ประเทศลิเบีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

الجماهيرية العربية الليبية الشعبية الإشتراكية العظمى
Al-Jamāhīriyyah al-ʿArabiyyah al-Lībiyyah aš-Šaʿbiyyah al-Ištirākiyyah al-ʿUẓmā
อัลจะมาฮิรียะห์ อัลอะรอบียะห์ อัลลีบียะห์ อัชชะอฺบียะห์ อัลอิชติรอกียะห์
สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย
ธงชาติลิเบีย ตราแผ่นดินของลิเบีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญN/A
เพลงชาติAllahu Akbar 
(อัลลอหฺทรงยิ่งใหญ่ที่สุด)
ที่ตั้งของลิเบีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ตริโปลี

32°54′N 13°11′E

ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
รัฐบาล เผด็จการ
 -  ประธานาธิบดี (โดยพฤตินัย) Muammar al-Gaddafi
 -  ประธานาธิบดี (โดยนิตินัย) Imbarek Shamekh
 -  นายกรัฐมนตรี Baghdadi Mahmudi
เอกราช
 -  จากอิตาลี 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2496 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 1,759,540 กม.² (ลำดับที่ 17)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  ก.ค. 2550 ประมาณ 5,499,074 คน (อันดับที่ 103)
 -  ความหนาแน่น 1.3 คน/กม.² (อันดับที่ 238)
HDI (2549) 0.799 (ปานกลาง) (อันดับที่ 64)
สกุลเงิน ดีนาร์ลิเบีย (LYD)
เขตเวลา EET (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .ly
รหัสโทรศัพท์ +218

สาธารณรัฐสังคมนิยมประชาชนอาหรับลิเบีย หรือ ประเทศลิเบีย (อาหรับ: ليبيا‎) เป็นประเทศในแอฟริกาเหนือ, มีชายฝั่งบนทะเลเมดิเตอร์เรเนียน ตั้งอยู่ระหว่างประเทศอียิปต์ไปทางตะวันออก ประเทศซูดานไปทางตะวันออกเฉียงใต้ ประเทศชาดและประเทศไนเจอร์ไปทางใต้ และประเทศแอลจีเรียและตูนิเซียไปทางตะวันตก มีเมืองหลวงชื่อตริโปลี

ในกรีกโบราณ ชื่อลิเบียใช้ในความหมายที่กว้างขวางกว่า คือ แอฟริกาเหนือทั้งหมดที่อยู่ทางตะวันตกของอียิปต์ และในบางกรณีก็ใช้อ้างถึงแอฟริกาทั้งทวีป 3 ส่วนของประเทศนี้ตามประเพณีคือตริโปลีเตเนีย (Tripolitania) เฟซซัน (Fezzan) และ ไคเรไนกา (the Cyrenaica) ในวรรณคดีกรีก ไดโดอาศัยอยู่ในลิเบีย

== การเมือง ==

1. การเมืองการปกครอง

1.1 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของต่างชาติมาอย่างต่อเนื่อง เช่น เคยอยู่ภายใต้กรีก อาณาจักรโรมัน อาณาจักรไบแซนไตน์ อาณาจักรออตโตมาน และท้ายสุด ตั้งแต่ปี 2454 ลิเบียอยู่ภายใต้การปกครองของอิตาลี จนกระทั่งเมื่อวันที่ 21 พฤศจิกายน 2492 สมัชชาใหญ่ขององค์การสหประชาชาติจึงได้มีข้อมติให้ลิเบียได้รับเอกราชจากอิตาลี ทั้งนี้ กษัตริย์ Idris ซึ่งเป็นผู้นำในการต่อต้านการปกครองของอิตาลี ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 และเป็นผู้นำในการเจรจาจนนำไปสู่การประกาศเอกราชเมื่อวันที่ 24 ธันวาคม 2494 ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์ปกครองประเทศ และต่อมาเมื่อวันที่ 1 กันยายน 2512 กลุ่มนายทหารนำโดยพันเอกกัดดาฟี ได้ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจจากกษัตริย์ Idris และขึ้นเป็นผู้นำประเทศสืบมาจนปัจจุบัน

1.2 นับแต่พันเอกกัดดาฟี ขึ้นปกครองประเทศ ได้ดำเนินนโยบายตามแนวทางการเมืองของตน ซึ่งเรียกว่า ทฤษฎีสากลที่ 3 (Third Universal Theory) อันเป็นการผสมผสานระหว่างแนวทางสังคมนิยมกับแนวคิดของศาสนาอิสลาม รวมทั้งดำเนินแนวทางต่อต้านชาติตะวันตก เช่น การปิดสำนักงานของสหรัฐอเมริกา และสหราชอาณาจักรในลิเบีย การผลักดันให้สหรัฐฯ และอังกฤษถอนทหารที่ประจำอยู่ในลิเบียออกนอกประเทศ และการเวนคืนกิจการน้ำมันของชาติตะวันตก เป็นต้น ขณะเดียวกัน ลิเบียได้ขยาย ความร่วมมือกับสหภาพโซเวียต ในด้านการเมือง การทหาร และการซื้ออาวุธ

1.3 ลิเบียเคยถูกเพ่งเล็งว่าให้การสนับสนุนการก่อการร้าย โดยเฉพาะแก่กลุ่มต่างๆ ของปาเลสไตน์ เมื่อปี 2512 สหรัฐอเมริกา ได้บรรจุลิเบียไว้ในบัญชีรายชื่อประเทศที่ให้การสนับสนุนการก่อการร้าย (state sponsor of terrorism) ทั้งนี้ เหตุการณ์ก่อการร้ายที่สำคัญซึ่งลิเบียถูกกล่าวหาว่ามีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ การก่อวินาศกรรมโดยกลุ่มปาเลสไตน์ที่กรุงโรมและกรุงเวียนนาเมื่อปี 2528 และการก่อวินาศกรรมสถานบันเทิง La Belle ที่กรุงเบอร์ลินเมื่อปี 2529 เป็นผลให้สหรัฐอเมริกาใช้มาตรการทางเศรษฐกิจและทางทหารกดดันลิเบียให้ยุติการสนับสนุนการก่อการร้าย และประธานาธิบดีโรนัลด์ เรแกน ได้สั่งการให้กองเรือรบสหรัฐอเมริกา เข้าไปในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน จนเกิดการปะทะกับฝ่ายลิเบีย 2 ครั้ง ในเดือนมีนาคมและเมษายน 2529 พร้อมทั้งได้ส่งเครื่องบินรบเข้าทิ้งระเบิดกรุงตริโปลี และเมืองเบงกาซีด้วย ลิเบียถูกกล่าวหาว่าอยู่เบื้องหลังการก่อวินาศกรรมเครื่องบิน 2 ครั้ง ได้แก่ การวางระเบิดเครื่องบิน Pan Am เที่ยวบินที่ 103 เหนือเมือง Lockerbie ของสก็อตแลนด์ในปี 2531 และการวางระเบิดสายการบิน UTA เที่ยวบินที่ 772 ของฝรั่งเศสที่ไนเจอร์ในปี 2532 แต่ลิเบียปฏิเสธที่จะส่งตัวผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียให้แก่สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทำให้ต่อมาในปี 2535 และ 2536 คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้มีข้อมติที่ 748 (1992) และ 883 (1993) คว่ำบาตรลิเบีย ซึ่งมีมาตรการต่างๆ รวมทั้ง การอายัดทรัพย์ของรัฐบาลและรัฐวิสาหกิจของลิเบียในต่างประเทศ การห้ามการขายเครื่องบินและยุทธภัณฑ์แก่ลิเบีย การห้ามส่งอุปกรณ์และชิ้นส่วนที่ใช้ในการขนส่งและกลั่นน้ำมันแก่ลิเบีย และการเรียกร้องให้นานาประเทศลดระดับและจำนวนผู้แทนทางการทูตในลิเบีย ในส่วนของสหรัฐอเมริกานั้น ได้ออกกฎหมาย Iran-Libya Sanctions Act หรือ D’ Amato Act ในปี 2539 ห้ามบริษัทต่างประเทศลงทุนในภาคน้ำมันในลิเบียในโครงการมูลค่าเกิน 40 ล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ และหันไปใช้แนวทางโดดเดี่ยวตนเองจากประชาคมระหว่างประเทศ

1.4 ลิเบียเริ่มปรับเปลี่ยนแนวทางการเมืองของตนในปี 2546 โดยได้ยินยอมมอบตัวนาย Abdelbaset Ali Mohamed al-Megrahi และนาย Al Amin Khalifa Fhimah ผู้ต้องสงสัยชาวลิเบียในคดี Lockerbie ไปขึ้นศาลที่เนเธอร์แลนด์ และเมื่อศาลได้ตัดสินจำคุกตลอดชีวิตนาย Megrahi แล้ว (นาย Fhimah ถูกตัดสินให้พ้นผิด) ลิเบียได้แสดงความรับผิดชอบโดยจ่ายเงินสินไหมทดแทนแก่ญาติของผู้เสียชีวิต รวมเป็นเงิน 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ เป็นผลให้ลิเบียเริ่มได้รับการยอมรับจากต่างประเทศมากขึ้น คณะมนตรีความมั่นคงแห่งสหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรลิเบียเมื่อเดือนกันยายน 2546 ต่อมาในเดือนธันวาคม 2546 พันเอกกัดดาฟี ได้ประกาศยุติโครงการพัฒนาอาวุธอานุภาพทำลายล้างสูง (Weapon of Mass Destruction - WMD) และประกาศจะปฏิบัติตามสนธิสัญญาว่าด้วยการไม่แพร่ขยายอาวุธนิวเคลียร์ (Nuclear Non-Proliferation Treaty) และอนุสัญญาว่าด้วยอาวุธชีวภาพ (Biological Weapons Convention) พร้อมทั้งยินดีที่จะให้ทบวงการพลังงานปรมาณูระหว่างประเทศ (International Atomic Energy Agency - IAEA) เข้าไปตรวจสอบ รวมทั้งการประกาศต่อต้านการก่อการร้ายและให้ความร่วมมือกับสหรัฐฯ ในสงครามต่อต้านการก่อการร้าย ทำให้หลายประเทศในยุโรปรวมทั้งอิตาลีและสหราชอาณาจักรหันไปฟื้นฟูความสัมพันธ์กับลิเบีย ในขณะที่สหรัฐอเมริกา ได้ยกเลิกการใช้มาตรการตามกฎหมาย D’ Amato Act ต่อลิเบียในปี 2547 และถอนชื่อลิเบียออกจากรายชื่อประเทศที่สนับสนุนการก่อการร้าย ทั้งนี้ เมื่อวันที่ 15 พฤษภาคม 2549 สหรัฐฯ ได้ยกระดับสำนักงานประสานงาน (Liasison Office) ของสหรัฐฯ ในลิเบีย ขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูต ขณะที่ลิเบียก็ได้ยกระดับสำนักงานประสานงานของตนในกรุงวอชิงตันขึ้นเป็นสถานเอกอัครราชทูตประจำสหรัฐฯ ในเดือนพฤษภาคม 2549 นอกจากนี้ พันเอกกัดดาฟี ยังได้เดินทางเยือนฝรั่งเศสและสเปน เมื่อเดือนธันวาคม 2550 และนาย Abdulrahman Shalgam รัฐมนตรีต่างประเทศลิเบีย เดินทางเยือนสหรัฐฯ เมื่อเดือนมกราคม 2551 ซึ่งถือเป็นการเยือนสเปนและสหรัฐฯ ครั้งแรกในรอบกว่า 3 ทศวรรษของบุคคลระดับสูงของลิเบีย

เนื้อหา

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

2. เศรษฐกิจ

2.1 ลิเบียเป็นประเทศที่นับได้ว่ามีฐานะทางเศรษฐกิจดีที่สุดประเทศหนึ่งในแอฟริกาเหนือ เศรษฐกิจของลิเบียขึ้นอยู่กับภาคพลังงาน ได้แก่ น้ำมัน และก๊าซธรรมชาติ ในปี 2549 มีปริมาณการผลิตน้ำมันวันละ 1.72 ล้านบาร์เรล (ลิเบียตั้งเป้าหมายจะผลิตน้ำมันให้ได้วันละ 3 ล้านบาร์เรลภายในปี 2553) การส่งออกน้ำมันคิดเป็นร้อยละ 95 ของรายได้จากการส่งออกทั้งหมด หรือคิดเป็นร้อยละ 25 ของ GDP เศรษฐกิจภาคพลังงานมีแนวโน้มเติบโตสูง โดยเฉพาะหลังจากที่สหประชาชาติได้ยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรทางเศรษฐกิจต่อลิเบียในปี 2546 และหลังจากที่สหรัฐอเมริกายกเลิกการคว่ำบาตรต่อลิเบียในปี 2547 บริษัทน้ำมันต่างประเทศ เช่น บริษัท Occidental กลุ่มบริษัท OASIS ของสหรัฐอเมริกา บริษัท BP ของสหราชอาณาจักร บริษัท RWE-Dea ของเยอรมนี บริษัท Repsol ของสเปน และ Royal Dutch Shell ของเนเธอร์แลนด์ ได้เข้าไปรับสัมปทานการสำรวจและผลิตน้ำมันในลิเบีย และล่าสุดบริษัท Eni ของอิตาลี ได้ลงนามในการผลิตน้ำมันและก๊าซธรรมชาติกับ National Oil Cooperation (NOC) ของลิเบีย มูลค่า 2.8 หมื่นล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเดือน ต.ค. 2550 นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการให้บริษัทต่างประเทศเข้าไปลงทุนในโครงการสำรวจและผลิตก๊าซธรรมชาติ และการวางท่อส่งก๊าซธรรมชาติอีกด้วย ซึ่งโครงการขนาดใหญ่ด้านนี้ ได้แก่ Western Libya Gas Project มูลค่าการลงทุน 5,600 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยร่วมลงทุนกับบริษัท Eni ของอิตาลี ทั้งนี้ บริษัท ปตท. สผ. (มหาชน) จำกัด ได้เข้าแข่งขันการประกวดราคาเพื่อขอรับสัมปทานแปลงสำรวจในลิเบียด้วย แต่ไม่ชนะการประกวดราคา

2.2 นับแต่ทศวรรษที่ 1970 เป็นต้นมา ลิเบียได้พยายามใช้แผนการพัฒนาที่มุ่งขยายฐานทางเศรษฐกิจ (diversification) เพื่อลดการพึ่งพาภาคน้ำมัน รวมทั้งส่งเสริมภาคการเกษตร และอุตสาหกรรมการผลิต (manufacturing) แต่ไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร ปัจจุบันลิเบียยังต้องพึ่งพาการนำเข้าสินค้าเกษตร อาหาร และสินค้าอุปโภคบริโภคจากต่างประเทศ

2.3 นับแต่ปี 2533 เป็นต้นมา เมื่อรัฐบาลมีรายได้จากภาคน้ำมันมากขึ้น ได้ให้ความสนใจการพัฒนาอุตสาหกรรมอื่นๆ น้อยลง และมุ่งพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานทางเศรษฐกิจ (infrastructure) นอกจากนั้นยังมีนโยบายส่งเสริมระบบตลาดเสรี โดยมีแผนการแปรรูปรัฐวิสาหกิจต่างๆ ทั้งนี้ โครงการด้านเศรษฐกิจขนาดใหญ่ที่สุดในปัจจุบันได้แก่ โครงการแม่น้ำเทียม (Great Man-made River Project) ความยาว 3,000 กิโลเมตร เพื่อนำน้ำจากแอ่งน้ำจากภาคใต้ของประเทศไปยังแหล่งเกษตรกรรมในภาคเหนือ โครงการนี้ได้เริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ปี 2527 ขณะนี้ใช้งบประมาณดำเนินการแล้ว 32 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ นอกจากนี้ ลิเบียยังต้องการการลงทุนจากต่างประเทศในด้านอุตสาหกรรมหนัก การผลิตกระแสไฟฟ้าและการกลั่นน้ำจากน้ำทะเล (Desalination) และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวซึ่งลิเบียมีศักยภาพที่จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวทางโบราณคดี การท่องเที่ยวทางทะเลและทะเลทราย

2.4 เมื่อวันที่ 27 กรกฎาคม 2547 ลิเบียได้สมัครเป็นสมาชิกขององค์การการค้าโลก (WTO) และได้เริ่มปรับปรุงกฎและระเบียบทางเศรษฐกิจ การค้า ตามหลักเกณฑ์ของ WTO เช่น มาตรการด้านภาษี และการคุ้มครองสิทธิทรัพย์สินทางปัญญา พร้อมทั้งมีแนวนโยบายส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีบทบาทและส่วนร่วมในกิจกรรมทางเศรษฐกิจมากขึ้น

[แก้] ประชากร

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] ศาสนาพุทธในประเทศลิเบีย

จากสำรวจประชากรลิเบียมีคนงานจากศรีลังกามากกว่า 13,000 คนและประเทศซึ่งนับถือพุทธศาสนา (ชาวเกาหลีประมาณ 12,000 คน และประชากรมากกว่า 2,000 คนจากจีน) โดยประมาณ 0.3% ของประชาชนทั้งหมดของลิเบีย ทำให้ลิเบียเป็นประเทศที่มีชาวพุทธมากที่สุดในแอฟริกาเหนือ ลิเบียไม่มีเจดีย์หรือวัดใดๆ - ชาวพุทธนิกายเถรวาทมี 1/3 และส่วนใหญ่จะเป็น Sinhalese ขณะที่เหลือ 3 ส่วนเป็นศาสนาพุทธแบบเอเชียตะวันออกซึ่งมีเชื้อชาติเกาหลีหรือจีน

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น