ธนาคารไทยพาณิชย์

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) (อังกฤษ: Siam Commercial Bank Public Company Limited) เป็นธนาคารของคนไทยแห่งแรกก่อตั้งโดยพระบรมราชานุญาตในปี พ.ศ. 2449

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ธนาคารไทยพาณิชย์ สำนักงานใหญ่ รัชโยธิน

กิจการของธนาคารเริ่มต้นขึ้นในนาม “บุคคลัภย์” (Book Club) ในวันที่ 4 ตุลาคม 2447 ก่อตั้งโดย พระบรมวงศ์เธอ กรมหมื่นมหิศรราชหฤทัย ซึ่ง ณ ขณะนั้น ทรงเชื่อว่าสยามประเทศมีความจำเป็นต้องมีระบบการเงินธนาคารเพื่อรองรับการเติบโตทางด้านเศรษฐกิจการเงินของประเทศ หลังจากการขยายตัวทางธุรกิจของ “บุคคลัภย์” (Book Club) พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานอำนาจพิเศษให้จัดตั้ง “บริษัทแบงก์สยามกัมมาจล ทุนจำกัด” เพื่อประกอบธุรกิจธนาคารพาณิชย์ได้อย่างเป็นทางการ นับตั้งแต่วันที่ 30 มกราคม 2449 เป็นต้นมา

[แก้] ลำดับเหตุการณ์สำคัญ

2449-2475 ก่อรากฐานธนาคารไทย

  • 2449: ธนาคารเปิดทำการที่ตำบลบ้านหม้อ กรุงเทพฯ (ที่ทำการเดิมของ บุคคลัภ)
  • 2453: ย้ายสำนักงาน ไปยัง ตลาดน้อย
  • 2455: ธนาคารเปิดสาขาแห่งแรก ที่ย่านท่าน้ำราชวงศ์ ตำบลสำเพ็ง เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม
  • 12 สิงหาคม 2463: ธนาคารเปิดสาขาในภูมิภาคแห่งแรก คือ สาขาทุ่งสง ที่อำเภอทุ่งสง จังหวัดนครศรีธรรมราช (ปัจจุบันคืออาคารคลังพัสดุ ในย่านสถานีชุมทางทุ่งสง)
  • 1 มกราคม พ.ศ. 2470: ธนาคารเปิดสาขาในภูมิภาคแห่งที่สอง คือ สาขาเชียงใหม่ ข้างโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ ซึ่งอยู่หน้าสถานีเชียงใหม่
  • 2473: ธนาคารเปิดสาขาในภูมิภาคแห่งที่สาม คือ สาขาลำปาง ซึ่งเป็นสขาภูมิภาคที่เก่าแก่ที่สุดซึ่งยังใช้งานถึงทุกวันนี้

2475-2500 มุ่งมั่นฝันฝ่าอุปสรรค

  • 2476: ย้ายที่ทำการ สถานีเชียงใหม่ ออกจาก ที่เดิม ข้างโรงแรมรถไฟเชียงใหม่ หลังซื้อที่ สำหรับตั้งสาขาในตัวเมืองเชียงใหม่ได้แล้ว
  • 27 มกราคม 2482: ธนาคารเปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษจาก “The Siam Commercial Bank Limited” เป็น “The Thai Commercial Bank, Limited” และเปลี่ยนชื่อภาษาไทยจาก “แบงก์สยามกัมมาจล” เป็น “ธนาคารไทยพาณิชย์” และในปี 2489 ธนาคารได้เปลี่ยนชื่อภาษาอังกฤษกลับมาเป็น “The Siam Commercial Bank, Limited”
  • 1 กุมภาพันธ์ 2485: นายเล้ง ศรีสมวงศ์ เป็นคนไทยคนแรกที่ดำรงตำแหน่งผู้จัดการใหญ่ของ ธ.ไทยพาณิชย์
  • 2486: ธนาคารเปิดสาขาในภูมิภาคแห่งที่สี่ที่นครราชสีมา เพื่อบริการพ่อค้าประชาชนชาวอีสาน

2500-2516 หนุนเนื่องเมืองไทยพัฒนา

  • 15 ตุลาคม 2505: ธนาคารเริ่มใช้เครื่องลงบัญชี Post-Tronic ซึ่งเป็นระบบอิเล็กทรอนิกส์ที่นับว่าทันสมัย ในการลงบัญชีเดินสะพัด
  • 2516: ธนาคารเริ่มรับพนักงานสตรีเข้าปฏิบัติงาน

2516-2531 แผ่สาขาล้ำหน้านวัตกรรม

  • 2525: ธนาคารไทยพาณิชย์เป็นธนาคารแรกที่ให้บริการฝาก-ถอนต่างสาขากับบัญชีเงินฝากครบทุกประเภท
  • 24 มีนาคม 2526: ธนาคารนำเครื่องบริการเงินด่วน ATM (Automatic Teller Machine) มาให้บริการเป็นครั้งแรกและรายแรกของประเทศไทย
  • 2531 ธนาคารมีขนาดสินทรัพย์เกินหนึ่งแสนล้านบาท ณ สิ้นปี 2531 (โดยมีสินทรัพย์รวม 103,298.1 ล้านบาท)

2531-2540 ขยายธุรกิจ สร้างพันธมิตรสู่สากล

  • 2532–2535 ได้รับการยกย่อง จากนิตยสารการเงินธนาคารให้เป็น "ธนาคารแห่งปี" (Bank of the Year) ถึง 4 ปีซ้อน ในฐานะที่เป็นธนาคารพาณิชย์ที่มีผลงานเด่นสุดของการธนาคารพาณิชย์ไทย อย่างรอบด้าน และจากการขยายตัวของธนาคาร รวมทั้งการเตรียม พร้อมรองรับความเจริญในอนาคต
  • 19 กุมภาพันธ์ 2536: ธนาคารจดทะเบียนเป็นบริษัทมหาชนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย โดยมีชื่อธนาคารภาษาไทยคือ ธนาคารไทยพาณิชย์ จำกัด (มหาชน) และชื่อภาษาอังกฤษคือ Siam Commercial Bank Public Company Limited
  • 29 มกราคม 2539: ธนาคารย้ายที่ทำการจากชิดลมไปยังสำนักงานใหญ่แห่งใหม่ที่ SCB Park Plaza ถนนรัชดาภิเษก แขวงจตุจักร เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร

2541-2542 ก้าวกล้าฝ่ามรสุม

ผลจาก"ปัญหาเศรษฐกิจฟองสบู่"ได้ส่งผลต่อเนื่องต่อเศรษฐกิจของประเทศไทย แม้แต่การดำเนินงานของธุรกิจธนาคารพาณิชย์ต่างได้รับ ผลกระทบอย่างรุนแรง จากสภาวะเศรษฐกิจที่ซบเซาอย่างหนักและจากการดำเนินมาตรการที่เข้มงวดตามกรอบของ กองทุนการเงินระหว่างประเทศ (IMF)ซึ่งธนาคารไทยพาณิชย์ได้รับ ผลกระทบจากวิกฤตเศรษฐกิจอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้จึง ถือได้ว่ายุคนี้ เป็นยุคที่วิกฤตของ ธนาคารโดยมีปริมาณสินเชื่อด้อยคุณภาพ เพิ่มขึ้นตามลำดับธนาคารจึงมุ่งแก้ปัญหาที่เกิดขึ้น โดยการพยายามรักษาความพอเพียงของเงินกองทุนการปรับปรุงโครงสร้างหนี้ การปรับปรุงโครงสร้างองค์กร ของธนาคาร และการตัดทอนรายจ่ายต่างๆ ซึ่งได้รับความร่วมมือร่วมใจจากพนักงานของธนาคารอย่างดียิ่ง พร้อมทั้งการแก้ปัญหาในระยะยาว ของธนาคาร ด้วยการเพิ่มทุนที่สำเร็จลุล่วงด้วยดีทั้งการ เสนอขายหุ้นให้แก่ผู้ถือหุ้นเดิม ผู้ลงทุนในต่างประเทศ และการออกหุ้นกู้ที่ถือเป็นการขายหุ้นเพิ่มทุนครั้งใหญ่ที่สุดของไทยโดยได้รับการกล่าวถึงในฐานะ Equity Deal of the Year ในเอเชียจากวารสารการเงินหลายฉบับ

2542-ปัจจุบัน คุณภาพ คุณธรรม ส่องนำอนาคต

  • 2544: การดำเนินงานของธนาคารซึ่งดีขึ้นในทุกๆด้านเป็นผลจากการดำเนิน "โครงการปรับปรุงธนาคาร" อย่างต่อเนื่องและจริงจัง ตั้งแต่

พ.ศ.2544 เป็นต้นมา

  • 2549:

- ก้าวขึ้นเป็นธนาคารที่มีนาดสินทรัพย์เป็นอันดับ 3 โดยขนาดสินทรัพย์มีมูลค่าเกินหนึ่งล้านล้านบาท - มูลค่าตลาดรวมเพิ่มสูงเป็นอันดับหนึ่ง - เป็นอันดับหนึ่งด้านเครือข่ายและการให้บริการด้วยจำนวนสาขาและเครื่อง ATM ทั่วประเทศ

  • 30 มกราคม 2550: ธนาคารฉลองวันครบรอบ 100 ปี ของธนาคาร
  • 2553: เริ่มดำเนินการโครงการเสริมสร้างภาพลักษณ์ไทยพาณิชย์ โดยด้านอัตลักษณ์ได้ตัดเส้นพุ่งด้านขวาของตราธนาคารออก เหลือแต่ตราธนาคารสีเหลืองบนพื้นสีม่วง พร้อมคำว่า ไทยพาณิชย์ และ SCB เนื่องจากประชาชนรับรู้ถึงสัญลักษณ์นี้ดีแล้ว พร้อมกับออกแบบลายต้นโพธิ์และใบโพธิ์ใหม่ให้มีความเรียบง่ายและทันสมัยมากขึ้น โดยตราและอัตลักษณ์จะใช้ในเอกสารของธนาคาร ป้ายชื่อสาขา เว็บไซต์ และสื่อที่เกี่ยวข้องอื่นๆ[ต้องการอ้างอิง]

[แก้] กิจการที่เกี่ยวข้อง

[แก้] สายหลักทรัพย์

[แก้] สายประกันวินาศภัยและประกันชีวิต

[แก้] สายสินเชื่อและบัตรเครดิต

[แก้] ธนาคารในต่างประเทศ

[แก้] กิจการอื่นๆที่เกี่ยวข้อง

[แก้] กิจการในอดีต

[แก้] ผู้บริหาร

  • นายอานันท์ ปันยารชุน นายกกรรมการ
  • ดร. วิชิต สุรพงษ์ชัย ประธานกรรมการบริหาร
  • นางกรรณิกา ชลิตอาภรณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น

ภาษาอื่น