สมเด็จพระราเมศวร

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

King Ay02 Ramesuan.jpg
สมเด็จพระราเมศวร
พระบรมนามาภิไธย พระราเมศวร
พระอิสริยยศ พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา
ราชวงศ์ ราชวงศ์อู่ทอง
ครองราชย์ ครั้งที่ 1 พ.ศ. 1912
พระชนมายุ 27 พรรษา
ครั้งที่ 2 พ.ศ. 1931
พระชนมายุ 46 พรรษา
ระยะครองราชย์ ครั้งที่ 1 1 ปี
ครั้งที่ 2 7 ปี
รวม 8 ปี
รัชกาลก่อนหน้า ครั้งที่ 1 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
ครั้งที่ 2 สมเด็จพระเจ้าทองลัน
รัชกาลถัดไป ครั้งที่ 1 สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
ครั้งที่ 2 สมเด็จพระรามราชาธิราช
พระพุทธปฏิมา
ประจำรัชกาล
พระพุทธรูปปางพระเกศาธาตุ ณ หอราชกรมานุสรณ์

สมเด็จพระราเมศวร พระมหากษัตริย์ รัชกาลที่ 2 แห่งอาณาจักรอยุธยา ทรงเป็นพระราชโอรสองค์ใหญ่ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 กับพระขนิษฐาของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ผู้ครองเมืองสุพรรณบุรี เสด็จพระราชสมภพใน พ.ศ. 1885 พระองค์ทรงขึ้นครองราชย์ได้เพียงปีเดียวก็สละราชสมบัติให้สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ผู้เป็นพระมาตุลา และเสด็จขึ้นครองราชสมบัติอีกครั้งภายหลังการสำเร็จโทษพระเจ้าทองลัน พระราชโอรสของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 ที่เสด็จขึ้นครองราชสมบัติได้เพียง 7 วัน

แม้พระองค์จะเป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงประหารพระญาติของพระองค์เพื่อแย่งชิงราชสมบัติ แต่พระองค์ก็ทรงสร้างคุณูปการต่อกรุงศรีอยุธยาไว้หลายประการ ไม่ว่าจะด้านพระศาสนาหรือการสงคราม ซึ่งพระองค์ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ควรยกย่องเชิดชูพระเกียรติที่ทรงปกครองบ้านเมืองให้อยู่อย่างร่มเย็นเป็นสุขโดยที่ไม่มีเมืองต่างๆมารุกราน พระองค์เป็นพระมหากษัตริย์ที่ทรงขยายอาณาเขตให้อาณาจักรอยุธยายิ่งใหญ่ พระองค์ยังทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาอยู่ตลอดเวลา แม้เวลาส่วนมากจะทำศึกสงคราม

เนื้อหา

[แก้] พระราชประวัติ

สมเด็จพระราเมศวรเป็นพระราชโอรสใหญ่ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ที่ประสูติแต่พระกนิษฐาของขุนหลวงพะงั่ว (ต่อมา คือ สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 พระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 3 แห่งกรุงศรีอยุธยา) เมื่อสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยา พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้พระราเมศวรไปปกครองเมืองลพบุรีซึ่งเป็นเมืองลูกหลวงและเป็นเมืองหน้าด่านทางด้านตะวันออกของกรุงศรีอยุธยา

หลังจากสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1912 พระองค์ทรงขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์พระองค์ที่ 2 แห่งกรุงศรีอยุธยาเมื่อมีพระชนมายุได้ 27 พรรษา แต่พระองค์ทรงครองราชสมบัติได้เพียงปีเดียว ขุนหลวงพะงั่วพระมาตุลาในพระองค์ทรงยกกองทัพมาจากเมืองสุพรรณบุรีประชิดกรุงศรีอยุธยา พระองค์จึงถวายราชสมบัติให้พระมาตุลาขึ้นเป็นสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1

ภายหลังสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1931 พระเจ้าทองลันพระราชโอรสในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1 เสด็จขึ้นครองราชสมบัติเป็นกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาได้เพียง 7 วัน สมเด็จพระราเมศวรได้ยกพลมาแต่เมืองลพบุรีและขึ้นครองราชสมบัติเป็นพระมหากษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยาเป็นครั้งที่ 2 เมื่อมีพระชนมายุได้ 46 พรรษา และให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าทองลันเสีย

สมเด็จพระราเมศวรเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 1938 สิริพระชนมายุ 53 พรรษา ทรงครองราชสมบัติรวม 2 ครั้งเป็นระยะเวลา 8 ปี โดยสมเด็จพระรามราชาธิราช พระราชโอรสของพระองค์ได้เสด็จขึ้นครองราชสมบัติต่อ

ผู้ที่จะครองราชย์ได้นั้น ต้องเป็นผู้ที่แข็งแรงที่สุด คำกล่าวอันนี้ไม่เกินความจริงเลย ถ้าหากพิจารณากันถึงสมเด็จพระราเมศวรกษัตริย์ไทยผู้เสด็จขึ้นครองราชย์ถึงสองครั้งสองครา

[แก้] พระราชกรณีกิจ

[แก้] ราชการสงคราม

เมื่อปี พ.ศ. 1895 ขณะที่พระองค์ยังทรงดำรงพระอิสริยยศเป็นสมเด็จพระเจ้าลูกเธอในสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 อยู่นั้น สมเด็จพระราชบิดาโปรดให้เชิญพระองค์ลงมาจากเมืองลพบุรีและตรัสว่าขอมแปรพักตร์ต้องปราบปรามเสีย จึงโปรดให้พระองค์ยกพล 5000 ไปยังเมืองนครธมแห่งกรุงกัมพูชาธิบดี พระยาอุปราชพระราชโอรสในพระบรมลำพงษ์ราชา พระเจ้ากรุงกัมพูชาธิบดี ได้เข้าโจมตีทัพหน้าของกรุงศรีอยุธยาจนแตกพ่าย แล้วจึงเข้าปะทะกับทัพหลวงต่อ เมื่อความทราบถึงสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระองค์จึงมีพระราชโองการให้ขุนตำรวจออกไปเชิญสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ประทับอยู่ ณ เมืองสุพรรณบุรี ขึ้นไปทำศึกช่วยพระราเมศวร การศึกดำเนินไปเป็นระยะเวลา 1 ปีโดยประมาณ จึงสามารถเอาชนะกรุงกัมพูชาธิบดีได้สำเร็จและได้กวาดต้อนครัวชาวกัมพูชาธิบดีเข้ามายังอยู่กรุงศรีอยุธยาเป็นจำนวนมาก

หลังจากที่พระองค์เสด็จขึ้นครองราชสมบัติในครั้งที่ 2 แล้วนั้น พระองค์ทรงทำสงครามแผ่ขยายราชอาณาเขตกรุงศรีอยุธยาออกไปยังหัวเมืองทางตอนเหนือและแถบเมืองกัมพูชา ดังนี้

สงครามกับเมืองเชียงใหม่

เมื่อปี พ.ศ. 1933 พระองค์ทรงยกกองทัพขึ้นไปยังเมืองเชียงใหม่ ในชั้นแรกนั้นพระเจ้าเชียงใหม่ได้ขอสงบศึก โดยขอเวลา 7 วันแล้วจะนำเครื่องราชบรรณาการมาถวายเพื่อเจริญพระราชไมตรี ในการนี้มุขมนตรีนายทัพนายกองได้ปรึกษาหารือว่า อาจจะเป็นกลอุบายของพระเจ้าเชียงใหม่เพื่อจะได้เตรียมการรับมือกองทัพของกรุงศรีอยุธยา แต่พระองค์ตรัสว่าเมื่อเขาไม่รบแล้วเราจะรบนั้นดูมิบังควรและถึงแม้ว่าพระเจ้าเชียงใหม่จะไม่รักษาสัตย์ก็ใช่ว่าจะสามารถรอดพ้นจากทหารของกรุงศรีอยุธยาไปได้

เมื่อผ่านไป 7 วัน พระเจ้าเชียงใหม่ไม่ได้นำเครื่องราชบรรณาการมาถวาย พระองค์จึงยกกำลังเข้าตีเมืองเชียงใหม่ เจ้าเมืองเชียงใหม่ต้านไม่ได้จึงหนีออกไป แต่สามารถจับนักสร้างพระโอรสพระเจ้าเชียงใหม่ได้ พระองค์ทรงพระกรุณาให้นักสร้างขึ้นครองราชสมบัติอยู่ ณ เมืองเชียงใหม่ และได้กวาดต้อนผู้คนลงมาทางใต้โดยให้ไปอยู่ที่เมืองจันทบูร เมืองนครศรีธรรมราช เมืองพัทลุง และเมืองสงขลา ทำให้ชาวเหนือและชาวใต้มีวัฒนธรรมและขนบธรรมเนียมที่ใกล้เคียงกัน

สงครามกับเมืองกัมพูชาธิบดี

หลังจากที่เสด็จกลับจากการทำศึก ณ เมืองเชียงใหม่แล้ว พระองค์ได้ทรงทำศึกกับเมืองกัมพูชาธิบดีอีกครั้ง เนื่องจากพระยากัมพูชาได้ยกทัพมายังเมืองชลบุรีและกวาดต้อนผู้คนชาวเมืองจันทบูรและเมืองชลบุรีไปยังเมืองกัมพูชาธิบดีประมาณ 6,000 - 7,000 คน ด้วยเหตุนี้ พระองค์จึงยกกองทัพไปยังเมืองกัมพูชาธิบดีอีกครั้ง โดยโปรดเกล้า ฯ ให้พระยาไชยณรงค์เป็นแม่ทัพหน้า เมื่อตีเมืองพระนครได้แล้ว พระยากัมพูชาได้ลงเรือหลบหนีไป แต่สามารถจับพระยาอุปราชพระราชโอรสของพระยากัมพูชาได้ และโปรดเกล้าฯ ให้พระยาไชยณรงค์อยู่รั้งเมืองกัมพูชาธิบดีพร้อมกำลังพล 5,000 คน ต่อมา ญวนยกกำลังมารบ พระองค์จึงให้พระยาไชยณรงค์กวาดต้อนผู้คนมายังกรุงศรีอยุธยา

[แก้] การพระศาสนา

หลังจากศึก ณ เมืองเชียงใหม่เสร็จสิ้น พระองค์เสด็จยังเมืองพิษณุโลก ในการนี้พระองค์เสด็จนมัสการพระพุทธชินราชและเปลื้องเครื่องต้นทำสักการบูชาสมโภช 7 วัน แล้วจึงเสด็จกลับกรุงศรีอยุธยา สำหรับการพระพุทธศาสนาภายในกรุงศรีอยุธยานั้น พระองค์โปรดให้สถาปนาพระมหาธาตุสูง 17 วา ยอดสูง 3 วา ณ บริเวณที่พระองค์ทอดพระเนตรเห็นพระบรมสารีริกธาตุแสดงปาฎิหารย์ โดยพระราชทานชื่อว่า วัดพระมหาธาตุ นอกจากนี้ พระองค์ยังโปรดให้สถาปนาวัดภูเขาทองขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1930

[แก้] ราชตระกูล

ราชตระกูลในสามรุ่นของสมเด็จพระราเมศวร
สมเด็จพระราเมศวร
พระชนก:
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
พระอัยกาฝ่ายพระชนก:
มีหลายตำนาน
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
ไม่มีข้อมูล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนก:
มีหลายตำนาน
พระปัยกาฝ่ายพระชนก:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนก:
ไม่มีข้อมูล
พระชนนี:
ไม่ปรากฏพระนาม
(พระขนิษฐาในสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1)
พระอัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระอัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล
พระปัยยิกาฝ่ายพระชนนี:
ไม่มีข้อมูล

[แก้] อ้างอิง

[แก้] ดูเพิ่ม

สมัยก่อนหน้า สมเด็จพระราเมศวร สมัยถัดไป
สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1893 - พ.ศ. 1912)
2leftarrow.png Seal of Ayutthaya (King Narai).png
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ครั้งที่ 1)
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1912 - พ.ศ. 1913)
2rightarrow.png สมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 1
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

(พ.ศ. 1913 - พ.ศ. 1931)
สมเด็จพระเจ้าทองลัน
(ราชวงศ์สุพรรณภูมิ)

(พ.ศ. 1913)
2leftarrow.png Seal of Ayutthaya (King Narai).png
พระมหากษัตริย์แห่งอาณาจักรอยุธยา (ครั้งที่ 2)
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1931 - พ.ศ. 1938)
2rightarrow.png สมเด็จพระรามราชาธิราช
(ราชวงศ์อู่ทอง)

(พ.ศ. 1938 - พ.ศ. 1952)