จังหวัดลำปาง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ความหมายอื่นของ ลำปาง ดูที่ ลำปาง (แก้ความกำกวม)
จังหวัดลำปาง
ตราประจำจังหวัดลำปาง ตราผ้าพันคอลูกเสือ จังหวัดลำปาง
ตราประจำจังหวัด ตราผ้าผูกคอลูกเสือ
Cquote1.png ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น
เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล
ฝึกช้างใช้ลือโลก
Cquote2.png
ข้อมูลทั่วไป
ชื่ออักษรไทย ลำปาง
ชื่ออักษรโรมัน Lampang
ผู้ว่าราชการ นายศุภกิจ บุญญฤทธิพงษ์
(ตั้งแต่ พ.ศ. 2552)
ISO 3166-2 TH-52
ต้นไม้ประจำจังหวัด กระเจา (ขะจาว)
ดอกไม้ประจำจังหวัด ธรรมรักษา
ข้อมูลสถิติ
พื้นที่ 12,533.961 ตร.กม.[1]
(อันดับที่ 10)
ประชากร 764,498 คน[2] (พ.ศ. 2552)
(อันดับที่ 32)
ความหนาแน่น 60.99 คน/ตร.กม.
(อันดับที่ 67)
ศูนย์ราชการ
ที่ตั้ง ศูนย์ราชการจังหวัดลำปาง ถนนวชิราวุธดำเนิน ตำบลพระบาท อำเภอเมืองลำปาง จังหวัดลำปาง 52000
เว็บไซต์ จังหวัดลำปาง
แผนที่
 
แผนที่ประเทศไทย เน้นจังหวัดลำปาง

สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย

จังหวัดลำปาง เป็นจังหวัดหนึ่งในภาคเหนือตอนบน ภูมิประเทศอุดมสมบูรณ์ด้วยป่าไม้และภูเขาสูง มีประวัติศาสตร์เก่าแก่ยาวนาน มีชื่อเดิมว่า เขลางค์นคร เป็นที่รู้จักกันดีอีกชื่อหนึ่งว่า เมืองรถม้า

เป็นเมืองสำคัญเมืองหนึ่งในล้านนา เป็นจุดศูนย์รวมทางด้านศิลปะ วัฒนธรรม สถาปัตยกรรมล้านนาอันโดดเด่น สมัยกรุงศรีอยุธยา อาณาจักรล้านนารวมไปถึงนครลำปางได้ตกเป็นเมืองขึ้นของพม่ามานานนับสองร้อยปี ดังนั้นสถาปัตยกรรม วัดวาอาราม โบราณสถานต่าง ๆ ในเมืองลำปางจึงได้รับอิทธิพลของศิลปะพม่าเห็นได้อย่างชัดเจน อาทิ วัดศรีชุม วัดพระแก้วดอนเต้าฯ ช่วงสมัยพม่าปกครองอาณาจักรล้านนารวมไปถึงเมืองลำปางไม่ได้สร้างคุณประโยชน์แก่บ้านเมือง มิหนำซ้ำยังกระทำการย่ำยีข่มเหงชาวบ้านจนทำให้ชาวเมืองเกลียดชังไปทั่ว จนกระทั่งได้เกิดวีรบุรุษผู้กล้าแห่งบ้านปกยางคก (ปัจจุบันอยู่อำเภอห้างฉัตร) นามว่า เจ้าพ่อทิพย์ช้าง ท่านได้รวบรวมชาวเมืองขับไล่พม่าพ้นเมืองลำปางได้สำเร็จ พร้อมกันนี้ชาวเมืองจึงพากันสถาปนาท่านขึ้นเป็นเจ้าเมืองลำปาง มีพระนามว่า พญาสุวฤๅไชยสงคราม เวลานั้นเมืองลำปางเป็นเมืองเดียวในล้านนาที่ปราศจากอำนาจปกครองจากพม่า

กาลเวลาต่อมาลูกหลานของท่านได้กอบกู้เอกราชขับไล่พม่าจากแผ่นดินล้านนา และได้เป็นเจ้าหลวงเชียงใหม่ ลำพูน น่าน และต้นตระกูลของท่านมีนามปรากฏในพงศาวดารว่าราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้มีการปฏิรูประบอบการปกครองเป็นระบอบมณฑล เมืองลำปางขึ้นอยู่กับมณฑลพายัพ (เมืองเชียงใหม่) และมณฑลมหาราษฎร์ (เมืองเชียงราย) ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 6 ได้เปลี่ยนแปลงเป็นจังหวัด เมืองลำปางจึงมีฐานะเป็นจังหวัดหนึ่งตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา

เนื้อหา

[แก้] พื้นที่

จังหวัดลำปางมีพื้นที่ติดต่อกับจังหวัดอื่น ๆ ดังนี้

[แก้] สัญลักษณ์ประจำจังหวัด

  • ดอกไม้ประจำจังหวัด: ดอกธรรมรักษา (Heliconia sp.)
  • ต้นไม้ประจำจังหวัด: กระเจา หรือกระเชา หรือในภาษาถิ่นว่า ขะจาว (Holoptelea integrifolia)
  • คำขวัญประจำจังหวัด: ถ่านหินลือชา รถม้าลือลั่น เครื่องปั้นลือนาม งามพระธาตุลือไกล ฝึกช้างใช้ลือโลก


[แก้] หน่วยการปกครอง

การปกครองแบ่งออกเป็น 13 อำเภอ 100 ตำบล 855 หมู่บ้าน

  1. อำเภอเมืองลำปาง
  2. อำเภอแม่เมาะ
  3. อำเภอเกาะคา
  4. อำเภอเสริมงาม
  5. อำเภองาว
  6. อำเภอแจ้ห่ม
  7. อำเภอวังเหนือ
  1. อำเภอเถิน
  2. อำเภอแม่พริก
  3. อำเภอแม่ทะ
  4. อำเภอสบปราบ
  5. อำเภอห้างฉัตร
  6. อำเภอเมืองปาน
 แผนที่

[แก้] เทศบาล

  1. เทศบาลนครลำปาง อำเภอเมืองลำปาง
  2. เทศบาลเมืองเขลางค์นคร อำเภอเมืองลำปาง
  3. เทศบาลตำบลบ่อแฮ้ว อำเภอเมืองลำปาง
  4. เทศบาลตำบลพิชัย อำเภอเมืองลำปาง
  5. เทศบาลตำบลเกาะคา อำเภอเกาะคา
  6. เทศบาลตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา
  7. เทศบาลตำบลศาลา อำเภอเกาะคา
  8. เทศบาลตำบลห้างฉัตร อำเภอห้างฉัตร
  9. เทศบาลตำบลแจ้ห่ม อำเภอแจ้ห่ม
  10. เทศบาลตำบลหลวงเหนือ อำเภองาว
  11. เทศบาลตำบลหลวงใต้ อำเภองาว
  12. เทศบาลตำบลเสริมงาม อำเภอเสริมงาม
  13. เทศบาลตำบลวังเหนือ อำเภอวังเหนือ
  14. เทศบาลตำบลบ้านใหม่ อำเภอวังเหนือ
  15. เทศบาลตำบลล้อมแรด อำเภอเถิน
  16. เทศบาลตำบลแม่ปุ อำเภอแม่พริก
  17. เทศบาลตำบลแม่พริก อำเภอแม่พริก
  18. เทศบาลตำบลเวียงมอก อำเภอเถิน
  19. เทศบาลตำบลสบปราบ อำเภอสบปราบ
  20. เทศบาลตำบลป่าตันนาครัว อำเภอแม่ทะ
  21. เทศบาลตำบลสิริราช อำเภอแม่ทะ
  22. เทศบาลตำบลน้ำโจ้ อำเภอแม่ทะ
  23. เทศบาลตำบลแม่เมาะ อำเภอแม่เมาะ

[แก้] การคมนาคม

  • ทางบก จังหวัดลำปางอยู่ห่างจากกรุงเทพมหานครประมาณ 600 กิโลเมตร การเดินทางทางบกสะดวกสบายมากจากกรุงเทพฯ จากเส้นทางสายเอเชีย ผ่าน พระนครศรีอยุธยา-นครสวรรค์-กำแพงเพชร-ตาก-เข้าสู่ลำปาง ถนนเป็นถนนสี่เส้นทางการจราจรตลอด ใช้เวลาเดินทางรถส่วนตัวประมาณ 7-8 ชั่วโมง รถบัสประจำทางจากกรุงเทพฯ-ลำปาง ขึ้นได้ที่สถานีหมอชิตใหม่ มีรถให้เลือกหลายบริษัทหลายระดับเช่นกัน ทั้ง บขส. สมบัติทัวส์ สยามเฟิสทัวร์ เมืองเหนือทัวร์ ฯลฯ
  • ทางรถไฟ ขึ้นรถไฟที่สถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) มีรถไฟหลายชั้นหลายระดับให้เลือกตั้งแต่สปรินเตอร์-รถนอนปรับอากาศ-รถพัดลมธรรมดา ลงที่สถานีรถไฟนครลำปาง
  • ทางอากาศ นั่งเครื่องบินใช้เวลา 1 ชั่วโมงเศษจากกรุงเทพฯ ลงที่ท่าอากาศยานลำปางได้เลย หรือลงที่ท่าอากาศยานนานาชาติเชียงใหม่แล้วต่อรถอีก 1 ชั่วโมงก็จะถึงจังหวัดลำปาง

[แก้] การศึกษา

ระดับอุดมศึกษา
โรงเรียน

[แก้] พระอารามหลวง

[แก้] สถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ

[แก้] อุทยานแห่งชาติทางบก

[แก้] ประเพณีของจังหวัดลำปาง

  • ประเพณีแห่สลุงหลวง
  • ประเพณีสงกรานต์
  • ประเพณีขันโตกช้าง
  • งานเซรามิคแฟร์
  • งานหลวงเวียงละคอน
  • งานรำลึกประวัติศาสตร์รถไฟ-รถม้าลำปาง

[แก้] ชาวลำปางที่มีชื่อเสียง

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ศูนย์สารสนเทศเพื่อการบริหารและงานปกครอง. กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ข้อมูลการปกครอง." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/padmic/jungwad76/jungwad76.htm [ม.ป.ป.]. สืบค้น 18 เมษายน 2553.
  2. ^ กรมการปกครอง. กระทรวงมหาดไทย. "ประกาศสำนักทะเบียนกลาง กรมการปกครอง เรื่อง จำนวนราษฎรทั่วราชอาณาจักร แยกเป็นกรุงเทพมหานครและจังหวัดต่าง ๆ ตามหลักฐานการทะเบียนราษฎร ณ วันที่ 31 ธันวาคม 2552." [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: http://www.dopa.go.th/stat/y_stat.html 2553. สืบค้น 30 มีนาคม 2553.

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 18°17′N 99°29′E / 18.29°N 99.48°E / 18.29; 99.48