อักษรสิทธัม

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรสิทธัม อะ ที่ชาวพุทธนิกายชินงอนในญี่ปุ่นนับถือว่าเป็นอักขระอันศักดิ์สิทธิ์

อักษรสิทธัม (Siddham script)(ภาษาสันสกฤต : सिद्धम् หมายถึง ทำให้สำเร็จหรือสมบูรณ์แล้ว, ญี่ปุ่น : 梵字[บอนจิ]) เป็นชื่ออักษรแบบหนึ่งของอินเดียตอนเหนือ ที่นิยมใช้เขียนภาษาสันสกฤต มีที่มาจากอักษรพราหมี โดยผ่านการพัฒนาจากอักษรคุปตะ ซึ่งก่อให้เกิดเป็นอักษรเทวนาครีในเวลาต่อมา และเกิดเป็นอักษรอื่นๆ จำนวนมากในเอเชีย เช่น อักษรทิเบต เป็นต้น อักษรสิทธัมเผยแพร่พร้อมคัมภีร์ทางพระพุทธศาสนาจากอินเดียเข้าไปสู่จีนและญี่ปุ่นตามลำดับ ตั้งแต่ พ.ศ. 1349 โดยกูไก ผู้เรียนภาษาสันสกฤตและศาสนาพุทธไปจากจีน ในญี่ปุ่นเรียกอักษรนี้ว่า บอนจิ เขียนจากซ้ายไปขวา แนวนอน ปัจจุบันอักษรสิทธัมยังคงใช้ในการประกอบพิธีกรรมของนิกายชินงอน (มนตรยาน) ในประเทศญี่ปุ่น


[แก้] ดูเพิ่ม


[แก้] อ้างอิง

  • John Stevens. Sacred Calligraphy of the East. (Boston: Shambala, 1995)
  • Taikō Yamasaki. Shingon: Japanese Esoteric Buddhism. (Fresno: Shingon Buddhist International Institute, 1988)
  • อักษรสิทธัม