สุดในภูมิภาค ตั้งอยู่ทางตอนเหนือ ประมาณ 20 กม. มีเส้นทางคมนาคมเข้าออกหลายเส้นทางในระดับทางด่วน และอาจกล่าวได้ว่าเป็นเมืองที่มีการเข้าออกได้สะดวกที่สุดในประเทศอีกด้วย

การพัฒนาโครงการประกอบด้วยส่วนของอาคารที่ทำการหลักของรัฐบาลอาคารของกระทรวงต่างๆ สถานที่ประกอบพิธีทางศาสนา ศูนย์การค้า สนามกีฬา และที่อยู่อาศัยของข้าราชการและพนักงาน เป็นต้น

ปุตราจายาครอบคลุมพื้นที่ราว 4,581 เฮกตาร์ โดยภูมิทัศน์ส่วนใหญ่มุ่งเน้นไปที่ความพยายามสร้างให้เป็น “เมืองในสวน” จึงมีที่โล่งแจ้งและสวนสาธารณะอยู่ทั่ว ๆ ไป และกว่า 600 เฮคตาร์ จะเป็นส่วนของภูมิทัศน์หลักที่สร้างโดยฝีมือมนุษย์

ปุตราจายาเป็นเมืองหนึ่งที่มีการวางแผนด้านนโยบายและแนวทางปฏิบัติที่รัดกุมในการกระจายการใช้พื้นที่ ระบบขนส่ง การใช้ประโยชน์และโครงสร้างพื้นฐาน การอยู่อาศัย เทคโนโลยีสารสนเทศ สวนสาธารณะ และสถานที่พักผ่อนหย่อนใจต่าง ๆ

ถนนหลัก ความยาว 4.2 กม. สามารถใช้เป็นสถานที่สำหรับการพาเหรด สวนสนาม ในงานรัฐพิธีและการเฉลิมฉลองในโอกาสต่าง ๆ ได้อย่างสบายและสวยงาม

ในส่วนของอาคารที่เป็นจุดเด่นของเมืองอยู่ที่ตึกซึ่งก่อสร้างอยู่บนเนินสำหรับเป็นที่ทำการของนายกรัฐมนตรี และคณะรัฐมนตรี หรือทำเนียบรัฐบาล เรียกว่า เปอร์ดานาปุตรา ส่วนยอดบนมีลักษณะคล้ายรูปโดมของมัสยิด เป็นตึกสูง 6 ชั้น แยกเป็น 3 ปีก โดยที่ทำการของนายกรัฐมนตรีอยู่ตรงกลางตึกซึ่งด้านบนเป็นรูปโดมแก้วโมเสค ส่วนปีกด้านตะวันตกใช้เป็นที่ทำงานของรองนายกรัฐมนตรี ส่วนปีกด้านตะวันออกเป็นที่ทำงานของรัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี

สถาปัตยกรรมของอาคารได้รูปแบบ Eclectic ที่มีอิทธิพลจากตะวันตกผสมผสานกับรูปแบบของมาเลย์และอิสลาม หลังคาสีเขียว

จากทำเนียบรัฐบาลมองออกมาทางด้านขวามือเป็นที่ตั้งของมัสยิดปุตรา(Masjid Putra) ซึ่งเป็นสถาปัตยกรรมมัสยิดสีชมพูลอยอยู่บนแหลมปุตราจายา จุดที่สูงที่สุดของมัสยิด มีความสูงเทียบเท่าตึกประมาณ 25 ชั้น

เมืองคู่แฝดของปุตราจายา คือ ไซเบอร์จายา

[แก้] อ้างอิง

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ปุตราจายา
ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ปุตราจายา เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ปุตราจายา ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ