อักษรไทใหญ่

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

อักษรไทใหญ่พัฒนามาจากอักษรไทใต้คงเก่า ซึ่งเป็นอักษรที่ใช่ในหมู่ชาวไทใหญ่ทั้งหมด โดยยังคงมีลักษณะกลม เนื่องจากไม่ได้เปลี่ยนไปเขียนด้วยพู่กันเหมือนอักษรไทใต้คง เมื่อรัฐฉานตกเป็นเมืองขึ้นของอังกฤษเมื่อ พ.ศ. 2428 ทางอังกฤษได้ส่งเสริมให้ชาวไทใหญ่พัฒนาอักษรของตนขึ้นใหม่ และจัดให้มีการพิมพ์ ทำให้รูปอักษรที่เกิดจากการหล่อตัวพิมพ์มีลักษณะป้อม กลมคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น

พยัญชนะในภาษาไทใหญ่มีทั้งหมด 18 ตัว แต่มีการเพิ่มอีก 5 ตัว เพื่อใช้เขียนคำที่มาจากภาษาอื่น สระสามารถเขียนได้ทั้งข้างหน้า ข้างหลัง ข้างบน และข้างใต้พยัญชนะ มีสระพื้นฐาน 10 ตัว แต่หากผสมกับตัวสะกดด้วย รูปสระบางรูปอาจลดรูปหรือเปลี่ยนรูปไปได้ ส่วนรูปวรรณยุกต์มี 5 รูป ใช้เขียนข้างหลังพยางค์ โดยพื้นเสียงของพยางค์เป็นเสียงจัตวา ไม่มีรูปวรรณยุกต์

เนื้อหา

[แก้] ประวัติ

ชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ 2 ชนิดคือ ลิ่กถั่วงอกใช้เขียนเอกสารทั่วไปกับลิ่กยวนใช้เขียนเอกสารทางศาสนา อักษรไทใหญ่ที่ใช้กันอยู่ทุกวันนี้ นักประวัติศาสตร์พม่าเชื่อว่ารับมาจากพม่า ในขณะที่ชาวไทใหญ่เชื่อว่าพัฒนามาจากอักษรเทวนาครี และอักษรมอญ โดยอักษร "อ" ของอักษรไทใหญ่ มีลักษณะเฉพาะไม่เหมือนอักษรชนิดใดเลย แต่คล้ายกับตัว"อ" ของอักษรมอญในจารึกภาษามอญที่เจดีย์ปีชเวชานดอ อายุราวพุทธศตวรรษที่ 16 โดยทั่วไป ทฤษฎีที่อธิบายที่มาของอักษรไทใหญ่เป็นดังนี้

อักษรของชาวไทเหนือในเขตใต้คงเป็นตัวเหลี่ยมหรือลิ่กถั่วงอก มีหลักฐานว่าในสมัยราชวงศ์หมิง มีการตั้งสำนักงานหยีสี่เป้าเพื่อแปลเอกสารที่เขียนด้วยภาษาไทเหนือ แสดงว่าชาวไทใหญ่มีอักษรเป็นของตนเองมานาน

อักษรไทใหญ่มีพยัญชนะไม่ครบสำหรับเขียนภาษาบาลี ทำให้เป็นไปได้ว่าชาวไทใหญ่มีอักษรใช้ก่อนพุทธศาสนาจะเข้ามาถึง เมื่อได้รับอิทธิพลจากพุทธศาสนา ชาวไทใหญ่จึงรับอักษรพม่าเข้ามาใช้เขียนแทนเสียงที่อักษรไทใหญ่ไม่มี

เอกสารภาษาไทใหญ่ที่เก่าแก่และเขียนด้วยลิ่กถั่วงอกคือ พื้นศาสนาแสน ลิ่กถั่วงอกนี้ผอม รูปเหลี่ยม เอนซ้าย จากนั้นจึงพัฒนาการเขียนมาสู่ระบบกำเยน อักษรกลมมากขึ้น และเริ่มนำอักษรพม่ามาใช้ และเพิ่มสัญลักษณ์เครื่องหมายต่างๆ ต่อมาจึงพัฒนาเป็นระบบตัวมน ซึ่งพบในชาวไทใหญ่ในรัฐฉาน ส่วนชาวไทมาวยังใช้อักษรแบบเดิม

เมื่อเข้าสู่พุทธศตวรรษที่ 24 วรรณกรรมภาษาไทใหญ่ได้รับอิทธิพลจากภาษาพม่ามากขึ้น มีการใช้ภาษาพม่าปะปนกับภาษาไทใหญ่มากขึ้น เมื่อมีการพิมพ์ไบเบิลภาษาไทใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2428 ตัวพิมพ์ของอักษรไทใหญ่มีลักษณะกลมมนคล้ายอักษรพม่ามากขึ้น และมีเครื่องหมายเฉพาะที่ต่างไปจากอักษรไทใหญ่ในคัมภีร์

ในเดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ. 2492 รัฐบาลของสมาพันธรัฐไทใหญ่ได้ตั้งคณะกรรมการปฏิรูปอักษรไทใหญ่ที่เมืองตองจี และได้ปรับปรุงอักษรไทใหญ่ใหม่เรียกว่าใหม่สูงลิ่กไทย ต่อมาใน พ.ศ. 2512 สภาไทใหญ่ได้ปรับปรุงตัวอักษรใหม่อีก และใน พ.ศ. 2517 ก็มีการปรับปรุงอักษรไทใหญ่อีกชุดหนึ่งที่เมืองสีป้อ ทำให้มีประเด็นถกเถียงเกี่ยวกับอักษรไทใหญ่มากและยังหาข้อสรุปไม่ได้

[แก้] อักษรไทใหญ่กับภาษาบาลี

แต่เดิม ชาวไทใหญ่ใช้ลิ่กยวนเขียนภาษาบาลี ต่อมาพยายามเปลี่ยนมาใช้ลิ่กถั่วงอกและลิ่กตัวมน แต่อักษรไม่พอ ทำให้ไม่มีระบบการเขียนเป็นมาตรฐาน ต่อมาจึงมีการนำอักษรพม่ามาใช้เขียนภาษาบาลี ในปัจจุบัน ได้มีความพยายามที่จะเขียนภาษาบาลีด้วยอักษรไทใหญ่อีกครั้ง มีการจัดประชุมระหว่างพระสงฆ์ไทใหญ่และชาวไทใหญ่หลายครั้งเริ่มตั้งแต่ พ.ศ. 2499 ใน พ.ศ. 2500 ที่ประชุมเสนอให้เขียนพระไตรปิฎกด้วยอักษรพม่าแล้วแปลเป็นภาษาไทใหญ่ที่เขียนด้วยอักษรไทใหญ่ แต่พระสงฆ์ไทใหญ่ก็ยังไม่พอใจ ใน พ.ศ. 2518 มีการจัดประชุมพระสงฆ์ไทใหญ่ที่เชียงใหม่ และได้มีการประดิษฐ์อักษรไทใหญ่สำหรับเขียนภาษาบาลี แต่ยังไม่มีระบบใดได้รับการยอมรับอย่างเป็นทางการ

[แก้] พยัญชนะ (Shan-tohmaeliktai.psd.png)

รูปอักษรไทใหญ่ ชื่ออักษรในภาษาไทใหญ่ เทียบรูปอักษรไทย หมายเหตุ
Shan-k.png ก้ะ ไก่
Shan-kh.png ข้ะ ไข่ ข, ฃ, ค, ฅ
Shan-ng.png ง่ะ งู้ งู้ แปลว่า งู ในภาษาไทย
Shan-j.png จ้ะ จ้าง จ้าง แปลว่า ช้าง
Shan-s.png ส้ะ แสง ซ, ศ, ษ, ส แสง แปลว่า อัญมณี
Shan-yn.png ญ่ะ หญ่อง ญ, ย เสียง /ญ/ ในที่นี้เป็นเสียงนาสิก (เสียงขึ้นจมูก) แบบเดียวกับที่ปรากฏในภาคอีสาน และภาคเหนือของไทย, หญ่อง แปลว่า ต้นโพธิ์
Shan-t.png ต้ะ เต่า ฏ, ต
Shan-th.png ถ้ะ ไถ ฐ, ถ, ท, ฑ ไถ แปลว่า คันไถ
Shan-n.png น่ะ หนู น, ณ
Shan-p.png ป้ะ ป๋า ป๋า ในที่นี้คือคำว่า ปลา ในภาษาไทย
Shan-ph.png ผ้ะ ผิ้ง ผ, พ
Shan-f.png ฟ่ะ ไฟ ฝ, ฟ ไฟ แปลว่า ไฟ
Shan-m.png ม่ะ แม้ แม้ แปลว่า แม่
Shan-y.png ย่ะ ยุ้ง ย, ญ ยุ้ง แปลว่า ยุง
Shan-r.png ร่ะ ฤๅษี ร, ฤ
Shan-l.png ล่ะ ลิ้ง ล, ฦ, ฬ ลิ้ง แปลว่าลิง
Shan-w.png ว่ะ เว็ง เว็ง แปลว่า เวียง
Shan-h.png ห้ะ หิ่ง ห, ฮ หิ่งแปลว่า ระฆัง
Shan-a.png อ้ะ อ่าง

[แก้] สระ

[แก้] วรรณยุกต์

วรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่มี 5 รูป 6 เสียง

รูปวรรณยุกต์ ชื่อวรรณยุกต์ในภาษาไทใหญ่ เสียงวรรณยุกต์
- เป่า เสียงจัตวา
-, ยัก เสียงเอก
-; ยักจํ้า เสียงสามัญท้ายโท
-: จํ้าหน้า เสียงสามัญท้ายตรี
-. จํ้าใต้ (จํ้าต้า-อื) เสียงโทสั้น
–ะ ยักขึ้น เสียงสามัญ

[แก้] ยูนิโคด

อักษรไทใหญ่ในยูนิโคด ใช้รหัสช่วงเดียวกันกับอักษรพม่า เพียงแต่มีส่วนขยายของอักษรไทใหญ่เพิ่มขึ้นมาจากอักษรพม่าตามปกติ

อักษรพม่า
Unicode.org chart (PDF)
  0 1 2 3 4 5 6 7 8 9 A B C D E F
U+100x က
U+101x
U+102x
U+103x
U+104x
U+105x
U+106x
U+107x
U+108x
U+109x

[แก้] อ้างอิง

  • ยรรยง จิระนคร (เจีย แยนจอง). คนไทไม่ใช่คนไทย แต่เป็นเครือญาติชาติภาษา. กรุงเทพมหานคร : สำนักพิมพ์มติน, 2548. ISBN 974-323-484-5
  • ซาย คำเมือง. อักษรไทใหญ่และพัฒนาการของอักษรไทใหญ่ในพม่า. ใน การศึกษาประวัติศาสตร์และวรรณกรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ไท, สรัสวดี อ๋องสกุล และ โยซิซูกิ มาซูฮารา, บรรณาธิการ. หนังสือรวมผลงานวิชาการประชุมนานาชาติไทศึกษา 22-23 มีนาคม 2544 ที่ จ. เชียงใหม่ หน้า 427 - 451
  • บล็อกของนายช่างปลูกเรือน
  • Learning Tai for non-Tai Speakers
  • BlogGang.com : : นายช่างปลูกเรือน - พยัญชนะไทใหญ่

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น


Linguistics stub.svg อักษรไทใหญ่ เป็นบทความเกี่ยวกับ ภาษา หรือ ตัวอักษร ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ อักษรไทใหญ่ ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ภาษา