เถรวาท

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ส่วนหนึ่งของ
พุทธศาสนา

Dharma wheel 1.png สถานีย่อย


พระพุทธศาสนา
ประวัติพุทธศาสนา
ศาสดา

พระโคตมพุทธเจ้า
(พระพุทธเจ้า)

จุดมุ่งหมาย
นิพพาน
ไตรรัตน์

พระพุทธ · พระธรรม · พระสงฆ์

ความเชื่อและการปฏิบัติ
ศีล (ศีลห้า) · ธรรม (เบญจธรรม)
สมถะ · วิปัสสนา
บทสวดมนต์และพระคาถา
คัมภีร์และหนังสือ
พระไตรปิฎก
พระวินัยปิฎก · พระสุตตันตปิฎก · พระอภิธรรมปิฎก
หลักธรรมที่น่าสนใจ
ไตรลักษณ์
บัญญัติ · ขันธ์ · ปรมัตถธรรม
นิกาย
เถรวาท · อาจริยวาท (มหายาน) · วัชรยาน · เซน
สังคมพุทธศาสนา
ปฏิทิน · บุคคล · วันสำคัญ · ศาสนสถาน · วัตถุมงคล
การจาริกแสวงบุญ
พุทธสังเวชนียสถาน ·
การแสวงบุญในพุทธภูมิ
ดูเพิ่มเติม
ศัพท์เกี่ยวกับพุทธศาสนา
หมวดหมู่พุทธศาสนา

เถรวาท (อ่านว่า เถ-ระ-วาด) (ภาษาอังกฤษ: Theravada ภาษาบาลี: theravāda ภาษาสันสกฤต: स्थविरवाद sthaviravāda) เป็นนิกายที่เก่าแก่ที่สุดในศาสนาพุทธ มีอีกชื่อหนึ่งว่า หินยาน หรือ หีนยาน

นิกายเถรวาทเป็นนิกายหลักที่ได้รับการนับถือในประเทศศรีลังกา (ประมาณ 70% ของประชากรทั้งหมด[1]) และประเทศในแผ่นดินเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ได้แก่ ไทย กัมพูชา ลาว และพม่า นิกายเถรวาทได้รับการนับถือเป็นส่วนน้อยในประเทศจีนและเวียดนาม โดยเฉพาะในมณฑลยูนนาน เนปาล บังคลาเทศที่เขตจิตตะกอง เวียดนามทางตอนใต้ใกล้ชายแดนกัมพูชา มาเลเซียมีนับถือทางตอนเหนือของประเทศ มีศาสนิกส่วนใหญ่เป็นเชื้อสายไทย และสิงหล ตัวเลขผู้นับถือศาสนาพุทธนิกายเถรวาทอยู่ที่ประมาณ 100 ล้านคน

สำหรับประเทศไทยมีผู้นับถือพุทธศาสนานิกายเถรวาทประมาณ 94% ของประชากรทั้งหมด [2]

นิกายเถรวาทได้รับการนับถือคู่กับนิกายอาจริยวาท (มหายาน)

พุทธศาสนานิกายเถรวาทในประเทศไทยยังได้แบ่งเป็นนิกายย่อยอีก 2 นิกาย คือ มหานิกาย และ ธรรมยุตินิกาย

เนื้อหา

[แก้] ความเป็นมาของนิกายเถรวาท

การแพร่กระจายของพุทธศาสนาเถรวาทลัทธิลังกาวงศ์เข้าสู่เอเชียตะวันออกเฉียงใต้

หลังจากพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธปรินิพพานได้ 3 เดือน พระสาวกผู้ได้เคยสดับสั่งสอนของพระองค์จำนวน 500 รูป ก็ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก ณ ถ้ำสัตบรรณคูหา ใกล้เมืองราชคฤห์ แคว้นมคธ ใช้เวลาสอบทานอยู่ 7 เดือน จึงประมวลคำสอนของพระพุทธเจ้าได้สำเร็จเป็นครั้งแรก นับเป็นบ่อเกิดของคัมภีร์พระไตรปิฎก คำสอนที่ลงมติกันไว้ในครั้งปฐมสังคายนาและได้นับถือกันสืบมา เรียกว่า เถรวาท แปลว่า คำสอนที่วางไว้เป็นหลักการโดยพระเถระ คำว่า เถระ ในที่นี้ หมายถึงพระเถระผู้ประชุมทำสังคายนาครั้งแรก และพระพุทธศาสนาซึ่งถือตามหลักที่ได้สังคายนาครั้งแรกดังกล่าว เรียกว่า นิกายเถรวาท อันหมายถึง คณะสงฆ์กลุ่มที่ยึดคำสั่งสอนของพระพุทธเจ้า ทั้งถ้อยคำ และเนื้อความที่ท่านสังคายนาไว้โดยเคร่งครัด ตลอดจนรักษาแม้แต่ตัวภาษาดั้งเดิมคือภาษาบาลี[3]

[แก้] นิกายย่อย

นิกายเถรวาท ยังมีนิกายที่แบ่งย่อยออกไปอีกจากเดิม มีความแตกต่างกันบ้างตามท้องถิ่นนั้นๆ โดยนิกายย่อยของเถรวาทมีอยู่ ได้แก่

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ The World Factbook: Sri Lanka. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2008-10-26.
  2. ^ The World Factbook: Thailand. CIA World Factbook. สืบค้นวันที่ 2008-10-26
  3. ^ พระไตรปิฎก เล่มที่ ๗ พระวินัยปิฎก เล่มที่ ๗ จุลวรรค ภาค ๒ ปัญจสติกขันธกะ (เรื่องพระมหากัสสปเถระ สังคายนาปรารภคำของพระสุภัททวุฑฒบรรพชิต). พระไตรปิฎกฉบับสยามรัฐ. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก <[1]>. เข้าถึงเมื่อ 9-6-52

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Dharma wheel.svg เถรวาท เป็นบทความเกี่ยวกับ พระพุทธศาสนา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ เถรวาท ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:พระพุทธศาสนา