ประเทศลัตเวีย

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก ลัตเวีย)
Latvijas Republika
ลัตวิยัส เรปุบลิคา
สาธารณรัฐลัตเวีย
ธงชาติลัตเวีย ตราแผ่นดินของลัตเวีย
ธงชาติ ตราแผ่นดิน
คำขวัญลัตเวีย: Tēvzemei un Brīvībai
("เพื่อปิตุภูมิและอิสรภาพ")
เพลงชาติDievs, svētī Latviju!
ที่ตั้งของลัตเวีย
เมืองหลวง
(และเมืองใหญ่สุด)
ริกา

56°57′N 24°6′E

ภาษาทางการ ภาษาลัตเวีย
รัฐบาล ประชาธิปไตยระบบรัฐสภา
  ประธานาธิบดี
นายกรัฐมนตรี
Valdis Zatlers
Valdis Dombrovskis
ได้รับเอกราช
  ประกาศเอกราช
เป็นที่ยอมรับ
อดีต
จาก สหภาพโซเวียต
4 เมษายน พ.ศ. 2533
21 สิงหาคม พ.ศ. 2534
สาธารณรัฐสังคมนิยมโซเวียตลัตเวีย 
เข้าร่วม EU 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2547
เนื้อที่
 -  ทั้งหมด 64,589 กม.² (ลำดับที่ 123)
 -  พื้นน้ำ (%) 1.5%
ประชากร
 -  ก.ค. 2548 ประมาณ 2,290,237 (อันดับที่ 138)
 -  ความหนาแน่น 35/กม.² (อันดับที่ 137)
GDP (PPP) 2548 ประมาณ
 -  รวม 29.42 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 93)
 -  ต่อประชากร 12,800 ดอลลาร์สหรัฐ (อันดับที่ 72)
HDI (2546) 0.836 (สูง) (อันดับที่ 48)
สกุลเงิน ลัตส์ลัตเวีย (Ls) (LVL)
เขตเวลา EET (UTC+2)
 -  ฤดูร้อน (DST) EEST (UTC+3)
รหัสอินเทอร์เน็ต .lv
รหัสโทรศัพท์ +371

ลัตเวีย (Latvia) หรือชื่อทางการคือ สาธารณรัฐลัตเวีย (Republic of Latvia) (ภาษาลัตเวีย: Latvijas Republika) เป็นประเทศในภูมิภาคยุโรปเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับอีก 2 รัฐบอลติก คือ เอสโตเนียทางทิศเหนือ และลิทัวเนียและเบลารุสทางทิศใต้ จดรัสเซียทางทิศตะวันออก ส่วนทางทิศตะวันตกนั้น ลัตเวียมีอาณาเขตทางทะเลติดต่อกับสวีเดน กรุงริกาเมืองหลวงของลัตเวียเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดบรรดาเมืองที่อยู่ในกลุ่มรัฐบอลติกลัตเวียเคยเป็นเมืองการค้าของรัสเซียตอนหลังก็ได้รับเอกราชจากรัสเซีย


เนื้อหา

[แก้] การเมือง

ระบบการเมือง หลังจากได้รับเอกราช เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม 2533 ลัตเวียได้มีการปกครองแบบสาธารณรัฐประชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญฉบับปี 2535 ซึ่งมีผลบังคับใช้แทนรัฐธรรมนูญที่สหภาพโซเวียตประกาศใช้มาก่อนหน้านั้นแล้ว และในปัจจุบันได้มีการแก้ไขรัฐธรรมนูญฉบับปี 2535*

สถาบันทางการเมืองลัตเวียมีประธานาธิบดีเป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญระบบรัฐสภา เป็นระบบสภาเดียว เรียกว่า Saiema ซึ่งประกอบด้วยสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร 100 คน โดยประธานาธิบดีจะเป็นผู้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีต่อรัฐสภา เพื่อลงมติให้ความไว้วางใจ ในการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ (พรรคการเมืองที่เข้าร่วมรัฐสภาต้องได้รับคะแนนเสียงเกินร้อยละ 4 จากการลงคะแนนเสียงทั่วประเทศ)

ดรรชนีเศรษฐกิจ (ปี 2547)

ผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) 13.63 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

GDPต่อหัว 5,892 ดอลลาร์สหรัฐ

อัตราการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ร้อยละ 8.5

อัตราเงินเฟ้อ ร้อยละ 6.2

อัตราการว่างงาน ร้อยละ 8.5

ดุลการค้า ขาดดุลการค้า 3.03 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ส่งออก/ นำเข้า 3.94 และ 6.97 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ

ประเทศคู่ค้าส่งออกสำคัญ สหราชอาณาจักร (ร้อยละ 12.9) เยอรมนี (ร้อยละ 12.3) สวีเดน (ร้อยละ 10.3) ลิทัวเนีย (ร้อยละ 9.5) เอสโตเนีย(ร้อยละ 8.2)/ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (ร้อยละ 76.9)

ประเทศคู่ค้านำเข้าที่สำคัญ เยอรมนี (ร้อยละ 14.5) ลิทัวเนีย (ร้อยละ 12.4) รัสเซีย (ร้อยละ 8.9) เอสโตเนีย(ร้อยละ 7.1) ฟินแลนด์ (ร้อยละ 6.5)/ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรป (ร้อยละ 75.1)

สินค้าส่งออกสำคัญ ไม้และผลิตภัณฑ์จากไม้ โลหะและโลหะภัณฑ์ สิ่งทอ

สินค้านำเข้าสำคัญ เครื่องจักรและส่วนประกอบ อุปกรณ์ที่ใช้ในการขนส่ง เคมีภัณฑ์

การลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศ (FDI) 380.74 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (2546) - ขีดความสามารถด้านการแข่งขัน (Global Competitiveness Index) ในปี 2549 อยู่ในลำดับที่ 36(ปี 2548 ลำดับที่ 39)

[แก้] การเมืองระหว่างประเทศ

เป้าหมายสำคัญที่สุดของนโยบายด้านความมั่นคงที่แถลงออกมาอย่างชัดแจ้งของ ลัตเวีย คือ การเข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO) เพื่อเป็นหลักประกันด้านความมั่นคงของลัตเวีย เนื่องจากลัตเวียยังคงมีความระแวงต่อ ภัยคุกคามที่อาจจะเกิดขึ้นจากรัสเซีย ซึ่งพัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวะเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. และในด้านนโยบายต่างประเทศ คือ การเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป (EU) เพื่อเข้าร่วมกระบวนการรวมตัวของยุโรป โดยลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านในกลุ่มบอลติก คือ เอสโตเนีย และลิทัวเนีย พร้อมด้วยสาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 (ค.ศ.2004) นอกจากนี้ ลัตเวียและประเทศเพื่อนบ้านกลุ่มบอลติกยังเข้าร่วมเป็นสมาชิกในองค์กรภูมิภาคอื่นๆ เช่น คณะมนตรีบอลติก (Baltic Council) และองค์การเพื่อความมั่นคง และความร่วมมือในยุโรป (Organization for Security and Cooperation in Europe - OSCE) เป็นต้น


[แก้] นโยบายต่อสหภาพยุโรป

เมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม 2547 ลัตเวีย และกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก คือ เอสโตเนียและลิทัวเนีย พร้อมประเทศยุโรปตะวันออก ซึ่งได้แก่ สาธารณรัฐเช็ก ไซปรัส ฮังการี มอลตา โปแลนด์ สโลวีเนีย และสโลวะเกีย รวม 10 ประเทศ ได้เข้าเป็นสมาชิกใหม่ของสหภาพยุโรปอย่างสมบูรณ์ สรุปพัฒนาการของลัตเวียต่อสหภาพพยุโรปในช่วงเวลาที่ผ่านมา 1. เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2537 รัฐสภาลัตเวียได้ให้สัตยาบันต่อความตกลงการค้าเสรีกับสหภาพยุโรป (Free Trade Accord) เป็นผลให้ลัตเวียสามารถเป็นภาคีสมาชิกความตกลงดังกล่าว กับสหภาพยุโรป ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2538 โดย ส่งผลให้ลัตเวียได้รับสิทธิพิเศษทางการค้าต่าง ๆ จากสหภาพยุโรป ในรูปของอัตราภาษีศุลกากร โควต้าและ GSP 2. ลัตเวียได้ลงนามความตกลงเข้าร่วมเป็นสมาชิกสมทบของสหภาพยุโรป (Association Agreement) เมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2538 โดยมีการกำหนดระยะเวลาปรับตัวไว้ ต่อมาลัตเวียได้ยื่นใบสมัครเข้าเป็นสมาชิกสหภาพ EU โดยสมบูรณ์ต่อ คณะกรรมมาธิการยุโรป 3. เมื่อวันที่ 26กันยายน 2539 ลัตเวียได้ส่งคำตอบแบบสอบถามรายละเอียดให้ คณะกรรมาธิการยุโรปพิจารณาถึงความพร้อมที่จะทำการเจรจาว่าด้วยการเข้าเป็นสมาชิกภาพ EU โดยสมบูรณ์ ซึ่งลัตเวียได้พยายามทุกวิถีทางที่จะปฏิรูประบบการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมให้สอดคล้องกับมาตรฐานและระเบียบกฎเกณฑ์ของสหภาพยุโรป เพื่อที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปโดยสมบูรณ์ในช่วงปี ค.ศ.2004 พร้อมกับกลุ่มประเทศเพื่อนบ้านบอลติก ซึ่งได้แก่ ลัตเวียและลิทัวเนีย ทั้งนี้ แม้ว่า ลัตเวียจะไม่ได้ร่วมอยู่ในกลุ่มแรกที่สหภาพยุโรป เริ่มกระบวนการเจรจาเพื่อรับสมาชิกใหม่ เนื่องจากระดับการพัฒนาของลัตเวียนั้นยังล้าหลัง และไม่เจริญเท่าประเทศอื่น ๆ เช่น เอสโตเนีย โปแลนด์ ฮังการี และสาธารณรัฐเช็ก ก็ตาม แต่ลัตเวียถือว่าการเข้าร่วมเป็นสมาชิกสหภาพยุโรปเป็นเป้าหมายสำคัญในด้านการต่างประเทศ


[แก้] นโยบายต่อองค์การสนธิสัญญาแอตแลนติกเหนือ (NATO)

พัฒนาการที่สำคัญสรุปได้ ดังนี้ - ก่อนที่จะได้เข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO อย่างสมบูรณ์ในปี 2547 ลัตเวียแสดงความปรารถนาที่จะได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกใหม่ขององค์การ NATO โดยเร็วเพื่อเป็นหลักประกันความมั่นคงและเสถียรภาพ ทั้งนี้ ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิกในโครงการหุ้นส่วนเพื่อสันติภาพ (Partnership for Peace –PfP) ขององค์การ NATO อย่างไรก็ดี การขยายตัวขององค์การ NATO ไปทางตะวันออกจะส่งผลกระทบทำให้ รัสเซียมีความกังวลต่อดุลยภาพทางทหารในภูมิภาคยุโรป ดังนั้น การเฝ้าดูท่าทีของรัสเซียจึงเป็นปัจจัยสำคัญด้วย และแม้ว่าบรรดาผู้นำของลัตเวียจะทราบดีถึงสถานภาพดังกล่าวของตนเองต่อองค์การ NATO แต่บรรดาผู้นำรัฐบาลของลัตเวียในแต่ละสมัยยังคงย้ำถึงความปรารถนาที่จะเข้าเป็นสมาชิก NATO โดยเร็วในทุกโอกาส ดังเช่นที่นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (ในช่วงเวลาขณะนั้น) ได้ไปกล่าวในการประชุมสัมมนาเรื่อง NATO and the Baltic States Quo Vadis ซึ่งมูลนิธิ Konrad-Adenauer Stiftung และสถาบันกิจการต่างประเทศของลัตเวียได้จัดขึ้นที่กรุงริกา เมื่อเดือนธันวาคม 2539 ว่า บรรดารัฐบอลติกมีความปรารถนาเป็นอย่างยิ่งที่จะเข้าร่วมเป็นสมาชิกของค์การ NATO เนื่องจากบรรดารัฐบอลติกไม่มีทางเลือกอื่น นอกเหนือจากการเข้าเป็นสมาชิกของ NATO และสหภาพยุโรป เพื่อเป็นหลักประกันทางความมั่นคงและเศรษฐกิจของตนเอง แต่อย่างไรก็ดี บรรดารัฐบอลติกทั้งสามประเทศต่างอยากจะได้รับคำยืนยันจาก NATO ว่า ยินดีจะรับรัฐบอลติกทั้งสามประเทศเข้าเป็นสมาชิกของ NATO - พัฒนาการล่าสุดในการเข้าเป็นสมาชิกองค์การ NATO ของลัตเวีย คือ เมื่อวันที่ 26 มีนาคม 2546 สมาชิกองค์การ NATO 19 ประเทศ ได้ลงนามในพิธีสารว่าด้วยการรับสมาชิกใหม่ 7 ประเทศ คือ บัลแกเรีย เอสโตเนีย ลัตเวีย ลิทัวเนีย โรมาเนีย สโลวาเกีย และสโลวีเนีย ที่กรุงบรัสเซลส์ ต่อมา เมื่อวันที่ 29 มีนาคม 2547 ประเทศสมาชิกองค์การ NATO ใหม่ ทั้ง 7 ประเทศ ได้มอบภาคยานุวัตรสารให้แก่รัฐบาลสหรัฐอเมริกา ที่กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประวัติบุคคลสำคัญทางการเมือง 1.ประธานาธิบดีลัตเวีย นาง Vaira Vike-Freiberga เกิดเมื่อวันที่ 1 ธันวาคม ค.ศ. 1937 เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีลัตเวีย เมื่อวันที่ 8 กรกฎาคม ค.ศ.1999 โดยมีวาระการดำรงตำแหน่ง 4 ปี นาง Vike-Freiberga นับเป็นประธานาธิบดีคนที่ 6 ของลัตเวีย และเป็นประธานาธิบดีสุภาพสตรีคนแรกในประวัติศาสตร์ทางการเมืองของลัตเวีย จบการศึกษาระดับปริญญาเอกด้าน Experimental Psychology จาก McGill University สหรัฐฯ ก่อนเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดี นาง Vike-Freiberga เคยทำงานเป็นอาจารย์ที่ Universite de Montrealแคนาดา ระหว่างปี ค.ศ.1979-1998 และผู้อำนวยการสถาบันลัตเวีย ปี ค.ศ.1998

2. นายกรัฐมนตรีลัตเวีย นาย Aigars Kalvitis เกิดเมื่อวันที่ 27 มิถุนายน 2509 เข้าดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีลัตเวียเป็นสมัยแรก เมื่อวันที่ 2 ธันวาคม 2547 ภายหลังจากที่รัฐบาลของนายกรัฐมนตรี Indulis Emsis ต้องสิ้นสภาพลงเมื่อรัฐสภา Saeima ของลัตเวียลงคะแนนเสียงไม่รับร่างพระราชบัญญัติงบประมาณ ประจำปี 2548 เมื่อวันที่ 28 ตุลาคม 2547 ก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี Kalvitis เคยดำรงตำแหน่งสำคัญ ๆ ทางการเมือง เช่น รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจ ระหว่างปี 2543 - 2545 และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงเกษตร ระหว่างปี 2542 - 2543

3. รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย นาย Artis Pabriks เกิดเมื่อวันที่ 22 มีนาคม 2509 เข้าดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 2547 รัฐมนตรี Pabriks สำเร็จการศึกษาระดับปริญญาเอกด้านรัฐศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Aarhus ประเทศเดนมาร์ก เมื่อปี 2539 ก่อนหน้านี้ รัฐมนตรี Pabriks เคยดำรงตำแหน่งทางการเมืองสำคัญ ๆ เช่น ประธานคณะกรรมาธิการการต่างประเทศ รัฐสภาลัตเวีย และเลขานุการกิจการรัฐสภา กระทรวงการต่างประเทศ เป็นต้น


[แก้] การเข้าร่วมองค์การในภูมิภาค

ประเทศลัตเวียได้เข้าร่วมเป็นสมาชิกขององค์การในภูมิภาคดังนี้

1. CE - Council of Europe หรือ คณะมนตรียุโรป

2. EBRD - European Bank for Reconstruction and Development หรือ ธนาคารเพื่อการฟื้นฟูและพัฒนาแห่งยุโรป

[แก้] เศรษฐกิจการค้า

ลัตเวียเป็นประเทศหนึ่งที่ได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจของรัสเซีย ซึ่งส่งผลกระทบอุตสาหกรรมการส่งออกของลัตเวียเป็นอย่างมากโดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคการผลิต ลัตเวียพยายามที่จะแสวงหาตลาดใหม่ๆ หลังจากที่ตลาดรัสเซียและกลุ่มประเทศ CIS พังทะลาย แต่ไม่ประสบผลสำเร็จ ในปี 2545 (ค.ศ.2002) GDP ของ ลัตเวียมีมูลค่า 18.6 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับด้านดุลบัญชีเดินสะพัดในปี 2541 (ค.ศ.1998) ขาดดุลร้อยละ 11.1 ของ GDP ซึ่งเป็นการขาดดุลที่สูงที่สุดในช่วงการเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจของยุโรปกลางและตะวันออก อย่างไรก็ตาม สถานการณ์ดังกล่าวนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อตลาดเงินทุน ลัตเวียมีนโยบายที่สมัครเข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลก (WTO) ในปี 2540 (ค.ศ.1997) และต่อมาเมื่อเดือนตุลาคม 2541 (ค.ศ.1998) ลัตเวียได้เข้าเป็นสมาชิก WTO ซึ่งได้ช่วยในการเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันทางการค้าให้มากขึ้น และการปรับระบบภายในเพื่อให้สอดคล้องกับข้อกำหนดขององค์การการค้าโลก ก็จะช่วยในการเตรียมการของลัตเวียที่จะเข้าเป็นสมาชิกสหภาพยุโรป นอกจากนั้น การเข้าร่วมในเขตการค้าเสรี สินค้าเกษตรระหว่างประเทศบอลติก ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม2540 (ค.ศ.1997) ก็จะช่วยกระตุ้นให้มีการค้าขายระหว่างกันมากขึ้น ในด้านการค้าระหว่างประเทศ ประเทศในกลุ่มสหภาพยุโรปเป็นคู่ค้าที่สำคัญของลัตเวีย สำหรับเรื่องการว่างงาน ตามสถิติของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องระบุว่า มีผู้ลงทะเบียนเป็นผู้ว่างงานร้อยละ 8.6 ของประชากรในวัยทำงาน ซึ่งอัตราว่างงานเพิ่มขึ้นหลังจากที่เกิดวิกฤตการณ์ทางเศรษฐกิจในรัสเซีย โดยเขตที่มีการว่างงานในอัตราสูงอยู่ทางภาคตะวันออกของประเทศ ในด้านการแปรรูปรัฐวิสาหกิจ รัฐบาลแต่ละชุดได้ดำเนินการอย่างจริงจังที่จะแปรรูปรัฐวิสาหกิจ โดยในปี 2539 (ค.ศ.1996) รัฐบาลได้โอนกรรมสิทธิ์รัฐวิสาหกิจต่าง ๆ ที่อยู่ในข่ายจะต้องแปรรูปไปให้แก่หน่วยงานPrivatization Agency โดยวางแผนว่า การแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดเล็กและขนาดกลางกำหนดเสร็จสิ้นภายในปี 2540 (ค.ศ.1997) นอกจากนั้น รัฐบาลยังเร่งดำเนินการแปรรูปรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ที่มีการดำเนินการในลักษณะผูกขาด โดยมีจุดประสงค์ที่จะให้บริษัทหรือรัฐวิสาหกิจต่างประเทศที่ดำเนินธุรกิจอย่างเดียวกันเข้ามาลงทุน


[แก้] ความสัมพันธ์ด้านต่างๆกับประเทศไทย

[แก้] ความสัมพันธ์ทางการทูต

ไทยประกาศรับรองรัฐลัตเวียเมื่อวันที่ 9 กันยายน พ.ศ. 2534 พร้อมกับการประกาศรับรองรัฐเอสโตเนีย และลิทัวเนีย ต่อมาเมื่อวันที่ 19 มีนาคม พ.ศ. 2535 ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีมีมติเห็นชอบในหลักการให้ไทยดำเนินการสถาปนาความสัมพันธ์ทางการทูตกับลัตเวีย และให้มีการแลกเปลี่ยนผู้แทนทางการทูต ในระดับเอกอัครราชทูตระหว่างกัน โดยให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม มีเขตอาณาครอบคลุมฟินแลนด์ ลัตเวียและเอสโตเนีย โดยนายสุจินดา ยงสุนทรเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม ได้เดินทางไปยื่นพระราชสาส์นตราตั้งเป็นเอกอัครราชทูตคนแรกประจำลัตเวีย เมื่อวันที่ 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2537 และต่อมาคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 1 พฤษภาคม พ.ศ. 2544เห็นชอบให้สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออลโล มีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียแทนสถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงสตอกโฮล์ม และปัจจุบันเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล เป็นเอกอัครราชทูตไทยประจำลัตเวีย อีกตำแหน่งหนึ่งด้วย สำหรับ ลัตเวียยังมิได้ตั้งสถานเอกอัครราชทูตประจำประเทศไทย แต่ได้จัดตั้งสถานกงสุลกิตติมศักดิ์ประจำประเทศไทย โดยมีนายประสงค์ จงรัตนากุล ดำรงตำแหน่งกงสุลกิตติมศักดิ์ลัตเวียประจำประเทศไทยตั้งแต่วันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2538

[แก้] ความสัมพันธ์ทางการเมือง

ลัตเวียพร้อมที่จะขยายความร่วมมือกับไทยในทุก ๆ ด้าน ทั้งในกรอบทวิภาคีและกรอบพหุภาคี ในด้านความสัมพันธ์ทางการทูต ทั้งสองประเทศมีความสัมพันธ์ที่ราบรื่นโดยมีการแลกเปลี่ยนสารแสดงความยินดีระหว่างผู้นำของทั้งสองประเทศอย่างสม่ำเสมอในโอกาสสำคัญๆ อาทิเช่น การเข้ารับตำแหน่งประธานาธิบดีและนายกรัฐมนตรีของลัตเวีย เป็นต้น นอกจากนี้ ทั้งสองประเทศยังได้สนับสนุนการดำเนินงานในกรอบเวทีการเมืองประเทศระหว่างกัน โดยเฉพาะการให้ความสนับสนุนของลัตเวียต่อผู้สมัครของไทยในองค์การระหว่างประเทศที่สำคัญๆ เช่น องค์การสหประชาชาติ เป็นต้น

[แก้] ความสัมพันธ์ทางเศรษฐกิจและการค้า

ลัตเวียตระหนักถึงความก้าวหน้าทางเศรษฐกิจของไทยในระดับหนึ่ง โดยเฉพาะขีดความสามารถในการส่งเสริมการท่องเที่ยว อย่างไรก็ดี ลัตเวียได้มองไทยโดยเปรียบเทียบกับบางประเทศในเอเชียในเรื่องการพัฒนาทางเศรษฐกิจและผลประโยชน์ทางการค้า เช่น เกาหลีใต้ ไต้หวัน ญี่ปุ่นและจีน ฝ่ายลัตเวียเสนอตัวที่จะเป็นประตูการค้าให้ไทยสำหรับการค้าขายกับรัสเซีย และกลุ่มประเทศเครือรัฐเอกราช เนื่องจากสภาพที่ตั้งของประเทศมีความคุ้นเคยกับวิธีการค้าและรู้จักอุปนิสัยของคนรัสเซีย อีกทั้งมีท่าเรือปลอดน้ำแข็งอยู่ด้วย นอกจากนี้ ภาวะการเงินของลัตเวียก็เริ่มมีเสถียรภาพขึ้น การโอนเงินตราเข้าออก สามารถกระทำได้โดยมีข้อจำกัดน้อยมาก ส่วนระบบธนาคารอาจจะมีจำนวนมากเกินไป แต่การแข่งขันก็เป็นไปโดยเสรีและเชื่อว่าจำนวนธนาคารซึ่งมีอยู่มากเกินไปในขณะนี้จะลดลงเรื่อย ๆ

สถิติการค้าระหว่างไทยกับลัตเวียในช่วงปี 2549 (ม.ค.-ส.ค.) มีปริมาณการค้ารวม 13.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ โดยมีมูลค่าการส่งออกไปลัตเวีย 13.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และ นำเข้า 0.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 12.6ล้านดอลลาร์สหรัฐ สำหรับปริมาณการค้าไทย-ลัตเวียในปี 2548 มีมูลค่า 17.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ไทยส่งออก 16.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ และไทยนำเข้า 1.2 โดยไทยเป็นฝ่ายได้ดุลการค้า 14.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

สินค้าส่งออกที่สำคัญของไทย คือ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ ผลไม้กระป๋องและแปรรูป อุปกรณ์และส่วนประกอบรถยนต์ สินค้านำเข้าที่สำคัญของไทย ได้แก่ สัตว์ และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ ผลิตภัณฑ์ไม้และไม้แปรรูป เป็นต้น

[แก้] การท่องเที่ยวของชาวลัตเวียในประเทศไทย

ชาวลัตเวียเริ่มมาท่องเที่ยวประเทศไทยตั้งแต่ปี พ.ศ. 2534 แหล่งท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยม ได้แก่ กรุงเทพฯ พัทยา ภูเก็ต เกาะสมุย ระหว่างปี 2537 - 2539 บริษัทนำเที่ยวของลัตเวียได้จัดเที่ยวบินเช่าเหมาลำมายังประเทศไทยหลายเที่ยวบิน โดยมีสถิติดังนี้

  • ในปี 2542 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 944 คน ซึ่งเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.79 จากปี 2541
  • ในปี 2544 มีจำนวน 989 คน ในปี 2545 มีจำนวน 1,080 คน ในปี 2546 มีจำนวน 925 คน และ
  • ในระหว่างเดือนมกราคม – ตุลาคมของปี 2547 มีนักท่องเที่ยวลัตเวียเดินทางมาไทยจำนวน 734 คน เพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปี 2546 ร้อยละ 45.35 แหล่งท่องเที่ยวหลักของชาวลัตเวียประกอบด้วยยุโรปตะวันตกยุโรปตะวันออก สแกนดิเนเวียและฟินแลนด์ และลัตเวียมีบริษัทนำเที่ยวทั้งในด้านi nbound และ outbound ประมาณ 200 บริษัท(ที่มา : การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย)

นอกจากนี้ เพื่อเป็นการแผยแพร่ภาพลักษณ์และประชาสัมพันธ์ประเทศไทยให้ชาว ลัตเวียมีความรู้และความเข้าใจที่ถูกต้อง สถานเอกอัครราชทูต ณ กรุงออสโล ซึ่งมีเขตอาณาครอบคลุมลัตเวียได้จัดโครงการนำคณะสื่อมวลชนลัตเวียเดินทางมาเยือนไทย ระหว่างวันที่ 8 - 16 มิถุนายน 2546

[แก้] การแลกเปลี่ยนการเยือน

[แก้] ฝ่ายไทย

  1. เดือนกันยายน พ.ศ. 2535 (ค.ศ. 1992) คณะทำงานของกระทรวงการต่างประเทศ (Familiarization Mission) เยือนกลุ่มประเทศบอลติก (ลิทัวเนีย ลัตเวียและเอสโตเนีย) เพื่อสำรวจลู่ทางการพัฒนาความสัมพันธ์
  2. วันที่ 22 สิงหาคม - 3 กันยายน พ.ศ. 2542 (ค.ศ. 1999) สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ เสด็จเยือนเกาะกรีนแลนด์ ลิทัวเนีย ลัตเวีย เอสโตเนีย เป็นการส่วนพระองค์ (ลัตเวีย ระหว่างวันที่ 28 สิงหาคม - 30 สิงหาคม 2542)
  3. วันที่ 9 - 19 กรกฎาคม พ.ศ. 2543 (ค.ศ. 2000) การท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย ร่วมกับสมาคมไทยธุรกิจการท่องเที่ยว (ATTA) ได้จัดงาน Baltic Countries Road Show 2000 ที่เอสโตเนีย ลัตเวียและลิทัวเนีย (กรุงริกา วันที่ 14 กรกฎาคม 2543)
  4. วันที่ 10 - มิถุนายน พ.ศ. 2547 (ค.ศ. 2004) ผู้ช่วยรัฐมนตรีประจำกระทรวงการต่างประเทศ (นายสรจักร เกษมสุวรรณ) และคณะ เดินทางเยือนลัตเวียอย่างเป็นทางการ และได้เข้าเยี่ยมคารวะนาย Rihards Piks รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย และพบหารือกับนาย Maris Riekstins รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย (State Secretary of Ministry of Foreign Affairs)

ฝ่ายลัตเวีย

  1. วันที่ 6-10 พฤศจิกายน 2539 (ค.ศ.1996) นาย Valdis Birkavs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการต่างประเทศลัตเวีย และภริยา พร้อมคณะภาคเอกชน เยือนประเทศไทยอย่างเป็นทางการในฐานะแขกของกระทรวงการต่างประเทศ และหารือข้อราชการกับ ม.ร.ว. เทพ เทวกุล รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงการต่างประเทศ
  2. วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 (ค.ศ.2000) นาย Vladimirs Makarovs รัฐมนตรีว่าการกระทรวงเศรษฐกิจลัตเวีย เยือนไทย เพื่อเข้าร่วมประชุม UNCTAD ครั้งที่ 10 ระหว่าง วันที่ 11-19 กุมภาพันธ์ 2543 ในฐานะหัวหน้าคณะผู้แทนลัตเวีย

[แก้] การแบ่งเขตการปกครอง

แผนที่เขตการปกครองของประเทศลัตเวีย

ลัตเวียแบ่งเขตการปกครองออกเป็น 26 เขต (districts - rajons) มี 7 เมืองที่มีสถานะแตกต่างออกไป คือมีฐานะเป็น เทศบาลนคร (cities - lielpilsētas)*

1. เขตไอซเคราเคล
2. เขตอาลูกส์เน
3. เขตบัลวี
4. เขตเบาสกา
5. เขตเซซิส
6. เขตเดากัฟปิลส์
7. เดากัฟปิลส์*
8. เขตโดเบเล
9. เขตกุลเบเน
10. เขตเยคับปิลส์
11. เขตเยลกาวา
12. เยลกาวา*
13. ยูร์มาลา*
14. เขตคราสนาวา
15. เขตคุลดีกา
16. เขตเลียปายา
17. เลียปายา*
18. เขตลิมบาชี
19. เขตลุดซา
20. เขตมาโดนา
21. เขตโอเกร
22. เขตเปรย์ยี
23. เขตเรเซคเน
24. เรเซคเน*
25. เขตริกา
26. ริกา*
27. เขตซัลดุส
28. เขตตัลซี
29. เขตตูกุมส์
30. เขตวัลกา
31. เขตวัลเมียรา
32. เขตเวนต์สปิลส์
33. เวนต์สปิลส์*

[แก้] ภูมิศาสตร์

ประเทศลัตเวียอยู่ทางยุโรปตะวันออกเฉียงเหนือ มีอาณาเขตติดต่อกับประเทศเอสโตเนียซึ่งอยู่ทางตะวันออกเฉียงเหนือ ทิศตะวันออกติดกับประเทศรัสเซีย ทางทิศใต้ติดกับประเทศลิทัวเนีย ทิศตะวันออกติดกับทะเลบอลติก ทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับอ่าวริก้า แผ่นดินด้านตะวันตกและทางตะวันตกเฉียงเหนือติดกับทะเล

พื้นที่เกือบทั้งประเทศเป็นที่ราบที่อุดมสมบูรณ์สลับกับเนินสูง

ประกอบด้วยแม่น้ำสายเล็กมากมาย แม่น้ำสายใหญ่ที่ไหลผ่านลัตเวียคือแม่น้ำ เวสเทิร์นดวินา (ภาษาลัตเวียเรียกว่า daugava) เป็นที่ตั้งของเมืองใหญ่หลายแห่ง

มีทะเลสาบมากกว่า 3,000 แห่ง

ป่าไม้มีพื้นที่ประมาณ 2 ใน 5 ของประเทศแต่ทรัพยากรป่าไม้ได้รับการพัฒนาน้อย

มียอดเขาสูงที่สุดชื่อ Gaizins มีความสูง 312 เมตรจากระดับน้ำทะเล

เนื่องจากพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบจึงมีพื้นที่บางส่วนที่เกิดน้ำท่วมขังเป็นประจำเหมือนบริเวณป่าพรุ และมีลมจากทะเลพัดผ่านตลอดปีทำให้บางปีมีอากาศเย็นจนต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง

[แก้] ประชากร

ประชากร 2.3 ล้านคน (ปี 2546) อันดับที่ 142 ของโลก

ประชากร 1 ใน 3 อาศัยอยู่ในเมืองหลวง

กลุ่มชนชาติ ชาวลัตเวีย 52% ชาวรัสเซีย 34% นอกนั้นเป็นเชื้อชาติเบลารุส ยูเครน โปแลนด์ ลิทัวเนีย เยอรมัน และ อื่นๆ

อัตรการเจริญเติบโตของประชากร 1.3%

อัตราการเกิด 9040 คน/ในปี 2005 (อันดับที่ 185 ของโลก)

อัตราการเสียชีวิต 1366 คน/ในปี2004 (อันดับที่ 34 ของโลก)

จำนวนผู้ป่วยโรคเอดส์ 7600 คน/ในปี 2001 (อันดับที่ 104 ของโลก)

อายุเฉลี่ย ชาย : 64 ปี / หญิง : 75 ปี

จำนวนผู้ใหญ่ที่รู้หนังสือ 99.7%

[แก้] วัฒนธรรม

(รอเพิ่มเติมข้อมูล)


ASpacer.gifBlankMap-World6.svg ประเทศลัตเวีย เป็นบทความเกี่ยวกับ ประเทศ เมือง หรือเขตการปกครองต่าง ๆ ที่ยังไม่สมบูรณ์ ต้องการตรวจสอบ เพิ่มเนื้อหาหรือเพิ่มแหล่งอ้างอิง คุณสามารถช่วยเพิ่มเติมหรือแก้ไข เพื่อให้สมบูรณ์มากขึ้น
ข้อมูลเกี่ยวกับ ประเทศลัตเวีย ในภาษาอื่น อาจสามารถหาอ่านได้จากเมนู ภาษาอื่น ด้านซ้ายมือ
ภาษาอื่น