สินจัย เปล่งพานิช

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สินจัย เปล่งพานิช
Sinjai Plengpanich.JPG
งาน Star Entertainment Awards 2007
ชื่อเล่น นก
เกิด 21 มกราคม พ.ศ. 2508 (อายุ 45 ปี)
คู่สมรส ฉัตรชัย เปล่งพานิช
อาชีพ นักแสดง,นักร้อง
ปีที่แสดง 2524-ปัจจุบัน
รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง
รางวัลผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม
2550 รักแห่งสยาม
ข้อมูลบนเว็บ IMDb
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย (ThaiFilmDb)

สินจัย เปล่งพานิช (นก) นามสกุลเดิม หงษ์ไทย เกิดเมื่อวันที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2508 เป็นนักแสดงที่มีผลงานการแสดงภาพยนตร์และละครมากมาย ทั้งยังเคยออกผลงานอัลบั้มเพลงชุด ทอฝัน (2533) กับค่ายแกรมมี่

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

สินจัย เกิดและโตที่กรุงเทพ มีพี่น้อง 4 คน เป็นคนที่ 2 พี่สาวต่างมารดาหนึ่งคน และน้องชายสองคน ศึกษาจบระดับมัธยมที่ 3 จากโรงเรียนศรีอยุธยา ก่อนเข้าวงการ ปี 2523 ได้ตำแหน่งนางสงกรานต์ของช่อง 5 และไปประกวด Miss Young International เข้ารอบ 15 คนและเป็นนางแบบให้กับห้างไทยไดมารู จึงเริ่มเข้าสู่วงการบันเทิงเมื่อปี 2524 ด้วยการถ่ายแบบให้กับสกุลไทย

จากนั้นก็ได้มีโอกาสเข้าสู่วงการภาพยนตร์ไทย แสดงภาพยนตร์เรื่องแรกเมื่ออายุ 16 ปี จากเรื่อง “ สายสวาทยังไม่สิ้น” (2525) กำกับโดยคุณแจ๊สสยาม แสดงนำเป็นเรื่องแรกคู่กับคุณฉัตรชัยและคุณพิศาล เป็นภาพยนตร์ของไฟว์สตาร์ ต่อจากนั้นได้แสดงเรื่องกตัญญูประกาศิต แสดงร่วมกับโจวหยุนฟะ แล้วเริ่มมีชื่อเสียงเมื่อแสดงเรื่องเพลิงพิศวาส กำกับโดยหม่อมน้อยและได้รางวัลพระสุรัสวดีนักแสดงสมทบหญิงยอดเยี่ยมและนักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากนวลฉวี กำกับโดยอาจารย์บรรจง ในปีเดียวกัน[1] นวลฉวีได้รับการตอบรับที่ดีมาก เรื่องนี้แสดงคู่กับคุณอภิชาติ หาลำเจียก

ปี 2528 เล่นละครเรื่องแรก "ระนาดเอก" ทางช่อง 7 และในปี 2532 มีผลงานการเขียนหนังสือรวมเล่มกลอนเปล่า "ความงามแสนเหงา" โดยใช้นามปากกาว่า "ปรางทราย" จนปี 2533 ได้มีผลงานออกอัลบั้มเพลงชุด "ทอฝัน" กับค่ายแกรมมี่

ส่วนทางด้านการแสดงภาพยนตร์มีผลงานเช่น “ สายสวาทยังไม่สิ้น” (2525), “ ช่างมันฉันไม่แคร์” (2529), “น้ำเซาะทราย” (2529), “ สะแกกรัง” (2529) , “ สะใภ้” (2529), “ แสงสูรย์” (2529), “ ฉันผู้ชายนะยะ” (2530), “ ฉันรักผัวเขา” (2530), "พลอยทะเล" (2530), “ ไฟซ่อนเชื้อ” (2530), “ ครั้งเดียวก็เกินพอ” (2531), “ ภุมรีสีทอง” (2531), “ รักด้วยชีวิต” (2531), “ วิวาห์จำแลง” (2531), “ รักข้างแรม” (2532) ฯลฯ

ปี 2533 เปิดบริษัท "Marks Entertainment" ผลิตรายการโทรทัศน์ โดยมีหุ้นส่วนทั้งหมด 4 คน นอกจากนี้ในปัจจุบันยังเป็นผู้จัดละครโดยเริ่มจากละครเรื่อง "ตราบสิ้น...ดินฟ้า"

ในปี พ.ศ. 2550 สินจัยแสดงในภาพยนตร์ไทย กำกับโดย ชูเกียรติ ศักดิ์วีระกุล‎ เรื่อง รักแห่งสยาม รับบทเป็น "สุนีย์" ซึ่งจากภาพยนตร์เรื่องนี้เองทำให้เธอได้รับรางวัล ผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยม จากรางวัลภาพยนตร์ไทย ชมรมวิจารณ์บันเทิง ครั้งที่ 16 คมชัดลึก อวอร์ด และ สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส[2] และอีกหลายรางวัล อีกทั้งเธอยังเคยถูกจัดอันดับให้เป็นบุคคลบันเทิงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดอันดับ 3 ของประเทศไทย และต่อมาก็ได้รับรางวัลนักแสดงหญิงแห่งปี จากไนน์เอ็นเทอร์เท็นอวอดส์ 2008

เธอกลับมาแสดงภาพยนตร์อีกครั้งในปี 2553 "นิดา" หญิงวัยกลางคนที่มีลูกชายป่วยเป็น "โรคฮิคิโคโมริ" กับภาพยนตร์ในการกำกับของภาคภูมิ วงษ์จินดา และ เขียนบทโดย เอกสิทธิ์ ไทยรัตน์ เรื่อง Who are you? ใคร...ในห้อง[3]

[แก้] ชีวิตส่วนตัว

ทางด้านชีวิตส่วนตัว เธอแต่งงานกับฉัตรชัย เปล่งพานิช มีลูกชายและลูกสาว 3 คนคือ กัน สิทธิโชค เปล่งพานิช ,บอม ฑิชากร เปล่งพานิช และ ดอม พีรดนย์ เปล่งพานิช

นอกจากนี้ ด้วยวัยเกิน 40 ปีในปัจจุบัน สินจัยยังมีผลงานการถ่ายแบบในหน้านิตยสารอยู่อย่างสม่ำเสมอ เพราะเธอถือเป็นดารานางแบบรุ่นเก่าคนหนึ่งที่รักษารูปร่างได้ดีมาก ในคอลัมน์ model ของนิตยสารวอลลุ่ม ฉบับปักษ์แรก ธันวาคม 2550 ได้ระบุเอาไว้ว่า สินจัยมีส่วนสูง 170 เซนติเมตร หนัก 50 กิโลกรัม และมีสัดส่วน 32-25-36

[แก้] ผลงาน

[แก้] ผลงานภาพยนตร์

  • สายสวาทยังไม่สิ้น (2525)
  • สัญชาติราชสีห์ (2526)
  • นักเลงข้าวนึ่ง (2526)
  • กตัญญูประกาศิต (2526)
  • พ่อตาจิ๊กโก๋ (2526)
  • เทพบุตรสลัม (2526)
  • มนต์รักนักเพลง (2527)
  • ไฟชีวิต (2527)
  • ไม้เรียวหัก (2527)
  • ช่างร้ายเหลือ (2527)
  • มังกรลายไทย (2527)
  • 10 คงกระพัน (2527)
  • สัจจะมหาโจร (2527)
  • สาวน้อยร้อยรัก (2527)
  • ไอ้หนุ่มรถอีแต๋น (2527)
  • ผู้ใหญ่สิงห์กำนันเสือ (2527)
  • เพลิงพิศวาส (2527)
  • นวลฉวี (2528)
  • กัลปังหา (2528)
  • หงส์ฟ้า (2528)
  • ทรายสะท้อนแสง (2528)
  • หย่าเพราะมีชู้ (2528)
  • ลูกทุ่งเสียงทอง (2528)
  • คุณหญิงตราตั้ง (2528)
  • แม่ (2528)
  • ลูกทุ่งฮอลลิเดย์ (2529)
  • สะแกกรัง (2529)
  • ไปไม่ถึงดวงดาว (2529)
  • น้ำเซาะทราย (2529)
  • หักเหลี่ยมแดร็กคูล่า (2529)
  • ปลายทางฉิมพลี (2529)
  • ช่างมันฉันไม่แคร์ (2529)
  • แสงสูรย์ (2529)
  • สะใภ้ (2529)
  • ผัวชั่วคราว (2530)
  • ฉันผู้ชายนะยะ (2530)
  • พลอยทะเล (2530)
  • ฉันรักผัวเขา (2530)
  • ไฟซ่อนเชื้อ (2530)
  • สายน้ำไม่ไหลกลับ (2530)
  • อย่าบอกว่าเธอบาป (2530)
  • ไฟหนาว (2530)
  • ทาสอารมณ์ (2530)
  • ภุมรีสีทอง (2531)
  • ครั้งเดียวก็เกินพอ (2531)
  • วิวาห์จำแลง (2531)
  • ตะลุยโรงหมอ (2531)
  • ซอสามสาย (2531)
  • อุบัติโหด (2531)
  • รักด้วยชีวิต (2531)
  • รักข้างแรม (2532)
  • รักเถอะถ้าหัวใจอยากจะรัก (2533)
  • Air America (2533)
  • เฮโรอีน (2537)
  • มหัศจรรย์แห่งรัก (2538)
  • อันดากับฟ้าใส (2540)
  • สุริโยไท (2544)
  • รักแห่งสยาม (2550)
  • Who are you? ใคร...ในห้อง (2553)

[แก้] ผลงานละครโทรทัศน์

[แก้] ผลงานละครเวที

[แก้] ผลงานเพลง

[แก้] รางวัล

  • รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2527 สาขานักแสดงประกอบหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง เพลิงพิศวาส
  • รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2527 สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง นวลฉวี
  • รางวัลตุ๊กตาทอง ประจำปี 2537 สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง มหัศจรรย์แห่งรัก
  • รางวัลโทรทัศน์ทองคำ ประจำปี 2537 สาขานักแสดงนำหญิงดีเด่นจากละครเรื่อง ล่า
  • 1 ใน 5 เข้าชิงรางวัลเมขลา ประจำปี 2537 สาขานักแสดงนำหญิงดีเด่นจากละครเรื่อง ล่า
  • รางวัลสตาร์พิกส์อวอร์ด สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม
  • รางวัลคมชัดลึกอวอร์ด สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม
  • รางวัลชมรมวิจารณ์บันเทิง สาขานักแสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม
  • สตาร์เอนเตอร์เทนเมนต์อวอร์ดส สาขาผู้แสดงนำหญิงยอดเยี่ยมจากภาพยนตร์เรื่อง รักแห่งสยาม
  • ไนน์เอ็นเตอร์เทนอวอร์ดส 2008 สาขานักแสดงหญิงแห่งปี
  • 1 ใน 5 เข้าชิงรางวัลนาฏราช ครั้งที่ 1 ประจำปี 2552 สาขานักแสดงนำหญิงดีเด่นจากละครเรื่อง อาทิตย์ชิงดวง

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น