จักรวรรดิซาสซานิยะห์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

จักรวรรดิซาสซานิยะห์
ساسانیان
แผนที่แสดงที่ตั้ง ของจักรวรรดิซาสซานิยะห์
จักรวรรดิซาสซานิยะห์ในยุคที่รุ่งเรืองที่สุดในรัชสมัยของคอสเราที่ 2 (Khosrau II)

จักรวรรดิซาสซานิยะห์ (เปอร์เซีย: ساسانیان, อังกฤษ: Sassanid Empire) ที่เป็นหนึ่งในจักรวรรดิเปอร์เชียและที่เป็นจักวรรดิสุดท้ายก่อนที่ศาสนาอิสลามจะเริ่มขึ้นเป็นหนึ่งในสองมหาอำนาจของเอเชียตะวันตกเป็นเวลากว่าสี่ร้อยปี[1] ราชวงศ์ซาสซานิยะห์ก่อตั้งโดยอาร์ดาเชอร์ที่ 1 (Ardashir I) หลังจากที่ทรงได้รับชัยชนะต่อจักรพรรดิแห่งจักรวรรดิพาร์เธียนองค์สุดท้ายอาร์ตาบานัสที่ 4 (Artabanus IV) และมาสิ้นสุดลงเมื่อยาซเดเกิร์ดที่ 3 (Yazdegerd III) มาพ่ายแพ้หลังจากที่ทรงใช้เวลาถึงสิบสี่ปีในการต่อต้านจักรวรรดิกาหลิปรอชิดีนซึ่งเป็นหนึ่งในจักรวรรดิกาหลิปอิสลามที่ตามกันมา

จักรวรรดิซาสซานิยะห์หรือที่เรียกว่า “Eranshahr” (“จักรวรรดิอิหร่าน”)[2] ตั้งอยู่ในบริเวณที่เป็นปัจจุบันคืออิหร่าน, อิรัก, อาร์เมเนีย, ทางตอนใต้ของคอเคซัส (รวมทั้งทางตอนใต้ของดาเกสถาน), ตะวันตกเฉียงใต้ของเอเชียกลาง, ตะวันตกของอัฟกานิสถาน, บางส่วนของตุรกี, บางส่วนของซีเรีย, บริเวณริมฝั่งทะเลของคาบสมุทรอาหรับ, บริเวณอ่าวเปอร์เซีย และบางส่วนของทางตะวันตกเฉียงใต้ของปากีสถาน

สมัยการปกครองของซาสซานิยะห์เป็นสมัยอันยาวนานของปลายสมัยโบราณและถือกันว่าเป็นสมัยที่สำคัญที่สุดและมีอิทธิพลที่สุดทางประวัติศาสตร์สมัยหนึ่งของ เป็นสมัยที่รุ่งเรืองที่สุดของวัฒนธรรมของเปอร์เซียแ ละเป็นจักรวรรดิอันยิ่งใหญ่จักรวรรดิสุดท้ายก่อนที่จะเริ่มยุคการพิชิตของมุสลิมและการยอมรับนับถือศาสนาอิสลาม[ต้องการอ้างอิง] วัฒนธรรมของเปอร์เซียมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมของโรมันเป็นอันมากในยุคซาสซานิยะห์[3] และจักรวรรดิโรมันเองก็มีความนับถือจักรวรรดิซาสซานิยะห์ที่จะเห็นได้จากพระราชสาส์นจากจักรพรรดิโรมันถึงชาห์แห่งชาห์ที่จ่าหัวจดหมายว่า "my brother"[ต้องการอ้างอิง] อิทธิพลของซาสซานิยะห์ไม่จำกัดอยู่แต่เพียงในจักรวรรดิเองแต่ยังแผ่ขยายไปถึงแอฟริกา[4] จีน และ อินเดียด้วย[5] และมีบทบาทสำคัญในด้านศิลปะของยุคกลางทั้งในยุโรปและเอเชีย[6]

อิทธิพลของซาสซานิยะห์ยังคงอยู่ต่อมาจนถึงต้นสมัยอิสลามเมื่ออิสลามได้รับชัยชนะต่ออิหร่าน[7] อับโดลโฮสเซน ซารินคูป (Abdolhossein Zarrinkoob) ผู้เชี่ยวชาญเกี่ยวกับอิหร่านคนสำคัญถึงกับกล่าวว่าสิ่งที่มารู้จักกันภายหลังว่าเป็นวัฒนธรรม สถาปัตยกรรม วรณกรรม และความเชี่ยวชาญอื่นๆ ของอิสลามนั้นมีต้นตอมาจากวัฒนธรรมของซาสซานิยะห์เปอร์เชีย และเผยแพร่ไปในโลกมุสลิมโดยทั่วไป[8]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ "Sasanian Dynasty" Encyclopedia Iranica
  2. ^ See [1]
  3. ^ J. B. Bury, p. 109.
  4. ^ Transoxiana 04: Sasanians in Africa
  5. ^ Sarfaraz, pp. 329-330
  6. ^ Iransaga: The art of Sassanians
  7. ^ Durant, p. ??
  8. ^ Zarinkoob, p. 305.

[แก้] ดูเพิ่ม


ประวัติศาสตร์ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ จักรวรรดิซาสซานิยะห์ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์