สถาปนิก

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ภาพร่างสถาปนิก กับงานออกแบบ

สถาปนิก คือบุคคลผู้เกี่ยวข้องในการออกแบบ และ วางแผน ในการก่อสร้าง หรือที่เรียกว่างานสถาปัตยกรรม โดยสถาปนิก จะเป็นผู้ที่เข้าใจในมาตรฐานการก่อสร้างของอาคาร เข้าใจถึงหน้าที่ใช้สอยของอาคารนั้น รวมถึงวัสดุที่จะนำมาเป็นส่วนประกอบของสิ่งก่อสร้างนั้น สถาปนิกจำเป็นต้องได้รับการศึกษาทางสถาปัตยกรรมศาสตร์ และได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพสถาปัตยกรรม ถึงจะสามารถทำงานในวิชาชีพสถาปนิกได้ ซึ่งคล้ายกับการทำงานในสาขาวิชาชีพอื่น

สถาปก คำเก่าของคำว่าสถาปนิก ได้รับพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 เป็นศัพท์ภาษาสันสกฤต หมายถึง ผู้สร้าง, ผู้ก่อตั้ง ในเอกสารโบราณก่อนสมัยรัตนโกสินทร์เคยปรากฏคำ "สถาบก" หมายถึง การสร้าง หรือผู้สร้าง

รางวัลที่น่ายกย่องของสถาปนิกที่รู้จักในฐานะผู้ก่อสร้างอาคารได้แก่ รางวัลพลิตซ์เกอร์ ซึ่งมักจะถูกเปรียบเทียบเหมือนกับ "รางวัลโนเบลในทางสถาปัตยกรรม"

เนื้อหา

[แก้] หน้าที่ของสถาปนิกกับโครงการก่อสร้างในยุคปัจจุบัน

ในรูปแบบที่เกิดขึ้นเป็นส่วนใหญ่ สถาปนิกจะทำสัญญากับเจ้าของโครงการ(Owner) โดยรับหน้าที่เป็นผู้ให้บริการวิชาชีพ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับการก่อสร้าง ผ่านทางการออกแบบ(Building Design) และการทำแเบบก่อสร้าง(Construction Document) สถาปนิกจะมีที่ปรึกษาผู้ให้คำแนะนำในเรื่องเทคนิคระดับซับซ้อนคือ วิศวกร ซึ่งจะเป็นผู้เชี่ยวชาญในแต่ละแขนงเกี่ยวกับการก่อสร้าง

โดยทั่วไปสำหรับโครงการขนาดกลาง วิศวกรเหล่านี้จะประกอบด้วย วิศวกรโครงสร้าง (Structural Engineer) วิศวกรโยธา (Civil Engineer) วิศวกรไฟฟ้า (Electrical Engineer) วิศวกรประปา (Plumbing Engineer) และ วิศวกรเครื่องกล (Mechanical Engineer) นอกจากนี้อาจจะมีที่ปรึกษาอื่นๆที่สำคัญ เช่น มัณฑนากร(Interior Designer) และ ภูมิสถาปนิก (Landscape Architect)เป็นต้น

นักวิชาชีพทั้งหมดนี้จะทำงานร่วมกันเป็นทีม ผ่านการประสานงานของสถาปนิก ซึ่งเป็นผู้นำของทีม (Team Leader)และผู้ติดต่อประสานงานระหว่างทีม(Coordinator)เพราะที่ปรึกษาอื่นๆ จะไม่มีใครเข้าใจภาพรวมของโครงการเท่าสถาปนิก

ด้วยสาเหตุของความเข้าใจในโครงการที่มากกว่าสมาชิกในทีมคนอื่นๆ ทำให้สถาปนิกเป็นผู้ที่ติดต่อกับเจ้าของโดยตรงในการทำโครงการ นักวิชาชีพในทีมคนอื่นๆ ที่ต้องการติดต่อกับเจ้าของมักจะทำผ่านสถาปนิก หรือในบางกรณีสถาปนิกจะไม่อนุญาตให้สมาชิกในทีมคนอื่นๆ ติดต่อกับเจ้าของโดยตรงเลย เพราะจะเป็นการเกิดความสับสนในระบบการประสานงานและปฏิบัติการ

ถ้านักวิชาชีพเหล่านี้ทำสัญญาการว่าจ้างกับสถาปนิก สถาปนิกจะมีสถาณภาพเป็นผู้นำของทีมออกแบบ (Leader) แต่ถ้านักวิชาชีพเหล่านี้ทำสัญญาโดยตรงกับเจ้าของ สถาปนิกจะมีสภาณภาพเป็นผู้ประสานงาน (Coordinator) โดยส่วนใหญ่สถาปนิกจะทำสัญญาว่าจ้างกับนักวิชาชีพเหล่านี้เพื่อจะได้เกิดการควบคุมคุณภาพและสั่งการโครงการได้สะดวก แต่ในบางกรณี สถาปนิกอาจจะต้องการหลีกเลี่ยงการทำสัญญากับนักวิชาชีพเหล่านี้ โดยเฉพาะถ้าเป็นโครงการที่ใหญ่เป็นพิเศษที่สถาปนิกต้องมีความรับผิดชอบสูงมาก อาจเกิดความเสี่ยงต่อการรับผิดชอบความเสียหาย (Liability)มากจนไม่คุ้มกับค่าบริการวิชาชีพที่จะได้รับ สถาปนิกจะแนะนำให้เจ้าของโครงการทำสัญญาโดยตรงกับนักวิชาชีพเหล่านั้น

อีกด้านหนึ่ง เจ้าของโครงการ (Owner) จะทำสัญญากับผู้รับเหมาก่อสร้าง (Contractor) เพื่อให้ทำการก่อสร้าง ตามแบบก่อสร้าง (Construction Documents)และ รายการประกอบแบบ (Specification) ที่สถาปนิกและทีมผู้ช่วยทั้งหลายได้ทำการออกแบบ

[แก้] ขั้นตอนการให้บริการวิชาชีพของสถาปนิก

สถาปนิกจะทำการบริการวิชาชีพตามขั้นตอนต่อไปนี้

1. ออกแบบเบื้องต้น (Schematic Design)

2. ออกแบบรายละเอียด (Design Development หรือ DD)

3. ทำแบบก่อสร้าง (Construction Document)

4. การประมูลและเจรจาต่อรอง (Bidding and Negotiation)

5. บริหารงานก่อสร้าง (Construction Administration)

ในบางโครงการ อาจจะมีการเข้าไปรับงานเป็นทีม โดยเจ้าของทำสัญญากับทีมก่อสร้างเพียงสัญญาเดียว ซึ่งประกอบไปด้วย ผู้รับเหมาก่อสร้าง สถาปนิก และ ที่ปรึกษาอื่นๆ รวมตัวกันเป็นหนึ่ง โดยการทำสัญญาโดยตรงนี้ จะเรียกว่า เป็นการบริการแบบ ดีไซน์บิลด์ (Design Build)

[แก้] ขอบเขตงานของสถาปนิก

สถาปนิกในปัจจุบันได้มีการขยายขอบเขตการประกอบวิชาชีพไปในหลายๆ ด้านที่เป็นแนวทางเฉพาะ เช่น

1. งานด้านออกแบบ (Design)

2. งานด้านการบริหารโครงการ (Construction Management)

3. งานด้านการบริหารการใช้พลังงานในอาคาร (Building Energy Management)

4. งานด้านการออกแบบการให้แสง (Lighting Design)

5. งานด้านบริหารจัดการอาคาร (Facility Management)

6. งานด้านอนุรักษ์ (Preservation)

7. งานตรวจสอบมาตรฐานและความปลอดภัยของอาคาร (Building Inspection)

[แก้] สถาปนิกที่มีชื่อเสียงจากอดีตถึงปัจจุบัน

[แก้] สถาปนิกในประเทศไทย

สถาปนิกที่ได้รับพระราชทานเหรียญดุษฎีมาลา เข็มศิลปวิทยา

สถาปนิกที่ได้รับรางวัลศิลปินแห่งชาติ

สถาปนิกที่เป็นกรรมการสภาสถาปนิก


รายชื่อสถาปนิกที่คัดเลือกโดยสมาคมสถาปนิกสยาม ในบทความ "Reinvent" จำนวน 23 ท่าน[1]

อื่นๆ

[แก้] สถาปนิกจากต่างประเทศ

[แก้] ก่อนคริสตกาล

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 12

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 13

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 14

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 15

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 16


[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 17


[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 18


[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 19

[แก้] คริสต์ศตวรรษที่ 20

[แก้] ร่วมสมัย (คริสต์ศตวรรษที่ 20 - คริสต์ศตวรรษที่ 21)

[แก้] สถาบันการศึกษาทางสถาปัตยกรรมในประเทศไทย

สถาบันการศึกษาที่ทำหน้าที่ผลิตสถาปนิกของประเทศไทยแห่งแรก คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ซึ่งก่อตั้งเมื่อ พ.ศ. 2476 โดยอาจารย์นารถ โพธิประสาท ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2498 ได้มีการเปิดสอนคณะสถาปัตยกรรมไทย ปัจจุบัน คือ คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร หลังจากนั้น ได้มีการสถาปนา สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง ขึ้น ซึ่งมี คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ เป็นคณะแรกของสถาบัน และนับเป็นสถาบันการศึกษาที่ผลิตสถาปนิกเป็นแห่งที่ 3 ของประเทศ ตามมาด้วยมหาวิทยาลัยขอนแก่น จากนั้น ก็ได้มีสถาบันอุดมศึกษาทั้งภาครัฐและเอกชนเปิดสอนเป็นจำนวนมากดังปัจจุบัน

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ วารสารอาษา 12:49-01:50

[แก้] ดูเพิ่ม