สถานีศาลาแดง

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ศาลาแดง
Sala Daeng

BSicon INT legende.svg
สถานีศาลาแดง

สถานีศาลาแดง

เส้นทาง รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม
รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
รหัสสถานี S2
เวลาให้บริการ 06.00 - 24.00น.
ผู้ให้บริการ บริษัท ระบบขนส่งมวลชนกรุงเทพ จำกัด (มหาชน)
จุดเชื่อมต่อ รถโดยสารประจำทาง
รถไฟฟ้ามหานคร
เขตที่ตั้ง เขตบางรัก
ถนน สีลม
แผนที่ เว็บไซต์ BTS
วันที่เปิดให้บริการ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2542
รูปแบบสถานี ยกระดับ
รูปแบบชานชาลา ด้านข้าง
จำนวนชานชาลา 2
ทางออก 6
บันไดเลื่อน 5
ลิฟต์ 1

สถานีศาลาแดง (อังกฤษ: Sala Daeng Station, รหัส S2) เป็นสถานีรถไฟลอยฟ้า ในเส้นทางรถไฟฟ้าเฉลิมพระเกียรติ 6 รอบพระชนมพรรษา (รถไฟฟ้าบีทีเอส) สายสีลม ยกระดับเหนือถนนสีลม กรุงเทพมหานคร ใจกลางย่านธุรกิจถนนสีลม เป็นจุดเชื่อมต่อกับสถานีสีลม ของรถไฟฟ้ามหานคร

เนื้อหา

[แก้] ที่ตั้ง

ถนนสีลม ด้านหน้าศูนย์การค้าสีลมคอมเพลกซ์ ใกล้สี่แยกศาลาแดง (จุดบรรจบถนนพระรามที่ 4) ในพื้นที่แขวงสีลม เขตบางรัก กรุงเทพมหานคร

[แก้] แผนผังสถานี

U3
ชานชาลา
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
ชานชาลา 3 รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม มุ่งหน้า สถานีวงเวียนใหญ่
ชานชาลา 4 รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
ชานชาลาด้านข้าง, ประตูรถจะเปิดทางด้านซ้าย
U2
ชั้นขายบัตรโดยสาร
ชั้นขายบัตรโดยสาร ทางออก 1-6, ศูนย์บริการผู้โดยสาร
ห้องขายบัตรโดยสาร, เครื่องขายบัตรโดยสาร, ร้านค้า
ทางเดินเชื่อมไปยังรถไฟฟ้ามหานคร สถานีสีลม
เซ็นทรัล ดีพาร์ทเมนท์ สโตร์ สีลมคอมเพล็กซ์ และ อาคารสีลมคอมเพล็กซ์, ธนิยะ พลาซ่า
G
ระดับถนน
- ป้ายรถประจำทาง,โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
โรบินสัน สีลม, ธนาคารกรุงเทพ สำนักงานใหญ่สีลม, โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์

[แก้] รูปแบบของสถานี

เป็นแบบมีชานชาลาอยู่ 2 ข้าง (side platform station) ขนาดมาตรฐาน กว้างประมาณ 20 เมตร ยาวประมาณ 150 เมตร ประกอบด้วยชั้นขายบัตรโดยสาร และชานชาลา

[แก้] ทางเข้า-ออก

ประกอบด้วยทางขึ้น-ลงปกติ, สะพานเชื่อมต่ออาคาร และทางเดินใต้รางรถไฟฟ้า (Sky Walk) ได้แก่

  • 1 อาคารธนิยะ และ เจ-ซิตี้ (สะพานเชื่อม), อาคารสีลม 64 (สะพานเชื่อม), ถนนธนิยะ, ถนนพัฒน์พงศ์, ป้ายรถประจำทางไปพระรามที่ 4, โรงพยาบาลกรุงเทพคริสเตียน
  • 2 ป้ายรถประจำทางไปบางรัก, ถนนคอนแวนต์, อาคารซีพี (บันไดเลื่อน)
  • 3 อาคารญาดา, ธนาคาร ยูโอบี สาขาสีลม 2 (บันไดเลื่อน)
  • 4 เซ็นทรัล สีลมคอมเพล็กซ์ ชั้น 2 (สะพานเชื่อม)
  • 5 โรบินสัน สีลม, อาคาร ชาญอิสสระ ทาวเวอร์, สี่แยกศาลาแดง
  • 6 Sky Walk สถานีสีลม รถไฟฟ้ามหานคร (ทางเดินเชื่อมสี่แยกศาลาแดง พร้อมบันไดเลื่อน), โรงแรมดุสิตธานี, อาคารอับดุลราฮิม เพลส, อาคารอื้อ จือ เหลียง

[แก้] จุดเชื่อมต่อการเดินทาง

[แก้] เหตุการณ์สำคัญ

ในวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2553 เวลา 20.00 น. เกิดการยิงเอ็ม 79 จำนวน 5 ลูก ในเหตุการณ์การเผชิญหน้าระหว่างแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ แดงทั้งแผ่นดิน และกลุ่มผู้ชุมนุมเสื้อหลากสี ระเบิดยิงเข้าบริเวณสถานีศาลาแดงและธนาคารกรุงศรีอยุธยา สาขาสีลม โดยสถานีรถไฟฟ้าศาลาแดงเสียหายหลังคาเป็นรู ส่วนขบวนรถไฟฟ้าได้รับความเสียหายเครื่องปรับอากาศไม่ทำงาน จากสะเก็ดระเบิด[1] ทำให้มีผู้บาดเจ็บ 87 ราย อยู่ระหว่างการรักษาตัวในโรงพยาบาล 27 ราย อาการสาหัส 3 ราย กลับบ้านได้แล้ว 60 ราย เสียชีวิต 3 ราย[2]

[แก้] รถโดยสารประจำทาง

  • ถนนสีลม : สาย 15 76 77 115 162 163 164 177
  • ถนนพระรามที่ 4 (ด้านสี่แยกอังรีดูนังต์) : สาย 4 25(อู่สายลวด-สามแยก) 45 46 47 50 67 109 162 163 177 507
  • ถนนพระรามที่ 4 (ด้านสี่แยกวิทยุ) : สาย 4 14 25 (อู่สายลวด-สามแยก) 45 46 47 67 74 76 109 115 507

[แก้] สถานที่สำคัญใกล้เคียง

[แก้] ศูนย์การค้าและอาคารสำนักงาน

[แก้] โรงแรม

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

พิกัดภูมิศาสตร์: 13°43′43″N 100°32′03″E / 13.728508°N 100.534133°E / 13.728508; 100.534133

สถานีก่อนหน้า ขบวนรถไฟ สถานีต่อไป
สถานีราชดำริ
มุ่งหน้า สถานีสนามกีฬาแห่งชาติ
  รถไฟฟ้าบีทีเอส สายสีลม   สถานีช่องนนทรี
มุ่งหน้า สถานีวงเวียนใหญ่
สถานีสามย่าน
มุ่งหน้า สถานีหัวลำโพง
  รถไฟฟ้ามหานคร สายเฉลิมรัชมงคล
(การรถไฟฟ้าขนส่งมวลชนแห่งประเทศไทย)
เชื่อมต่อที่ สถานีสีลม
  สถานีลุมพินี
มุ่งหน้า สถานีบางซื่อ
ภาษาอื่น