พีบีแอร์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

PBair.gif
พีบีแอร์
IATA
9Q
ICAO
PBA
Callsign
PEEBEE AIR
ก่อตั้ง พ.ศ. 2533
ท่าอากาศยานหลัก ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ขนาดฝูงบิน 7
จุดหมายปลายทาง 9 และอีก 10 กับการบินไทย
บริษัทแม่ บริษัท พี บี แอร์ จำกัด โดย บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด (PBAir Co., Ltd.)
สำนักงานใหญ่ กรุงเทพ ประเทศไทย
บุคคลหลัก ดร. ปิยะ ภิรมย์ภักดี (CEO)
เว็บไซต์: http://www.pbair.com

บริษัท พี บี แอร์ จำกัด ผู้ก่อตั้ง สายการบินพีบีแอร์ แรกเริ่มได้รับการก่อตั้งขึ้นโดย ดร. ปิยะ ภิรมย์ภักดี ประธานกรรมการบริหาร บริษัท บุญรอด บริวเวอรี่ จำกัด เพื่อให้บริการการเดินทางแก่ผู้บริหาร ซึ่งต้องการความคล่องตัว สะดวกสบาย และเป็นส่วนตัวในการบินสู่สาขาต่างๆ ของบริษัท บุญรอดฯ ทั้งใน และนอกประเทศ เมื่อความสะดวกที่ไร้ขีดจำกัดได้รับความนิยมเพิ่มมากขึ้น PB Air จึงได้ดำเนินการยื่นขอใบอนุญาตให้ประกอบกิจการค้าขายในการเดินอากาศ ต่อกรมการบินพาณิชย์ กระทรวงคมนาคม เพื่อเปิดโอกาสให้บุคคลทั่วไปได้สัมผัสกับบริการเช่าเหมาลำ และส่งเสริมธุรกิจการบินในประเทศไทยให้มีทางเลือกในการเดินทางแก่ประชาชนมากขึ้น เมื่ออากาศยานใหม่เริ่มเข้าประจำฝูงบิน ความคิดที่จะมีส่วนร่วมพัฒนาอุตสาหกรรมการบินและการท่องเที่ยวในประเทศไทย จึงบังเกิดขึ้น ส่งผลให้ PB Air เริ่มเปิดเส้นทางบินสู่ชุมพรในลักษณะกึ่งประจำ และใส่ใจความร่วมมืออย่างเต็มที่กับทุกกิจกรรม การบินจนได้รับความไว้วางใจให้เป็นสายการบินที่รัฐกำหนด (Designated) ให้ทำการบินในเขตสามเหลี่ยม เศรษฐกิจตอนใต้ ร่วมกับประเทศมาเลเซีย และอินโดนีเซีย (IMT-GT) ปัจจุบัน PB Air ได้รับอนุมัติเพิ่มเติมสิทธิการประกอบธุรกิจการบินจากกระทรวงคมนาคมให้เป็นแบบประจำมีกำหนด เพื่อสอดคล้องกับแผนการดำเนินงานที่ได้เปิดเส้นทางบินสู่ชุมพร, ร้อยเอ็ด พร้อมทั้งการเปิดตลาดกระบี่-ภูเก็ต, กระบี่-สิงคโปร์ และเชื่อมเส้นทางขอนแก่น-เชียงใหม่ ในเบื้องต้น ตามที่ได้รับมอบ เพื่อยืนยันความประสงค์ที่จะเสนอบริการการบินที่แตกต่าง ทว่าเน้นความสะดวกและปลอดภัยสูงสุด

ในอดีตมีการร่วมบินกับการบินไทยในเส้นทางการบินบางเส้นด้วย

ปัจจุบันพีบีแอร์ได้ปิดบริการแล้วเนื่องจากขาดทุน

เนื้อหา

[แก้] โลโก้ของสายการบิน

PBAir ใช้สัญลักษณ์เป็น ตามรูปตัวสิงห์ (สัญลักษณ์ของตราสิงห์)

[แก้] ฝูงบิน

ฝูงบินในอดีต

[แก้] เส้นทางการบิน

ปัจจุบัน พีบีแอร์จดทะเบียนเลิกบินเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม 2552 เดิมที่เปิดให้บริการเส้นทางบินในประเทศทั้งหมด 8 เส้นทางดังนี้

ประเทศไทย
เที่ยวบินร่วม (Code Share) กับการบินไทย ได้แก่
  • เชียงราย
  • เชียงใหม่
  • แม่ฮ่องสอน
  • พิษณุโลก
  • อุดรธานี
  • ขอนแก่น
  • อุบลราชธานี
  • สุราษฎร์ธานี
  • เกาะสมุย
  • กระบี่
  • ภูเก็ต
  • หาดใหญ่

[แก้] ระหว่างประเทศ

[แก้] บริการพิเศษ

  • เปิดบริการเช่าเครื่องบิน เช่าบินไปยังทั่วประเทศไทย หรือ ต่างประเทศทั่วโลก
  • บริการอาหารบนอากาศยาน

[แก้] ดูเพิ่ม