อาณาจักรอยุธยา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก กรุงศรีอยุธยา)

สำหรับความหมายอื่น ดูที่ อยุธยา และระวังสับสนกับ อโยธยา

อาณาจักรอยุธยา
ราชอาณาจักร
แผนที่แสดงที่ตั้ง ของ
แผนที่อาณาจักรอยุธยาฉบับฝรั่งเศส วาดเมื่อปี พ.ศ. 2229
ThaiHistory Placide CarteDuRoyaumeDeSiam.png
ThaiHistory SiamPlacide.jpg
ยุคก่อนประวัติศาสตร์
บ้านเชียง ประมาณ 2500 ก่อน พ.ศ.
บ้านเก่า ประมาณ 2000 ก่อน พ.ศ.
ยุคอาณาจักร
สุวรรณภูมิ
ก่อนพุทธศตวรรษที่ 3-5
สุวรรณโคมคำ
พศว. 4-5
ทวารวดี-นครชัยศรี
ประมาณ พุทธศตวรรษที่ 5-15
โยนกนาคพันธุ์
638-1088
คันธุลี
994-1202
  เวียงปรึกษา
1090-1181
ศรีวิชัย
1202-1758
  ละโว้
1191 -1470
หิรัญเงินยางฯ
1181 - 1805
  หริภุญชัย
1206-1835
 
สงครามสามนคร พ.ศ. 1467-1470
  สุพรรณภูมิ
ละโว้
ตามพรลิงค์
 
พริบพรี
นครศรีธรรมราช
  สุโขทัย
1792-1981
พะเยา
1190-2011
เชียงราย
1805-1835
ล้านนา
1835-2101
อยุธยา (1)
พ.ศ. 1893-2112  
  สค.ตะเบ็งชเวตี้  
  สค.ช้างเผือก
  เสียกรุงครั้งที่ 1
   พ.ศ. 2112
พิษณุโลก
2106-2112
ล้านนาของพม่า
2101-2317
กรุงศรีอยุธยา (2)
พ.ศ. 2112-2310
เสียกรุงครั้งที่ 2
สภาพจลาจล
กรุงธนบุรี
พ.ศ. 2310-2325
ล้านนาของสยาม
พ.ศ. 2317-2442
  นครเชียงใหม่
  เมืองแพร่
  แคว้นน่าน
กรุงรัตนโกสินทร์
พ.ศ. 2325-ปัจจุบัน
  สงครามเก้าทัพ
  อานามสยามยุทธ
  การเสียดินแดน
  มณฑลเทศาภิบาล
  สงครามโลก: ครั้งที่ 1 - ครั้งที่ 2
 
ยุครัฐประชาชาติ
ประเทศไทย
  ปฏิวัติ พ.ศ. 2475
  เปลี่ยนแปลงชื่อประเทศ
สหรัฐไทยเดิม
พ.ศ. 2485-2489
 
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข

อาณาจักรอยุธยา เป็นอาณาจักรของชนชาติไทยในอดีตตั้งแต่ พ.ศ. 1893-2310 มีเมืองหลวงที่ กรุงศรีอยุธยา เป็นอาณาจักรซึ่งมีความเจริญรุ่งเรืองจนอาจถือได้ว่าเป็นอาณาจักรที่รุ่งเรืองมั่งคั่งที่สุดในภูมิภาคสุวรรณภูมิ[2] อีกทั้งยังเป็นอาณาจักรที่มีความสัมพันธ์ทางการค้ากับหลายชาติ เช่น จีน เวียดนาม อินเดีย ญี่ปุ่น เปอร์เซีย รวมทั้งชาติตะวันตก เช่น โปรตุเกส สเปน ดัตช์ และฝรั่งเศส เคยมีอาณาเขตกว้างใหญ่ไพศาล โดยมีประเทศราชแผ่ขยายไปจนถึงรัฐฉานของพม่า อาณาจักรล้านนา มณฑลยูนนานและมณฑลชานสี อาณาจักรล้านช้าง อาณาจักรจำปา และคาบสมุทรมมลายูในปัจจุบัน[3]

เนื้อหา

[แก้] กรุงศรีอยุธยา

กรุงศรีอยุธยาตั้งอยู่บนบริเวณซึ่งมีแม่น้ำล้อมรอบถึง 3 สาย อันได้แก่ แม่น้ำลพบุรีทางทิศเหนือ, แม่น้ำเจ้าพระยาทางทิศตะวันตกและทิศใต้ และแม่น้ำป่าสักทางทิศตะวันออก เดิมทีบริเวณนี้ไม่ได้มีสภาพเป็นเกาะ แต่พระเจ้าอู่ทองทรงดำริให้ขุดคูเชื่อมแม่น้ำทั้ง 3 สาย เพื่อให้เป็นปราการธรรมชาติป้องกันข้าศึก ที่ตั้งกรุงศรีอยุธยายังอยู่ห่างจากอ่าวไทยไม่มากนัก ทำให้กรุงศรีอยุธยาเป็นศูนย์กลางการค้ากับชาวต่างประเทศด้วย

ปัจจุบันบริเวณนี้เป็นส่วนหนึ่งของอำเภอพระนครศรีอยุธยา ในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา

[แก้] ประวัติ

[แก้] จุดเริ่มต้น

ชาวไทยเริ่มตั้งถิ่นฐานบริเวณตอนกลาง และตอนล่างของลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยามาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 18 แล้ว ทั้งยังเคยเป็นที่ตั้งของเมืองสังขบุรี อโยธยา เสนาราชนคร และกัมโพชนคร[4]

ต่อมา ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรขอมและสุโขทัยเริ่มเสื่อมอำนาจลง พระเจ้าอู่ทองทรงดำริจะย้ายเมืองและพิจารณาชัยภูมิเพื่อตั้งอาณาจักรใหม่ และตัดสินพระทัยสร้างราชธานีแห่งใหม่บริเวณตำบลหนองโสน (บึงพระราม)[5] และสถาปนากรุงศรีอยุธยาขึ้นเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 5 ปีขาล จุลศักราช 712[6] ตรงกับวันศุกร์ที่ 4 มีนาคม พ.ศ. 1893[7] (พ.ศ.นี้เทียบจาก จ.ศ. แต่จะตรงกับ ค.ศ.1351) ชื่อว่า กรุงเทพมหานคร บวรทวาราวดี ศรีอยุธยา มหาดิลก ภพนพรัตน์ราชธานี บุรีรมย์อุดมมหาสถาน[8] ประวัติศาสตร์บางแห่ง[ต้องการอ้างอิง]ระบุว่าเกิดโรคระบาดขึ้น พระเจ้าอู่ทองจึงทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงศรีอยุธยา

[แก้] การขยายดินแดน

กรุงศรีอยุธยาดำเนินนโยบายขยายอาณาจักรด้วย 2 วิธีคือ ใช้กำลังปราบปราม ซึ่งเห็นได้จากชัยชนะในการยึดครองเมืองนครธม (พระนคร) ได้อย่างเด็ดขาดในสมัยสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 และอีกวิธีหนึ่งคือ การสร้างความสัมพันธ์แบบเครือญาติ อันเห็นได้จากการผนวกกรุงสุโขทัยเข้าเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักร

[แก้] การล่มสลายของอาณาจักร

ช่วงสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ เกิดการแย่งชิงราชสมบัติระหว่างพระเจ้าเอกทัศกับพระเจ้าอุทุมพร เนื่องจากพระองค์ทรงเลือกพระอนุชาขึ้นเป็นกษัตริย์ไม่เป็นไปตามราชประเพณี แต่พระเจ้าเอกทัศก็ทวงบัลลังก์ ได้ขึ้นเป็นกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งกรุงศรีอยุธยา ครั้นในปี พ.ศ. 2303 พระเจ้าอลองพญาทรงนำทัพมารุกรานอาณาจักรอยุธยา พระเจ้าอุทุมพรทรงถูกเรียกตัวมาบัญชาการตั้งรับพระนคร แต่ภายหลังจากที่กองทัพพม่ายกกลับนั้น พระองค์ก็ได้ลาผนวชดังเดิม

ในปี พ.ศ. 2308 พระเจ้ามังระ บุตรของพระเจ้าอลองพญา ก็ได้รุกรานอาณาจักรอยุธยาอีกครั้งหนึ่ง โดยแบ่งกองกำลังออกเป็น 2 ส่วน คือ ฝ่ายเหนือภายใต้การบังคับของเนเมียวสีหบดี และฝ่ายใต้ภายใต้การนำของมังมหานรธา และมุ่งเข้าตีอาณาจักรอยุธยาพร้อมกันทั้งสองด้าน ฝ่ายอยุธยาทำการตั้งรับอย่างเข้มแข็ง และสามารถต้านทานการปิดล้อมของกองทัพพม่าไว้ได้นานถึง 14 เดือน แต่ก็ไม่อาจหยุดยั้งการล่มสลายได้ กองทัพพม่าสามารถเข้าเมืองได้ในวันที่ 7 เมษายน พ.ศ. 2310

[แก้] พระราชวงศ์

ราชวงศ์กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา ประกอบด้วย 5 ราชวงศ์ คือ

  1. ราชวงศ์อู่ทอง มีกษัตริย์ 3 พระองค์
  2. ราชวงศ์สุพรรณภูมิ มีกษัตริย์ 13 พระองค์
  3. ราชวงศ์สุโขทัย มีกษัตริย์ 7 พระองค์
  4. ราชวงศ์ปราสาททอง มีกษัตริย์ 4 พระองค์
  5. ราชวงศ์บ้านพลูหลวง มีกษัตริย์ 6 องค์

ซึ่งรวมเป็นกษัตริย์รวม 33 พระองค์ ซึ่งถือว่ามีมาก ซึ่ง อาณาจักรกรุงศรีอยุธยา เป็นราชธานีมาตั้งแต่วันที่ 3 เมษายน 1893 จนถึงวันที่ 7 เมษายน 2310 เป็นเวลายาวนานถึง 417 ปีเลยทีเดียว กษัตริย์ของกรุงศรีอยุธยา มีดังนี้

[แก้] พระมหากษัตริย์และพระราชวงศ์ในสมัยกรุงศรีอยุธยา


อาณาจักรอยุธยา อยุธยา.jpg
อู่ทอง พ.ศ. 1893 - 1952
สุพรรณภูมิ พ.ศ. 1952 - 2112
กรุงแตกครั้งที่ 1 พ.ศ. 2112
สุโขทัย พ.ศ. 2112 - 2172
ปราสาททอง พ.ศ. 2172 - 2231
บ้านพลูหลวง พ.ศ. 2231 - 2310
กรุงแตกครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310

พระมหากษัตริย์องค์สำคัญ
พระเจ้าอู่ทอง พ.ศ. 1893 - 1912
พระบรมไตรโลกนาถ พ.ศ. 1991 - 2031
พระนเรศวรมหาราช พ.ศ. 2133 - 2148
พระเอกาทศรถ พ.ศ. 2148 - 2153
พระนารายณ์มหาราช พ.ศ. 2199 - 2231
สารานุกรมประเทศไทย ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประเทศไทย
สารานุกรมประวัติศาสตร์ ส่วนหนึ่งของสารานุกรมประวัติศาสตร์
ลำดับ พระนาม ปีที่ครองราชย์ พระราชวงศ์
1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) 1893 - 1912 (19 ปี) อู่ทอง
2 สมเด็จพระราเมศวร (พระราชโอรสพระเจ้าอู่ทอง) ครองราชย์ครั้งที่ 1 1912 - 1913 (1 ปี) อู่ทอง
3 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 (ขุนหลวงพะงั่ว) 1913 - 1931 (18 ปี) สุพรรณภูมิ
4 สมเด็จพระเจ้าทองลัน (พระราชโอรสขุนหลวงพะงั่ว) 1931 (7 วัน) สุพรรณภูมิ
สมเด็จพระราเมศวร ครองราชย์ครั้งที่ 2 1931 - 1938 (7 ปี) อู่ทอง
5 สมเด็จพระรามราชาธิราช (พระราชโอรสพระราเมศวร) 1938 - 1952 (14 ปี) อู่ทอง
6 สมเด็จพระอินทราชา (เจ้านครอินทร์) (พระราชนัดดาของขุนหลวงพระงั่ว) 1952 - 1967 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
7 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 (เจ้าสามพระยา) (พระราชโอรสเจ้านครอินทร์ ) 1967 - 1991 (16 ปี) สุพรรณภูมิ
8 สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พระราชโอรสเจ้าสามพระยา) 1991 - 2031 (40 ปี) สุพรรณภูมิ
9 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2031 - 2034 (3 ปี) สุพรรณถูมิ
10 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 (พระราชโอรสพระบรมไตรโลกนาถ) 2034 - 2072 (38 ปี) สุพรรณภูมิ
11 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2072 - 2076 (4 ปี) สุพรรณภูมิ
12 พระรัษฎาธิราช (พระราชโอรสพระบรมราชาธิราชที่ 4) 2076 (5 เดือน) สุพรรณภูมิ
13 สมเด็จพระไชยราชาธิราช (พระราชโอรสพระรามาธิบดีที่ 2) 2077 - 2089 (12 ปี) สุพรรณภูมิ
14 พระยอดฟ้า (พระแก้วฟ้า) (พระราชโอรสพระไชยราชาธิราช) 2089 - 2091 (2 ปี) สุพรรณภูมิ
ขุนวรวงศาธิราช (สำนักประวัติศาสตร์บางแห่งไม่ยอมรับว่าเป็นกษัตริย์) 2091 (42 วัน) -
15 สมเด็จพระมหาจักรพรรดิ (พระเทียรราชา) 2091 - 2111 (20 ปี) สุพรรณภูมิ
16 สมเด็จพระมหินทราธิราช (พระราชโอรสพระมหาจักรพรรดิ) 2111 - 2112 (1 ปี) สุพรรณภูมิ
17 สมเด็จพระมหาธรรมราชาธิราช (พระราชบุตรเขยในพระมหาจักรพรรดิ) 2112 - 2133 (21 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
18 สมเด็จพระนเรศวรมหาราช (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2133 - 2148 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
19 สมเด็จพระเอกาทศรถ (พระราชโอรสพระมหาธรรมราชา) 2148 - 2163 (15 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
20 พระศรีเสาวภาคย์ (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) 2163 (ไม่ทราบที่แน่ชัด) สุโขทัย (พระร่วง)
21 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรม (พระราชโอรสพระเอกาทศรถ) 2163 - 2171 (8 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
22 สมเด็จพระเชษฐาธิราช (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2171-2173 (2 ปี) สุโขทัย (พระร่วง)
23 พระอาทิตยวงศ์ (พระราชโอรสพระเจ้าทรงธรรม) 2173 (36 วัน) สุโขทัย (พระร่วง)
24 สมเด็จพระเจ้าปราสาททอง (ออกญากลาโหมสุริยวงค์) 2173 - 2198 (25 ปี) ปราสาททอง
25 สมเด็จเจ้าฟ้าไชย (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2198-2199 (1 ปี) ปราสาททอง
26 สมเด็จพระศรีสุธรรมราชา (พระราชอนุชาพระเจ้าปราสาททอง) 2199 (3 เดือน) ปราสาททอง
27 สมเด็จพระนารายณ์มหาราช (พระราชโอรสพระเจ้าปราสาททอง) 2199 - 2231 (32 ปี) ปราสาททอง
28 สมเด็จพระเพทราชา 2231 - 2246 (15 ปี) บ้านพลูหลวง
29 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 8 (พระเจ้าเสือ) 2246 - 2251 (6 ปี) บ้านพลูหลวง
30 สมเด็จพระสรรเพชญ์ที่ 9 (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2251 - 2275 (24 ปี) บ้านพลูหลวง
31 สมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ (พระราชโอรสพระเจ้าเสือ) 2275 - 2301 (26 ปี) บ้านพลูหลวง
32 สมเด็จพระเจ้าอุทุมพร (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 (2 เดือน) บ้านพลูหลวง
33 สมเด็จพระที่นั่งสุริยาสน์อมรินทร์ (พระเจ้าเอกทัศ) (พระราชโอรสพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศ) 2301 - 2310 (9 ปี) บ้านพลูหลวง

[แก้] ความสัมพันธ์ระหว่างประเทศ

ปัจจัยที่ทำให้อยุธยาต้องขยายอำนาจ

ทางการเมือง - ความเข้มแข็งและอำนาจของอาณาจักร
ทางเศรษฐกิจ - เพื่อความมั่งคั่งของอาณาจักร
รูปแบบความสัมพันธ์
   1.ด้านสู้รบ
   2.ระบบบรรณาการ
   3.ทางการฑูต/การค้า

จีน - ระบบบรรณาการ

ญี่ปุ่น - ทางการค้า(สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถ) แต่เมื่อญี่ปุ่นเข้ามาเกี่ยวข้องกับการเมืองการปกครองของไทย พระเจ้าปราสาททองจึงกำราบ ทำให้ความสัมพันธ์เสื่อมลง แต่ไทยก็ยังคงค้าขายกับญี่ปุ่นอยู่ โดยผ่านทางฮอลันดา

อาณาจักรสุโขทัย - ทางการสู้รบ อยุธยาพยายามขยายอำนาจเข้าไปยังสุโขทัย

ล้านนา - ทางการสู้รบ อยุธยาพยายามขยายอำนาจเข้าไปยังล้านนา

พม่า - รูปแบบของการทำสงคราม และ เป็นสงครามที่ยืดยื้อ

ล้านช้าง - เป็นลักษณะมีไมตรีต่อกันตั้งแต่สถาปนากรุงศรีถึงสิ้นอยุธยา

เขมร - มีทั้งการสู้รบและด้านวัฒนธรรม โดยอยุธยาเป็นฝ่ายรับมา

หัวเมืองมลายู - อยุธยาขยายอำนาจไปยังหัวเมืองมลายูด้วยเหตุผลทางเศรษฐกิจ

ความสัมพันธ์กับชาติตะวันตก

รูปแบบความสัมพันธ์
  1.สร้างสัมพันธ์ไมตรี
  2.รับวิทยาการตะวันตก
  3.รักษาเอกราชของอาณาจักร

โปรตุเกส - เป็นติแรกที่เข้ามาติดต่อกับอยุธยา

สเปน - การค้าไม่ขยายตัวกว้างมากนัก เพราะ สเปนมุ่งจะเจริญสัมพันธ์ไมตรี

ฮอลันดา - ผลประโยชน์ทางการค้า แต่ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ฮอลันดาเริ่มไม่ชอบระเบียบการค้าขายกับไทยที่ต้องผ่านพระคลังสินค้า จึงส่งเรือรบมาปิดปากอ่าวไทย

ฝรั่งเศส - อยุธยาจึงมีสัมพันธ์ไมตรีกับฝรั่งเศส เพื่อถ่วงดุลย์อำนาจกับฮอลันดา

อังกฤษ - ความสัมพันธ์ด้านทางการค้าแต่ไม่ดีมากนัก

[แก้] วีรสตรีแห่งกรุงศรีอยุธยา

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ดนัย ไชยโยธา. (2543). พัฒนาการของมนุษย์กับอารยธรรมในราชอาณาจักรไทย เล่ม ๑. โอ.เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 305.
  2. ^ ดนัย ไชยโยค. (2550). ประวัติศาสตร์ไทย: ยุคอาณาจักรอยุธยา. โอ. เอส. พริ้นติ้ง เฮ้าส์. หน้า 8.
  3. ^ Hooker, Virginia Matheson (2003). A Short History of Malaysia: Linking East and West. St Leonards, New South Wales, Australia: Allen and Unwin. pp. 72. ISBN 1864489553. http://books.google.com/books?id=6F7xthSLFNEC&pg=PA72&lpg=PA72&dq=Ayutthaya++malay&source=bl&ots=IWjog_W6PG&sig=NKxfDLm13dLnJ6Si72q-F744g5A&hl=en&ei=u7lQSsrsDou4M-2T8e0D&sa=X&oi=book_result&ct=result&resnum=6. เรียกดูวันที่ 2009-07-05. 
  4. ^ พระบริหารเทพธานี. (2541). ประวัติศาสตร์ไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 67.
  5. ^ วัลลภา รุ่งศิริแสงรัตน์. (2545). บรรพบุรุษไทย: สมัยอยุธยา. โรงพิมพ์แห่งจุฬาลงกณ์มหาวิทยาลัย. หน้า 2.
  6. ^ ลำจุล ฮวบเจริญ, เกร็ดพงศาวดารกรุงศรีอยุธยา, กรุงเทพฯ, พิมพ์ครั้งที่ 3, พ.ศ. 2548, หน้า 2
  7. ^ เรื่องของไทยในอดีต
  8. ^ พระบริหารเทพฑานี. (2541). ประวัติชาติไทย เล่ม ๒. โสภณการพิมพ์. หน้า 71.

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น