อ่าวเบงกอล

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

แผนที่แสดงตำแห่งที่ตั้งอ่าวเบงกอล
เรือประมงในอ่างเบงกอล
เกาะเซนต์มาร์ติน อ่างเบงกอล
ชายหาดมารีนา เชนไน

อ่าวเบงกอล (อังกฤษ: Bay of Bengal) คืออ่าวที่เกิดจากการก่อตัวของมหาสมุทรอินเดียส่วนตะวันออกเฉียงเหนือ มีลักษณะคล้ายรูปสามเหลี่ยมล้อมรอบด้วยประเทศอินเดียและศรีลังกาทางด้านตะวันตก บังคลาเทศและรัฐเบงกอลของอินเดียทางด้านเหนือ (ซึ่งเป็นที่มาของชื่อ) และประเทศพม่า ภาคใต้ของประเทศไทย หมู่เกาะอันดามันและหมู่เกาะนิโคบาร์ ทางด้านตะวันออก อาณาเขตด้านใต้แผ่ถึงเส้นเขตจินตนาการที่ลากจากดอนดราเฮดตอนใต้ของศรีลังกาไปถึงปลายด้านเหนือของสุมาตรา

อ่าวเบงกอลมีเนื้อที่ 2,172,000 กม² มีแม่น้ำสำคัญหลายสายไหลมาลงทะเล เช่น แม่น้ำคงคา แม่น้ำพรหมบุตร แม่น้ำอิรวดี แม่น้ำโคทาวรี แม่น้ำมหานที แม่น้ำกฤษณาและแม่น้ำกาเวรี ท่าเรือสำคัญของอ่าวเบงกอลได้แก่ คุดดาลอร์ เชนไน คาคินนาดา มะชิลิพัทนาม พาราทิพ โคลกาตา จิตตะกองและย่างกุ้ง

เนื้อหา

[แก้] ศัพทมูลวิทยา

ข้อพิพาทเมื่อคริสต์ศตวรรษที่ 10 (พ.ศ. 1444-1543) เป็นเหตุทำให้ต้องเรียกอ่าวเบงกอลว่า “ทะเลสาบโชลา” (The Chola Lake) ชื่อในภาษาฮินดีเรียก Bangal ki Khadi [1]

คำว่าเบงกอลมาจากภาษาสันสกฤตว่า พังคะ (Banga) หรือ วังคะ (Vanga) หมายถึงน้ำของดินดอนสามเหลี่ยมคงคา มีเรื่องปรัมปราเล่ากันมาว่าเกี่ยวกับบริเวณของเผ่าพันธุ์ดวงจันทร์แห่งเดลี(?)[2][3]

[แก้] แม่น้ำ

มีแม่น้ำสำคัญหลายสายที่ไหลจากทางตะวันตกสู่ตะวันออกของอ่าวเบงกอล ด้านเหนือมีแม่น้ำคงคา แม่น้ำเมขนาและแม่น้ำพราหมบุตร ทางใต้มีแม่น้ำมหานทีไหลผ่านดินดอนสามเหลี่ยมมหานที แม่น้ำโคธาวารี แม่น้ำกฤษณา แม่น้ำอิรวดีและแม่น้ำคาเวรี แม่น้ำสั้นที่สุดที่ไหลลงอ่าวเบงกอลได้แก่แม่น้ำคูอุมที่ยาวเพียง 64 กม. แม่น้ำพรหมบุตรมีความยาวเป็นอันดับที่ 28 ของโลก (2,948 กม.) ไหลลงอ่าวเบงกอลผ่านอินเดีย สาธารณรัฐประชาชนจีน เนปาล บังคลาเทศและภูฏาน มีป่าชายเลนที่เรียกชื่อว่าซุนดาร์บันส์ขึ้นอยู่บริเวณดินดอนสามเหลี่ยมคงคา ปากแม่น้ำพรหมบุตรและแม่น้ำเมฆนาที่เป็นชายฝั่งของอ่าวเบงกอล

[แก้] ท่าเรือ

[แก้] เกาะ

[แก้] ชายหาด

[แก้] สมุทรศาสตร์

[แก้] การเคลื่อนที่ของแผ่นเปลือกโลก

ท้องอ่าวเบงกอล      แผ่นทวีปอินเดีย, สีแดง      แผ่นทวีปอินโด-ออสเตรเลีย, สีส้มเทา

[แก้] ชีววิทยาทางทะเล พรรณพืชและพรรณสัตว์

[แก้] สมุทรศาสตร์เคมี

[แก้] สมุทรศาสตร์กายภาพ - ภูมิอากาศของอ่างเบงกอล

[แก้] พายุโซนร้อนและพายุหมุน

พายุหมุนเขตร้อน 2B –พฤษภาคม 2545

พายุเขตร้อนที่มีลมหมุนที่ความเร็วตั้งแต่ 119 กม./ชม. ขึ้นไปเรียกว่า “พายุหมุน” (cyclone) เมื่อมีกำเนิดในอ่าวเบงกอล แต่ถ้ามีกำเนิดในมหาสมุทรแอตแลนติกเรียกกันว่า “เฮอร์ริเคน” (hurricane) [4] มีผู้เสียชีวิตในบังคลาเทศระหว่าง 100,000 ถึง 500,000 คนเนื่องจากพายุหมุนเขตร้อนโบลาเมื่อ พ.ศ. 2513

  • พ.ศ. 2551 พายุหมุนนาร์กิสอันมีความรุนแรงระดับสูง
  • พ.ศ. 2550 พายุหมุนเขตร้อนขั้นรุนแรงมากชื่อ Sidr
  • พ.ศ. 2549 พายุหมุนเขตร้อนขั้นรุนแรงมากชื่อ Mala
  • พ.ศ. 2549 กันยายน พายุไต้ฝุ่นช้างสาร (Typhoon Xangsane)
  • พ.ศ. 2547 พฤศจิกายนพายุไต้ฝุ่นมุ่ยฟ้า
  • พ.ศ. 2545 พฤษภาคม พายุหมุนเขตร้อน ระดับ 2B
  • พ.ศ. 2534 เมษายน พายุหมุนเขตร้อนบังคลาเทศ
  • พ.ศ. 2532 พฤศจิกายน ไต้ฝุ่นเกย์
  • พ.ศ. 2528 พฤษภาคม พายุโซนร้อน ระดับ 1B
  • พ.ศ. 2525 เมษายน พายุหมุน ระดับ 1B
  • พ.ศ. 2525 พฤษภาคม พายุเขตร้อน ระดับ 2B
  • พ.ศ. 2525 ตุลาคม พายุเขตร้อน ระดับ 3B
  • พ.ศ. 2524 ธันวาคม พายุหมุน ระดับ 3B
  • พ.ศ. 2523 ตุลาคม พายุเขตร้อน ระดับ 1B
  • พ.ศ. 2523 ธันวาคม พายุไม่ทราบชื่อ ระดับ 4B
  • พ.ศ. 2523 ธันวาคม พายุเขตร้อน ระดับ 5B
  • พ.ศ. 2514 พายุหมุนโอริสสา
  • พ.ศ. 2513 พฤศจิกายน พายุหมุนโบลา

[แก้] สถานที่ศักดิ์สิทธิ์

[แก้] เศรษฐกิจ

[แก้] ภัยสิ่งแวดล้อม

[แก้] มลภาวะ

[แก้] ประวัติศาสตร์

เนื่องจากการเคลื่อนที่ของแผ่นทวีป ทำให้แผ่นทวีปอินเดียแยกออกจากมาดากาสการ์และประทะกับแผ่นทวีปยูเรเชียนเกิดเป็นเทือกเขาหิมาลัยและอ่าวเบงกอล

[แก้] ทัณฑนิคมอังกฤษ

[แก้] โบราณคดีทางทะเล

[แก้] เรือที่มีชื่อเสียงและเรืออัปปาง

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

คุณสามารถหาข้อมูลภาษาอังกฤษเกี่ยวกับ อ่าวเบงกอล ได้โดยค้นหาจากโครงการพี่น้องของวิกิพีเดีย:
Wiktionary-logo-th.png หาความหมาย จากวิกิพจนานุกรม
Wikibooks-logo.svg หนังสือ จากวิกิตำรา
Wikiquote-logo.svg คำคม จากวิกิคำคม
Wikisource-logo.svg ข้อมูลต้นฉบับ จากวิกิซอร์ซ
Commons-logo.svg ภาพและสื่อ จากคอมมอนส์
Wikinews-logo.svg เนื้อหาข่าว จากวิกิข่าว
Wikiversity-logo-Snorky.svg แหล่งเรียนรู้ จากวิกิวิทยาลัย
  1. ^ Map of the Bay of BengalURL accessed January 22, 2007
  2. ^ Bengal Love To Know 1911URL accessed January 21, 2007
  3. ^ Kashmere: Brahman Mahatma Of the Lunar Race. The struggle between the Lunar and Solar Dynastys/Cast. สืบค้นวันที่ 2007-01-21
  4. ^ Forces of Nature--Natural Disaster Fast Facts (National Geographic) URL accessed January 22, 2007

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

[แก้] แหล่งข้อมูล


พิกัดภูมิศาสตร์: 14°56′16″N, 87°27′33″E

Gnome-globe.svg อ่าวเบงกอล เป็นบทความเกี่ยวกับ แม่น้ำ ภูเขา หรือสถานที่ทางภูมิศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ อ่าวเบงกอล ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ