สาธารณรัฐเช็ก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี


Česká Republika
เชสคา เรพูบลีคา
สาธารณรัฐเช็ก
ธงชาติสาธารณรัฐเช็ก ตราแผ่นดินของสาธารณรัฐเช็ก
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญเช็ก: Pravda vítězí
("Truth prevails")
เพลงชาติKde domov můj
ที่ตั้งของสาธารณรัฐเช็ก
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ปราก

50°05′N 14°28′E

ภาษาทางการ ภาษาเช็ก
รัฐบาล สาธารณรัฐ
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
วาคลัฟ กลาอุส
แจน ฟิสเชอร์
การสร้างชาติ
เอกราช
   • ได้รับเอกราช
 • การสลายตัว1
คริสต์ศตวรรษที่ 9

28 ตุลาคม พ.ศ. 2461
1 มกราคม พ.ศ. 2536 
เข้าร่วม EU 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 78,866 กม.² (ลำดับที่ 114)
 -  พื้นน้ำ (%) 2.0%
ประชากร
 -  2548 ประมาณ 10,241,138 (อันดับที่ 79)
 -  2544 สำรวจ 10,230,060 
 -  ความหนาแน่น 130/กม.² (อันดับที่ 58)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 198,976 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 41)
 -  ต่อประชากร 19,488 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 39)
HDI (2546) 0.874 (สูง) (อันดับที่ 31)
สกุลเงิน โครูนาเช็ก (CZK)
เขตเวลา CET (UTC+1)
 -  ฤดูร้อน (DST) CEST (UTC+2)
รหัสอินเทอร์เน็ต .cz
รหัสโทรศัพท์ +4202
1 เชโกสโลวะเกียแยกออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสโลวาเกีย
2ใช้รหัส 42 ร่วมกับสโลวาเกียจนถึงปี พ.ศ. 2540

สาธารณรัฐเช็ก (Czech Republic) (ภาษาเช็ก: Česká Republika) เป็นประเทศที่ไม่มีทางออกสู่ทะเล อยู่ในภูมิภาคยุโรปกลาง พรมแดนทางตอนเหนือจรดประเทศโปแลนด์ ทางตะวันตกและตะวันตกเฉียงเหนือจรดเยอรมนี ทางใต้จรดออสเตรีย และทางตะวันออกจรดสโลวาเกีย

สาธารณรัฐเช็กประกอบด้วยภูมิภาคที่เก่าแก่สองส่วน คือ โบฮีเมียและโมราเวีย และส่วนหนึ่งของภูมิภาคที่สาม เรียกว่า ไซลีเชีย ประเทศนี้ได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปตั้งแต่วันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547

เมืองหลวงของประเทศคือ กรุงปราก (Prague) (ภาษาเช็ก : Praha) เป็นเมืองที่มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เป็นแหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญ และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดของประเทศด้วย เมืองสำคัญอื่น ๆ ของประเทศ ได้แก่ เบอร์โน (Brno) ออสตราวา (Ostrava) เปิลเซน (Plzeň) ฮราเดตส์กราลอเว (Hradec Králové) เชสเกบุดเยยอวีตเซ (České Budějovice) และอูสตีนาดลาเบม (Ústí nad Labem)

เนื้อหา

[แก้] ประวัติศาสตร์

ดินแดนของสาธารณรัฐเช็กในปัจจุบัน มีประวัติศาสตร์ย้อนหลังไปราว 2,000 ปี นับตั้งแต่เมื่อชนเผ่าสลาโวนิก (Slavonic Tribes) หรือชนเผ่าสลาฟ ได้เข้ามาตั้งถิ่นฐานแคว้นโบฮีเมียได้พัฒนาเป็นรัฐอิสระเป็นครั้งแรกในคริสต์ศตวรรษที่ 9 แต่ต่อมาในคริสต์ศตวรรษที่ 13 ชนเผ่าเยอรมันได้อพยพเข้ามายึดดินแดนของเช็กในปัจจุบันเป็นอาณานิคม ซึ่งเป็นปัจจัยที่สร้างวัฒนธรรมเช็กให้มีทั้งลักษณะของชนเผ่าเยอรมันและชนเผ่าสลาฟ กรุงปรากจึงเต็มไปด้วยสถาปัตยกรรมอันหลากหลาย อาทิ โรมาเนสก์ กอทิก เรอเนซองซ์ บารอก รวมทั้งศิลปะรูปแบบต่าง ๆ ทำให้กรุงปรากเป็นเมืองที่แสดงให้เห็นถึงประวัติความเป็นมาของเช็กได้อย่างดี ตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมัน จนกระทั่งถึงสมัยราชวงศ์ฮับสบูร์ก (ราวศตวรรษที่ 15-18) และองค์การยูเนสโก ได้เลือกให้เป็นมรดกโลกด้านวัฒนธรรม นอกจากนี้ เช็กยังมีชื่อเสียงและประวัติศาสตร์อันยาวนานด้านการผลิตเบียร์ โดยเฉพาะที่เมืองเปิลเซน (Plzen)

กรุงปรากเป็นเมืองที่สำคัญในยุโรปตั้งแต่สมัยอาณาจักรโรมันและยุคกลางของยุโรป กษัตริย์ชาลส์ที่ 4 แห่งจักรวรรดิโรมัน ได้ก่อตั้งมหาวิทยาลัยชาลส์ (Charles University) ขึ้นที่กรุงปรากซึ่งเป็นมหาวิทยาลัยที่เก่าแก่ที่สุดในยุโรปตะวันออก ในช่วงยุคกลาง เช็กอยู่ภายใต้การปกครองของคริสตจักรเช่นเดียวกับดินแดนอื่น ๆ ในยุโรป จนกระทั่งในปี 2069 เช็กจึงตกอยู่ภายใต้การควบคุมของราชวงศ์ฮับสบูร์ก ในศตวรรษที่ 19 เริ่มมีการฟื้นฟู national awareness ซึ่งถึงจุดสูงสุดในปี 2391 เมื่อกรุงปรากเป็นเมืองแรกในอาณาจักรฮัปสบูร์กที่เรียกร้องให้มีการปฏิรูป และต้องการแยกตัวเป็นรัฐอิสระ แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จนกระทั่งภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1

[แก้] ช่วงสงคราม

ภายหลังสงครามโลกครั้งที่ 1 สิ้นสุดลง ฝ่ายพันธมิตรได้สนับสนุนให้ชาวเช็กและชาวสโลวักสร้างสหพันธรัฐประชาธิปไตยเชโกสโลวะเกียขึ้น ในปี 2461 เนื่องจากเช็กและสโลวักมีภาษาคล้ายคลึงกัน แต่แยกจากกันทางการเมือง เนื่องจากสโลวาเกียเป็นส่วนหนึ่งของอาณาจักรฮังการี ในช่วงก่อนสงครามโลกครั้งที่ 2 เชโกสโลวะเกียเป็นประเทศที่อุตสาหกรรมมีความก้าวหน้าที่สุดจนติดอันดับหนึ่งในสิบของโลก อย่างไรก็ตาม ยังคงมีปัญหาทางการเมืองอย่างต่อเนื่อง เนื่องจากชาวสโลวักต้องการแยกตัวออกเป็นรัฐอิสระจากเช็กซึ่งมีบทบาทเหนือกว่า

ในเดือนมีนาคม 2482 กองทัพนาซีเยอรมันได้รุกรานแคว้นโบฮีเมียและโมเรเวีย ทำให้เชโกสโลวาเกียสูญเสียความเป็นรัฐเอกราช จนกระทั่งในปี 2488 กองทัพโซเวียตได้ปลดปล่อยดินแดนของเชโกสโลวะเกียจากการปกครองของนาซี ทำให้สหภาพโซเวียตมีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการทางการเมืองของเชโกสโลวาเกียในเวลาต่อมา และในปี 2491 พรรคคอมมิวนิสต์ได้ก่อรัฐประหารยึดอำนาจไว้

[แก้] หลังสงคราม

พรรคคอมมิวนิสต์มีอิทธิพลในเชโกสโลวาเกียมาโดยตลอด จนกระทั่งในช่วงปลายทศวรรษที่ 60 ได้เริ่มมีการเคลื่อนไหวเพื่อการปฏิรูป ที่เรียกว่า ช่วงฤดูใบไม้ผลิแห่งกรุงปราก (Prague Spring) ภายใต้การนำของนายอเล็กซานเดอร์ ดูบเชค (Alexander Dubček) เลขาธิการพรรคคอมมิวนิสต์ สหภาพโซเวียตและประเทศอื่นในกลุ่มกติกาสนธิสัญญาวอร์ซอ (Warsaw Pact) เกรงว่าความเคลื่อนไหวดังกล่าวจะเป็นภัยคุกคามต่อระบบคอมมิวนิสต์ จึงได้ยกกองกำลังเข้าไปในเชโกสโลวาเกียเมื่อปี 2511 และจัดตั้งระบบคอมมิวนิสต์ที่เข้มงวดขึ้น อย่างไรก็ตาม ยังคงมีแนวคิดต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ในเช็กโกสโลวาเกีย

หลังจากที่สหภาพโซเวียตล่มสลายลง เชโกสโลวะเกียได้เริ่มมีการเปลี่ยนแปลงการปกครองเป็นระบอบประชาธิปไตยอย่างสันติ โดยผ่านกระบวนการที่เรียกว่า การปฏิวัติเวลเวต (Velvet Revolution) และนายวาคลัฟ ฮาเวล (Václav Havel) ซึ่งเป็นผู้นำกลุ่มเคลื่อนไหวต่อต้านระบบคอมมิวนิสต์ ได้รับเลือกตั้งให้เป็นประธานาธิบดีเชโกสโลวาเกียในปี 2532

รัฐบาลเชโกสโลวะเกียได้มีมติเมื่อวันที่ 1 กรกฎาคม พ.ศ. 2536 ให้สลายประเทศเชโกสโลวาเกีย และแบ่งออกเป็นสาธารณรัฐเช็กและสาธารณรัฐสโลวัก (สโลวาเกีย) ซึ่งเป็นกระบวนการที่เรียกว่า Velvet Divorce ต่อมา นายวาคลัฟ ฮาเวลได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีคนแรกของสาธารณรัฐเช็กในปี 2536 และได้รับเลือกตั้งเป็นครั้งที่ 2 ในปี 2541 จนกระทั่งหมดวาระ (วาระละ 5 ปี) เมื่อวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2546 และนายวาคลัฟ เคลาอุส (Vaclav Klaus) ได้เข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีสืบต่อ เมื่อวันที่ 28 กุมภาพันธ์ 2546

[แก้] การเมือง

ระบบการเมือง ระบอบประชาธิปไตยแบบมีประธานาธิบดีเป็นประมุข

ประธานาธิบดี นาย Václav Klaus (เข้ารับตำแหน่งเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546)

นายกรัฐมนตรี นาย Jan Fischer(เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552)

รัฐมนตรีต่างประเทศ นา Jan Kohout (เข้ารับตำแหน่งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552)

รูปแบบการปกครอง ประชาธิปไตยแบบรัฐสภา ซึ่งเป็นระบบสองสภา (Bicameral Parliament) คือ สภาสูง (Senate) มี 81 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 6 ปี โดยจะมีการเลือก 1 ใน 3 ทุก 2 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2547 เลือกตั้งครั้งต่อไปเดือนพฤศจิกายน 2549 และ สภาล่าง (Chamber of Deputies) มี 200 ที่นั่ง มาจากการเลือกตั้งโดย popular vote มีวาระ 4 4 ปี เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อวันที่ 2 - 3 มิถุนายน 2549

ประธานาธิบดี เป็นประมุขแห่งรัฐ มาจากการเลือกตั้งของสภาทั้งสอง โดยจะต้องได้รับเสียงข้างมากโดยเด็ดขาดจากแต่ละสภา มีวาระ 5 ปี ดำรงตำแหน่งติดต่อกันได้ 2 วาระ เลือกตั้งครั้งล่าสุดเมื่อเดือนกุมภาพันธ์ 2546 ผู้สมัครรับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดีจะต้องได้รับการเสนอชื่อจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรหรือสมาชิกสภาสูงอย่างน้อย 10 คน มีอายุอย่างน้อยที่สุด 40 ปี

นายกรัฐมนตรี เป็นหัวหน้ารัฐบาล มีอำนาจในการบริหารสูงสุด มาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดี คณะรัฐมนตรีมาจากการแต่งตั้งของประธานาธิบดีโดยการเสนอชื่อจากนายกรัฐมนตรี

ศาลและอำนาจตุลาการได้รับการแบ่งแยกโดยสิ้นเชิงจากอำนาจนิติบัญญัติและอำนาจบริหาร คณะกรรมการตุลาการรัฐธรรมนูญจะเป็นผู้รับผิดชอบดูแลให้มีการใช้อำนาจตุลาการตามรัฐธรรมนูญ ประกอบด้วยผู้พิพากษา 15 คน ซึ่งได้รับการแต่งตั้งจากประธานาธิบดี โดยอยู่ในตำแหน่งวาระละ 10 ปี

สถานการณ์การเมือง

ผลการเลือกตั้งทั่วไป เมื่อวันที่ 2 - 3 มิถุนายน 2549 ปรากฏ ดังนี้ พรรค Civic Democrats (ODS) ซึ่งเป็นพรรคฝ่ายค้าน ได้รับคะแนนเสียง 35.4% (มีที่นั่งในสภาฯ 81 ที่) พรรค Social Democrats (ČSSD) ซึ่งเป็นพรรครัฐบาล ได้รับคะแนนเสียง 32.3% (มีที่นั่งในสภาฯ 74 ที่) พรรคคอมมิวนิสต์ (KSCM) ได้รับคะแนนเสียง 12.8% (มีที่นั่งในสภาฯ 26 ที่) พรรค Christian Democrats (KDU-CSL) ได้รับคะแนนเสียง 7.2% (มีที่นั่งในสภาฯ 13 ที่) พรรค Green (SZ) ได้รับคะแนนเสียง 6.3% (มีที่นั่งในสภาฯ 6 ที่)

ผลการเลือกตั้งครั้งนี้ปรากฏว่า ฝ่าย centre-right (ได้แก่ พรรค ODS, KDU-ČSL และ SZ) กับฝ่าย centre-left (ได้แก่ พรรค CSSD และ KSČM) ต่างมีที่นั่งในสภาฯ เท่ากัน คือ 100 ที่ จึงไม่มีฝ่ายใดสามารถจัดตั้งรัฐบาลเสียงข้างมากได้ ทั้งนี้ ขณะนี้ กำลังมีความพยายามจัดตั้งรัฐบาลผสม

อย่างไรก็ดี ผลการเลือกตั้งครั้งนี้สะท้อนว่า สังคมเช็กในภาพรวมกำลังมีแนวคิดแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มที่สนับสนุนการปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมอย่างต่อเนื่องและลดการแทรกแซงของภาครัฐลง กับ กลุ่มที่นิยมให้ภาครัฐเข้ามามีบทบาทแข็งขันมากขึ้นและชะลอการปฏิรูปออกไป

รายชื่อคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ (ได้รับการแต่งตั้งเมื่อวันที่ 8 พฤษภาคม 2552) 1. นาย Jan Fischer นายกรัฐมนตรี 2. นาย Petr Necas รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีแรงงานและการสังคม 3. นาย Martin Pecina รัฐมนตรีมหาดไทยและสนเทศ 4. นาย Jan Kohout รัฐมนตรีต่างประเทศ 5. นาย Jiri Sedivy รัฐมนตรีกลาโหม 6. นาย Eduard Janota รัฐมนตรีคลัง 7. นาย Jiri Pospisil รัฐมนตรียุติธรรม และประธานคณะมนตรีด้านกฎหมายของรัฐบาล 8. นาย Gustáv Slamečka รัฐมนตรีขนส่ง 9. นาย Martin Riman รัฐมนตรีอุตสาหกรรมและการค้า 10. นาง Milena Vicenova รัฐมนตรีเกษตร 11. นาย Dana Jurásková รัฐมนตรีสาธารณสุข 12. นาง Miroslava Kopicova รัฐมนตรีศึกษา และเยาวชน 13. นาย Petr Kalas รัฐมนตรีสิ่งแวดล้อม 14. นาย Václav Riedlbauch รัฐมนตรีวัฒนธรรม 15. นาย Rostislav Vondruška รัฐมนตรีพัฒนาภูมิภาค

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

สาธารณรัฐเช็กประกอบด้วย 13 เขต (regions - kraje) กับ 1 นครหลวง (capital city - hlavní město) (มีเครื่องหมายดอกจันกำกับ)

แผนที่เขตการปกครองของสาธาณรัฐเช็ก



เขต เมืองหลวง สี
ปราก* (ปราฮา)  
เขตเซ็นทรัลโบฮีเมีย มีสำนักงานตั้งอยู่ในกรุงปราก (ปราฮา)
เขตเซาท์โบฮีเมีย เชสเกบุดเยยอวีตเซ
เขตเปิลเซน เปิลเซน
เขตคาร์ลสแบด คาร์ลอวีวารี (คาร์ลสแบด)
เขตอูสตีนาดลาเบม อูสตีนาดลาเบม
เขตลีเบเรซ ลีเบเรซ
เขตฮราเดตส์กราลอเว ฮราเดตส์กราลอเว
เขตปาร์ดูบีตเซ ปาร์ดูบีตเซ
เขตออลอโมตซ์ ออลอโมตส์
เขตมอเรเวีย-ไซลีเชีย ออสตราวา
เขตเซาท์มอเรเวีย เบอร์โน
เขตซลีน ซลีน
เขตวีซอชีนา ยีห์ลาวา



[แก้] ภูมิศาสตร์

เช็กเป็นดินแดนที่ประกอบด้วย ที่ราบสูง พื้นที่ส่วนใหญ่อยู่สูงกว่าน้ำทะเล 200 เมตร นอกจากนั้นยังประกอบด้วย เนินเขา แม่น้ำรวมถึงทะเลสาบขนาดเล๊กๆอยู่ทั่วไป

เช็กเป็นแหล่งเพาะปลูกพืชหลายชนิด เพราะมีดินที่อุดมสมบูรณ์

มีอากาศแบบอบอุ่นภาคพื้นทวีป

มีแร่ธาตุหลายชนิด แร่ที่สำคัญได้แก่ ถ่านหิน และ ยูเรเนียม

[แก้] เศรษฐกิจ

สถานการณ์เศรษฐกิจเช็ก ภายหลังจาก Velvet Reform ในปี 2532 เช็กโกสโลวาเกียเริ่มดำเนินการปฏิรูปทางเศรษฐกิจอย่างจริงจัง ในขณะที่รัฐบาลคอมมิวนิสต์ยังคงดำเนินนโยบายเศรษฐกิจมห ภาคอย่างระแวดระวัง การปฏิรูปทางเศรษฐกิจดำเนินไปด้วยความรวดเร็ว โดยปล่อยให้ราคาสินค้าเคลื่อนไหวอย่างเสรี การคืนกรรมสิทธิ์ที่ดินให้แก่เจ้าของเดิมในช่วงปี 2491 และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ ต่อมา ภายหลังจาก Velvet Divorce ซึ่งแยกเช็กโกสโลวาเกียเป็นเช็กและสโลวัก ในปี 2546 สาธารณรัฐเช็กมีการพัฒนาการทางเศรษฐกิจที่ก้าวหน้าอย่างมาก โดยมีการแปรรูปรัฐวิสาหกิจที่รวดเร็ว มีอัตราการว่างงานต่ำ และไม่มีอัตราเงินเฟ้อที่สูงเกินไป

รัฐบาลเช็กประสบความสำเร็จในการดึงดูดเงินลงทุนจากต่างประเทศ อาทิ บริษัทโตโยตามอเตอร์ และบริษัทเปอร์โยต์ ซีตรอง โดยได้ก่อตั้งหน่วยงานส่งเสริมการลงทุน ชื่อว่า Czech Invest เพื่อดึงดูดการลงทุนด้านเทคโนโลยีระดับสูง ทั้งนี้ รัฐบาลคาดว่าจะสามารถดึงเงินลงทุนจากต่างประเทศได้เพิ่มขึ้นจาก 3 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เป็น 5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ ในช่วงปี 2548-2550 ส่งผลให้อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจยังคงสูงอย่างต่อเนื่องจากร้อยละ 3.7 ในปี 2546 เป็นร้อยละ 3.8 ในปี 2547 และคาดว่าจะสูงถึงร้อยละ 4.4 ในปี 2548 ทำให้ค่าจ้างแรงงานมีการปรับตัวสูงขึ้นและมีการจ้างงานเพิ่มขึ้น ช่วยกระตุ้นอุปสงค์ภายในประเทศ ในขณะที่อัตราเงินเฟ้อได้ลดลงเป็นลำดับ

รัฐบาลเช็กยังคงให้ความสำคัญกับการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยได้ดำเนินการไปแล้วเป็นส่วนใหญ่ และยังคงมีอีกประมาณ 167 บริษัทที่อยู่ระหว่างรอดำเนินการ ได้แก่ Czech Telecom CEZ Power Utility เป็นต้น อย่างไรก็ดี รัฐบาลยังคงมีปัญหาการขาดดุลงบประมาณซึ่งสูงถึงร้อยละ 7 ของ GDP ในปี 2546 รัฐบาลจึงตั้งเป้าที่จะลดการขาดดุลให้เหลือเพียงร้อยละ 4 ในปี 2549 ซึ่งเป็นเงื่อนไขหนึ่งที่ EU เรียกร้องเพื่อรับเช็กเข้าเป็นสมาชิก EU นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กคงจะพยายามผลักดันเพื่อให้สามารถใช้เงินสกุลยูโรได้ภายในปี 2552-2553 นอกจากนี้ รัฐบาลเช็กจะยังคงมุ่งมั่นปฏิรูประบบกฎหมาย กฎหมายการล้มละลาย และการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ

[แก้] นโยบายต่างประเทศ

สาธารณรัฐเช็กมีนโยบายส่งเสริมความสัมพันธ์อันดีและพัฒนาความร่วมมือกับประเทศต่างๆ โดยเฉพาะยุโรปตะวันตก โดยให้ความสำคัญกับการปรับเปลี่ยนระบบการเมืองและเศรษฐกิจของตนให้สามารถเข้าเป็นส่วนหนึ่งของยุโรปได้ โดยได้เข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ร่วมกับประเทศในยุโรปอื่นๆ อีกรวม 10 ประเทศ นอกจากนี้ ยังมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับโปแลนด์ ฮังการี และสโลวาเกียภายใต้กรอบ Visegrad Group ด้วย

ในกรอบองค์การระหว่างประเทศ สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญ ดังนี้

NATO สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิก NATO เมื่อวันที่ 12 มีนาคม 2542 พร้อมกับโปแลนด์และฮังการี อย่างไรก็ดี ในปฏิบัติการโจมตีทางอากาศของ NATO ต่อยูโกสลาเวียระหว่างเดือนมีนาคม – มิถุนายน 2542 เช็กไม่ได้สนับสนุนปฏิบัติการของ NATO อย่างจริงจัง ซึ่งต่างกับโปแลนด์และฮังการี ทำให้ NATO มีความเคลือบแคลงในพันธะสัญญาที่สาธารณรัฐเช็กมีต่อ NATO แต่ถึงกระนั้น ในปี 2545 กรุงปรากก็ได้รับเลือกให้เป็นสถานที่จัดการประชุมสุดยอด NATO ระหว่างวันที่ 21-22 พฤศจิกายน 2545 ซึ่งมีนัยยะสำคัญในทางสัญญลักษณ์ของการขยายสมาชิก NATO ให้รวมกลุ่ม Warsaw Pact และความร่วมมืออันดีระหว่าง NATO กับรัสเซีย

OSCE สาธารณรัฐเช็กเป็นสมาชิก Organisation on Security and Cooperation in Europe (OSCE) ซึ่งมีสำนักเลขาธิการตั้งอยู่ ณ กรุงปราก

UN ในปี 2537 สาธารณรัฐเช็กได้รับเลือกตั้งเป็นสมาชิกไม่ถาวรของ UNSC จากการมีบทบาทในการเสริมสร้างสันติภาพและความมั่นคงของยุโรป การส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิมนุษยชน และการเข้ามีส่วนร่วมในกิจกรรมรักษาสันติภาพของ UN

WEU สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกสมทบขององค์การ Western European Union (WEU) เมื่อวันที่ 9 พฤษภาคม 2537 โดยสามารถส่งผู้แทนเข้าร่วมการประชุมฯ ตลอดจนส่งทหารเข้าร่วมในการรักษาสันติภาพได้ โดยยังไม่มีสิทธิในการออกเสียงยับยั้ง

OECD สาธารณรัฐเช็กได้เข้าเป็นสมาชิกลำดับที่ 26 ของ Organisation for Economic Cooperation and Development (OECD) โดยในด้านการเมือง จัดให้มีการปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตยแบบพหุสังคม เคารพสิทธิมนุษยชน ด้านแศรษ ฐกิจให้มีการใช้ระบบเศรษฐกิจแบบตลาด การปล่อยให้เงินทุนเคลื่อนย้ายโดยเสรี การใช้เงินตราที่แลกเปลี่ยนได้โดยสมบูรณ์ การใช้ระบบภาษีที่มีมาตรฐาน และมีมาตรการรักษาสิ่งแวดล้อม

CEFTA สาธารณรัฐเช็ก สโลวาเกีย ฮังการี และโปแลนด์ ได้ร่วมกันจัดตั้งเขตการค้าเสรีในกลุ่มประเทศยุโรปกลาง (CEFTA) ขึ้นเมื่อเดือนมีนาคม 2536 โดยสโลวีเนีย โรมาเนีย และบัลแกเรียได้เข้าเป็นสมาชิกในลำดับต่อมา อันทำให้ CEFTA เป็นกลุ่มเขตการค้าเสรีที่มีประชากรประมาณ 100 ล้านคน กลุ่ม CEFTA มีเป้าหมายให้บรรลุผลภายในปี 2544 โดยเริ่มมีการลดค่าธรรมเนียมศุลกากรและอุปสรรคระหว่างกันแล้ว

สาธารณรัฐเช็กได้สถาปนาความสัมพันธ์กับประเทศทั้งสิ้น 85 ประเทศ ในจำนวนนี้ 80 ประเทศ มีตัวแทนทางการทูตอย่างถาวร ที่กรุงปราก

นโยบายต่างประเทศ

  1. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กใน EU และ Schengen และ NATO
  2. การทูตพหุภาคีและการให้ความสนับสนุนบทบาทของ UN
  3. การต่อต้านการก่อการร้าย การป้องกันการแพร่ขยายอาวุธที่มีอานุภาพทำลายล้างสูงและการต่อต้านอาชญากรรมระหว่างประเทศ
  4. การดำเนินความสัมพันธ์กับสหรัฐอเมริกาและแคนาดา
  5. บทบาทของสาธารณรัฐเช็กในกองกำลังรักษาสันติภาพในโคโซโว อิรัก และอาฟกานิสถาน
  6. การดำเนินความสัมพันธ์ต่อประเทศเพื่อนบ้าน โดยเฉพาะต่อสโลวาเกีย
  7. การดำเนินความสัมพันธ์กับรัสเซีย โดยเฉพาะในกรอบระหว่าง EU และรัสเซีย
  8. ความสัมพันธ์กับประเทศในภูมิภาคเอเชีย ลาตินอเมริกา และแอฟริกา
  9. ประเด็นระหว่างประเทศต่างๆ ได้แก่ การต่อสู้กับความยากจน การแพร่กระจายของโรคระบาด การให้ความช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมและสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะที่เป็นผลจากเหตุการณ์ธรณีพิบัติในเอเชียและแอฟริกา

[แก้] ประชากร

ประชากร 10.28 ล้านคน ประกอบด้วยชาวเช็ก (94.4%) ชาวสโลวัก (3%) ชาวโปล (0.6%) ชาวฮังกาเรียน (0.2%)

อัตราการเพิ่มประชากร - 0.05 % (ปี 2548)

ศาสนา ไม่มีศาสนา 39.8% โรมันคาธอลิก 39.2% โปรเตสแตนท์ 6% ออร์โธดอกส์ 3% และอื่นๆ 13.4%

กรุงปราก (Prague) มีประชากร 1.21 ล้านคน

Brno - เมืองศูนย์กลางทางด้านอุตสาหกรรมและพาณิชยกรรมของแคว้นโมราเวีย มีประชากรประมาณ 3.3 แสนคน

Ostrava - เมืองอุตสาหกรรม โดยเฉพาะทางด้านการถลุงเหล็ก อยู่ทางตะวันออกของประเทศ มีประชากรประมาณ 3.24 แสนคน

Plzeň - เมืองอุตสาหกรรมเครื่องจักรกล และเป็นเมืองที่กำเนิดของเบียร์สูตรที่เก่าแก่ที่สุดในโลก อยู่ทางเหนือของประเทศ มีประชากร 1.7 แสนคน

อัตราการรู้หนังสือของผู้ใหญ่ 99.9%

อายุเฉลี่ย ชาย : 71 / หญิง : 78

[แก้] วัฒนธรรม

[แก้] อ้างอิง

ภาษาอื่น