ชาใบหม่อน

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

โครง ชาใบหม่อน เป็นบทความที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ชาใบหม่อน ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ


[แก้] ชาใบหม่อน

เป็นชาที่กำลังได้รับความนิยม ไม่แพ้ชาชนิดอื่น โดยสรรพคุณของใบหม่อนจะช่วยป้องกันรักษา โรคเบาหวาน ลดระดับน้ำตาลในเส้นเลือด และช่วยขจัดไขมันส่วนเกินในร่างกายได้ดี อีกทั้งยังมีราคาค่อนข้างถูกเมื่อเทียบกับชาชนิดอื่นๆ

หม่อน (Morus spp.) สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารของหนอนไหม กลายมาเป็นเครื่องดื่มบำรุงสุขภาพชั้นเยี่ยมของมนุษย์ สถาบันหม่อนไหมแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ (สมมช.) ได้บุกเบิกการค้นคว้าวิจัยการผลิตชาใบหม่อนและสรรพคุณของพืชชนิดนี้มาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2536 ร่วมกับสถาบันอาหาร มหาวิทยาลัยมหิดล มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยรังสิต มหาวิทยาลัยนเรศวร และกรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ พบใบหม่อนมีกรดอะมิโนที่จำเป็นต่อร่างกายครบทุกชนิด มีแคลเซียมสูง มีสารต้านอนุมูลอิสระที่สำคัญหลายชนิด เช่น เควอซิติน (quercetin) แคมเฟอรอล (kaempferol) และ รูติน(rutin) นอกจากนั้นยังพบชาใบหม่อนมีสารดีเอ็นเจ (1-deoxynojirimycin) มีสรรพคุณลดระดับน้ำตาลในเลือด มีสารกาบา (gamma amino-butyric acid) ลดความดันโลหิต มีสารกลุ่มฟายโตสเตอโรล (Phytosterol) ลดไขมันในเลือด อีกทั้งไม่พบผลข้างเคียง จึงปลอดภัยต่อผู้บริโภค

[แก้] วิธีการเก็บเกี่ยว

วิธีการเก็บยอดใบหม่อนเพื่อที่จะนำมาสกัดเป็นชา จะใช้เพียง 3 ยอดบนสุดเท่านั้น และจะเก็บในช่วงเช้า ก่อนพระอาทิตย์ขึ้น (วิธีการเก็บจะเหมือนกับการเก็บยอดชาทั่วไป) หลังจากนั้นนำมาตากแดดให้แห้ง หรือผ่านกระบวนการอบฆ่าเชื้อ


[แก้] วิธีการชง

การชงชาใบหม่อนเพื่อให้คุณประโยชน์ที่ดีนั้น ควรที่จะนำใบแห้งมาบดให้ละเอียด ใส่ในซองเยื่อกระดาษสำหรับชงชา สำหรับชาใบหม่อนจำนวน 2 กรัม ควรใช้กับน้ำปริมาณ 3 แก้ว แล้วควรทานให้หมดภายในวันเดียว[ต้องการอ้างอิง]