ตับ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ตับ
(Liver)
Leber Schaf.jpg
ตับของแกะ: (1) พูขวา (right lobe) , (2) พูซ้าย (left lobe) , (3) พูคอเดต (caudate lobe) , (4) พูควอเดรต (quadrate lobe) , (5) หลอดเลือดแดงตับและหลอดเลือดดำพอร์ทัล (6) ต่อมน้ำเหลืองตับ, (7) ถุงน้ำดี
Gray1224.png
ตับและอวัยวะใกล้เคียงภายในช่องท้อง
ละติน heday
Gray's subject #250 1188
หลอดเลือดแดง หลอดเลือดแดงตับ
หลอดเลือดดำ หลอดเลือดดำตับ, หลอดเลือดดำพอร์ทัล
เส้นประสาท ปมประสาทซิลิแอค, เส้นประสาทเวกัส
เจริญมาจาก foregut
MeSH Liver

ตับ เป็นอวัยวะที่พบในสัตว์ชนิดต่างๆ และมีบทบาทสำคัญในกระบวนการเมแทบอลิซึม รวมทั้งมีหน้าที่หลายประการในร่างกาย เช่นการสะสมไกลโคเจน การสังเคราะห์โปรตีนในพลาสมา การกำจัดพิษของยา และปฏิกิริยาทางชีวเคมีต่างๆมากมาย ตับยังจัดเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย โดยตับจะผลิตน้ำดี ซึ่งมีความสำคัญในกระบวนการย่อยอาหาร ในศัพท์ทางการแพทย์ คำที่มีความหมายเกี่ยวข้องกับตับจะขึ้นต้นด้วยคำว่า hepato- หรือ hepatic ซึ่งมาจากคำในภาษากรีก hepar ซึ่งหมายถึงตับ

เนื้อหา

[แก้] กายวิภาคศาสตร์

ตับของผู้ใหญ่ปกติจะมีน้ำหนักราว 1.3 ถึง 3.0 กิโลกรัม และมีจะลักษณะนุ่ม มีสีชมพูอมน้ำตาล ตับเป็นอวัยวะที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดเป็นอันดับสอง

พื้นผิวของตับจากทางด้านบน

รองจากผิวหนัง และเป็นต่อมที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย ตับจะวางตัวอยู่ทางด้านขวาบนของช่องท้อง และอยู่ใต้กะบังลม นอกจากนี้บางส่วนของตับยังวางอยู่บนกระเพาะอาหาร ปลายทางด้านซ้ายสุดของตับจะชี้ไปทางม้าม และบนพื้นผิวด้านหน้าของตับยังมีถุงน้ำดีวางตัวอยู่อีกด้วย

พื้นผิวของตับเกือบทั้งหมดจะถูกคลุมด้วยเยื่อบุช่องท้อง ซึ่งเป็นเยื่อบุสองชั้นที่คลุมอยู่บนอวัยวะต่างๆทางด้านหน้าของช่องท้องเพื่อลดการเสียดสีระหว่างอวัยวะ นอกจากนี้จะพบว่าที่บริเวณตับ จะมีการพับของเยื่อบุช่องท้องเข้ามาภายในตับ และแบ่งตัวออกเป็นสองพูใหญ่ๆ เยื่อดังกล่าวนี้เรียกว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์ (falciform ligament) ซึ่งจะยึดตับไว้กับผนังช่องท้องทางด้านหน้า เมื่อมองจากทางด้านบนจะพบว่า ฟอลซิฟอร์ม ลิกาเมนต์นี้จะแยกตัวออกเป็นไทรแองกูลาร์ ลิกาเมนต์ ทั้งด้านซ้ายและขวา เพื่อยึดตับไว้กับกะบังลม

[แก้] พูของตับ

ในทางมหกายวิภาคศาสตร์ จะแบ่งตับออกเป็นสี่พู (lobes) ตามลักษณะที่ปรากฏบนพื้นผิว โดยเมื่อมองตับจากทางด้านหน้า จะเห็นว่าตับถูกแบ่งออกเป็นพูซ้าย (left lobe) และพูขวา (right lobe) หากมองตับจากทางด้านหลัง จะพบว่ามีพูอีกสองพู คือ พูคอเดต (caudate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านบน และพูควอเดรต (quadrate lobe) ซึ่งอยู่ทางด้านล่าง ซึ่งทั้งสองพูดังกล่าวนี้จะแบ่งแยกออกจากกันโดยร่องแนวขวาง (transverse fissure) หรือเรียกว่า พอร์ตา เฮปาติส (porta hepatis)

พื้นผิวของตับจากทางด้านหลัง

ซึ่งเป็นบริเวณที่เป็นทางผ่านของหลอดเลือดและท่อน้ำดีของตับ ทั้งพูคอเดตและพูควอเดรตนี้จะถูกแบ่งออกจากพูซ้าย โดยแนวของลิกาเมนตุม วีโนซุม (ligamentum venosum) และลิกาเมนตุม เทเรส (ligamentum teres) ซึ่งเป็นโครงสร้างของหลอดเลือดตับในระยะเอมบริโอ ส่วนทางขวาจะมีรอยบุ๋มที่มีหลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา (inferior vena cava) พาดผ่าน และแบ่งพูขวาออกจากพูคอเดตและพูควอเดรต

[แก้] การไหลเวียนของเลือดในตับ

ตับจะได้รับเลือดที่มีออกซิเจนสูงมาทางหลอดเลือดแดงตับ (hepatic artery) นอกจากนี้ยังมีเลือดที่นำมาจากลำไส้เล็ก ลำไส้ใหญ่ และตับอ่อนผ่านทางหลอดเลือดดำซุพีเรียมีเซนเทอริค (superior mesenteric vein) และเลือดจากม้ามผ่านทางหลอดเลือดดำม้าม (splenic vein) ซึ่งหลอดเลือดดำทั้งสองจะรวมกันเป็นหลอดเลือดดำพอร์ทัล (portal vein) แล้วเข้าสู่ตับเพื่อนำสารอาหารและสารเคมีอื่นๆที่ได้จากการดูดซึมจากทางเดินอาหาร และผลผลิตจากการทำลายเม็ดเลือดแดงจากม้าม เข้าสู่กระบวนการต่างๆภายในเซลล์ตับต่อไป สำหรับหลอดเลือดดำที่นำเลือดออกจากตับ คือหลอดเลือดดำตับ (hepatic vein) ซึ่งจะเทเลือดเข้าสู่หลอดเลือดดำอินฟีเรียร์ เวนาคาวา ต่อไป

[แก้] ระบบน้ำดีภายในตับ

น้ำดีจะถูกสร้างขึ้นจากเซลล์ตับแต่ละเซลล์และส่งออกมาจากท่อน้ำดีย่อย (bile canaliculi) ซึ่งจากนั้นท่อน้ำดีย่อยแต่ละท่อจะรวมกันเป็นท่อน้ำดีตับ (hepatic bile ducts) ซึ่งมีทั้งซ้ายและขวา แล้วจึงรวมกันเป็นท่อน้ำดีใหญ่ในตับ (common hepatic bile duct) ก่อนจะส่งไปทางท่อน้ำดีใหญ่ (common bile duct) ซึ่งน้ำดีอาจถูกปล่อยออกสู่ลำไส้เล็กตอนต้น หรือเก็บสะสมไว้ในถุงน้ำดี

[แก้] สรีรวิทยาของตับ

หน้าที่ต่างๆของตับจะอาศัยการทำงานของเซลล์ตับ ซึ่งมีหน้าที่หลากหลาย ดังนี้

[แก้] โรคของตับ

โรคที่เป็นความผิดปกติของตับมีอยู่หลายโรคด้วยกัน ซึ่งอาจเป็นโรคทางพันธุกรรม หรือโรคที่เกิดจากการได้รับเชื้อหรือสารพิษต่างๆ ตัวอย่างของโรคที่เกี่ยวกับตับ ได้แก่

อาการเบื้องต้นของโรคตับ คือดีซ่าน (jaundice) ซึ่งเป็นภาวะที่มีบิลิรูบินจำนวนมากในกระแสเลือด ซึ่งเป็นผลมาจากเซลล์ตับไม่สามารถแปรรูปบิริรูบินไปเป็นสารอื่นเพื่อส่งออกทางน้ำดีได้ ทั้งนี้เป็นเพราะเซลล์ตับเกิดความผิดปกติหรือตายนั่นเอง

[แก้] การดูแลรักษาตับ

  • ไม่ดื่มสุรา เบียร์ หรือของมึนเมา
  • ไม่ควรรับประทานยาพร่ำเพรื่อ เพราะสารเคมีจะทำลายตับได้
  • ระวังอย่าสูดดมพวกละอองสเปรย์ต่างๆ
  • สวมถุงมือ ใส่เสื้อแขนยาว สวมหมวกและหน้ากากทุกครั้งที่พ่นหรือผสมยาฆ่าแมลง
  • ไม่สำส่อนทางเพศ
  • ไม่ใช้ยาเสพติดชนิดฉีดเข้าเส้น
  • ไม่รับประทานอาหารดิบหรือสุกๆ ดิบๆ
  • รับประทานอาหารที่สะอาดและน้ำต้มสุก มีภาชนะปิดอย่างมิดชิด
  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ
  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

[แก้] อ้างอิง

ดึงข้อมูลจาก "http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%95%E0%B8%B1%E0%B8%9A".