การรถไฟแห่งประเทศไทย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก กรมรถไฟหลวง)
สัญลักษณ์การรถไฟแห่งประเทศไทย

การรถไฟแห่งประเทศไทย (ชื่อย่อ: รฟท.; อังกฤษ: State Railway of Thailand ; SRT) เป็นรัฐวิสาหกิจในกระทรวงคมนาคม ทำหน้าที่ดูแลกิจการด้านรถไฟของประเทศ

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

วันที่ 26 มีนาคม เป็น วันสถาปนากิจการรถไฟ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระกำแพงเพ็ชรอัครโยธิน ดำรงตำแหน่งผู้บัญชาการกรมรถไฟหลวงพระองค์แรก

เนื่องมาจากนโยบายขยายอาณานิคมของอังกฤษและฝรั่งเศส แผ่มาครอบคลุมบริเวณเหลมอินโดจีน พระองค์ท่านทรงตระหนักถึงความสำคัญของการคมนาคม โดยเส้นทางรถไฟ เพราะการใช้แต่ทางเกวียนและแม่น้ำลำคลองเป็นพื้นนั้น ไม่เพียงพอแก่การบำรุงรักษาพระราชอาณาเขต ราษฎรที่อยู่ห่างไกลจากเมืองหลวงมีจิตใจโน้มเอียงไปทางประเทศใกล้เคียง สมควรที่จะสร้างทางรถไฟขึ้นในประเทศเพื่อติดต่อกับมณฑลชายแดนก่อนอื่น ทั้งนี้เพื่อสะดวกแก่การปกครอง ตรวจตราป้องกันการรุกรานเป็นการเปิดภูมิประเทศให้ประชาชนพลเมืองเข้าบุกเบิกพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ให้เป็นประโยชน์ทางเศรษกิจของประเทศ และจะเป็นเส้นทางขนส่งผู้โดยสารและสินค้าไปมาถึงกันได้ง่ายยิ่งขึ้น ดังนั้น ในปี พ.ศ. 2430 จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ เซอร์แอนดรู คลาก และบริษัทปันชาร์ด แมกทักการ์ด โลเธอร์ ดำเนินการสำรวจเพื่อ สร้างทางรถไฟจาก กรุงเทพฯ - เชียงใหม่ และมีทางแยกตั้งแต่เมืองสระบุรี - เมืองนครราชสีมาสายหนึ่ง จากเมืองอุตรดิตถ์ - ตำบลท่าเดื่อริมฝั่งแม่น้ำโขงสายหนึ่ง และจากเมืองเชียงใหม่ไปยังเชียงราย เชียงแสนหลวงอีกสายหนึ่ง โดยทำการสำรวจให้แล้วเสร็จเป็นตอน ๆ รวม 8 ตอน ในราคาค่าจ้างโดยเฉลี่ยไม่เกินไมล์ละ 100 ปอนด์ ทั้งสองฝ่ายลงนามในสัญญา เมื่อวันที่ 16 มีนาคม พ.ศ. 2430

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวจึงทรงพระราชทานพระบรมราชานุมัติให้กระทรวงโยธาธิการว่าจ้าง มิสเตอร์ จี. มูเร แคมป์เบลล์ สร้างทางรถไฟหลวงจากกรุงเทพ ถึงนครราชสีมา เป็นสายแรก เป็นทางขนาดกว้าง 1.435 เมตร และได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีกระทำพระฤกษ์ เริ่มการ สร้างทางรถไฟ ณ บริเวณย่านสถานีกรุงเทพ เมื่อวันที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2434 ซึ่งปัจจุบัน การรถไฟฯ ได้สร้างอนุสรณ์ปฐมฤกษ์รถไฟหลวงเพื่อเป็นอนุสรณ์สถานรำลึกเหตุการณ์สำคัญในอดีต และเพื่อน้อมรำลึกถึงพระกรุณาธิคุณ


[แก้] หน่วยงานของการรถไฟแห่งประเทศไทยในภูมิภาค

การรถไฟแห่งประเทศไทยมีหน่วยการเดินรถไฟกระจายอยู่ทั้ง4ภูมิภาคของแต่ละภาคโดยมีทั้งสิ้น 3เขตลากเลื่อน

  • กองลากเลื่อนเขตอุตรดิตถ์
  • กองลากเลื่อนเขตนครราชสีมา
  • กองลากเลื่อนเขตหาดใหญ่

[แก้] เส้นทางเดินรถ

ปัจจุบันการรถไฟฯ มีระยะทางที่เปิดการเดินรถแล้ว รวมทั้งสิ้น 4,346 กิโลเมตร โดยเป็นทางคู่ช่วง สถานีรถไฟกรุงเทพ - สถานีรถไฟรังสิต ระยะทาง 31 กิโลเมตร และเป็นทางสามช่วง สถานีรถไฟรังสิต - สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี ระยะทาง 59 กิโลเมตร โดยมีเส้นทาง ดังนี้

นอกจากนั้นยังมีการสร้างทางอีกหลายเส้นทาง อาทิ สถานีรถไฟชุมทางคลองสิบเก้า - สถานีรถไฟชุมทางบ้านภาชี - สถานีรถไฟชุมทางแก่งคอย - สถานีรถไฟศรีราชา - สถานีรถไฟแหลมฉบัง - สถานีรถไฟชุมทางเขาชีจรรย์ - สถานีรถไฟมาบตาพุด

[แก้] ที่สุดของรถไฟไทย

[แก้] สถานีรถไฟ-ที่หยุดรถ ที่ตั้งอยู่ใกล้กันมากที่สุด

  • การเคหะ - รางสะแก ระยะห่าง 0.30 กม.
  • บางซื่อ - บางซื่อ2 ระยะห่าง 0.37 กม.
  • อุรุพงษ์ - ยมราช ระยะห่าง 0.47 กม.
  • บางบอน - การเคหะ ระยะห่าง 0.47 กม.
  • ดอนเมือง - ตลาดใหม่ดอนเมือง ระยะห่าง 0.52 กม.
  • มักกะสัน - ราชปรารภ ระยะห่าง 0.58 กม.
  • ธนบุรี - จรัญสนิทวงศ์ ระยะห่าง 0.67 กม.
  • หัวตะเข้ - พระจอมเกล้า ระยะห่าง 0.75 กม.
  • บ้านแหลม - ท่าฉลอม ระยะห่าง 0.84 กม.
  • หลักหก - คลองรังสิต ระยะห่าง 0.87 กม.
  • ราชปรารภ - พญาไท ระยะห่าง 0.92 กม.
  • จันเสน - โรงเรียนจันเสน ระยะห่าง 0.97 กม.
  • ราชบุรี - สะพานจุฬาลงกรณ์ ระยะห่าง 1.02 กม.
  • อุรุพงษ์ - พญาไท ระยะห่าง 1.03 กม.

[แก้] สถานีรถไฟที่ตั้งอยู่ไกลกันที่สุด

  • ชุมทางหนองปลาดุก - สุพรรณบุรี ระยะห่าง 77.41 กม.
  • อุดรธานี - หนองคาย ระยะห่าง 52.26 กม.
  • ที่วัง - ห้วยยอด ระยะห่าง 35.25 กม.
  • บ้านแหลม - แม่กลอง ระยะห่าง 33.57 กม.
  • สระแก้ว - วัฒนานคร ระยะห่าง 31.61 กม.
  • ชุมทางทุ่งโพธิ์ - คีรีรัฐนิคม ระยะห่าง 31.00 กม.
  • ชุมทางคลอง 19 - องครักษ์ ระยะห่าง 29.40 กม.
  • ห้วยยอด - ตรัง ระยะห่าง 28.46 กม.
  • ชุมทางหาดใหญ่ - คลองแงะ ระยะห่าง 24.06 กม.
  • ลำนารายณ์ - สุรนารายณ์ ระยะห่าง 23.00 กม.

[แก้] ชุมทางรถไฟที่อยู่ใกล้กันที่สุด

  • ชุมทางบางซื่อ2 - ชุมทางตลิ่งชัน ระยะห่าง 14.29 กม.
  • ชุมทางทุ่งสง - ชุมทางเขาชุมทอง ระยะห่าง 24 กม.
  • ชุมทางฉะเชิงเทรา - ชุมทางคลอง 19 ระยะห่าง 24.43 กม.
  • ชุมทางบ้านภาชี - ชุมทางแก่งคอย ระยะห่าง 35.15 กม.
  • ชุมทางศรีราชา - ชุมทางเขาชีจรรย์ ระยะห่าง 49.39 กม.

[แก้] สถานีรถไฟ/ที่หยุดรถต่างๆ

  • สถานีระดับ 1 ที่มีรางหลีกน้อยที่สุด คือ สถานีรถไฟปัตตานี
  • สถานีรถไฟแห่งเดียวที่มีเจ้าของร่วม 2 ชาติ คือ สถานีรถไฟปาดังเบซาร์
  • ย่านรถไฟที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย คือ ย่านสถานีรถไฟชุมทางหาดใหญ่
  • สถานีระดับพิเศษแห่งเดียวที่ไม่มีการโดยสาร คือ สถานีรถไฟ ICD ลาดกระบัง
  • ที่หยุดรถเพียง 2 แห่งที่มีขบวนรถเร็วหยุดรับ-ส่งผู้โดยสาร คือ ที่หยุดรถไฟกะปาง (ขบวน 167/168) และ ที่หยุดรถไฟจรัญสนิทวงศ์ (ขบวน 177/178)
  • สถานีปลายทาง (เส้นทางหลัก) ที่มีขบวนรถเข้า-ออกมากที่สุด ไม่นับหัวลำโพง คือ สถานีรถไฟอุบลราชธานี จำนวน 22 ขบวน/วัน
  • สถานีปลายทาง (เส้นทางแยก) ที่มีขบวนรถเข้า-ออกมากที่สุด ไม่นับหัวลำโพง คือ สถานีรถไฟธนบุรี จำนวน 12 ขบวน/วัน

[แก้] อุโมงค์

  • อุโมงค์รถไฟที่ยาวที่สุดในประเทศไทย คือ อุโมงค์ขุนตาล ความยาว 1,352 เมตร
  • อุโมงค์รถไฟที่ไม่ได้ลอดใต้ภูเขา แห่งเดียวในประเทศไทย คือ อุโมงค์หัวหิน(บ่อฝ้าย) ลอดใต้ทางวิ่งสนามบินหัวหิน

[แก้] จำนวนสถานีรถไฟ

[แก้] สถานีรถไฟที่มีชื่อประจำจังหวัด แต่ไม่ได้ตั้งอยู่ในอำเภอเมือง

[แก้] สถานีรถไฟที่เป็นย่านสินค้า

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

Commons