ดาวอังคาร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ดาวอังคาร  Mars symbol.svg
Mars Valles Marineris.jpeg
ภาพของดาวอังคารจากยานไวกิง 1 ออร์บิเตอร์
เมื่อวันที่ 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2523
ลักษณะเฉพาะของวงโคจร[1]
จุดเริ่มยุค J2000
ระยะจุด
ไกลดวงอาทิตย์ที่สุด
:
249,228,730 กม.
1.665 991 16 หน่วยดาราศาสตร์
ระยะจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
206,644,545 กม.
1.381 333 46 หน่วยดาราศาสตร์
กึ่งแกนเอก: 227,936,637 กม.
1.523 662 31 หน่วยดาราศาสตร์
เส้นรอบวง
ของวงโคจร:
1.429 เทระเมตร
9.553 หน่วยดาราศาสตร์
ความเยื้องศูนย์กลาง: 0.09341233
คาบดาราคติ: 686.9601 วัน
(1.8808 ปีจูเลียน)
คาบซินอดิก: 779.96 วัน
อัตราเร็วเฉลี่ย
ในวงโคจร
:
24.077 กม./วินาที
อัตราเร็วสูงสุด
ในวงโคจร:
26.499 กม./วินาที
อัตราเร็วต่ำสุด
ในวงโคจร:
21.972 กม./วินาที
ความเอียง: 1.85061°
(5.65°; กับศูนย์สูตรดวงอาทิตย์)
ลองจิจูด
ของจุดโหนดขึ้น
:
49.57854°
ระยะมุมจุด
ใกล้ดวงอาทิตย์ที่สุด
:
286.46230°
ดาวบริวารของ: ดวงอาทิตย์
จำนวนดาวบริวาร: 2
ลักษณะเฉพาะทางกายภาพ
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวศูนย์สูตร:
6,804.9 กม.
(0.533×โลก)[2]
เส้นผ่านศูนย์กลาง
ตามแนวขั้ว:
6,754.8 กม.
(0.531×โลก)[2]
ความแป้น: 0.00736
พื้นที่ผิว: 1.448×108 กม.²
(0.284×โลก)
ปริมาตร: 1.638×1011 กม.³
(0.151×โลก)
มวล: 6.4185×1023 กก.
(0.107×โลก)
ความหนาแน่นเฉลี่ย: 3.934 กรัม/ซม.³
ความโน้มถ่วง
ที่ศูนย์สูตร:
3.69 เมตร/วินาที²
(0.376จี)
ความเร็วหลุดพ้น: 5.027 กม./วินาที
คาบการหมุน
รอบตัวเอง
:
1.025957 วัน
(24.622962 ชม.)
ความเร็วการหมุน
รอบตัวเอง:
868.22 กม./ชม.
ความเอียงของแกน: 25.19°
ไรต์แอสเซนชัน
ของขั้วเหนือ:
317.68143°
(21 ชม. 10 นาที 44 วินาที)
เดคลิเนชัน
ของขั้วเหนือ:
52.88650°
อัตราส่วนสะท้อน: 0.15
อุณหภูมิพื้นผิว:
   เคลวิน
   เซลเซียส
ต่ำสุด เฉลี่ย สูงสุด
186 K 227 K 268 K
−87 °C −46 °C −5 °C
ลักษณะเฉพาะของบรรยากาศ
ความดันบรรยากาศ
ที่พื้นผิว:
0.7-0.9 กิโลปาสกาล
องค์ประกอบ: 95.32% คาร์บอนไดออกไซด์
2.7% ไนโตรเจน
1.6% อาร์กอน
0.13% ออกซิเจน
0.07% คาร์บอนมอนอกไซด์
0.03% ไอน้ำ
0.01% ไนตริกออกไซด์
2.5 ppm นีออน
300 ppb คริปตอน
80 ppb ซีนอน
30 ppb โอโซน
10.5 ppb มีเทน

ดาวอังคาร เป็นดาวเคราะห์ในระบบสุริยะที่อยู่ห่างจากดวงอาทิตย์เป็นลำดับที่ 4 ชื่อละตินของดาวอังคาร (Mars) มาจากชื่อเทพเจ้าแห่งสงครามของโรมัน หรือตรงกับเทพเจ้า Ares ของกรีก เป็นเพราะดาวอังคารปรากฏเป็นสีแดงคล้ายสีโลหิต บางครั้งจึงเรียกว่า "ดาวแดง" หรือ "Red Planet" (ความจริงมีสีค่อนไปทางสีส้มอมชมพูมากกว่า) สัญลักษณ์แทนดาวอังคาร คือ ♂ เป็นโล่และหอกของเทพเจ้ามาร์ส ดาวอังคารมีดาวบริวารหรือดวงจันทร์ขนาดเล็ก 2 ดวง คือ โฟบอสและไดมอส โดยทั้งสองดวงมีรูปร่างบิดเบี้ยวไม่เป็นรูปกลม ซึ่งคาดกันว่าอาจเป็นดาวเคราะห์น้อยที่หลงเข้ามาแล้วดาวอังคารคว้าดึงเอาไว้ให้อยู่ในเขตแรงดึงดูดของตน

ดาวอังคารเป็นดาวเคราะห์หิน (terrestrial planet) มีชั้นบรรยากาศเบาบาง พื้นผิวมีลักษณะคล้ายคลึงทั้งหลุมอุกกาบาตบนดวงจันทร์ และภูเขาไฟ หุบเขา ทะเลทราย และบริเวณน้ำแข็งขั้วโลก บนโลก ดาวอังคารมีภูเขาที่สูงที่สุดในระบบสุริยะคือ ภูเขาไฟโอลิมปัส (Olympus Mons) และหุบเขาลึกที่มีชื่อว่า มาริเนริส (Marineris) ที่ใหญ่ที่สุดในระบบสุริยะ ในเดือนมิถุนายน ค.ศ. 2008 มีบทความ 3 บทความตีพิมพืลงในนิตรสาร "Nature" เกี่ยวกับหลักฐานของหลุมอุกกาบาตที่ใหญ่มหึมา โดยมีความกว้าง 8,500 กิโลเมตร ยาว 10,600 กิโลเมตร[3][4] นอกจากนั้นสิ่งที่ดาวอังคารมีและคล้ายคลึงกับโลกก็คือ คาบการหมุนรอบตัวเองและฤดูกาล

เนื้อหา

[แก้] ลักษณะทางกายภาพ

โดยภาพรวมนั้นดาวอังคารมีขนาดที่เล็กกว่าโลก คือมีความยาวของเส้นผ่านศูนย์กลางเท่ากับรัศมีของโลกและมีน้ำหนักเทียบได้กับ 11% ของโลก ปริมาตร 15% ของโลก พื้นที่ผิวทั้งหมดของดาวอังคารยังน้อยว่าพื้นที่ที่เป็นพื้นดินของโลกเสียอีก[5] ส่วนสีของดาวที่เห็นเป็นสีส้ม-แดงนั้น เกิดจาก ไอร์ออน(II) ออกไซด์ ซึ่งเป็นที่รู้กันคือ แร่เหล็ก หรือสนิมเหล็กนั่นเอง[6]

[แก้] ดาวบริวาร

ชื่อ ภาพ เส้นผ่านศูนย์กลาง (กม.) น้ำหนัก (กก.) ค่าเฉลี่ยของรัศมี (กม.) อัตราการหมุนรอบตัวเอง(ชม.)
โฟบอส
(Phobos)
Phobos moon (large).jpg 22.2 (27 × 21.6 × 18.8) 1.08E+16 9,378 7.66
ไดมอส
(Deimos)
Deimos-viking1.jpg 12.6 (10 × 12 × 16) 2.0E+15 23,400 30.35

[แก้] การสำรวจ

ภาพเปรียบเทียบขนาดของดาวเคราะห์ เรียงจากซ้ายไปขวา ดาวพุธ ดาวศุกร์ โลก และดาวอังคาร
แผนที่ดาวอังคาร
  • 8 มีนาคม พ.ศ. 2550 - นายเจฟเฟรย์ แอนดรูวส์-แฮนนาและเพื่อนร่วมงาน แห่งสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ พบหลักฐานสำคัญว่า ครั้งหนึ่งดาวอังคารเคยมีโครงสร้างของระบบน้ำซึม ซึ่งถือเป็นข้อพิสูจน์ชี้ให้เห็นว่าดาวอังคารเคยมีความสัมพันธ์อันสลับซับซ้อนกับองค์ประกอบของสิ่งมีชีวิตมาเป็นเวลานาน [7]
  • 22 กันยายน พ.ศ. 2550 - ยาน 2001 มาร์สโอดิสซีย์ พบสิ่งที่ดูเหมือนถ้ำ 7 แห่ง บริเวณเนินลาดของภูเขาไฟบนดาวอังคาร โดยทางยานได้ส่งภาพของพื้นบริเวณหนึ่งซึ่งมืดและมีลักษณะเป็นทรงกลมที่เชื่อว่าเป็นปากถ้ำ เชื่อว่าภายในเป็นพื้นที่กว้างใต้ดินและน่าจะมีอากาศเย็นกว่าพื้นที่โดยรอบในเวลากลางวัน และอุ่นกว่าในเวลากลางคืน ถ้ำทั้ง 7 นี้ทางนาซาได้ตั้งชื่อให้ว่า "น้องสาวทั้ง 7” [8]

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ Yeomans, Donald K. (2006-07-13). HORIZONS System. NASA JPL. สืบค้นวันที่ 2007-08-08 — At the site, go to the "web interface" then select "Ephemeris Type: ELEMENTS", "Target Body: Mars" and "Center: Sun".
  2. ^ 2.0 2.1 Seidelmann, P. Kenneth; Archinal, B. A.; A’hearn, M. F.; et.al. (2007). "Report of the IAU/IAGWorking Group on cartographic coordinates and rotational elements: 2006". Celestial Mechanics and Dynamical Astronomy 90: 155–180. doi:10.1007/s10569-007-9072-y. เรียกข้อมูลวันที่ 2007-08-28 
  3. ^ Ashley Yeager (July 19, 2008). Impact May Have Transformed Mars. ScienceNews.org. สืบค้นวันที่ 2008-08-12
  4. ^ Ian Sample (June 26, 2008). Cataclysmic impact created north-south divide on Mars. Science @ guardian.co.uk. สืบค้นวันที่ 2008-08-12
  5. ^ David R. Williams (September 1, 2004). Mars Fact Sheet. National Space Science Data Center. NASA. สืบค้นวันที่ 2006-06-24
  6. ^ Peplow, Mark. How Mars got its rust. สืบค้นวันที่ 2007-03-10
  7. ^ http://www.thairath.co.th/news.php?section=technology&content=39569
  8. ^ http://www.posttoday.com/breakingnews.php?sec=breaking&id=193073
Commons


Crystal Clear app konquest.png ดาวอังคาร เป็นบทความเกี่ยวกับ ดาราศาสตร์ หรือ จักรวาลวิทยา ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ดาวอังคาร ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ หรือ ดูเพิ่มที่ สถานีย่อย:ดาราศาสตร์

ภาษาอื่น