สถานีลาดพร้าว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ลาดพร้าว
Lat Phrao

BSicon INT legende.svg
เส้นทาง รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รหัสสถานี LAT
เวลาให้บริการ 06.00 - 24.00น.
ผู้รับผิดชอบ การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย
ผู้ให้บริการ บริษัท รถไฟฟ้ากรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
จุดเชื่อมต่อ รถโดยสารประจำทาง
เขตที่ตั้ง เขตจตุจักร
ถนน รัชดาภิเษก
แผนที่ เว็บไซต์ BMCL
วันที่เปิดให้บริการ 3 กรกฎาคม 2547
รูปแบบสถานี ใต้ดิน
รูปแบบชานชาลา เกาะกลาง
จำนวนชานชาลา 2
ทางออก 3
ลิฟต์ 1

สถานีลาดพร้าว (อังกฤษ: Lat Phrao Station, รหัส LAT) เป็นสถานีรถไฟฟ้าใต้ดิน ในเส้นทางรถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล ที่ถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง กรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ในย่านธุรกิจ สถานศึกษา สถานที่ราชการ และที่พักอาศัยบริเวณตอนต้นของถนนลาดพร้าว

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้ง

ถนนลาดพร้าว บริเวณทิศตะวันตกของสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว จุดบรรจบถนนลาดพร้าวและถนนรัชดาภิเษก-ห้วยขวาง ในพื้นที่แขวงจอมพล เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

สถานีลาดพร้าวตั้งอยู่ในย่านที่พักอาศัยหนาแน่นใจกลางเมืองบริเวณถนนลาดพร้าวตอนต้น และอยู่ใกล้กับสถานศึกษาและสถานที่ราชการหลายแห่ง โดยเฉพาะหน่วยงานด้านศาลยุติธรรม ซึ่งสถานีลาดพร้าวได้ตั้งชื่อ เพื่อสื่อถึงที่ตั้งสถานีที่ถนนลาดพร้าวช่วงกลาง และเป็นสถานีสำคัญสำหรับเชื่อมต่อการเดินทางจากถนนลาดพร้าวส่วนที่เหลือที่ยังไม่มีรถไฟฟ้าเข้าถึง เช่น ย่านโชคชัยสี่, วังทองหลาง และบางกะปิ

แต่ในช่วงแรกที่รถไฟฟ้ามหานครเปิดให้บริการ ผู้โดยสารส่วนมากมักสับสนระหว่างสถานีลาดพร้าวกับสถานีพหลโยธิน ที่อยู่บริเวณปากทางลาดพร้าว อันเป็นที่ตั้งของศูนย์การค้าเซ็นทรัล พลาซา ลาดพร้าว ซึ่งผู้โดยสารคุ้นเคยกันดีอยู่แล้ว และบางส่วนอาจเห็นว่าบริเวณห้าแยกลาดพร้าวมีความโดดเด่นเป็นจุดหมายตา และน่าจะเหมาะสมสำหรับชื่อสถานีลาดพร้าวมากกว่า ดังนั้นจึงมีผู้โดยสารส่วนหนึ่งที่ต้องการเดินทางไปห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว แต่ลงรถผิดที่สถานีลาดพร้าว ทำให้เจ้าหน้าที่ทั้งบนขบวนรถและในสถานีลาดพร้าวจำเป็นต้องประกาศเตือนให้ผู้โดยสารต้องลงรถที่สถานีพหลโยธินให้ถูกต้อง หากต้องการเดินทางไปยังห้างเซ็นทรัลลาดพร้าว

[แก้] แผนผังสถานี

G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง, อาคารจอดแล้วจร
ศาลแขวงพระนครเหนือ, ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มินอล
B1
ทางเดินลอดถนน
ทางเดินลอดถนน ทางออก 1-4
B2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร
B3
ชานชาลา
ชานชาลา 2 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีบางซื่อ
ชานชาลาเกาะกลาง, ประตูรถจะเปิดทางด้านขวา
ชานชาลา 1 รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล มุ่งหน้า สถานีหัวลำโพง

[แก้] รายละเอียดของสถานี

[แก้] สีสัญลักษณ์ของสถานี

ใช้สีฟ้าตกแต่งกระเบื้องที่เสา ผนังและขอบด้านบนของแนวประตูกั้นชานชาลา[1]

[แก้] รูปแบบของสถานี

เป็นสถานีใต้ดิน กว้าง 22 เมตร ยาว 258 เมตร ระดับชานชาลาอยู่ลึก 18 เมตรจากผิวดิน เป็นชานชาลาแบบเกาะกลาง (Station with Central Platform)

[แก้] ทางเข้า-ออก

  • 1 ซอยลาดพร้าว 26, สี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว, ป้ายรถประจำทางไปห้าแยกลาดพร้าว
  • 2 ซอยลาดพร้าว 24
  • 3 ซอยลาดพร้าว 17, ป้ายรถประจำทางไปบางกะปิ
  • 4 อาคารจอดแล้วจร, ซอยลาดพร้าว 21, ศาลแขวงพระนครเหนือ

[แก้] การจัดพื้นที่ในตัวสถานี

แบ่งเป็น 4 ชั้น ประกอบด้วย

  • 1 ชั้นศูนย์การค้า เมโทรมอลล์
  • 2 ชั้นออกบัตรโดยสาร
  • 3 ชั้นชานชาลา

[แก้] สิ่งอำนวยความสะดวก

  • อาคารจอดแล้วจร เป็นอาคารจอดรถ 9 ชั้น ความจุ 2,500 คัน
  • ลิฟท์สำหรับผู้พิการ ทางเข้า-ออกหมายเลข 4 (อาคารจอดแล้วจร)
  • บริการ ไทย ซิตี้ แอร์ เทอร์มินอล ที่อาคารจอดแล้วจร ชั้น 1 สำหรับผู้โดยสารเครื่องบินของการบินไทย ที่ท่าอากาศยานดอนเมือง โดยมีบริการเช็คอิน และมีรถรับ-ส่งหมุนเวียนระหว่างสถานีลาดพร้าวและท่าอากาศยานดอนเมือง

[แก้] ศูนย์การค้าภายในสถานี

ภายในสถานีศูนย์วัฒนธรรมฯ ได้จัดให้มีส่วนร้านค้าหรือ เมโทรมอลล์ ที่ชั้นบนสุดของสถานี แต่ขณะนี้ยังไม่เปิดให้บริการ

[แก้] รถโดยสารประจำทาง

  • ถนนลาดพร้าว ด้านห้าแยกลาดพร้าว 8 38 44 92 96 122 136 145 502 517 528
  • ถนนลาดพร้าว ด้านโชคชัยสี่ 8 44 73ก 92 96 122 126 137 145 172 502 514
  • ถนนรัชดาภิเษก ด้านสุทธิสาร สาย 73ก 136 137 172 179 185 206 514 517 528 529 541
  • ถนนรัชดาภิเษก ด้านศาลอาญา สาย 38 126 179 185 206 529 541
  • หมายเหตุ : สาย 38 เดินรถทิศทางเดียว จากห้าแยกลาดพร้าว-สถานีลาดพร้าว-มรภ.จันทรเกษม-สี่แยกรัชโยธิน-ห้าแยกลาดพร้าว

[แก้] สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้] ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

[แก้] การเชื่อมต่อระบบรถไฟฟ้าในอนาคต

ในอนาคต สถานีลาดพร้าวจะเป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีต้นทางของระบบขนส่งมวลชนสายสีเหลือง เส้นทางลาดพร้าว-บางกะปิ-สำโรง ตามแนวถนนลาดพร้าว บริเวณสี่แยกรัชดาภิเษก-ลาดพร้าว

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ จุดเริ่มต้นของคนเดินทาง: ดำดินเดินทาง. คอลัมน์นายรอบรู้ นิตยสารสารคดี เดือนตุลาคม 2548

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°48′23″N 100°34′23″E / 13.806447°N 100.572928°E / 13.806447; 100.572928

[แก้] สถานีใกล้เคียง

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีรัชดาภิเษก
มุ่งหน้า สถานีหัวลำโพง
  รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล   สถานีพหลโยธิน
มุ่งหน้า สถานีบางซื่อ


ภาษาอื่น