อักษรอาหรับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรอาหรับ
ه
ประวัติอักษรอาหรับ
เครื่องหมายการออกเสียง
ฟัตฮะหฺ · กัสเราะหฺ · ء ·ฎ็อมมะหฺ
เลขอาหรับ

อักษรอาหรับ เป็นอักษรที่มีความสำคัญในศาสนาอิสลาม เพราะคัมภีร์อัลกุรอานเขียนด้วยอักษรนี้ อักษรนี้จึงมีใช้แพร่หลายในกลุ่มผู้นับถือศาสนาอิสลาม แม้แต่ภาษานอกกลุ่มเซมิติก เช่น ภาษาเปอร์เซีย ภาษาอูรดู และ ภาษายาวี ตัวอักษรมีหลายแบบแต่รูปร่างของอักษรเหมือนกัน

เนื้อหา

[แก้] โครงสร้างของอักษรอาหรับ

เขียนจากขวาไปซ้าย มีอักษรพื้นฐาน 28 ตัว การปรับไปเขียนภาษาอื่น เช่น ภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดูจะเพิ่มอักษรอื่นเข้ามา ไม่มีความแตกต่างระหว่างตัวพิมพ์กับตัวเขียนและตัวเล็กกับตัวใหญ่ อักษรแต่ละตัวจะเขียนติดกับอักษรตัวอื่นแม้ในการพิมพ์และรูปอักษรเปลี่ยนไปขึ้นกับตำแหน่งในคำ ไม่มีการเขียนสระเสียงสั้น ผู้อ่านต้องจดจำเอาเองว่าคำ ๆ นั้นมีเสียงสระเป็นอย่างไร จะเขียนเฉพาะสระเสียงยาวเท่านั้น ในคัมภีร์อัลกุรอานหรือในการสอนจะใช้เครื่องหมายแสดงการออกเสียง ในหนังสือรุ่นใหม่จะแสดงเครื่องหมายการยกเว้นเสียงสระ (ซุกูน) และเครื่องหมายเพิ่มความยาวเสียงพยัญชนะ (ชัดดะหฺ) ชื่อของอักษรอาหรับมาจากคำที่มีความหมายในภาษาเซมิติกแรกเริ่ม การจัดเรียงอักษรอาหรับมี 2 แบบ

  • รูปแบบเดิมคือ แบบอับญะดีย์ (Abjadī أبجدي) เป็นการจัดเรียงตามอักษรฟินิเชียน คล้ายกับการเรียงแบบ ABC ในภาษาอังกฤษ
  • รูปแบบที่ใช้ในปัจจุบันคือ แบบฮิญาอีย์ (Hejā’i هجائي) ซึ่งเรียงตามรูปร่างของอักษร

การจัดเรียงแบบ อับญะดีย์ เป็นการจับคู่อักษรอาหรับ 28 ตัวกับอักษรฟินิเชียน 22 ตัว ที่เหลืออีก 6 ตัว เรียงไว้ข้างท้าย ٲ ب ج ده و ذح ط ي ك ل م ن س ع ف ص قرش ت ث خ زض ظ غ

[แก้] การใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาต่าง ๆ

มีการใช้อักษรอาหรับเขียนภาษาอื่นที่ไม่ใช่ภาษาอาหรับอย่างกว้างขวาง โดยมีการปรับแต่งหรือเพิ่มลักษณะเพื่อแทนเสียงที่ต่างไปจากอักษรอาหรับตัวอย่างเช่น ภาษาอาหรับไม่มีเสียง/ป/ ฉะนั้น ภาษาอื่น ๆ ที่มีเสียง /ป/ จึงต้องสร้างอักษรของตัวเองขึ้นมา การเพิ่มเติมนี้แบ่งเป็น 3 กลุ่มคือ

  1. กลุ่มอักษรดัดแปลงของเปอร์เซียใช้กับภาษาในอินเดียทั้งหมดรวมทั้งภาษาตุรกี
  2. กลุ่มอักษรอยามีใช้ในแอฟริกาตะวันตก
  3. อักษรยาวีใช้ในภาษามาเลย์

ภาษาปัจจุบันที่เขียนด้วยอักษรอาหรับได้แก่

ภาษาที่เคยเขียนด้วยอักษรอาหรับมาก่อนแต่เลิกใช้แล้วในปัจจุบัน ได้แก่

[แก้] การเขียนอักษรอาหรับ

การเขียนอักษรอาหรับเป็นการเขียนแบบต่อเนื่องกันไป อักษรแต่ละตัวมีรูปร่างต่างไปขึ้นกับตำแหน่งในคำว่าอยู่ต้น กลางหรือท้ายคำ มีอักษร 6 ตัวที่มีเพียงแบบเดี่ยวกับท้ายคำ ดังนั้นเมื่อตามหลังอักษรตัวอื่นจะไม่มีการเชื่อมต่อและอักษรตัวต่อไปจะใช้แบบต้นคำหรือแบบเดี่ยวถ้าไม่มีแบบต้นคำ อักษรที่ไม่มีแบบต้นคำหรือกลางคำจะไม่ใช้เป็นตัวตามอักษรอื่นแม้ภายในคำ ฮัมซะหฺ ไม่ใช้นำหน้าหรือตามหลังอักษรอื่นบางครั้งใช้เขียนบนวาว ยาอุ หรือ อะลิฟเพื่อแสดงเสียง/อ/ อะลิฟ มักศูเราะหฺ (alif maqsurah) ในภาษาอาหรับ รูปร่างเหมือนตัวยาอุที่ไม่มีจุดข้างล่าง (ی) ใช้เฉพาะตำแหน่งท้ายคำเท่านั้น ใช้แทนเสียงสระอา เช่นเดียวกับ อะลิฟในภาษาเปอร์เซียและภาษาอูรดูเรียก ฟาร์ซี เยห์ (Farsi yeh) ซึ่งมีรูปต้นคำกับกลางคำด้วย ส่วนอะลิฟ มักศูเราะหฺ ไม่มีรูปดังกล่าว

[แก้] การเชื่อมต่อ

การเชื่อมต่อที่เป็นรูปแบบเฉพาะคือ ลาม + อะลิฟ ( لا) ตัวอย่างเช่นคำว่า อัลลอฮฺ เขียนได้เป็น اﷲ

[แก้] ฮัมซะหฺ

ในระยะแรก อะลิฟใช้แทนเสียง/อ/ ซึ่งเป็นลักษณะที่มาจากอักษรฟินิเชียน ปัจจุบันนำมาใช้แทนสระเสียงยาวเช่นเดียงกับวาวและยาอุ ทำให้เกิดความคลุมเครือว่าอะลิฟตัวนั้นแทนเสียง /อ/ หรือสระอา อักษรอาหรับปัจจุบันจึงเพิ่มฮัมซะหฺใช้แทนเสียง /อ/ ซึ่งปรากฏได้ทุกที่ภายในคำ เขียนทั้งโดยลำพังและเกาะกับอักษรอื่น

[แก้] ซัดดะหฺ

ซัดดะหฺ ( ّّّ_ ّ( บ่งถึงการซ้ำพยัญชนะ โดยเขียนบนพยัญชนะตัวที่ 2 เมื่อมีการซ้ำ

[แก้] ซูกูน

พยางค์ในภาษาอาหรับมีทั้งพยางค์เปิด และพยางค์ปิดซึ่งใช้กับสระเสียงสั้นเท่านั้น เมื่อเป็นพยางค์ปิดพยัญชนะตัวที่เป็นตัวสะกดจะไม่มีเสียงสระ และใช้เครื่องหมายซุกุนเพื่อลดความคลุมเครือ โดยเฉพาะเมื่อตัวหนังสือนั้นไม่ได้แสดงเครื่องหมายการออกเสียง ตัวหนังสือมาตรฐานนั้นจะมีแต่พยัญชนะเท่านั้น เช่น qalb “หัวใจ” เขียนเป็น qlb

ซูกูนเป็นตัวบ่งชี้ให้รู้ว่าตรงไหนไม่ต้องใส่เสียงสระ คำ qlb อาจหมายความว่าจะใส่เสียงสระเข้าที่ q l หรือ b ก็ได้ แต่เมื่อเติมซุกุนเหนือตัว l และ b ทำให้รู้ว่าต้องใส่สระที่ตัว q เท่านั้น เขียนได้ว่า قلْبْ เมื่อกำหนดการออกเสียงโดยสมบูรณ์จะเพิ่มเครื่องหมายฟัตฮะหฺ เป็น قَلْبْ คัมภีร์อัลกุรอ่านเป็นหนังสือที่แสดงการออกเสียงโดยสมบูรณ์ นอกจากนั้นแล้ว การใส่ซูกูนเหนือตัวยาอุเพื่อกำหนด /อี/ และ วาว เพื่อกำหนด /อู/ พบน้อยมาก เพราะยาอุ + ซุกุน อาจอ่านเป็น /ไอ/ และวาว + ซุกุนอาจอ่านเป็น /อัว/

ตัวอักษร m-w-s-y-q-ā ( موسيقى มีอะลิฟ มักศูเราะหฺที่ท้ายคำ) ปกติอ่านเป็น mūsīqā (ดนตรี) ถ้าเขียนซุกุนบนตัววาว ยาอุ และอลิฟ เป็น موْسيْقىْ จะอ่านเป็น mawsaykāy (ควรจำไว้ว่า อะลิฟ มักศูเราะหฺแม้จะอยู่ท้ายคำแต่ไม่ต้องใส่ซุกุน คำนี้จะถูกเขียนเป็น مُوْسِيْقَى ในคัมภีร์อัลกุรอ่าน (ถ้ามีคำนี้อยู่) หรือ مُوسِيقَى โดยทั่วไป ซุกุนจะไม่วางที่ตำแหน่งท้ายคำแม้ว่าพยัญชนะนั้นจะไม่มีเสียงสระ

[แก้] สระ

ในภาษาอาหรับไม่เขียนสระเสียงสั้นยกเว้นในหนังสือศักดิ์สิทธิ์เช่น อัลกุรอ่าน จะใช้เฉพาะเมื่อกิดความคลุมเครือขึ้น โดยเครื่องหมายสระเสียงสั้นจะเป็นเครื่องหมายอยู่บนหรือล่างพยัญชนะ ในกรณีสระเสียงยาว เช่น /อา/ จะแสดงโดยใช้เครื่องหมายสระเสียงสั้นคู่กับอะลิฟ (/อา/) ยาอุ (/อี/) หรือ วาว (/อู/) เสียงสระอาตามด้วยฮัมซะหฺจะแทนด้วยอะลิฟ มัดดะหรือเขียนฮัมซะหฺ แล้วตามด้วยอะลิฟ อักษรยาอุที่แทนสระอาจเชื่อมต่อกับพยัญชนะตัวต่อไปได้

[แก้] ตันวิน ( -ً -ٌ -ٍ )

ใช้กำหนดการลงท้ายทางไวยากรณ์ด้วย /อัน/ /อิน/ และ /อุน/ ในภาษาอาหรับโบราณมักใช้เชื่อมกับอะลิฟ แต่ไม่ค่อยใช้ในภาษาสมัยใหม่

[แก้] ตัวเลข

ตัวเลขที่ใช้มี 2 แบบ คือแบบมาตรฐานกับแบบอาหรับตะวันออก ที่ใช้ในอิหร่าน ปากีสถาน และอินเดีย ในภาษาอาหรับเรียกเลขนี้ว่า ตัวเลขอินเดีย (هنديه أرقام arqām hindiyyah) ในแอฟริกาเหนือปัจจุบันใช้ตัวเลขแบบตะวันตก ในยุคกลางมีการใช้ตัวเลขแบบตะวันตกที่ต่างไปเล็กน้อย (เช่นจากอิตาลี) การเขียนตัวเลขต่างจากตัวอักษรคือเขียนจากซ้ายไปขวา

นอกจากนี้อักษรอาหรับใช้แทนเลขได้ด้วยแต่ใช้น้อยในปัจจุบัน การใช้ขึ้นกับอันดับอับญะดีย์ เช่น ا= 1 ب = 2 ج= 3 จนกระทั่ง 1000 = غ


[แก้] อักษรอาหรับและการทับศัพท์

[แก้] พยัญชนะ

ข้อ อักษร ชื่ออักษร ภาษาไทย หมายเหตุ
1 / ا ฮัมซะหฺ/อะลิฟ อ, สระ อา *ถ้าฮัมซะหฺเป็นซุกูน จะเขียนเป็น <อ์> ในภาษาไทย เช่น <มะอ์มูร>
2 บาอุ
3 ตาอุ
4 ษาอุ
5 ญีม ญ, จญ์ ญะวาด, ฮัจญ์, ฮิจญ์เราะหฺ, ฮิญิร
6 ฮาอุ
7 คออุ
8 ดาล
9 ซาล
10 รออุ *ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ร่อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะหฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <เราะ>, <เราะฮฺ> และ <เราะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <ร่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <รอ>
11 ซาย
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ซะ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซา>
12 ซีน ซ, ส
  • ถ้าเป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <ส> เช่น <อับบาส>
  • ถ้าสะกดด้วยสระ ในภาษาไทยเป็น <ซ> <อับบาซียะหฺ>
13 ชีน
14 ศอด
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ศ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะหฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <เศาะ>, <เศาะฮฺ> และ <เศาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <ศ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ศอ>
15 ฎอด ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะหฺ หรือฎ็อมมะหฺ+วาว ใช้ ด เป็น <ดุ> และ <ดู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฎ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะหฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <เฎาะ>, <เฎาะฮฺ> และ <เฎาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <ฎ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฎอ>
16 ฏออุ
  • ถ้าสะกดด้วยฎ็อมมะหฺ หรือฎ็อมมะหฺ+วาว ใช้ ต เป็น <ตุ> และ <ตู> เนื่องจากถ้าเขียนด้วย ฏ และ สระอุหรือสระอูแล้ว สระทั้งสอง จะไม่ปรากฏออกมา
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะหฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เฏาะฮฺ> และ <เฏาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <ฏ็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฏอ>
17 ซออุ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ซ่อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะหฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <เซาะ>, <เซาะฮฺ> และ <เซาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <ซ่อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ซอ>
18 อัยนฺ
  • ถ้าเป็นซุกูน จะเขียน อฺ ในภาษาไทย เช่น

<มะอฺมูร>

19 ฆีน
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ฆ็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <ฆอ>
20 ฟาอุ
21 กอฟ
22 กาฟ

  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ในภาษาไทยเป็น <ก็อ>
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะ ฮัมซะหฺ, ฮาอุ และ หาอุ ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <เฏาะ>, <เกาะฮฺ> และ <เกาะหฺ> ตามลำดับ
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ ตามด้วยพยัญชนะอื่น ที่เป็นซูกูน ในภาษาไทยเป็น <ก็อน> เป็นต้น
  • ถ้าสะกดด้วย ฟัตฮะหฺ+อะลิฟ ในภาษาไทยเป็น <กอ>
23 ลาม
24 มีม
25 นูน
26 วาว
27 หาอุ ฮ, ห
  • ถ้าเป็นซุกูน ในภาษาไทยเป็น <หฺ> เช่น <มะดีนะหฺ>
  • ถ้าสะกดด้วยสระ ในภาษาไทยเป็น <ฮ> เช่น <ฮิชาม>
28 ยาอุ

[แก้] สระ

ข้อ คำอ่าน ? เสียงสระ หมายเหตุ
1 ฟัตฮะหฺ สระอะ
2 กัสเราะหฺ สระอิ
3 ฎ็อมมะหฺ สระอุ
4 ฟัตฮะหฺ + อะลิฟ สระอา
5 กัสเราะหฺ + ยาอุ สระอี
6 ฎ็อมมะหฺ + วาว สระอู
7 ฟัตฮะหฺ + ยาอุ อัย,เอ ถ้าพยางค์นั้น ลงท้ายด้วยพยัญชนะ ที่เป็นซุกูน จะเป็น สระเอ เช่น <ฮุเซน>
8 ฟัตฮะหฺ + วาว เอา เช่น <เลา>

[แก้] หมายเหตุ

  1. ไม้ไต่คู้และสระออ <-็อ> ใช้กับ <ฎ>, <ฏ>, <ศ> เมื่อถอดรูป ฟัตฮะห เช่น <ฎ็อ>, <ฏ็อ> <ศ็อ> และ <ก็อ> แต่อาจจะไม้ไต่คู้ละไว้ในฐานที่เข้าใจ เช่น <ฎอ>, <ฏอ> และ <ศอ>
  2. ไม้เอกและสระออ< -่อ> ใช้กับ <ร> เมื่อถอดรูปฟัตฮะหฺ เช่น <ร่อซูล> แต่อาจจะละไว้ในฐานเข้าใจ เช่น <รอซูล>
  3. จะไม่มีการใช้ <ห> นำหน้าพยัญชนะเสียงต่ำ หรือ วรรณยุกต์ เช่น <อิหม่าม>, <อะมีรุ้ลมุมินีน> หรือ <อ๊าด> ที่ถูกต้องคือ <อิมาม>, <อะมีรุลมุมินีน> และ <อาด>
  4. ไม่มีการตัดสระอะเมื่อถอดรูปฟัตฮะหฺ นอกจากคำว่า นบี เท่านั้น เช่น <อบูบักรฺ> จะต้องเป็น <อะบูบักรฺ>
  5. จะไม่ใช้ การันต์ ในการถอดรูปซุกูน นอกจากกับ <ย> และ <อ> เท่านั้น เช่น <อัลบุคอรีย์>, <มะอ์มูน>

[แก้] ยูนิโคด

[แก้] อ้างอิง