ราชวงศ์เหลียว

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ประวัติศาสตร์จีน
ประวัติศาสตร์จีน
ยุคโบราณ
ยุคห้านักปกครอง
ราชวงศ์เซี่ย 2100–1600 BCE
ราชวงศ์ซาง 1600–1046 BCE
ราชวงศ์โจว 1045–256 BCE
  ราชวงศ์โจวตะวันตก 1046–771 BCE
  ราชวงศ์โจวตะวันออก 771–256 BCE
   ยุคชุนชิว
   ยุคเลียดก๊ก
ยุคจักรวรรดิ
ราชวงศ์ฉิน 221 BCE–206 BCE
ราชวงศ์ฮั่น 206 BCE–220 CE
  ราชวงศ์ฮั่นตะวันตก
  ราชวงศ์ซิน
  ราชวงศ์ฮั่นตะวันออก
ยุคสามก๊ก 220–280
  เว่ย สู่ และ หวู
ราชวงศ์จิ้น 265–420
  จิ้นตะวันตก ยุคห้าชนเผ่าสิบหกแคว้น 304–439
  จิ้นตะวันออก
ราชวงศ์เหนือ-ใต้ 420–589
ราชวงศ์สุย 581–618
ราชวงศ์ถัง 618–907
  ( ราชวงศ์อู่โจว 690–705 )
ยุคห้าราชวงศ์สิบอาณาจักร
907–960
ราชวงศ์เหลียว
907–1125
ราชวงศ์ซ่ง
960–1279
  ราชวงศ์ซ่งเหนือ เซี่ยตะวันตก
  ราชวงศ์ซ่งใต้ จิน
ราชวงศ์หยวน 1271–1368
ราชวงศ์หมิง 1368–1644
ราชวงศ์ชิง 1644–1911
ยุคใหม่
สาธารณรัฐจีน 1912–1949
สาธารณรัฐประชาชนจีน (จีนแผ่นดินใหญ่) 1949–ปัจจุบัน
สาธารณรัฐจีน (ไต้หวัน)
1945–ปัจจุบัน
จัดการ: แม่แบบ  พูดคุย  แก้ไข

ราชวงศ์เหลียว (辽) สถาปนาขึ้นโดยชนเผ่าชิ่ตัน เดิมมีถิ่นฐานอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำเหลียวในมณฑลเหลียวหนิงและมองโกเลียใน ต่อมารุ่งเรืองขึ้นจนสามารถครอบครองดินแดนทางภาคเหนือของจีนเป็นเวลานานกว่าสองศตวรรษ โดยถือกำเนิดขึ้นในช่วงเวลาเดียวกับยุคห้าราชวงศ์ และสิ้นสุดไปพร้อมกับราชวงศ์ซ่งเหนือ

แม้ว่าในช่วงเวลาดังกล่าว ราชวงศ์เหลียวได้เปิดศึกสู้รบกับชาวฮั่นในดินแดนภาคกลางเป็นระยะเวลายาวนาน แต่ในด้านวัฒนธรรม การบริหารการปกครอง สังคมและเศรษฐกิจ ล้วนได้รับอิทธิพลจากชาวฮั่นอย่างลึกซึ้ง ยุคสมัยราชวงศ์์เหลียว ตรงกับรัชสมัยของพ่อขุนรามคำแหงมหาราช

เนื้อหา

[แก้] สร้างบ้านแปงเมือง

ปลายราชวงศ์ถัง เยลี่ว์อาเป่าจี รวบรวมชนเผ่าชิตันเป็นหนึ่งเดียว สถาปนาแคว้นชิตัน* ขึ้นในปี พ.ศ. 1459 จากนั้นปรับปรุงบ้านเมืองขนานใหญ่ คิดประดิษฐ์ตัวอักษรชี่ตัน สร้างเมืองหลวงใหม่ที่เมืองหวงตู (ภายหลังเปลี่ยนชื่อเป็นซ่างจิง ปัจจุบันอยู่ในเขตปาหลินจั่วฉีของมองโกเลียใน ปี พ.ศ. 1469 ผนวกแคว้นป๋อไห่ (อาณาจักรพาลแฮ - ปัจจุบันคือส่วนหนึ่งของมณฑลเหลียวหนิง เฮหลงเจียงและเกาหลีเหนือ) รวมแผ่นดินภาคเหนือเข้าด้วยกัน ปี 1469 เยลี่ว์อาเป่าจีสิ้นชีพลง เดิมอาเป่าจีแต่งตั้งเยลี่ว์ทูอี้ว์ บุตรชายคนโตเป็นรัชทายาท แต่ฮองเฮาสู้ลี่ว์ และข้าราชสำนักต่างให้การสนับสนุนเยลี่ว์เต๋อกวง บุตรชายรองที่มีความสามารถด้านการทหารขึ้นครองบัลลังก์แทน บีบคั้นให้เยลี่ว์ทูอี้ว์ต้องลี้ภัยยังราชสำนักโฮ่วถัง จักรพรรดิเหลียวไท่จง(ปี พ.ศ. 1469 – พ.ศ. 1490) สานต่อแนวนโยบายของบิดา โดยใช้หลักการปกครองตาม ‘ประเพณีท้องถิ่นนิยม’ โดยจัดแบ่งข้าราชสำนักออกเป็นฝ่ายเหนือกับฝ่ายใต้ ฝ่ายเหนือเป็นข้าราชการชิ่ตันปกครองดูแลชนเผ่าชิ่ตันและชนเผ่าปศุสัตว์อื่นๆ โดยใช้ระเบียบปกครองของชนเผ่า ส่วนฝ่ายใต้มีทั้งข้าราชการชาวฮั่นและชิ่ตัน ปกครองดูแลชาวฮั่นและป๋อไห่ ที่โดยมากทำการเกษตรอยู่ทางตอนใต้และตะวันออกของแคว้น โดยใช้ระเบียบการปกครองตามแบบอย่างราชวงศ์ถังนอกจากนี้ เยลี่ว์เต๋อกวงยังศึกษาทางด้านวัฒนธรรมความเป็นอยู่ของชาวฮั่น ทั้งให้ความสนใจต่อการพัฒนาด้านการเกษตร ทำให้สภาพเศรษฐกิจและขุมกำลังของชิ่ตันเจริญรุดหน้าเข้มแข็งขึ้น ไม่นาน เยลี่ว์เต๋อกวงก็สบโอกาสขยายอิทธิพลเข้าสู่ภาคกลาง ปี 1479 ชิ่ตันยื่นมือเข้าช่วยเหลือสือจิ้งถังล้มล้างราชวงศ์โฮ่วถัง(หนึ่งในห้าราชวงศ์) สถาปนาโฮ่วจิ้นโดยได้รับมอบดินแดนแถบเหอเป่ยและซันซี 16 เมือง(ปัจจุบันได้แก่ ปักกิ่งและต้าถง) อีกทั้งบรรณาการประจำปีเป็นการตอบแทน แต่เมื่อสือจิ้งถังสิ้นชีวิตลง ผู้สืบบัลลังก์ของสือจิ้งถังต้องการแยกตัวเป็นอิสระ กองทัพชิ่ตันก็บุกเข้าเมืองหลวงไคฟง ล้มล้างราชวงศ์โฮ่วจิ้นเป็นผลสำเร็จ แต่เนื่องจากกองทัพชิ่ตันไม่ได้จัดกองเสบียงสนับสนุน ทหารจึงต้องออกปล้นสะดมแย่งชิงเสบียงราษฎรตลอดเส้นทางที่ผ่าน เป็นเหตุให้ประชาชนลุกฮือขึ้นต่อต้านอย่างรุนแรง กองทัพชิตันได้แต่ล่าถอยกลับภาคเหนือ

[แก้] มรสุมแย่งชิงทางการเมือง

ปี 1490 ระหว่างการถอนกำลังกลับภาคเหนือ เยลี่ว์เต๋อกวงสิ้นพระชนม์กะทันหันในแดนเหอเป่ย ขณะที่กองทัพไม่อาจขาดผู้นำได้ ดังนั้นบรรดานายทัพจึงสนับสนุนให้เยลี่ว์หร่วน บุตรชายของเยลี่ว์ทูอี้ว์รัชทายาทองค์ก่อน ซึ่งร่วมรบอยู่ในกองทัพด้วยกันขึ้นเป็นผู้นำคนใหม่ ทรงพระนามว่าเหลียวซื่อจง (ปี 1490 – 1494)ทว่า ภายในราชสำนักเหลียว ซู่ลี่ว์ไทเฮาที่สนับสนุนหลี่หู น้องชายของเยลี่ว์เต๋อกวงเป็นผู้สืบทอดบัลลังก์ เมื่อทราบข่าวก็ส่งหลี่หูนำทัพมาแย่งชิงอำนาจกลับคืน แต่หลี่หูพ่ายแพ้ สองฝ่ายจึงต้องหันมาเจรจากันสุดท้ายแม้ว่าทั้งสองฝ่ายตกลงให้ทายาทของทั้งสองสายสลับกันขึ้นเป็นผู้นำ โดยซู่ลี่ว์ไทเฮายอมรับให้ ‘พระนัดดา’เหลียวซื่อจงครองราชย์ต่อไป แต่กระแสการแย่งชิงอำนาจภายในราชสำนักเหลียวยังไม่หมดสิ้นไป เหลียวซื่อจงใช้มาตรการรุนแรงในการกำจัดศัตรูทางการเมืองอย่างเด็ดขาด ทั้งให้การสนับสนุนชาวฮั่นอย่างมาก สร้างความไม่พอใจให้กับชนชั้นสูงของชนเผ่า เป็นเหตุให้มีผู้คิดก่อการโค่นล้มราชบัลลังก์หลายครั้ง แต่สุดท้ายก็ถูกปราบราบคาบลงจนกระทั่งปี 1494 ราชวงศ์โฮ่วโจวแทนที่โฮ่วฮั่น หลิวฉงทายาทราชวงศ์โฮ่วฮั่นแยกตัวออกมาสถาปนาแคว้นเป่ยฮั่น จากนั้นหันมาสวามิภักดิ์ต่อราชวงศ์เหลียว เพื่อขอให้เหลียวส่งกำลังคุ้มครอง เหลียวซื่อจงคิดฉวยโอกาสนี้รุกเข้าภาคกลางอีกครั้ง จึงนำทัพลงใต้มา แต่แล้วระหว่างทางเกิดเหตุกบฏขึ้น เหลียวซื่อจงถูกสังหาร หลังจากปราบกบฏลงได้ นายทัพทั้งหลายต่างยกให้เยลี่ว์จิ่ง บุตรชายของเยลี่ว์เต๋อกวงขึ้นเป็น เหลียวมู่จง กษัตริย์องค์ต่อไปเหลียวมู่จง(ปี 1494 – 1512) แม้ขึ้นครองราชย์ แต่ภายในยังมีการแย่งชิงระหว่างพี่น้อง มีการก่อหวอดและกวาดล้างทางการเมืองหลายครั้ง การปกครองภายในล้มเหลว บ้านเมืองอ่อนแอลง ในเวลาเดียวกัน ภาคกลางเกิดการผลัดแผ่นดิน ราชวงศ์ซ่ง เข้าแทนที่ราชวงศ์โฮ่วโจว ซ่งไท่จู่เจ้ากวงยิ่นเห็นเป็นโอกาสรวมแผ่นดินทางภาคใต้ก่อน ต่อเมื่อหันกลับมาอีกครั้ง สถานการณ์ทางภาคเหนือก็เปลี่ยนไป

[แก้] สัญญาสงบศึก

ปี พ.ศ. 1512 เหลียวมู่จงถูกลอบสังหาร เยลี่ว์เสียน บุตรชายของเหลียวซื่อจงจากสายรัชทายาทองค์โตขึ้นครองราชย์ต่อมา ทรงพระนามว่า จักรพรรดิเหลียวจิ่งจง (ปี พ.ศ. 1512 – พ.ศ. 1525) จากนี้ไป จนถึงรัชกาลจักรพรรดิเหลียวเซิ่งจง (พ.ศ. 1526 – พ.ศ. 1574) เมื่อผ่านการปฏิรูปครั้งใหญ่ เปลี่ยนผ่านสังคมสู่วัฒนธรรมแบบฮั่น ก็เข้าสู่ยุคทองของราชวงศ์เหลียวตลอดรัชกาลเหลียวจิ่งจงมีสุขภาพอ่อนแอ เซียวฮองเฮาจึงเข้าดูแลราชกิจแทนทั้งหมด ปี พ.ศ. 1522 ซ่งไท่จงแห่งราชวงศ์ซ่งผนวกแคว้นเป่ยฮั่นเข้ากับภาคกลางเป็นผลสำเร็จ ต่อมาไม่นาน เหลียวจิ่งจงสิ้นพระชนม์ โอรสวัย 12 ขวบเยลี่ว์หลงซี่ว์ ขึ้นครองราชย์ต่อมา เป็นเหลียวเซิ่งจง ภายใต้การดูแลของเซียวไทเฮา (พ.ศ. 1496 – พ.ศ. 1552) ระหว่างนี้ ราชวงศ์ซ่งและเหลียวต่างเปิดศึกปะทะกันหลายครั้ง แต่ไม่อาจเอาชนะกันได้ การศึกในช่วงเวลาดังกล่าว เป็นที่รู้จักกันแพร่หลายจากตำนานวีรกรรมอันลือลั่นของขุนศึกตระกูลหยาง ปี 1533 ดินแดนทางภาคตะวันตก (มณฑลซ่านซีในปัจจุบัน) เกิดอาณาจักรใหม่สถาปนาขึ้นในนาม ซีเซี่ย โดย หลี่จี้เชียน (พ.ศ. 1506 – พ.ศ. 1547) ** ผูกมิตรกับราชวงศ์เหลียว ราชวงศ์ซ่งต้องเผชิญกับการคุกคามจากศึกทั้งสองด้าน เมื่อถึงปี พ.ศ. 1547 หลังจากสู้ศึกครั้งแล้วครั้งเล่า ราชวงศ์ซ่งเหนือกับเหลียวก็บรรลุข้อตกลงร่วมกันที่ฉานหยวน (ปัจจุบันคือเมืองผูหยางมณฑลเหอหนาน) โดยซ่งเหนือยินยอมจัดส่งบรรณาการให้เหลียวทุกปี เพื่อแลกกับข้อตกลงไม่ให้เหลียวยกกองกำลังมาปล้นสะดมราษฎรแถบชายแดนภาคเหนืออีก ขณะที่ซ่งเหนือก็ต้องยอมละทิ้งความต้องการที่จะช่วงชิงเมืองปักกิ่งและต้าถงที่เคยเสียไปกลับคืนมา ข้อตกลงดังกล่าวแลกมาซึ่งความสงบสุขของดินแดนภาคเหนือเป็นเวลาร้อยกว่าปี ทั้งมีส่วนสำคัญต่อการพัฒนาทางเศรษฐกิจ สังคมและการผสมผสานวัฒนธรรมชนเผ่ากับดินแดนภาคกลางในเวลาต่อมา

[แก้] สู่เส้นทางล่มสลาย

ปี พ.ศ. 1552 หลังจากเซียวไทเฮาปล่อยวางภารกิจทั้งมวล โดยส่งมอบอำนาจให้กับเหลียวเซิ่งจง จากนั้นไม่นานก็สิ้นพระชนม์ลง เหลียวเซิ่งจงปกครองเหลียวต่อมาถึงปี พ.ศ. 1574 ก็สิ้นพระชนม์ ถือเป็นยุคที่ราชวงศ์เหลียวเจริญรุ่งเรืองถึงสูงสุด สภาพสังคมเจริญรอยตามอารยธรรมของชาวฮั่นอย่างสมบูรณ์ รัชสมัยเหลียวซิ่งจง และเหลียวเต้าจง ในยุคต่อมา เกิดการแย่งชิงอำนาจในราชสำนักเหลียวเป็นระลอเมื่อถึงปี พ.ศ. 1618 ภายหลังการก่อการของเยลี่ว์อี่ซิน กับจางเสี้ยวเจี๋ย รัชทายาทถูกสังหาร เกิดการกวาดล้างทางการเมืองขนานใหญ่ บ้านเมืองอยู่ในสภาพคลอนแคลนอย่างหนัก กลุ่มชนเผ่าทางเหนือพากันลุกฮือขึ้นก่อหวอดเป็นระยะ ทรัพย์สินในท้องพระคลังและกำลังทหารสูญสิ้นไปกับการปราบปรามกลุ่มกบฏ จวบจนปี พ.ศ. 1644 เหลียวเต้าจงล้มป่วยเสียชีวิต เทียนจั้วตี้ ขึ้นครองราชย์ต่อมา ขณะที่กองกำลังของชนเผ่าหนี่ว์เจิน ที่อยู่ตามแถบชายแดนเหลียว ภายใต้การนำของหวันเหยียนอากู่ต่า มีกำลังแข็งกล้าขึ้น เกิดการลุกฮือขึ้นที่แดนป๋อไห่ทางตะวันออกของเหลียว หลังจากเอาชนะกองทัพเหลียวที่ส่งมาปราบลงได้แล้ว อากู่ต่าก็สถาปนาแคว้นจินหรือกิม ขึ้นในปี พ.ศ. 1658 จากนั้นบุกยึดแดนเหลียวตงฝั่งตะวันออก และเมืองสำคัญของเหลียวจนหมดสิ้น (รวมทั้งปักกิ่งและต้าถง) เทียนจั้วตี้ได้แต่หลบนีไปทางตะวันตก แต่ถูกจับได้ในที่สุด ราชวงศ์เหลียวล่มสลาย


  • ชื่อแคว้นและชื่อราชวงศ์เป็นชื่อเดียวกัน แต่มีการปรับเปลี่ยนชื่อหลายครั้ง อาทิ ในปี พ.ศ. 1481 ชิ่ตันสถาปนาดินแดน 16 เมืองที่ได้รับมอบเป็นต้าเหลียว ปี พ.ศ. 1490 ล้มล้างราชวงศ์โฮ่วจิ้นสถาปนาราชวงศ์ต้าเหลียวขึ้นที่เมืองไคฟง จากนั้นปี พ.ศ. 1526 ใช้ชื่อชิ่ตัน ถึงปี พ.ศ. 1609 กลับมาใช้ชื่อแคว้นเหลียวอีกครั้ง


    • เป็นชนเผ่าตั่งเซี่ยง หลี่จี้เชียน เป็นชื่อในภาษาฮั่น ใช้แซ่ตามราชวงศ์ในภาคกลางเพื่อแสดงความจงรักภักดี ภายหลังเปลี่ยนมาใช้แซ่เจ้า ตามราชวงศ์ซ่ง
ประวัติศาสตร์ ราชวงศ์เหลียว เป็นบทความเกี่ยวกับ ประวัติศาสตร์ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ราชวงศ์เหลียว ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ประวัติศาสตร์