ประเทศซาอุดีอาระเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ประเทศซาอุดิอาระเบีย)
المملكة العربية السعودية
Al-Mamlaka al-ʻArabiyya as-Saʻūdiyya
อัลมัมละกะหฺ อัลอะรอบียะหฺ อัสซะอูดียะหฺ
ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย
ธงชาติซาอุดีอาระเบีย ตราแผ่นดินของซาอุดีอาระเบีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญلا إله إلا الله محمد رسول الله    (อารบิก)
"ลา อิลาหะ อิลลัลลอหฺ มุฮัมมะดุร รอซูลุลลอหฺ (ไม่มีพระเจ้าอื่นใดนอกจากอัลลอหฺ และมุฮัมมัดเป็นศาสนทูตของอัลลอหฺ)
เพลงชาติ"อาชะ อัลมะลิก (กษัตริย์จงเจริญ)
ที่ตั้งของซาอุดีอาระเบีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ริยาด

24°39′N 46°46′E

ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
รัฐบาล สมบูรณาญาสิทธิราชย์
 -  พระมหากษัตริย์ สมเด็จพระราชาธิบดี อับดุลลอห์ บินอับดิลอะซีซ อัสสะอูด
Establishment
 -  Kingdom declared 8 มกราคม พ.ศ. 2469 
 -  Recognized 20 พฤษภาคม พ.ศ. 2470 
 -  รวมประเทศ 23 กันยายน พ.ศ. 2475 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 2,149,690 กม.² (ลำดับที่ 14)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  2007 ประมาณ 27,601,038 (อันดับที่ 45)
 -  ความหนาแน่น 11/กม.² (อันดับที่ 205)
GDP (PPP) 2007 ประมาณ
 -  รวม $446 พันล้าน (อันดับที่ 27)
 -  ต่อประชากร $21,200 (อันดับที่ 41)
HDI (2004) 0.777 (ปานกลาง) (อันดับที่ 76)
สกุลเงิน ริยัล (SAR)
เขตเวลา AST (UTC+3)
 -  ฤดูร้อน (DST) (ไม่มี) (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .sa
รหัสโทรศัพท์ +966
1 ประชากรประมาณ 5,576,076
2 อันดับจากค่าในปี 2548

ประเทศซาอุดีอาระเบีย หรือ ราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย เป็นประเทศบนคาบสมุทรอาหรับ มีพรมแดนติดกับประเทศอิรัก จอร์แดน คูเวต โอมาน กาตาร์ สหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ และเยเมน ติดอ่าวเปอร์เซียทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือ และทะเลแดงทางทิศตะวันตก

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์ประเทศซาอุดีอาระเบียเริ่มขึ้นประมาณปี 1850 ในใจกลางคาบสมุทรอาระเบีย เมื่อ มุฮัมมัด บินสะอูด ผู้นำท้องถิ่นได้ร่วมมือกันกับ มุฮัมมัด บินอับดุลวะฮาบ ผู้นำลัทธิวะฮาบีย์ ก่อตั้งอาณาจักรใหม่ขึ้นมา เรียกว่า ราชอาณาจักรซาอุดีแรก โดยแยกออกจากอาณาจักรออตโตมัน แต่ประเทศที่เป็นซาอุดีอาระเบียในปัจจุบันนั้นสถาปนาขึ้นเป็นครั้งที่สองโดยกษัตริย์อับดุลอะซีซ อาลสะอูด (หรือเป็นที่รู้จักกันดีในนามของ อิบนุสะอูด) ในปี 1902 อิบนุสะอูด ได้ยึดริยาดซึ่งเป็นเมืองหลวงเก่าแก่ของราชวงศ์สะอูด คืนมาจากตระกูลอัลรอชีด ซึ่งเป็นศัตรูคู่แข่งของราชวงศ์สะอูด ต่อจากนั้น ก็ได้กรีฑาทัพเข้ายึดแคว้นต่าง ๆ มาได้ ได้แก่ อัลฮะสาอ์, นะญัด และ ฮิญาซ อันเป็นที่ตั้งของนครมักกะหฺ และ นครมะดีนะหฺ ในปี 1932 อิบนุสะอูด ได้ทำการรวมประเทศขึ้นเป็นราชอาณาจักรซาอุดีอาระเบีย

การเจรจาทำสนธิสัญญาแบ่งเส้นเขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบียกับจอร์แดน อิรัก และคูเวต มีขึ้นช่วงทศวรรษ 1920 และได้มีการจัดตั้ง "neutral zones" ขึ้นด้วยกัน 2 เขตคือระหว่างซาอุดีอาระเบีย กับอิรัก และซาอุดีอาระเบีย กับคูเวต ในปี 1971 ได้มีการแบ่งเขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบีย และคูเวต โดยให้แต่ละฝ่ายแบ่งทรัพยากรน้ำมันกันอย่างเท่าเทียมกัน ส่วนการแบ่งขตเป็นกลางระหว่างซาอุดีอาระเบีย กับอิรักได้เสร็จสิ้นลงในปี 1983 ทางด้านเขตแดนตอนใต้ที่ติดกับเยเมนนั้น มีการเจรจาแบ่งเขตแดนโดยสนธิสัญญาฏออิฟ ในปี 1934 (พ.ศ. 2477) แต่ก็สิ้นสุดลงด้วยการสู้รบระหว่างสองประเทศ จนกระทั่งปัจจุบันนี้ เขตแดนระหว่างซาอุดีอาระเบีย และเยเมนในบางพื้นที่ก็ยังมิได้แบ่งลงไปอย่างแน่ชัด ส่วนเขตแดนที่ติดกับสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์นั้นสามารถตกลงกันได้ในปี 1974 สำหรับเขตแดนกับกาตาร์นั้นยังเป็นปัญหาอยู่

อิบนุสะอูด สิ้นพระชนม์ในปี 1953 และพระราชโอรสองค์โตคือเจ้าชายสะอูด ได้ขึ้นครองราชย์ต่อมาอีก 11 ปี ในปี 1964 กษัตริย์สะอูด ได้สละราชสมบัติให้กับเจ้าชายฟัยศอล ซึ่งเป็นน้องชายต่างมารดาและดำรงตำแหน่ง รมว.กต.อยู่ด้วย กษัตริย์ฟัยศอล เป็นบุคคลสำคัญที่ทำให้เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบียพัฒนาไปสู่ระบบที่ทันสมัย

ซาอุดีอาระเบีย มิได้ส่งกำลังทหารเข้าร่วมรบในสงครามหกวันระหว่างอาหรับและอิสราเอล แต่ได้ให้เงินช่วยเหลือรายปีแก่อียิปต์ จอร์แยเหลือเศรษฐกิจของประเทศเหล่านี้ ในช่วงสงครามอาหรับ-อิสราเอล ปี 1973 ซาอุดีอาระเบีย ได้เข้าร่วมการคว่ำบาตรทางน้ำมันต่อสหรัฐอเมริกา และเนเธอร์แลนด์ ในฐานะสมาชิกของ โอเปก (OPEC) ซาอุดีอาระเบีย ได้ร่วมกับประเทศสมาชิกอื่นๆ ขึ้นราคาน้ำมันในปี 1971 ภายหลังสงครามปี 1973 ราคาน้ำมันได้พุ่งสูงขึ้นอย่างมากนำความมั่งคั่งและอิทธิพลทางการเมืองมาสู่ซาอุดีอาระเบีย ในปี 1975 กษัตริย์ฟัยศอล ถูกลอบสังหารโดยหลานชายของพระองค์เอง เจ้าชายคอลิด พระอนุชาต่างมารดาได้ขึ้นเป็นกษัตริงค์ต่อมาและยังดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีอีกตำแหน่งหนึ่งด้วย กษัตริย์คอลิด ได้แต่งตั้งเจ้าชายฟะหัด น้องชายต่างมารดาของพระองค์เป็นมกุฎราชกุมาร และมอบหมายให้มีอำนาจให้ดูแลกิจการภายในประเทศและต่างประเทศ ในรัชสมัยของ กษัตริย์คอลิด เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้มีการพัฒนาไปอย่างรวดเร็วและซาอุดีอาระเบีย ได้มีบทบาทสำคัญมากขึ้นในเวทีการเมืองในภูมิภาคและในเวทีเศรษฐกิจระหว่างประเทศ ในปี 1982 กษัติรย์ฟะหัด ได้ขึ้นครองราชย์และดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีแทน กษัตริย์คอลิด ซึ่งสิ้นพระชนม์ลง กษัติรย์ฟะหัด ได้แต่งตั้งเจ้าชายอับดุลลอหฺ น้องชายต่างมารดาซึ่งดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการ Saudi National Guard ขึ้นเป็นมกุฎราชกุมาร ส่วนเจ้าชาย Sultan รัฐมนตรีกลาโหมซึ่งเป็นน้องชายแท้ๆ ของ King Fahad ได้รับแต่งตั้งเป็นรองนายกรัฐมนตรีคนที่สอง

ภายใต้รัชสมัยของพระราชาธิบดีฟาฮัดเศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย ได้ปรับสภาพให้เข้ากับรายได้จากน้ำมันซึ่งมีราคาตกต่ำลงอย่างมากอันสืบเนื่องมาจากราคาน้ำมันในตลาดโลกซึ่งตกต่ำลงในช่วงสงครามอิรัก-อิหร่าน ซาอุดีอาระเบีย เป็นผู้มีบทบาทสำคัญในการให้มีการหยุดยิงระหว่างอิรัก-อิหร่านในปี 1988 และในการก่อตั้งคณะมนตรีความร่วมมือรัฐอ่าวอาหรับ (GCC) ซึ่งมีจุดประสงค์เพื่อเสริมสร้างความร่วมมือทางเศรษฐกิจและการเมืองระหว่างประเทศรัฐริมอ่าว 6 ประเทศ

ในระหว่างปี 1990-1991 พระราชาธิบดีฯ มีบทบาทสำคัญทั้งก่อนหน้าและระหว่างสงครามอ่าว (Gulf War) โดยพระองค์ได้ช่วยเป็นจุดศูนย์กลางในการระดมความสนับสนุนความช่วยเหลือ และได้ใช้อิทธิพลของพระองค์ในฐานะผู้พิทักษ์มัสญิดต้องห้ามอันศักดิ์สิทธิ์ทั้งสอง ชักชวนให้ประเทศอาหรับและอิสลามเข้าร่วมในกองกำลังผสม

[แก้] การเมือง

ก่อนหน้าปี 2534 ซาอุดีอาระเบีย ใช้กฎหมายอิสลามเป็นหลักในการปกครองประเทศโดยพระมหากษัตริย์ มีอำนาจเด็ดขาดและสูงสุดในการบริหารประเทศ ต่อมาหลังจากวิกฤตการณ์อิรัก-คูเวต ได้มีความเคลื่อนไหวจากประชาชนบางส่วนให้มีการพัฒนารูปแบบการปกครองให้ประชาชนเข้ามามีส่วนร่วมด้วย พระราชาธิบดีฯ จึงได้วางรูปแบบการปกครองอย่างเป็นลายลักษณ์อักษรเป็นครั้งแรก โดยประกาศใช้พระราชกฤษฎีกา 3 ฉบับ เมื่อเดือนมีนาคม 2534 กฎหมายดังกล่าวระบุว่า การปกครองเป็นระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช พระมหากษัตริย์ มีอำนาจสูงสุด เป็นผู้แต่งตั้งและเพิกถอนครม. และสภาที่ปรึกษา (Shura) สภาที่ปรึกษานี้ถือเป็นพัฒนาการใหม่ของซาอุดีอาระเบีย ทีเปิดโอกาสให้ประชาชนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในการปกครองประเทศ แต่ก็เป็นเพียงในฐานะที่ปรึกษาเท่านั้น มิใช่สภานิติบัญญัติเช่นประเทศอื่นๆ แม้ว่าในทางกฎหมายพระราชาธิบดีฯ มีอำนาจสิทธิขาดในปกครองประเทศ แต่ในทางปฏิบัติ พระราชาธิบดีฯ จะใช้วิธีดำเนินนโยบายที่ได้รับความเห็นชอบร่วมกัน (consensus) จากกลุ่มต่างๆ ในประเทศ อาทิ ประชาชน ฝ่ายศาสนา ทหาร ราชวงศ์ และนักธุรกิจ

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

เขตการปกครองประเทศซาอุดีอาระเบีย

ซาอุดีอาระเบียแบ่งการปกครองเป็น 13 เขตการปกครอง (mintaqah (มินฏอเกาะห์) (เอกพจน์) , mintaqat [มินฏอกอต] (พหูพจน์))

  1. อัลบาฮะหฺ (Al Bahah)
  2. อัลฮุดูด อัช ชะมาลียะหฺ (Al Hudud ash Shamaliyah)
  3. อัลเญาฟุ (Al Jawf)
  4. อัลมะดีนะหฺ (Al Madinah)
  5. อัลกอซิม (Al Qasim)
  6. อัรริยาด (Ar Riyad)
  7. อัชชัรกิยะหฺ (Ash Sharqiyah, Eastern Province)
  8. อะซีร์ ('Asir)
  9. ฮาอิล (Ha'il)
  10. ญีซาน (Jizan)
  11. มักกะหฺ (Makkah)
  12. นัจญ์รอน (Najran)
  13. ตะบูก (Tabuk)

[แก้] ภูมิศาสตร์

ประเทศซาอุดีอาระเบียตั้งอยู่ในภูมิภาคตะวันออกกลาง ทิศเหนือติดอิรักและจอร์แดน ทิศตะวันออกติด คูเวต กาตาร์ บาห์เรน ทิศตะวันตก อียิปต์ ทิศใต้ติดเยเมน ติดอ่าวอาหรับ (อ่าวเปอร์เซีย)

[แก้] เศรษฐกิจ

ซาอุดีอาระเบีย มีปริมาณน้ำมันสำรองมากที่สุดในโลก คิดเป็นประมาณ 260 พันล้านบาร์เรลหรือประมาณเศษหนึ่งส่วนสี่ของปริมาณน้ำมันสำรองของโลก โดยที่รายรับของประเทศประมาณ 2 ใน 3 มาจากการส่งออกน้ำมัน เศรษฐกิจของซาอุดีอาระเบีย จึงขึ้นอยู่กับราคาน้ำมันโลกค่อนข้างมาก ในช่วงหลังสงครามอิรัก-คูเวต ภาระค่าใช้จ่ายในระหว่างวิกฤตการณ์อ่าวเปอร์เซียประกอบกับรายได้ที่ลดลงจากการตกต่ำของราคาน้ำมัน และรายจ่ายภาครัฐบาลซึ่งส่วนใหญ่เป็นการซื้ออาวุธ ทำให้ซาอุดีอาระเบีย เผชิญปัญหาขาดดุลงบประมาณติดต่อกัน อย่างไรก็ดี เศรษฐกิจโดยรวมของซาอุดีอาระเบีย ยังอยู่ในสภาพที่มั่นคง การลงทุนภาคเอกชนมีมากขึ้น ความพยายามในการกระจายรายรับโดยการพัฒนาอุตสาหกรรมที่ไม่ใช่น้ำมันเริ่มประสบผลสำเร็จ

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในต่อหัว (Per Capita Gross Domestic Product GDP Per Capita) ของซาอุดีอาระเบีย มีแนวโน้มลดลงตั้งแต่ทศวรรษที่ 1980 เป็นต้นมาเนื่องจากอัตราเพิ่มของประชากรมีมากกว่าอัตราความเจริญทางเศรษฐกิจ

[แก้] ประชากร

ประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นมีประชากรประมาณ 27 ล้านคน

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น