ประเทศคูเวต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

دولة الكويت
Dawlat al Kuwayt
เดาลัต อัล กุไวต์
รัฐคูเวต
ธงชาติคูเวต ตราแผ่นดินของคูเวต
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญFor Kuwait (เพื่อคูเวต)
เพลงชาติAl-Nasheed Al-Watani
ที่ตั้งของคูเวต
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
คูเวตซิตี

29°22′N 47°58′E

ภาษาทางการ ภาษาอาหรับ
รัฐบาล ราชาธิปไตยกึ่งภายใต้รัฐธรรมนูญ
  พระมหากษัตริย์

นายกรัฐมนตรี
เชคซะบาห์ อัลอะห์มัด อัลจาบีร์ อัลซะบาห์
เชคนัสเซอร์ อัลโมฮัมเหม็ด อัลอะห์เหม็ด อัลซะบาห์
ได้รับเอกราช
  วันที่ จาก สหราชอาณาจักร
19 มิถุนายน พ.ศ. 2504 
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 17,820 กม.² (ลำดับที่ 153)
 -  พื้นน้ำ (%) น้อยมาก
ประชากร
 -  2552 ประมาณ 2,985,000 (อันดับที่ 137)
 -  ความหนาแน่น 37/กม.² (อันดับที่ 57)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 53.31 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 74)
 -  ต่อประชากร 22,800 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 44)
HDI (2546) 0.844 (สูง) (อันดับที่ 44)
สกุลเงิน ดีนาร์คูเวต (KWD)
เขตเวลา (UTC+3)
 -  ฤดูร้อน (DST)  (UTC+4)
รหัสอินเทอร์เน็ต .kw
รหัสโทรศัพท์ +965

รัฐคูเวต (State of Kuwait) เป็นรัฐเจ้าผู้ครองนคร (emirate) ที่มีขนาดเล็กและมีน้ำมันอยู่มาก ตั้งอยู่ในภูมิภาคเอเชียตะวันตกเฉียงใต้ ริมชายฝั่งอ่าวเปอร์เซีย มีพรมแดนทางใต้ติดกับประเทศซาอุดีอาระเบีย และพรมแดนทางเหนือติดกับประเทศอิรัก

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ของคูเวตเริ่มต้นจากการสร้างเมืองคูเวตในศตวรรษที่ 18 โดยชนเผ่า Uteiba ซึ่งเร่ร่อนมาจากทางเหนือของกาตาร์ ในระหว่างศตวรรษที่ 19 คูเวตพยายามที่จะขอความช่วยเหลือจากอังกฤษเพื่อให้พ้นจากการยึดครองของพวกเติร์กและกลุ่มต่าง ๆ ที่เรืองอำนาจในคาบสมุทรอาระเบีย ในปี 2442 Sheikh Mubarak Al Sabah ได้ลงนามในข้อตกลงกับอังกฤษว่า ตนและผู้สืบทอดอำนาจจะไม่ยอมให้ดินแดนและต้อนรับผู้แทนของต่างประเทศใด ๆ โดยไม่ได้ความยินยอมจากอังกฤษเสียก่อน ส่วนอังกฤษก็ได้ตกลงที่จะให้เงินช่วยเหลือประจำปีแก่ Sheikh Mubarak และทายาทและให้ความคุ้มครองคูเวต โดยอังกฤษได้ดูแลกิจการด้านการต่างประเทศและความมั่นคงให้กับคูเวต

ในช่วงต้นปี 2504 อังกฤษได้ถอนสิทธิสภาพนอกอาณาเขตสำหรับตัดสินคดีของชาวต่างชาติในคูเวตออกไป และรัฐบาลคูเวตได้เริ่มการใช้กฎหมายของตนเองซึ่งยกร่างโดยนักกฎหมายชาวอียิปต์ คูเวตได้รับอิสรภาพสมบูรณ์เมื่อวันที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2504 ภายหลังการแลกเปลี่ยนหนังสือ (exchange of notes) กับอังกฤษมีการกำหนดเขตแดนระหว่างคูเวตกับซาอุดีอาระเบียในปี 2535 โดยสนธิสัญญา Uqair หลังจากการสู้รบที่เมือง Jahrah สนธิสัญญานี้ยังได้กำหนดเขตเป็นกลางระหว่างคูเวตและซาอุดีอาระเบีย (Kuwaiti – Saudi Arabia Neutral Zone) ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 5,180 ตารางกิโลเมตร ติดกับเขตแดนทางใต้ของคูเวต ในเดือนธันวาคม 2512 คูเวตและซาอุดีอาระเบียได้ลงนามในข้อตกลงแบ่งเขตเป็นกลาง (ปัจจุบันเรียกว่า Divided Zone) และปักปันเส้นเขตแดนระหว่างประเทศใหม่ โดยทั้งสองประเทศได้แบ่งน้ำมันทั้งนอกฝั่งและบนฝั่งในเขต Divided Zone อย่างเท่าเทียมกัน

[แก้] การเมือง

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตการปกครองของกาตาร์

ประเทศคูเวตแบ่งออกเป็น 6 เขตผู้ว่าราชการ (governorates - muhafazah) ได้แก่

[แก้] ภูมิศาสตร์

คูเวตมีตำแหน่งที่ตั้งอยู่ระหว่างละติจูด 29องศา-30องศาเหนือ และระหว่างลองจิจูด47องศา-48องศาตะวันออก คูเวตมีขนาดพื้นที่ทั้งหมด17,818ตารางกิโลเมตร คูเวตเป็นประเทศขนาดเล็กตั้งอยูบริเวณก้นอ่าวเปอร์เซีย

[แก้] เศรษฐกิจ

คูเวตเป็นประเทศที่มีฐานะทางเศรษฐกิจดีและร่ำรวยจากการขายน้ำมัน รายได้ของรัฐส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับน้ำมันและอุตสาหกรรมน้ำมันเป็นหลัก (คูเวตมีปริมาณน้ำมันสำรองมากถึงร้อยละ 10 ของปริมาณน้ำมันสำรองโลก)

[แก้] ประชากร

ประชากร ประมาณ 2 ล้านคน (2000) เป็นชาวคูเวต 45% ชาวอาหรับอื่น ๆ 35% เอเชียใต้ 9% อิหร่าน 4%

[แก้] วัฒนธรรม

(รอเพิ่มเติมเนื้อหา)

[แก้] อ้างอิง

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
ประเทศคูเวต
ภาษาอื่น