มหายุคพาลีโอโซอิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี
มหายุคพาลีโอโซอิก
542 - 251 ล้านปีมาแล้ว
ยุคในมหายุคพาลีโอโซอิก
 •  • 
-550 —
-500 —
-450 —
-400 —
-350 —
-300 —
-250 —


ลี




อิ
เวลาโดยประมาณในมหายุคพาลีโอโซอิก
สเกลของแกน: ล้านปีมาแล้ว

มหายุคพาลีโอโซอิก (อังกฤษ: Paleozoic Era; จากภาษากรีก palaio (παλαιο), "เก่าแก่" และ zoe (ζωη), "ชีวิต", หมายถึง "ชีวิตโบราณ")) เป็นมหายุคแรกสุดจาก 3 มหายุคในบรมยุคฟาเนอโรโซอิก ซึ่งเป็นยุคทางธรณีกาลของโลก ช่วงเวลาของมหายุคพาลีโอโซอิกอยู่ในช่วง 542-251 ล้านปีมาแล้ว และแบ่งย่อยออกเป็นหกยุคเรียงตามลำดับเก่า-ใหม่ ได้แก่ ยุคแคมเบรียน ยุคออร์โดวิเชียน ยุคไซลูเรียน ยุคดีโวเนียน ยุคคาร์บอนิเฟอรัส และ ยุคเพอร์เมียน

เนื้อหา

[แก้] ชีวิตในมหายุคพาลีโอโซอิก

ไตรโลไบต์แพร่พันธุ์มากที่สุดในช่วงตอนต้นของมหายุคพาลีโอโซอิกแต่ก็สูญพันธุ์ในช่วงยุคเพอร์เมียน

มหายุคพาลีโอโซอิกครอบคลุมช่วงเวลาตั้งแต่ช่วงที่มีการปรากฏตัวเป็นจำนวนมากของซากดึกดำบรรพ์เปลือกอ่อนนุ่ม จนถึงช่วงเวลาที่ทวีปรวมตัวเป็นทวีปขนาดใหญ่ ซึ่งสัมพันธ์กับช่วงที่มีการพัฒนาขึ้นของสัตว์เลื้อยคลานและพืชสมัยใหม่ ช่วงเริ่มต้นของมหายุคเริ่มตั้งแต่มีการกำเนิดขึ้นเป็นจำนวนมากของสิ่งมีชีวิตจำพวกไตรโลไบต์และ Archeocyathid ส่วนช่วงปลายมหายุคเกิดในช่วง 300 ล้านปีถัดจากช่วงเริ่มมหายุค เป็นช่วงที่มีการสูญพันธุ์ครั้งใหญ่ซึ่งรู้จักกันในชื่อการสูญพันธุ์เพอร์เมียน การเรียนการสอนสมัยใหม่กำหนดให้ช่วงปลายมหายุคคือช่วงที่มีการปรากฏตัวครั้งแรกของรอยซากดึกดำบรรพ์ (trace fossil) ที่มีลักษณะเฉพาะ เรียกว่า Trichophycus pedum

[แก้] ธรณีแปรสัณฐาน

ธรณีแปรสัณฐานเมื่อ 290 ล้านปีมาแล้ว

ทางธรณีวิทยา, มหายุคพาลีโอโซอิกเริ่มขึ้นไม่นานหลังจากการแยกของมหาทวีปที่ชื่อว่า แพนโนเทีย (Pannotia) และสิ้นสุดยุคน้ำแข็งของโลก ตลอดช่วงต้นมหายุคพาลีโอโซอิก แผ่นดินของโลกแยกออกเป็นทวีปเล็ก ๆ หลายทวีป จนกระทั่งสิ้นสุดมหายุค ทวีปต่าง ๆ เคลื่อนมารวมกันจนเป็นมหาทวีปที่มีชื่อว่าแพนเจีย ซึ่งประกอบด้วยพื้นดินส่วนใหญ่ของโลก

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิงและหนังสืออ่านเพิ่มเติม

Commons:Category
คอมมอนส์ มีภาพและสื่ออื่นๆ เกี่ยวกับ:
มหายุคพาลีโอโซอิก
บรมยุคโพรเทอโรโซอิก บรมยุคฟาเนอโรโซอิก
542 Ma - ปัจจุบัน
มหายุคพาลีโอโซอิก
542 Ma - 251 Ma
มหายุคมีโซโซอิก
251 Ma - 65 Ma
มหายุคซีโนโซอิก
65 Ma - ปัจจุบัน
แคมเบรียน ออร์โดวิเชียน ไซลูเรียน ดีโวเนียน คาร์บอนิเฟอรัส เพอร์เมียน ไทรแอสซิก จูแรสซิก ครีเทเชียส พาลีโอจีน นีโอจีน ควอเทอร์นารี
Jordens inre.svg บทความนี้เป็นบทความเกี่ยวกับ ธรณีวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ คุณสามารถช่วยแก้ไขเพิ่มเติมได้
เครื่องมือส่วนตัว
สิ่งที่แตกต่าง
การกระทำ
ป้ายบอกทาง
มีส่วนร่วม
พิมพ์/ส่งออก
เครื่องมือ
ภาษาอื่น