สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก
เป็นส่วนหนึ่งของ สงครามโลกครั้งที่สอง
US landings.jpg
แผนที่แสดงสงครามในมหาสมุทรแปซิฟิกระหว่าง ปี ค.ศ. 1942-ค.ศ. 1945
วันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 19372 กันยายน ค.ศ. 1945
สถานที่ เอเชียตะวันออก, เอเชียตะวันออกเฉียงใต้, เอเชียใต้, มหาสมุทรแปซิฟิก, โอเชียเนีย และหมู่เกาะต่าง ๆ ในมหาสมุทรแปซิฟิก
ผลลัพธ์ ฝ่ายสัมพันธมิตรได้รับชัยชนะ
ผู้ร่วมสงคราม
ฝ่ายสัมพันธมิตร:
Flag of the Republic of China สาธารณรัฐจีน

Flag of the United States สหรัฐอเมริกา

Flag of the Republic of China สาธารณรัฐจีน
Flag of the United Kingdom สหราชอาณาจักร

Flag of ออสเตรเลีย ออสเตรเลีย
Flag of the Netherlands เนเธอร์แลนด์

Flag of the Soviet Union สหภาพโซเวียต

ฝ่ายอักษะ:

Flag of the Empire of Japan จักรวรรดิญี่ปุ่น

Flag of ฝรั่งเศส วิชีฝรั่งเศส
Flag of ไทย ไทย
AzadHindFlag.png อินเดียเสรี

ผู้บัญชาการ
Flag of the United States เชสเตอร์ ดับเบิลยู. นิมิตซ์

Flag of the United States ดักลาส แม็กอาร์เธอร์
Flag of the United States โจ สติลเวลล์
Flag of the Republic of China เจียง ไคเช็ค
Flag of the Republic of China เฉิน เฉิง
Flag of the Republic of China Yan Xishan
Flag of the Republic of China Peng Dehuai
Flag of the United Kingdom อาร์ชิบัลด์ วาเวลล์
Flag of the United Kingdom หลุยส์ เมานท์แบตแตน
Flag of ออสเตรเลีย โทมัส บลามีย์
Flag of the Netherlands Hein ter Poorten
Flag of the Soviet Union อเล็กซาโดร วาสิเลฟสกี

Flag of the Empire of Japan เจ้าชายคังอิน โคะโตะฮิโตะ

Flag of the Empire of Japan ฮะจิเมะ สุงิยะมะ
Flag of the Empire of Japan ฮิเดกิ โตโจ
Flag of the Empire of Japan โยะชิจิโร อุเมะซุ
Flag of the Empire of Japan โอะซะมิ นะงะโนะ
Flag of the Empire of Japan ชิเงะทะโร ชิเมะดะ
Flag of the Empire of Japan โคะชิโร โอะอิคะวะ
Flag of ประเทศแมนจูกัว จาง จิงฮุ่ย
Flag of ไทย แปลก พิบูลสงคราม
1931 Flag of India.svg สุภาษจันทระ โพส

สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก (อังกฤษ: Pacific War) หรือ สงครามมหาเอเชียบูรพา (อังกฤษ: The Greater East Asia War; ญี่ปุ่น : 大東亜戦争, Dai Tō-A Sensō) เป็นสงครามที่เกิดขึ้นบริเวณน่านน้ำและหมู่เกาะในมหาสมุทรแปซิฟิก และบางส่วนของทวีปเอเชียระหว่างวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 เมื่อจักรวรรดิญี่ปุ่นยกทัพบุกประเทศจีน และได้รับการตอบโต้จากฝ่ายสัมพันธมิตร โดยบางครั้ง สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกนับตั้งแต่วันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ. 1941 เมื่อญี่ปุ่นโจมตีฐานทัพเรือเพิร์ลฮาร์เบอร์ จนถึงวันที่ 14 สิงหาคม ค.ศ. 1945 ซึ่งเป็นวันที่ญี่ปุ่นประกาศยอมแพ้สงครามอย่างไม่เป็นทางการแทน

สงครามมหาเอเชียบูรพาเป็นส่วนหนึ่งของสงครามโลกครั้งที่สอง ซึ่งเป็นเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นหลังจากกองทัพเยอรมันบุกเข้าโปแลนด์เมื่อวันที่ 1 กันยายน ค.ศ. 1939 เป็นจุดเริ่มต้นของสงครามโลกครั้งที่สองในทวีปยุโรป ทางด้านในทวีปเอเชีย ญี่ปุ่นเริ่มนโยบายชาตินิยมโดยใช้คำขวัญที่ว่า "เอเชียเพื่อชาวเอเชีย" (Asia for Asiatics) วันที่ 3 พฤศจิกายน 2481[1] ได้ประกาศนโยบาย "การจัดระเบียบใหม่ในเอเชียตะวันออกและการสร้างวงไพบูลย์ร่วมแห่งมหาเอเชียบูรพา" (อังกฤษ: New order in East Asia and the Greater East Asia Co-Prosperity Sphere) และให้ความร่วมมือกับฝ่ายอักษะ โดยมีเป้าหมายยึดครองประเทศจีนและประเทศในเอเชียอันตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก

เนื้อหา

[แก้] การตั้งชื่อ

ในกลุ่มประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร สงครามมหาสมุทรแปซิฟิกไม่ได้ถือว่าแยกออกจากสงครามโลกครั้งที่สองมากนัก และเป็นที่รู้จักกันในชื่อง่าย ๆ ว่า "สงครามต่อต้านญี่ปุ่น" ในสหรัฐอเมริกา คำว่า "ยุทธบริเวณแปซิฟิก" เป็นคำที่ใช้กันอย่างแพร่หลาย แม้ว่าทางเทคนิคแล้ว ยุทธบริเวณดังกล่าวจะไม่รวมไปถึงจีนหรือเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ส่วนพื้นที่เหล่านี้จะอยู่ในเขตปฏิบัติการจีน พม่า อินเดียแทน

ส่วนทางด้านญี่ปุ่นใช้คำว่า "สงครามมหาเอเชียบูรพา" (ญี่ปุ่น: Greater East Asia War 大東亜戦争 Dai Tō-A Sensō ?) ซึ่งถูกเลือกจากคณะรัฐมนตรีของญี่ปุ่นในวันที่ 10 ธันวาคม ค.ศ. 1941 โดยเป็นคำที่หมายถึงทั้งสงครามกับชาติตะวันตกและสงครามกับจีน ชื่อดังกล่าวได้รับการเผยแพร่สู่สาธารณชนในวันที่ 12 ธันวาคม ด้วยเหตุผลที่ต้องการปลดปล่อยชาติเอเชียจากการยึดครองของชาติตะวันตก ส่วนนายทหารญี่ปุ่นได้แบ่งสงครามครั้งนี้ โดยเรียกว่า "สงครามศักดิ์สิทธิ์" (ญี่ปุ่น: Holy War 聖戦 Seisen ?) ในประเทศจีน หรือ "มหาสงครามเอเชียบูรพา" ในมหาสมุทรแปซิฟิก

ระหว่างการยึดครองญี่ปุ่น คำดังกล่าวถูกลบออกไปจากเอกสารทางการ สงครามดังกล่าวถูกบันทึกในชื่อว่า "สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก" (ญี่ปุ่น: Pacific War 太平洋戦争 Taiheiyō Sensō ?) หรือบ้างก็เรียกว่า "สงครามสิบห้าปี" (ญี่ปุ่น: Fifteen Year War 十五年戦争 Jūgonen Sensō ?) ซึ่งหมายถึง สงครามกับจีนนับตั้งแต่เหตุการณ์กรณีมุกเดน ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1931 จนถึงปี ค.ศ. 1945

[แก้] ผู้เข้าร่วมรบ

ประเทศสมาชิกฝ่ายอักษะที่สำคัญที่มีส่วนร่วมในสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก คือ จักรวรรดิญี่ปุ่น ส่วนไทยซึ่งได้เข้าร่วมกับฝ่ายอักษะในปี ค.ศ. 1942 ได้ส่งกองกำลังไปยึดครองดินแดนทางตะวันออกเฉียงเหนือของพม่า นอกจากนี้ยังมี แมนจูกัว ซึ่งเป็นรัฐบาลหุ่นเชิดของญี่ปุ่น ตั้งอยู่ทางตอนเหนือของจีน และคณะรัฐบาลหวาง จิงเว่ย ซึ่งตั้งอยู่ริมชายฝั่งทะเลของจีน ซึ่งญี่ปุ่นได้เกณฑ์เอาทหารจากอาณานิคมเกาหลีและเกาะฟอร์โมซาของตน นอกจากนี้ ยังมีกองกำลังขนาดเล็กกว่า อย่างเช่น วิชีฝรั่งเศส กองทัพแห่งชาติอินเดียและกองทัพแห่งชาติพม่า รวมไปถึงกองทัพเรือของนาซีเยอรมนีและอิตาลีบางส่วน ซึ่งมีขอบเขตปฏิบัติการในมหาสมุทรแปซิฟิกและมหาสมุทรอินเดีย

ส่วนประเทศสมาชิกฝ่ายสัมพันธมิตร เช่น สหรัฐอเมริกา (รวมไปถึงกองกำลังจากเครือจักรภพฟิลิปปินส์) จีน สหราชอาณาจักร (รวมไปถึงกองกำลังจากบริติชอินเดีย) ออสเตรเลีย เนเธอร์แลนด์ นิวซีแลนด์ แคนาดา เม็กซิโก ฝรั่งเศสเสรี และอื่น ๆ

ส่วนทางด้านสหภาพโซเวียตได้ทำการรบเป็นช่วงเวลาสั้น ๆ ระหว่างความขัดแย้งตามแนวชายแดนกับประเทศญี่ปุ่น ระหว่างปี ค.ศ. 1938 กับปี ค.ศ. 1939 และยังคงความเป็นกลางของตนอยู่จนกระทั่งปลายสงคราม โดยโจมตีแมนจูกัว คาบสมุทรเกาหลี มองโกเลียในและหมู่เกาะซัคคาลิน

[แก้] ลำดับเหตุการณ์

[แก้] ความขัดแย้งระหว่างจีนและญี่ปุ่น

การแบ่งขุนศึกในประเทศจีน ปี ค.ศ. 1925

รากเหง้าของปัญหาเริ่มขึ้นตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 ขณะที่จีนยังคงอยู่ในวิกฤตการณ์ทางการเมือง และญี่ปุ่นได้มีการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าอย่างรวดเร็ว ต่อมา เมื่อถึงตอนต้นของคริสต์ศตวรรษที่ 20 ญี่ปุ่นได้ผนวกเอาดินแดนเกาหลีและขยายอิทธิพลทางการเมืองและเศรษฐกิจเข้าสู่ประเทศจีน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง แมนจูเรีย โดยในขณะนั้น จีนได้แบ่งแยกออกเป็นขุนศึก เนื่องจากรัฐบาลกลางที่อ่อนแอและขาดประสิทธิภาพ

รัฐบาลจีนไม่อาจต่อต้านความต้องการของญี่ปุ่นซึ่งดูเหมือนว่าจะเปลี่ยนแปลงไปเมื่อถึงปลายคริสต์ทศวรรษ 1920 ในปี ค.ศ. 1927 จอมทัพเจียง ไคเช็คและกองทัพปฏิวัติแห่งชาติแห่งพรรคก๊กมินตั๋งซึ่งได้นำสงครามนอกประเทศทางเหนือ เจียง ไคเช็คสามารถปราบขุนศึกทางตอนกลางและตอนใต้ของจีนได้ และได้รับการสวามิภักดิ์จากจาง เซวเหลียง ผู้เป็นขุนศึกที่ครอบครองดินแดนแมนจูเรีย ซึ่งได้นำไปสู่การรวมชาติจีนในปี ค.ศ. 1928 ทางด้านญี่ปุ่นซึ่งคาดว่าจีนจะแข็งแกร่งขึ้นภายใต้รัฐบาลเดียว ญี่ปุ่นจึงดำเนินการตามแผนการกรณีมุกเดน ในปี ค.ศ. 1931 ถูกใช้เป็นข้ออ้างในการรุกรานแมนจูเรีย และก่อตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดแมนจูกัว โดยยกเอาจักรพรรดิผู่อี๋ขึ้นเป็นผู้นำของแมนจูกัว

ทหารญี่ปุ่นรุกรานจีนในกรณีมุกเดน

เป้าหมายในการยึดครองจีนของญี่ปุ่น คือ การครอบครองทรัพยากรธรรมชาติ และการจัดตั้งรัฐบาลหุ่นเชิดในจีนซึ่งจะเอื้อต่อประโยชน์ของญี่ปุ่น ถึงแม้ว่าการกระทำของญี่ปุ่นจะดูไม่เหมาะสมระหว่างชาติอาณานิคมตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 19 ในปี ค.ศ. 1930 หลักการสิบสี่ข้อของประธานาธิบดีวูดโรว์ วิลสัน ได้กล่าวถึงการใช้กำลังทหารในการสนับสนุนลัทธิจักรวรรรดินิยมว่าเป็นการไม่เหมาะสมในประชาคมนานาชาติ

การกระทำของญี่ปุ่นในแมนจูเรียถูกวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวาง และนำไปสู่การถอนตัวออกจากสันนิบาติชาติ ระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1930 จีนและญี่ปุ่นยังคงทำอะไรกันไม่ได้ ส่วนทางด้านเจียง ไคเช็คได้มุ่งความสนใจของเขาไปยังการทำลายพรรคคอมมิวนิสต์จีน ซึ่งเขาประเมินว่าเป็นอันตรายที่สำคัญยิ่งกว่าภัยจากญี่ปุ่น อิทธิพลของลัทธิชาตินิยมในจีนทำให้แผนยุทธศาสตร์ดังกล่าวไม่อาจหลีกเลี่ยงได้

ถึงแม้ว่ารัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์จะได้ร่วมมือกันระหว่างสงครามนอกประเทศทางเหนือ ระหว่างปี ค.ศ. 1930-1934 แต่หลังจากนั้นเป็นต้นมา รัฐบาลกลางและพรรคคอมมิวนิสต์ได้เข้าสู่ความขัดแย้งโดยตรง ฝ่ายญี่ปุ่นได้ฉวยโอกาสในการต่อสู้ภายในของจีน และยกพลขึ้นบกที่เซี่ยงไฮ้ในปี ค.ศ. 1932

ขณะเดียวกัน ในประเทศญี่ปุ่น นโยบายการลอบสังหารโดยสมาคมลับและผลของภาวะเศรษฐกิจตกต่ำครั้งใหญ่ได้ทำให้คณะรัฐบาลพลเรือนสูญเสียการควบคุมกำลังทหารในประเทศ นอกจากนั้น กองบัญชาการทหารสูงสุดก็สามารถควบคุมกองทัพภาคสนามซึ่งดำเนินการตามวัตถุประสงค์ของตนเอง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะตรงกันข้ามกับวัตถุประสงค์ของชาติ แต่ยังคงอยู่ในความปรารถนาของจักรพรรดิฮิโรฮิโต


ในปี ค.ศ. 1936 เจียง ไคเช็คถูกลักพาตัวโดยจาง เซวเหลียง เพื่อที่จะได้รับการปล่อยตัว เจียง ไคเช็คตกลงที่จะตั้งแนวร่วมกับพรรคคอมมิวนิสต์เพื่อที่จะต่อสู้กับญี่ปุ่น ต่อมา ได้เกิดเหตุการณ์สะพานมาร์โค โปโล เมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม ค.ศ. 1937 ซึ่งเป็นการกระตุ้นให้เกิดสงครามระหว่างสาธารณรัฐจีนกับจักรวรรดิญี่ปุ่น ถึงแม้ว่ารัฐบาลชาตินิยมกับพรรคคอมมิวนิสต์ได้ตกลงที่จะร่วมมือกันรบกับญี่ปุ่น แต่เหมา เจ๋อตุงปฏิเสธความต้องการของเจียง ไคเช็คในการบัญชาการทหารคอมมิวนิสต์ของเขา และยังคงตั้งเป้าหมายที่จะปฏิวัติสังคมของจีน ในปี ค.ศ. 1939 พรรคคอมมิวนิสต์มีทหาร 500,000 นายที่แยกเป็นเอกเทศจากรัฐบาลกลาง

นอกเหนือจากนั้น ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1930 ญี่ปุ่นได้ประสบความสำเร็จในการสร้างความเห็นของมวลชนในแง่ลบที่มีต่อชาติตะวันตก โดยเฉพาะอย่างยิ่ง สหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ทั้ง ๆ ที่ก่อนหน้านั้น ประชาชนญี่ปุ่นยังคงมีความเห็นเป็นกลางต่อสหรัฐอเมริกาอยู่ อย่างไรก็ตาม เหตุการณ์ปาเนย์ได้ทำให้ความเห็นของมวลชนอเมริกันเปลี่ยนเป็นต่อต้านญี่ปุ่นเช่นกัน

ในปี ค.ศ. 1939 กองทัพญี่ปุ่นพยายามที่จะขยายดินแดนไปทางภาคตะวันออกไกลของสหภาพโซเวียตจากแมนจูเรีย แต่กองทัพญี่ปุ่นปราชัยยับเยินในยุทธการขาลขินกอลโดยกองทัพผสมโซเวียต-มองโกเลียภายใต้การบัญชาการของนายพลกิออร์กี้ ชูคอฟ ทำให้ญี่ปุ่นยุติการขยายตัวไปยังดินแดนทางตอนเหนือ และทั้งสองประเทศได้ดำรงรักษาสันติภาพอันไม่มั่นคงจนกระทั่งถึงปี ค.ศ. 1945

[แก้] ความตึงเครียดระหว่างญี่ปุ่นกับมหาอำนาจตะวันตก

[แก้] ญี่ปุ่นโจมตีชาติตะวันตก

[แก้] ญี่ปุ่นขยายดินแดน

เมื่อญี่ปุ่นขยาย ญี่ปุ่นได้นำกองทัพจากดินแดนใหญ่เข้าโจมตีจีน ในขณะนั้นเมืองหลวงของจีนซึ่งอยู่ติดกับทะเลนามว่า"นานกิง"เป็นที่มาของสงครามนานกิงนั้นเองเป็นอันง่ายมากที่จะถูกโจมตี กองทัพญี่ปุ่น มีพลทหารประมาณ 3000 กว่านาย ส่วนกองทัพของจีนมี 100000กว่าคนด้วยความเสียขวัญกำลังใจ ที่ว่าขาดผู้นำ ในตอนนั้นนายกรัฐมนตรีของจีนได้ละทิ้งเมืองหลวงนี้ไป เมื่อขาดขวัญกำลังใจแล้ว กำลังพลย่อมไม่มีประโยชน์ทหารพร้อมชาวบ้านจีนกว่าแสนคนยอมจำนนต่อกองทัพญี่ปุ่น โฆษณาชวนเชื่อของญี่ปุ่นตอนนั้นคือ การส่งข้าวสารและความช่วยเหลืออย่างดีของนายทหาร แต่กลับไม่เป็นจริงเมื่อทหารญี่ปุ่นขึ้นบกมาพร้อมกับการกระหน่ำยิงผู้คนล้มตายไปหลายคนผู้หญิงชาวจีนถูกไล่ข่มขืน จนตาย ทหารจีนถูกนำไปยิงเป้าสารพัดวิธีนับว่าเป็นเหตุการณ์ที่หน้าสะเทือนขวัญเป็นอย่างยิ่ง

กล่าวถึ่งประเทศอื่นแถบอินโดทั้งหลาย ไม่ว่าจะเป็น ฟิลิปปินส์ ฯลฯ ต่างๆ ถูกยึดหมดรวมถึงไทย ฝ่ายสัมพันธมิตร จึงได้ส่งกองทัพ นับว่าส่วนใหญ่มักจะเป็นอเมริกาที่ส่งทหารไปรบ ต่อมาญี่ปุ่นประกาศสงครามความแค้น ด้วยการส่งเครื่องบิน F-zero พร้อมกับเครื่องบินทิ้งระเบิด ถล่มเพอร์ลฮาเบอร์จนกองทัพเรือเกียรติยศพร้อมทั้งเรือประจันบานจมและเสียหายไปมาก เครื่องบินกว่าพันลำ

ต่อมากองทัพอเมริกาได้ประกาศสงครามโจมตีแบบเต็มรูปแบบบุกยึดเกาะต่างๆที่เป็นป้อมปราการของญี่ปุ่นจนย่อยยับ กองทัพสุดท้ายของญี่ปุ่นที่เหลือในตอนนั้นคือ กองบิน"ดามิคาเซ่" จมเรือปะจันบาน สหรัฐได้ 10 กว่าลำ เสียหาย 9 ลำสุดท้ายญี่ปุ่นจำต้องยอมแพ้ เพราะอาวุธนิวเคลีย์ ของอเมริกา ทำให้ นางาซากิ และฮิโรชิมา เสียหายไปทั้งเมือง

[แก้] จุดเปลี่ยนของสงคราม

[แก้] ฝ่ายสัมพันธมิตรรุกกลับ

[แก้] ความพ่ายแพ้เริ่มปรากฏ

[แก้] ยุติสงคราม

[แก้] การยอมจำนน

[แก้] หลังสงครามโลกครั้งที่สอง

[แก้] ไทยกับสงครามมหาสมุทรแปซิฟิก

เส้นทางการโจมตีประเทศไทยของญี่ปุ่นในสงครามมหาเอเชียบูรพา

ก่อนสงครามโลกครั้งที่สอง รัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล จอมพล ป.พิบูลสงครามเป็นนายกรัฐมนตรี ประเทศไทยอยู่ภายใต้การปกครองของรัฐบาลทหาร ลัทธิชาตินิยมได้ถูกปลูกฝังในใจของประชาชนไทย

วันที่ 8 ตุลาคม ค.ศ. 1940 (พ.ศ. 2483) คณะนิสิตและนักศึกษาได้เดินขบวนและเรียกร้องให้รัฐบาลเรียกร้องดินแดนฝั่งขวาของแม่น้ำโขงคืนจากฝรั่งเศส ซึ่งเสียไปหลังวิกฤตการณ์ ร.ศ. 112[2] จากการสนับสนุนอย่างท่วมท้นของประชาชนไทย รัฐบาลจึงได้ส่งกองทัพข้ามแม่น้ำโขงไปโจมตีประเทศลาวและกัมพูชา ซึ่งขณะนั้นยังเป็นส่วนหนึ่งของอินโดจีนฝรั่งเศส[3] การรบที่เป็นที่กล่าวขานมาก คือ ยุทธนาวีเกาะช้าง[4] ซึ่งก็ทำให้เรือรบฝรั่งเศสไม่กล้าเข้ามาในอ่าวไทยอีก การสู้รบยังคงดำเนินต่อไป จนกระทั่งญี่ปุ่นเป็นผู้เข้ามาเป็นผู้ไกล่เกลี่ยในการเจรจาสงบศึก[4] และภายหลังสงครามไทย-ฝรั่งเศสสิ้นสุดเมื่อ พ.ศ. 2484 ไทยก็ได้ดินแดนเพิ่มเข้ามาอีก 4 จังหวัด คือ จังหวัดนครจัมปาศักดิ์ จังหวัดลานช้าง จังหวัดพิบูลสงครามและจังหวัดพระตะบอง เหตุการณ์ครั้งนี้ภายหลังได้ชื่อว่า "กรณีพิพาทอินโดจีน"

หลังสงคราม ได้เป็นที่คาดหมายว่า ญี่ปุ่นจะยาตราทัพเข้าสู่ไทยในอนาคต รัฐบาลของจอมพล ป. พิบูลสงครามจึงมีการรณรงค์ให้ประชาชนทำงาน ปลูกพืช เลี้ยงสัตว์ และเสริมสร้างเศรษฐกิจ โดยมีคำขวัญว่า "'งานคือเงิน เงินคืองาน บันดาลสุข" และรัฐบาลยังได้เปิดเพลงปลุกใจซึ่งถูกกระจายเสียงโดยสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย

วันที่ 8 ธันวาคม ค.ศ. 1941 (พ.ศ. 2484) กองทัพจักรวรรดิญี่ปุ่นได้ยกพลขึ้นบกในหลายจังหวัดของภาคกลางและภาคใต้ แต่ก็ได้รับการต้านทานอย่างหนักของทหารไทยและยุวชนทหาร[5] ทางด้านรัฐบาลได้รับคำขู่จากอัครราชทูตญี่ปุ่นให้เปิดดินแดน เนื่องจากมองเห็นว่ากองทัพไทยไม่อาจต้านกองทัพญี่ปุ่นไว้ได้นาน จึงยอมยุติการต่อสู้เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม[6] และได้ตกลงลงนามร่วมเป็นพันธมิตรของญี่ปุ่นเมื่อวันที่ 21 ธันวาคม ณ อุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม

ขณะเดียวกัน ในต่างประเทศ มีผู้ที่ไม่อาจยอมรับต่อการตัดสินใจของรัฐบาล หนึ่งในนั้น คือ ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมช ได้ประกาศขบวนการเสรีไทยขึ้นเมื่อวันที่ 12 ธันวาคม เนื่องจากท่านมีความเห็นว่าสหรัฐอเมริกามีขีดความสามารถทางอุตสาหกรรมและเทคโนโลยีสูงกว่า ทางด้านในประเทศเองก็มีบุคคลจากคณะราษฎรภายในประเทศไทยที่ดำเนินการต่อต้านญี่ปุ่นในทางลับ เช่น ปรีดี พนมยงค์ ซึ่งต่อมาได้เกิดเป็นขบวนการเสรีไทยทั้งในประเทศและต่างประเทศ[6]

ทางด้านฝ่ายสัมพันธมิตรก็เริ่มเข้ามาทิ้งระเบิดภายในพระนครเมื่อย่างเข้า ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) [7] หลังจากนั้น รัฐบาลไทยก็ประกาศสงครามกับฝ่ายสัมพันธมิตร เมื่อวันที่ 25 มกราคม ค.ศ. 1942 (พ.ศ. 2485) [8][9]

หลังจากญี่ปุ่นได้ยอมจำนนเมื่อ 15 สิงหาคม ค.ศ. 1945 (พ.ศ. 2488) นายควง อภัยวงศ์ซึ่งได้ขึ้นมาเป็นนายกรัฐมนตรีแทนจอมพล ป.พิบูลสงคราม ได้ออก "ประกาศสันติภาพ"[10] มีผลให้การประกาศสงครามของไทยต่อฝ่ายสัมพันธมิตรเป็นโมฆะ ทำให้ประเทศไทยไม่ตกอยู่ในฐานะผู้แพ้สงคราม แต่ทางฝ่ายอังกฤษไม่ยอมรับ และเรียกร้องสิทธิจากไทยในฐานะของผู้แพ้สงคราม นายควง อภัยวงศ์ได้ลาออกจากเก้าอี้นายกรัฐมนตรี และร้องขอให้ม.ร.ว.เสนีย์ ปราโมชขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีแทน ด้านม.ร.ว.เสนีย์ก็สามารถเจรจากับอังกฤษและสามารถตกลงกันได้ในที่สุด[11]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ International Military Tribunal for the Far East
  2. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 445
  3. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 447-449
  4. ^ 4.0 4.1 ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 449
  5. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 223,426
  6. ^ 6.0 6.1 ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 427
  7. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 434
  8. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 427-428
  9. ^ http://www.history.com/encyclopedia.do?articleId=226140
  10. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 429
  11. ^ ธนู แก้วโอภาส, เหตุการณ์สำคัญในศตวรรษที่ 20, ฝ่ายโรงพิมพ์ บริษัท ตภาตา พับลิเคชั่น จำกัด, 2549, หน้า 436
Nuvola apps agent.svg สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก เป็นบทความเกี่ยวกับ ทหาร การทหาร หรืออาวุธ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ สงครามมหาสมุทรแปซิฟิก ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:การทหาร