เสียดาย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

เสียดาย
(Daughter)
เสียดาย poster.jpg
ผู้กำกับ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
อำนวยการสร้าง สมศักดิ์ เตชะรัตนประเสริฐ
บทภาพยนตร์ หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล
นักแสดงนำ นุศรา ประวัณนา
เขมสรณ์ หนูขาว
วยุลี กิติอาภรณ์ชัย
กาญจนา ขึ้นนกคุ้ม
วิจิตรา ตริยะกุล
จอนนี่ แอนโฟเน่
สรพงษ์ ชาตรี
รณ ฤทธิชัย
ธัญญา โสภณ
กาญจนาพร ปลอดภัย
จีรุฒน์ ณ นคร
จักรกฤษณ์ คชรัตน์
องอาจ คล้ามไพบูลย์ (นักแสดงรับเชิญ)
จัดจำหน่าย สหมงคลฟิล์ม
วันที่เข้าฉาย 31 ธันวาคม พ.ศ. 2537
ประเทศ Flag of ไทย ไทย
ภาษา ไทย
รายได้ 52 ล้านบาท
ก่อนหน้านี้ ไม่มี
ต่อจากนี้ เสียดาย 2
ข้อมูลบนเว็บ IMDb
ฐานข้อมูลภาพยนตร์ไทย (ThaiFilmDb)
ข้อมูลบนเว็บ สยามโซน

เสียดาย (Daughter) ภาพยนตร์ไทยในปี พ.ศ. 2537 นำแสดงโดย นุศรา ประวัณนา, เขมสรณ์ หนูขาว, วิจิตรา ตริยะกุล, กาญจนา ขึ้นนกคุ้ม, วยุลี กิติอาภรณ์ชัย ร่วมด้วย จอนนี่ แอนโฟเน่, สรพงษ์ ชาตรี, ธัญญา โสภณ, รณ ฤทธิชัย, จีรุตน์ ณ นคร, กาญจนาพร ปลอดภัย, จักรกฤษณ์ คชรัตน์ บทภาพยนตร์และกำกับการแสดงโดย หม่อมเจ้าชาตรีเฉลิม ยุคล

[แก้] เนื้อเรื่อง

ระวังเสียอรรถรส ข้อความด้านล่างนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

เด็กวัยรุ่นมัธยมหญิง 4 คน คือ ปู (เขมสรณ์ หนูขาว) แป๋ม (วิจิตรา ตริยะกุล) เดือน (กาญจนา ขึ้นนกคุ้ม) และเงาะ (นุศรา ประวัณนา) ที่แต่ละคนมีปัญหาขาดความรักและความอบอุ่นจากครอบครัว ปูถูกพ่อเลี้ยงข่มขืน แป๋มเป็นลูกสาวตำรวจ (ไกรลาศ เกรียงไกร) แต่ติดผงขาวและขายตัว เดือนมีแม่เป็นนักร้องขายตัวและตัวเองก็มีชะตากรรมไม่ต่างจากแม่ ขณะที่เงาะมีครอบครัวที่มีฐานะ แต่มีพ่อขี้เหล้า (สรพงษ์ ชาตรี) และตบตีแม่เป็นประจำ จนวันหนึ่งทั้ง 4 คนได้หนีออกจากบ้านและมารวมกันที่แฟลตของปู เพื่อเผชิญชะตาชีวิตร่วมกัน โดยพวกเธอเลือกที่จะใช้ยาเสพย์ติดในการแก้ปัญหา ในที่สุด ก็พบว่าทุกคนต่าง "เสียดาย" กับช่วงเวลาชีวิตอันสดใส ที่ต้องสูญเสียไปกับสิ่งเลวร้าย บทสรุปของเรื่องนี้มีทั้งที่ต้องเสียน้ำตา แลกกับบทเรียนครั้งยิ่งใหญ่ และแลกด้วยชีวิต

จบเนื้อหาส่วนที่เสียอรรถรสแล้ว ข้อความด้านบนนี้กล่าวถึงเนื้อเรื่องหรือฉากจบ

[แก้] เบื้องหลังและคำวิจารณ์

เสียดาย เป็นผลงานการกำกับและเขียนบทภาพยนตร์ของ ม.จ.ชาตรีเฉลิม ยุคล หรือ ท่านมุ้ย เมื่อเข้าฉายภาพยนตร์ได้รับความสนใจอย่างมากของสังคม เพราะเป็นภาพยนตร์ที่สะท้อนให้เห็นถึงปัญหาสังคมในเรื่องยาเสพย์ติดและปัญหาทางเพศของวัยรุ่น อีกทั้งภาพยนตร์ยังดำเนินเรื่องในลักษณะของสารคดี บางช่วงจะตัดสลับกับการให้สัมภาษณ์ของตัวละครต่าง ๆ ในเรื่อง

นักแสดงนำตัวหลักในเรื่อง เป็นการแสดงครั้งแรก แต่ได้รับการวิจารณ์ว่าแสดงได้ดีมาก โดยเฉพาะ วิจิตรา ตริยะกุล มีหลากฉากที่สะเทือนอารมณ์ เช่น ฉากที่ต้องเปลือยกายยืนเกาะลูกกรงอยู่บนดาดฟ้าตึกแถว เป็นต้น แต่เสียงบางส่วนก็วิจารณ์ว่า หลายส่วนในเรื่องยังหลวมอยู่ เช่น บทบาทของ จอนนี่ แอนโฟนี่ ที่ดูเหมือนคนใจบุญเข้ามาช่วยเหลือเด็ก ๆ แต่เอาเข้าจริง ๆ แล้วก็เหมือนผู้ใหญ่ที่หลอกฟันเด็กคนนึง หรือในฉากจบที่ให้เด็ก ๆ เดินเล่นบนหาดทรายชายทะเล แล้วรำลึกถึงเหตุการณ์ที่ผ่านมา และพูดกันว่า "เสียดาย" เป็นการจบที่ไม่สวย เป็นต้น

แต่กระนั้น ภาพยนตร์ก็ยังได้รับรางวัลตุ๊กตาทองประจำปี พ.ศ. 2537 ไปถึง 7 รางวัลด้วยกัน รวมทั้งภาพยนตร์ยอดเยี่ยมด้วย และทำรายได้ถึง 52 ล้านบาท โดยเปิดฉายสัปดาห์แรกก็สามารถทำรายได้ถึง 30 ล้านบาทด้วยกัน

[แก้] อ้างอิง