สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา

US-FBI-Seal.svg

สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา[1] หรือ เอฟบีไอ (อังกฤษ: Federal Bureau of Investigation; FBI) เป็นส่วนราชการประเภทกองแห่งสหรัฐอเมริกา มีขอบเขตในการทำงานในแต่ละสมัยแตกต่างกันและไม่ตายตัวไปตามสถานการณ์ขณะนั้น เช่น สมัยสงครามโลกเน้นคดีจารกรรม ยุคถัดมาเน้นคดีอันธพาลครองเมือง ยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 เน้นคดีเกี่ยวกับลัทธิคอมมิวนิสต์และฟาสซิสต์ ต่อมาเน้นคดีอาชญากรรมด้านการเงิน และปัจจุบันเน้นอาชญากรรมระหว่างประเทศ การก่อการร้าย คดียาเสพติด และการฟอกเงิน

[แก้] ประวัติ

สำนักงานสอบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกาก่อตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 26 กรกฎาคม พ.ศ. 2451 โดยนายชาร์ลส์ โบนาปาร์ด อธิบดีกรมยุติธรรมแห่งสหรัฐอเมริกา และประธานาธิบดีทีโอดอร์ รูสเวลต์ เมื่อแรกได้ชื่อว่า "หน่วยเฉพาะกิจแห่งกรมยุติธรรม" (Special Agents of Department of Justice) สมาชิกส่วนใหญ่เป็นเจ้าหน้าที่สืบสวนและเจ้าหน้าที่การข่าวชั้นดี และมีการแบ่งส่วนราชการเป็นยี่สิบสี่ฝ่าย

ปีถัดมา เมื่อนายจอร์จ วิกเคอร์แมนได้รับตำแหน่งอธิบดีกรมยุติธรรมคนใหม่ ก็ได้เปลี่ยนชื่อหน่วยฯ เป็นสำนักงานสอบสวน (Bureau of Investigation) มีอำนาจหน้าที่ในการสอบสวนคดีเกี่ยวกับการฉ้อโกง

กระทั่ง พ.ศ. 2453 เมื่อมีการประกาศใช้รัฐบัญญัติว่าด้วยทาสผิวขาว สำนักงานฯ ก็ได้มีอำนาจหน้าที่ในการสืบสวนครอบคลุมถึงคดีอาชญากรรม จากนั้นได้มีการขยายขอบเขตการทำงาน โดยมีหน่วยงานย่อยมากกว่าสามร้อยฝ่าย มีสำนักงานสาขาในรัฐต่าง ๆ จนเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2475 ก็ได้เปลี่ยนมาใช้ชื่ออย่างในปัจจุบัน

เจ้าหน้าที่นำสืบของสำนักงานฯ จะต้องเข้ารับการฝึกจากวิทยาลัยสืบสวนกลางแห่งสหรัฐอเมริกา (FBI National Academy) เสมอไป เพื่อให้มีความเชี่ยวชาญเฉพาะด้านตามที่ประสงค์

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ราชบัณฑิตยสถาน. (ม.ป.ป.). ศัพท์บัญญัติราชบัณฑิตยสถาน. [ออนไลน์]. เข้าถึงได้จาก: <http://rirs3.royin.go.th/coinages/webcoinage.php>. (เข้าถึงเมื่อ: 29 มีนาคม 2552).


[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น