นักภาษาศาสตร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

นักภาษาศาสตร์ คือ ผู้ที่ใช้วิธีการทางวิทยาศาสตร์ในการวิจัยด้านต่างๆของภาษา

เนื้อหา

[แก้] ลักษณะของอาชีพ

การทำงานในแง่มุมต่างๆของภาษาแล้วแต่ด้านที่ตนเองสนใจ เช่น การศึกษาค้นคว้าเกี่ยวกับรากศัพท์ ลักษณะโครงสร้างของภาษาแปลภาษาหนึ่ง
ไปอีกภาษาหนึ่ง ทำหน้าที่เป็นล่ามจัดทำพจนานุกรม จัดระบบประเภทของภาษา ศึกษาโครงสร้างและพัฒนาการของภาษานำมาพิสูจน์และแปล
นักภาษาศาสตร์อาจเป็นผู้เชี่ยวชาญภาษาใดภาษาหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น ภาษาอังกฤษ ภาษาจีน ภาษาฝรั่งเศส ภาษาสเปน ภาษาเยอรมัน ภาษาญี่ปุ่น
บาลี-สันสกฤต ภาษาลาว เป็นต้น หรืออาจจะเป็นภาษาถิ่น เช่น คำเมือง ภาษามลายู เป็นต้น หรือภาษาชนกลุ่มน้อยก็ได้ทั้งนั้น

[แก้] คุณสมบัติที่ควรมี

เป็นลักษณะอันพึงประสงค์ที่ควรมี คล้ายกับที่นักวิทยาศาสตร์มี
- มีความชำนาญทั้งในด้านการพูด การอ่าน การฟัง การเขียน
- มีความคิดสร้างสรรค์ สนใจสิ่งแวดล้อม ศิลปะ ประเพณี วัฒนธรรมของเจ้าของภาษา
- มีความเพียรพยายามที่จะฝึกฝนตนเองให้เกิดทักษะ ชอบและสนใจในเรื่องต่างๆ เกี่ยวกับภาษา

[แก้] โอกาสและความก้าวหน้าทางการงาน

อาจเป็นครู อาจารย์ ทางด้านภาษาในโรงเรียน วิทยาลัยและมหาวิทยาลัย
รับราชการในหน่วยงานต่างๆ เช่น เจ้าหน้าที่วิเทศสัมพันธ์ เลขานุการในกระทรวงการต่างประเทศ นักวิชาการโดยเฉพาะทางด้านภาษา
ทำงานในหน่วยงานของรัฐวิสาหกิจหรือเอกชน โดยปฏิบัติงานในหน้าที่ต่างๆ เช่น เลขานุการ ผู้แปลเอกสาร ประชาสัมพันธ์ เจ้าหน้าที่ต้อนรับ มัคคุเทศก์ เป็นต้น
ประกอบอาชีพอิสระ เช่นนักเขียน นักแปล เปิดโรงเรียนสอนภาษาต่างประเทศ

[แก้] ความต้องการและการรองรับของตลาดแรงงาน

ความต้องการแรงงานยังเป็นที่ต้องการอีกมาก ทั้งภาครัฐบาล ภาครัฐวิสาหกิจและภาคเอกชน เพราะผู้ที่มีความรู้ทางภาษาศาสตร์ จะช่วยงานด้านการพัฒนาได้เป็นอย่างมาก เพราะจะเป็นผู้มีส่วนสำคัญในการติดต่อสัมพันธ์กับต่างประเทศ