ประเทศมาดากัสการ์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

Repoblikan'i Madagasikara
เรปูบลิกาน (นี) อี มาดากาซีการา
République de Madagascar
เรปูบลิก เดอ มาดากัสการ์
Republic of Madagascar
สาธารณรัฐมาดากัสการ์
ธงชาติมาดากัสการ์ ตราแผ่นดินของมาดากัสการ์
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญTanindrazana, Fahafahana, Fandrosoana
(ภาษามาลากาซี: แผ่นดินของบรรพบุรุษ, เสรีภาพ, การพัฒนา)
เพลงชาติRy Tanindraza nay malala ô
ที่ตั้งของมาดากัสการ์
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
อันตานานาริโว

18°55′S 47°31′E

ภาษาทางการ ภาษามาลากาซี ภาษาฝรั่งเศส[1] ภาษาอังกฤษ [2]
รัฐบาล สาธารณรัฐ
 -  ประธานาธิบดี แอนดรี ราโจเอลินา
 -  นายกรัฐมนตรี มอนจา โรอินเดโฟ
ประกาศเอกราช จากฝรั่งเศส 
  วันที่
26 มิถุนายน พ.ศ. 2503 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 587,041 กม.² (ลำดับที่ 45)
 -  พื้นน้ำ (%) 013%
ประชากร
 -  ก.ค. 2005 ประมาณ 18,606,000 (อันดับที่ 56)
 -  1997 สำรวจ 16,099,246 
 -  ความหนาแน่น 32/กม.² (อันดับที่ 171)
GDP (PPP) 2005 ประมาณ
 -  รวม $16.228 พันล้าน (อันดับที่ 118)
 -  ต่อประชากร $905 (อันดับที่ 169)
HDI (2003) 0.499 (ต่ำ) (อันดับที่ 146)
สกุลเงิน อารีอารีมาดากัสการ์ (MGA)
เขตเวลา EAT (UTC+3)
 -  ฤดูร้อน (DST) ไม่มี (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .mg
รหัสโทรศัพท์ +261
1 รัฐธรรมนูญได้กำหนดให้ภาษามาลากาซีเป็นภาษาประจำชาติ ส่วนภาษาฝรั่งเศสเป็นภาษาทางการตามพฤตินัย

สาธารณรัฐมาดากัสการ์ (Republic of Madagascar) คือ ชาติเกาะใน มหาสมุทรอินเดีย ตั้งอยู่นอกชายฝั่งทางตะวันออกของแอฟริกา ใกล้กับโมแซมบิก เกาะมาดากัสการ์ที่เป็นเกาะหลักเป็นเกาะใหญ่เป็นอันดับ 4 ของโลก เป็นถิ่นของสายพันธุ์พืชและสัตว์ถึง 5% ของโลก และมีมากกว่า 80% ที่เป็นสัตว์หรือพืชเฉพาะถิ่นมาดากัสการ์ ที่เด่นคือตัวลีเมอร์ ซึ่งอยู่ในตระกูลไพรเมต ตัวฟอสซา (fossa) ซึ่งกินเนื้อ นกเฉพาะถิ่น 3 ตระกูล และต้นบาวบับ (baobab) 6 ชนิด ภาษาหลักคือภาษามาลากาซี สมดุลทางธรรมชาติของมาดากัสการ์ถูกคุกคาม เนื่องจากป่าส่วนใหญ่เสียหาย และลีเมอร์ได้สูญพันธุ์ถึง 15 สายพันธุ์

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

มีหลักฐานปรากฏว่า มีคนมาอาศัยอยู่ในมาดากัสการ์มาเป็นเวลา 200 ปีมาแล้ว และต่อมา มีคนเชื้อสายแอฟริกันและอินโดนีเซียมาตั้งถิ่นฐานบนเกาะนี้ในศตวรรษที่ 16 ภายใต้การนำของ ดิเอโก เดียซ์ นักบุกเบิกชาวโปรตุเกส ดินแดนในเกาะมาดากัสการ์รวมกันภายใต้ระบอบกษัตริย์ในช่วงปี พ.ศ. 2340-2404 แต่ฝรั่งเศสได้เข้าอ้างสิทธิ์ในการปกครองในปี พ.ศ. 2438 และต่อมาในปี พ.ศ. 2439 ระบอบกษัตริย์ถูกทำลายทำให้ตกเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศสในวันที่ 6 สิงหาคม พ.ศ. 2439กษัตริย์องค์สุดท้ายคือสมเด็จพระราชินีนาถรานาวาโลนาที่ 3 แห่งมาดากัสการ์ และต่อมาปี พ.ศ. 2501 มีการลงประชามติให้สาธารณรัฐมาลากาซีมีอำนาจปกครองตนเองในประชาคมฝรั่งเศส และได้รับเอกราชในวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2503

[แก้] ประชากร

[แก้] เชื้อชาติ

เมื่อ 2,000-1,500 ปีก่อน ชาวออสโตรนีเชียได้อพยพมายังมาดากัสการ์ และได้ผสมกับพวกชาวแอฟริกันเจ้าถิ่นเดิม ต่อมาก็มีชาวอาหรับ อินเดีย และยุโรป อพยพมาบนเกาะนี้ เป็นชาวมาลากาซี 16 ล้านคน เมรินา 3 ล้านคน เบตซิเลโอ 1 ล้านคน ซึมิเฮตี 989,000 คน และ สะกาลาวะ 7 แสนคน

[แก้] ศาสนา

ศาสนาคริสต์ 41% ศาสนาอิสลาม 7% ศาสนาพราหมณ์-ฮินดู 0.1% ที่เหลือนับถือความเชื่อท้องถิ่น ผีสางนางไม้ ไสยศาสตร์ ฯลฯ

[แก้] ข้อมูลทั่วไป

  • ภาคอุตสาหกรรม

อุตสาหกรรมที่สำคัญของประเทศมาดากัสการ์ ได้แก่ อุตสาหกรรมการผลิตอาหาร และ อุตสาหกรรมสินค้าสิ่งทอ

  • ภาคเกษตรกรรมและปศุสัตว์

ประเทศมาดากัสการ์ มีพื้นที่การเพาะปลูกประมาณ 5% ของประเทศ โดยกาแฟเป็นสินค้าที่ส่งออกมากที่สุดประมาณ 50% นอกจากนี้ ยังมี วานิลา ข้าวเจ้า อ้อย ยาสูบ และถั่ว ที่เป็นสินค้าการเกษตรที่สำคัญ ในด้านการปศุสัตว์และการประมงนั้น ข้อมูลในปี ค.ศ. 1988 ระบุว่า วัวเป็นสัตว์ที่ประชาชนนิยมเลี้ยงมากที่สุด มีจำนวนมากถึง 10.4 ล้านตัว รองลงมา ได้แก่ สุกร ซึ่งมีจำนวนประมาณ 1.3 ล้านตัว และสามารถจับปลาได้ประมาณ 63,000 เมตริกตัน

  • สินแร่

สินแร่ธรรมชาติที่สามารถพบได้ภายในประเทศมาดากัสการ์ที่สำคัญ ได้แก่ โครเมียม แกรไฟต์ ถ่านหิน และ บอกไซต์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Matthew E. Hules, et al (2005). The Dual Origin of the Malagasy in Island Southeast Asia and East Africa: Evidence from Maternal and Paternal Lineages. American Journal of Human Genetics, 76:894-901, 2005.
  2. ^ เป็นภาษาทางการตั้งแต่ 27 เมษายน 2550
ภาษาอื่น