วิษุวัต

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

(เปลี่ยนทางมาจาก วสันตวิษุวัต)
วันที่และเวลาของการเกิดอายันและวิษุวัตตามเวลาสากลเชิงพิกัด[1]
ปี
พ.ศ.
วิษุวัต
มี.ค.
อายัน
มิ.ย.
วิษุวัต
ก.ย.
อายัน
ธ.ค.
วัน เวลา วัน เวลา วัน เวลา วัน เวลา
2545 20 19:16 21 13:24 23 04:55 22 01:14
2546 21 01:00 21 19:10 23 10:47 22 07:04
2547 20 06:49 21 00:57 22 16:30 21 12:42
2548 20 12:33 21 06:46 22 22:23 21 18:35
2549 20 18:26 21 12:26 23 04:03 22 00:22
2550 21 00:07 21 18:06 23 09:51 22 06:08
2551 20 05:48 20 23:59 22 15:44 21 12:04
2552 20 11:44 21 05:45 22 21:18 21 17:47
2553 20 17:32 21 11:28 23 03:09 21 23:38
2554 20 23:21 21 17:16 23 09:04 22 05:30
2555 20 05:14 20 23:09 22 14:49 21 11:11
2556 20 11:02 21 05:04 22 20:44 21 17:11
2557 20 16:57 21 10:51 23 02:29 21 23:03
ทิศทางของแสงอาทิตย์ที่ส่องถูกโลกในวันวิษุวัต ซึ่งเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง (ภาพไม่แสดงความเข้มน้อยของแสงสลัวเวลาเช้ามืดและหัวค่ำ)

วิษุวัต (อังกฤษ: equinox) เป็นคำศัพท์ทางดาราศาสตร์ หมายถึงช่วงในขณะที่ดวงอาทิตย์อยู่ในตำแหน่งตรงได้ฉากกับเส้นศูนย์สูตรของโลกพอดี ซึ่งจะเกิดขึ้นปีละ 2 ครั้ง หรือในหนึ่งรอบที่โลกโคจรรอบดวงอาทิตย์ แกนของโลกจะเอนกลับไปมาได้ฉากกับตำแหน่งดวงอาทิตย์ เหตุการณ์นี้เรียกอีกอย่างว่า "วันราตรีเสมอภาค" หมายถึงเวลาตอนกลางคืนเท่ากับเวลากลางวันพอดี

เนื้อหา

[แก้] การเรียกชื่อ

ศารทวิษุวัต (Autumnal equinox) เกิดในวันที่ 22 หรือ 23 กันยายนของทุกปี ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ร่วงในเขตซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 ศารทวิษุวัตเกิดตรงกับ วันที่ 23 กันยายน เวลา 4:03 น. ตามเวลากรีนิช หรือเท่ากับ 11:03 น. ตามเวลาประเทศไทย

วสันตวิษุวัต (Vernal equinox) เกิดในวันที่ 20 หรือ 21 มีนาคมซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิของซีกโลกเหนือ ในปี พ.ศ. 2549 วสันตวิษุวัตเกิดขึ้นในวันที่ 20 เดือนมีนาคม เวลา 18:26 น เวลากรีนิช ซึ่งตรงกับเวลา 01:26 น. ของวันที่ 21 ในประเทศไทย

ชื่อ วสันตวิษุวัต ในภาษาอังกฤษบางครั้งก็เรียกว่า spring equinox หรือ March equinox ก็เรียก ในทำนองเดียวกัน ศารทวิษุวัต ก็มีชื่อเรียกในภาษาอังกฤษว่า Fall equinox หรือ September equinox

[แก้] วัฒนธรรม

ในประเทศจีน เรียกวันวสันตวิษุวัตว่า วันชุนเฟินหรือวันชุงฮุง (春分) และมีประเพณีการตั้งไข่มากว่า 4,000 ปีแล้ว[2]

[แก้] ดูเพิ่ม

[แก้] อ้างอิง

  1. ^ United States Naval Observatory (01/28/07). Earth's Seasons: Equinoxes, Solstices, Perihelion, and Aphelion, 2000-2020.
  2. ^ http://thai.cri.cn/81/2008/03/20/42@120885.htm

[แก้] แหล่งข้อมูลอื่น