ชีวประวัติ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ชีวประวัติ คืองานเขียนชนิดหนึ่งที่เป็นการกล่าวถึงเรื่องราวของบุคคลในช่วงชีวิต ชีวประวัติของบุคคลหนึ่งๆ ไม่เพียงแต่กล่าวถึง วันเกิด อาชีพ การศึกษา แต่จะมีการถึงเรื่องราวของแต่ละช่วงชีวิต และเหตุการณ์สำคัญที่เกิดขึ้นในชีวิต ทั้งนี้หากเป็นประวัติของผู้เขียนเอง จะนิยมเรียกว่า อัตชีวประวัติ

ชีวประวัติ เป็นคำนาม มาจากคำว่า ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตบุคคล [1]ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Biography [2]มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า bíos (βίος) ที่หมายถึง ชีวิต (life) และ gráphein (γράφειν) ที่มีความหมายว่าการเขียน (to write)

ชีวประวัติ เป็นงานเขียนประเภทหนึ่งที่เป็นการนำเสนอข้อมูลและเรื่องราวเกี่ยวกับบุคคล โดยปกติจะนำเสนอในรูปแบบของหนังสือหรือบทความ บางครั้งอาจนำเสนอในรูปแบบของภาพยนตร์ก็ได้ ซึ่งองค์ประกอบของชีวประวัตินั้น อาจนอกเหนือไปจากข้อมูลส่วนบุคคล อาทิ การศึกษา การทำงาน ความสัมพันธ์ หรือ การเสียชีวิต ก็ได้ โดยลักษณะของชีวประวัติจะไม่เหมือนกับประวัติโดยย่อ (Profile) หรือประวัติส่วนตัวโดยสังเขป (Resume) ทั้งนี้อาจเป็นการนำเสนอเรื่องราวประสบการณ์ มุมมองของบุคคล รวมทั้ง เกร็ดต่างๆ ในชีวิต และการวิเคราะห์บุคลิกลักษณะของบุคคล

ส่วน อัตชีวประวัติ นั้น เป็นคำนาม มาจากคำว่า อัต ชีว และ ประวัติ หมายถึง ประวัติชีวิตที่เจ้าของเขียนหรือเล่าด้วยตนเอง [3] ในภาษาอังกฤษใช้คำว่า Autobiography มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือคำว่า auto ที่หมายถึง ตนเอง ดังนั้น autobiography จึงหมายถึง การบอกเล่าชีวประวัติของตนเอง

การทำงานก็เป็นชีวประวัติได้หากครอบคลุมช่วงชีวิตของบุคคลนั้น เช่น ชีวประวัติการทำงาน โดยปกติจะเป็นงานเขียนที่ได้จากเรื่องจริง แต่บางครั้งก็สามารถใช้บันเทิงคดีในการนำเสนอชีวิตของบุคคลได้ หนึ่งในรูปแบบการเขียนจะชีวประวัติจะครอบคลุมไปถึงการเขียนที่สืบทอดมาจากคนรุ่นก่อน รวมทั้งชีวประวัติในวรรณกรรม ภาพยนตร์ และสื่อรูปแบบอื่นๆ

[แก้] ลักษณะของชีวประวัติที่ดี

  1. เป็นชีวประวัติของบุคคลที่มีตัวตนอยู่จริง มีความน่าสนใจและน่าศึกษา ทั้งที่เป็นบุคคลที่ควรนำมาเป็นแบบอย่างและไม่ควรนำมาเป็นแบบอย่างในการดำเนินชีวิต
  2. สามารถแสดงเรื่องราวของบุคคลว่า เป็นใคร มีประวัติความเป็นมาอย่างไร บุคคลนั้นมีหลักการคิดและอุดมคติในการดำรงชีวิต มีความสำเร็จและความล้มเหลวอย่างไรบ้าง ซึ่งสิ่งต่างๆ ที่กล่าวมา สามารถนำไปใช้เป็นแบบอย่างหรือบทเรียนแก่บุคคลอื่นได้
  3. ใช้ภาษากึ่งแบบแผน หรือใช้ภาษามาตรฐาน

[แก้] ลักษณะของผู้เขียนชีวประวัติที่ดี

  1. ผู้เขียนชีวประวัติต้องมีคุณธรรม ไม่ยกย่องสรรเสริญจนเกินงาม หรือใส่ร้ายป้ายสี มีข้อความที่จะทำให้เกิดผลเสียต่อบุคคลนั้นๆ อย่างรุนแรง
  2. ต้องมีศิลปะในการเขียนให้น่าอ่าน เข้าใจง่าย และสร้างความสนใจผู้อ่านให้ติดตามตลอดเวลา นำเสนอในสิ่งที่สมควรนำเสนอ
  3. ผู้เขียนชีวประวัติควรแสดงหลักการหรือแนวความคิดที่บุคคลนั้นๆ ยึดถือ ไม่ควรใส่อารมณ์หรือความคิดของตนเองมากจนเกินไป และไม่เขียนในทำนองสั่งสอนผู้อ่าน ซึ่งต้องเขียนด้วยความบริสุทธิ์ใจ ไม่มีอคติกับบุคคลที่เขียนถึง [4]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ ความหมายของคำว่า ชีวประวัติ จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
  2. ^ เนื้อหาแปลจาก http://en.wikipedia.org
  3. ^ ความหมายของคำว่า อัตชีวประวัติ จากพจนานุกรม ฉบับราชบัณฑิตยสถาน พ.ศ. ๒๕๔๒
  4. ^ เอกสารประกอบการศึกษาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม
Books-aj.svg aj ashton 01.svg ชีวประวัติ เป็นบทความเกี่ยวกับ วรรณกรรม วรรณคดี นวนิยายหรือหนังสือ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ชีวประวัติ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:โลกวรรณศิลป์