ทองคำ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

79 แพลตินัมทองคำปรอท
Ag

Au

Rg
Au-TableImage.png
ทั่วไป
ชื่อ, สัญลักษณ์, หมายเลข ทองคำ, Au, 79
อนุกรมเคมี โลหะทรานซิชัน
หมู่, คาบ, บล็อก 11, 6, d
ลักษณะ สีเหลืองวาว
Au,79.jpg
มวลอะตอม 196.96655 (2) กรัม/โมล
การจัดเรียงอิเล็กตรอน [Xe] 4f14 5d10 6s1
อิเล็กตรอนต่อระดับพลังงาน 2, 8, 18, 32, 18, 1
คุณสมบัติทางกายภาพ
สถานะ ของแข็ง
ความหนาแน่น (ใกล้ r.t.) 19.3 ก./ซม.³
ความหนาแน่นของของเหลวที่m.p. 17.31 ก./ซม.³
จุดหลอมเหลว 1337.33 K
(1064.18 °C)
จุดเดือด 3129 K(2856 °C)
ความร้อนของการหลอมเหลว 12.55 กิโลจูล/โมล
ความร้อนของการกลายเป็นไอ 324 กิโลจูล/โมล
ความร้อนจำเพาะ (25 °C) 25.418 J/(mol·K)
ความดันไอ
P/Pa 1 10 100 1 k 10 k 100 k
ที่ T K 1646 1814 2021 2281 2620 3078
คุณสมบัติของอะตอม
โครงสร้างผลึก cubic face centered
สถานะออกซิเดชัน 3, 1
(amphoteric oxide)
อิเล็กโตรเนกาติวิตี 2.54 (พอลิงสเกล)
พลังงานไอออไนเซชัน ระดับที่ 1: 890.1 กิโลจูล/โมล
ระดับที่ 2: 1980 กิโลจูล/โมล
รัศมีอะตอม 135 pm
รัศมีอะตอม (คำนวณ) 174 pm
รัศมีโควาเลนต์ 144 pm
รัศมีวานเดอร์วาลส์ 166 pm
อื่น ๆ
การจัดเรียงทางแม่เหล็ก no data
ความต้านทานไฟฟ้า (20 °C) 22.14 nΩ·m
การนำความร้อน (300 K) 318 W/(m·K)
การขยายตัวจากความร้อน (25 °C) 14.2 µm/(m·K)
ความเร็วเสียง (thin rod) (r.t.) (hard-drawn)
2030 m/s
โมดูลัสของยังก์ 78 GPa
โมดูลัสของแรงเฉือน 27 GPa
โมดูลัสของแรงบีบอัด 220 GPa
อัตราส่วนปัวซอง 0.44
ความแข็งโมห์ส 2.5
ความแข็งวิกเกอร์ส 216 MPa
ความแข็งบริเนล 2450 MPa
เลขทะเบียน CAS 7440-57-5
ไอโซโทปที่น่าสนใจ
บทความหลัก: ไอโซโทปของทองคำ
iso NA ครึ่งชีวิต DM DE (MeV) DP
195Au syn 186.10 d ε 0.227 195Pt
196Au syn 6.183 d ε 1.506 196Pt
β- 0.686 196Hg
197Au 100% Au เสถียร โดยมี 118 นิวตรอน
198Au syn 2.69517 d β- 1.372 198Hg
199Au syn 3.169 d β- 0.453 199Hg
แหล่งอ้างอิง

ทองคำ (อังกฤษ: gold) คือธาตุเคมีที่มีหมายเลขอะตอม 79 และสัญลักษณ์คือ Au (มาจากภาษาละตินว่า aurum) ทองคำเป็นธาตุโลหะทรานซิชันสีเหลืองทองมันวาวเนื้ออ่อนนุ่ม สามารถยืดและตีเป็นแผ่นได้ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีส่วนใหญ่ ทองคำใช้เป็นทุนสำรองทางการเงินของหลายประเทศ ใช้ประโยชน์เป็นเครื่องประดับ งานทันตกรรม และอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์

เนื้อหา

[แก้] คุณสมบัติของทองคำ

มีความแวววาวอยู่เสมอ ทองคำไม่ทำปฏิกิริยากับออกซิเจนดังนั้น เมื่อสัมผัสถูกอากาศสีของทองจะไม่หมองและไม่เกิดสนิม มีความอ่อนตัว ทองคำเป็นโลหะที่มีความอ่อนตัวมากที่สุด ด้วยทองเพียงประมาณ 2 บาท เราสามารถยืดออกเป็นเส้นลวดได้ยาวถึง 8 กิโลเมตร หรืออาจตีเป็นแผ่นบางได้ถึง 100 ตารางฟุต เป็นตัวนำไฟฟ้าที่ดี ทองคำเป็นโลหะชนิดหนึ่งที่สามารถนำไฟฟ้าได้ดี สะท้อนความร้อนได้ดี ทองคำสามารถสะท้อนความร้อนได้ดี ได้มีการนำทองคำไปฉาบไว้ที่หน้ากากหมวกของนักบินอวกาศ เพื่อป้องกันรังสีอินฟราเรด

มนุษย์รู้จักทองคำมาตั้งแต่ประมาณ 5,000 ปี เป็นความหมายแห่งความมั่งคั่ง จุดหลอมเหลว 1064 และจุดเดือด 2970 องศาเซลเซียส เป็นโลหะที่มีค่าที่มีความเหนียว (Ductility) และความสามารถในการขึ้นรูป (Malleability) คือจะยืดขยาย (Extend) เมื่อถูกตีหรือรีดในทุกทิศทาง โดยไม่เกิดการปริแตกได้สูงสุด ทองคำบริสุทธิ์หนัก 1 ออนซ์สามารถดึงเป็นเส้นลวดยาวได้ถึง 80 กิโลเมตร ถ้าตีเป็นแผ่นก็จะได้บางเกินกว่า 1/300,000 นิ้ว ส่วนความกว้างจะได้ถึง 9 ตารางเมตร

ทองคำบริสุทธิ์ไม่ว่องไวต่อการเกิดปฏิกิริยาเคมี จึงทนต่อการผุกร่อนและไม่เกิดสนิมกับอากาศ แต่ทำปฏิกิริยากับสารเคมีบางชนิด เช่น คลอรีน ฟลูออรีน น้ำประสานทอง

คุณสมบัติเหล่านี้ประกอบกับลักษณะภายนอกที่เป็นประกายจึงทำให้ทองคำเป็นที่หมายปองของมนุษย์มาเป็นเวลานับพันปี โดยนำมาตีมูลค่าสำหรับการแลกเปลี่ยนระหว่างประเทศและใช้เป็นวัตถุดิบที่สำคัญสำหรับวงการเครื่องประดับ

ทองคำได้รับความนิยมอย่างสูงสุดในวงการเครื่องประดับทองคำ เพราะเป็นโลหะมีค่าชนิดเดียวที่มีคุณสมบัติพื้นฐาน 4 ประการซึ่งทำให้ทองคำโดดเด่น และเป็นที่ต้องการเหนือบรรดาโลหะมีค่าทุกชนิดในโลก คือ

  1. งดงามมันวาว (lustre) สีสันที่สวยงามตามธรรมชาติผสานกับความมันวาวก่อให้เกิดความงามอันเป็นอมตะ ทองคำสามารถเปลี่ยนเฉดสีทองโดยการนำทองคำไปผสมกับโลหะมีค่าอื่นๆ ช่วยเพิ่มความงดงามให้แก่ทองคำได้อีกทางหนึ่ง
  2. คงทน (durable) ทองคำไม่ขึ้นสนิม ไม่หมอง และไม่ผุกร่อน แม้ว่ากาลเวลาจะผ่านไป 3000 ปีก็ตาม
  3. หายาก (rarity) ทองเป็นแร่ที่หายาก กว่าจะได้ทองคำมาหนึ่งออนซ์ (31.167 gram) ต้องถลุงก้อนแร่ที่มีทองคำอยู่เป็นจำนวนหลายตัน และต้องขุดเหมืองลึกลงไปหลายสิบเมตร จึงทำให้มีค่าใช้จ่ายที่สูง เป็นเหตุให้ทองคำมีราคาแพงตามต้นทุนในการผลิต
  4. นำกลับไปใช้ได้ (reuseable) ทองคำเหมาะสมที่สุดต่อการนำมาทำเป็นเครื่องประดับเพราะมีความเหนียวและอ่อนนิ่มสามารถนำมาทำขึ้นรูปได้ง่าย อีกทั้งยังสามารถนำกลับมาใช้ใหม่โดยการทำให้บริสุทธิ์ (purified) ด้วยการหลอมได้อีกโดยนับครั้งไม่ถ้วน

[แก้] การเกิดของแร่ทองคำ

สรุปจากเอกสารของกรมทรัพยากรธรณี ได้มีการแบ่งการเกิดของแร่ทองคำออกเป็น 2 แบบ ตามลักษณะที่พบในธรรมชาติได้ดังนี้

  • แบบปฐมภูมิ คือกระบวนการทางธรณีวิทยา มีการผสมทางธรรมชาติจากน้ำแร่ร้อน ผสมผสานกับสารละลายพวกซิลิก้า ทำให้เกิดการสะสมตัวของแร่ทองคำในหินต่างๆ เช่น หินอัคนี หินชั้น และหินแปร มีการพบการฝังตัวของแร่ทองคำในหิน หรือสายแร่ที่แทรกอยู่ในหิน ซึ่งส่วนใหญ่จะมองไม่เห็นด้วยตาเปล่า
  • แบบทุติยภูมิหรือลานแร่ คือการที่หินที่มีแร่ทองคำแบบปฐมภูมิได้มีการสึกกร่อน และถูกน้ำพัดพาไปสะสมตัวในที่แห่งใหม่ เช่น ตามเชิงเขา ลำห้วย หรือในตะกอนกรวดทรายในลำน้ำ

แหล่งแร่ทองคำปฐมภูมิในไทย เช่น

แหล่งแร่ทองคำทุติยภูมิในไทย เช่น


[แก้] หน่วยน้ำหนักของทองคำ

  • กรัม : ใช้กันเป็นส่วนใหญ่ ถือว่าเป็นหน่วยสากล
  • ทรอยเอานซ์ : ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาอังกฤษ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา ออสเตรเลีย
  • โทลา : ใช้กันทางประเทศแถบตะวันออกกลาง อินเดีย ปากีสถาน
  • ตำลึง : ใช้ในประเทศที่ใช้ภาษาจีน เช่น จีน ไต้หวัน ฮ่องกง
  • บาท : ใช้ในประเทศไทย
  • ชิ : ใช้ในประเทศเวียดนาม

[แก้] การแปลงน้ำหนักทองคำ

ทองคำความบริสุทธิ์ 96.5% (มาตรฐานในประเทศไทย) [1]
  • ทองรูปพรรณ น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.16 กรัม
  • ทองคำแท่ง น้ำหนัก 1 บาท เท่ากับ 15.244 กรัม
ทองคำความบริสุทธิ์ 99.99%
  • ทองคำ 1 กิโลกรัม เท่ากับ 32.1508 (ทรอย) ออนซ์
  • ทองคำ 1 (ทรอย) ออนซ์ เท่ากับ 31.1040 กรัม

หมายเหตุ: ทรอยออนซ์ เป็นหน่วยชั่งของโลหะมีค่า แต่มักเรียกสั้นๆ ว่า ออนซ์

  • 1 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1.097 ออนซ์ (ปกติ)
  • 12 ทรอยออนซ์ เท่ากับ 1 ทรอยปอน
  • 1 ทรอยปอน เท่ากับ 373 กรัม

[แก้] การลงทุนทองคำ

การตั้งราคาทองในประเทศไทยจาก 2 ปัจจัยหลัก คือ Goldspot และ USD-THB

  • Goldspot

คือ ราคาทองต่างประเทศ มีการซื้อขายทองโดยใช้เงินสกุลดอลล่าร์

  • USD-THB

คือ อัตราแลกเปลี่ยนค่าเงินบาทเทียบกับเงินสกุลดอลลาร์

  • การตั้งราคาทองในประเทศไทย มีสูตรคำนวณดังนี้

สูตรคำนวณราคาทองคำ = (spot gold + 2) x อัตราแลกเปลี่ยนเงินบาท x 0.4729

[แก้] ประโยชน์อื่น

ด้านอวกาศ

ในทางอวกาศได้มีการนำทองคำมาใช้เป็นชุดนักบินอวกาศและแคปซูล เพื่อป้องกันไม่ให้นักบินอวกาศกระทบกับรังสีในอวกาศที่มีพลังงานสูง นอกจากนี้ยังมีการใช้ทองคำบริสุทธิ์เคลือบกับเครื่องยนต์ ระบบอิเล็กทรอนิกส์ หมวกเหล็ก เกราะบังหน้า และอุปกรณ์อื่นๆ ที่ใช้ในอวกาศ เนื่องจากทองคำที่มีความหนา 0.000006 นิ้ว จะมีคุณสมบัติช่วยสะท้อนรังสีความร้อนจากดวงอาทิตย์ไม่ให้ทำลาย หรือลดประสิทธิภาพการทำงานของอุปกรณ์เหล่านี้

ด้านทันตกรรม

มีการใช้ทองคำเพื่อการครอบฟัน เชื่อมฟัน หรือการเลี่ยมทอง และยังมีการใช้ในการผลิตฟันปลอมด้วย เนื่องจากทองคำมีความคงทนต่อการกัดกร่อน การหมองคล้ำ และยังมีความแข็งแรงอีกด้วย โดยจะใช้ทองคำผสมกับธาตุอื่น เช่น แพลตินัม

ด้านอิเล็กทรอนิกส์

มีการนำทองคำมาใช้เป็นวัสดุที่ทำหน้าที่สัมผัสในอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น เครื่องคิดเลข โทรทัศน์ คอมพิวเตอร์ หรือโทรศัพท์มือถือ เนื่องจากทองคำมีค่าการนำไฟฟ้าสูง และมีความคงทนต่อการกัดกร่อน จึงช่วยเพิ่มประสิทธิภาพ และอายุการใช้งานของเครื่องไฟฟ้าเหล่านั้น

[แก้] รายชื่อตลาดทองคำที่สำคัญของโลก

  1. ตลาดทองคำนิวยอร์ก
  2. ตลาดทองคำลอนดอน
  3. ตลาดทองคำฮ่องกง
  4. ตลาดทองคำอินเดีย
  5. ตลาดทองคำซิซิลีอิตาลี
  6. ตลาดทองคำ ซาร์เดนญาอิตาลี

[แก้] อ้างอิง

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น